โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาสมุทรแปซิฟิกและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิกและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้

มหาสมุทรแปซิฟิก vs. เส้นขนานที่ 10 องศาใต้

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก. ้นขนานที่ 10 องศาใต้ คือวงกลมละติจูดที่ 10 องศา ด้านใต้ของระนาบศูนย์สูตรโลก เส้นนี้ลากผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย ออสตราเลเซีย มหาสมุทรแปซิฟิก และทวีปอเมริกาใต้ บางส่วนของชายแดนระหว่างประเทศบราซิลและประเทศเปรูถูกกำหนดด้วยเส้นขนานนี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิกและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้

มหาสมุทรแปซิฟิกและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกทะเลคอรัลโลกเกาะนิวกินีเกาะแคโรไลน์เส้นศูนย์สูตร

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก · มหาสมุทรอินเดียและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก · มหาสมุทรแอตแลนติกและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลคอรัล

ทะเลคอรัล ทะเลคอรัล (Coral Sea) เป็นทะเลชายอาณาเขต ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย อยู่ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลียทางตะวันตก หมู่เกาะวานวาตูและเกาะนิวแคลิโดเนียทางตะวันออก ทิศเหนือติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกีนีและหมู่เกาะโซโลมอน ส่วนทางตอนเหนือของทะเลเรียกอีกชื่อว่า ทะเลโซโลมอน จุดเด่นของทะเลคอรัลคือมีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นและคงที่ มีฝนตกและพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้ง มีเกาะและปะการังมากมาย รวมถึงเครือข่ายปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เรียกว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี..

ทะเลคอรัลและมหาสมุทรแปซิฟิก · ทะเลคอรัลและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

มหาสมุทรแปซิฟิกและโลก · เส้นขนานที่ 10 องศาใต้และโลก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนิวกินี

นิวกินี (New Guinea) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย เมื่อบริเวณที่ที่ปัจจุบันคือช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) จมลงในช่วง 5000 ปีก่อนคริสตกาล โดยพื้นที่ส่วนตะวันตกของตัวเกาะเป็นดินแดนจังหวัดปาปัวและจังหวัดปาปัวตะวันตก (อดีตอีเรียนจายาตะวันตก) ของประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะมีฐานะเป็นแผ่นดินใหญ่ของรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี ด้วยความสูง 4,884 เมตร ยอดเขาปุนจะก์จายา (Puncak Jaya) ซึ่งบางครั้งเรียกว่ายอดเขาการ์สเตินส์ (Carstensz) ทำให้เกาะนิวกินีได้รับการจัดให้เป็นพื้นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก นิวกินี เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะนานาชาติ หมวดหมู่:เกาะในประเทศปาปัวนิวกินี.

มหาสมุทรแปซิฟิกและเกาะนิวกินี · เกาะนิวกินีและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะแคโรไลน์

กาะแคโรไลน์ (Caroline Island) หรือ แคโรไลน์อะทอลล์ (Caroline Atoll) บ้างเรียก เกาะมิลเลนเนียม (Millennium Island) และ เกาะเบสซีซา (Beccisa Island) เป็นเกาะปะการังวงแหวนไร้คนอาศัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะไลน์ใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง ชาวยุโรปพบเกาะนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ..

มหาสมุทรแปซิฟิกและเกาะแคโรไลน์ · เกาะแคโรไลน์และเส้นขนานที่ 10 องศาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

มหาสมุทรแปซิฟิกและเส้นศูนย์สูตร · เส้นขนานที่ 10 องศาใต้และเส้นศูนย์สูตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิกและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้

มหาสมุทรแปซิฟิก มี 97 ความสัมพันธ์ขณะที่ เส้นขนานที่ 10 องศาใต้ มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 5.47% = 7 / (97 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิกและเส้นขนานที่ 10 องศาใต้ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »