โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาละตินและอาการปวดเค้นหัวใจ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ภาษาละตินและอาการปวดเค้นหัวใจ

ภาษาละติน vs. อาการปวดเค้นหัวใจ

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก. อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) คืออาการเจ็บหน้าอกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นผลจากการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการอุดตันหรือหดเกร็งของหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดเค้นหัวใจคือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการเกิดการแข็งของหลอดเลือดหัวใจ คำภาษาอังกฤษของอาการปวดเค้นหัวใจคือ angina pectoris มาจากคำภาษาลาตินว่า "angere" ("บีบรัด") ประกอบกับคำว่า pectus ("อก") ดังนั้นอาจแปลตามรูปศัพท์ได้ว่าอาการปวดเหมือนถูกบีบรัดหน้าอก ความรุนแรงของความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่บ้างเพียงเล็กน้อย (หมายความว่าแม้จะมีอาการปวดรุนแรง แต่อาจไม่เป็นหัวใจขาดเลือดก็ได้ และผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด อาจไม่เจ็บหรือเจ็บไม่มากก็ได้) อาการปวดที่เป็นมากขึ้นๆ ("crescendo") อาการปวดที่เป็นมากขึ้นทันทีทันใดขณะไม่ได้ออกแรงหรือพัก และอาการปวดที่เป็นอยู่นานกว่า 15 นาที เป็นอาการของอาการปวดเค้นไม่เสถียร ("unstable angina") (มักนับรวมกับโรคอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันเป็นกลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน) อาการเช่นนี้มีโอกาสสูงที่จะเป็นจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด จำเป็นต้องได้รับการตรวจจากแพทย์โดยด่วน ส่วนใหญ่เบื้องต้นมักถือว่าเป็นหัวใจขาดเลือดไว้ก่อน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ภาษาละตินและอาการปวดเค้นหัวใจ

ภาษาละตินและอาการปวดเค้นหัวใจ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ภาษาละตินและอาการปวดเค้นหัวใจ

ภาษาละติน มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาการปวดเค้นหัวใจ มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (41 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาษาละตินและอาการปวดเค้นหัวใจ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »