โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟิลิป แอสต์ลีย์และละครสัตว์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และละครสัตว์

ฟิลิป แอสต์ลีย์ vs. ละครสัตว์

ฟิลิป แอสต์ลีย์ (Philip Astley; 8 มกราคม พ.ศ. 2285 — 27 มกราคม พ.ศ. 2357) ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็น "บิดาแห่งละครสัตว์สมัยใหม่" ฟิลิป แอสต์ลีย์ เกิดที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เป็นบุตรชายของช่างทำตู้ เมื่ออายุได้ 9 ขวบได้เริ่มฝึกหัดงานกับบิดา แต่ความฝันของแอสต์ลีย์กลับอยากทำงานที่เกี่ยวกับม้า ดังนั้นแอสต์ลีย์จึงเข้าร่วมเป็นทหารในกรมทหารม้าเบาที่ 15 ของพันเอกเอเลียตเมื่ออายุ 17 ปี และต่อได้เลื่อนเป็นสิบตรี แอสต์ลีย์ได้เข้าร่วมรบในสงครามฝรั่งเศสและสงครามอินเดีย อาชีพทหารของแอสต์ลีย์ได้ช่วยให้เขาได้พบปะและติดต่อกับนักฝึกม้าและนักขี่มืออาชีพหลายคนซึ่งแอสต์ลีย์เองก็เป็นนักขี่ม้าตัวยงอยู่ด้วยแล้ว แอสต์ลีย์มีความเป็นอัจฉริยะในการขี่ม้าแบบผาดโผน เขาได้เห็นนักขี่ม้าผาดโผนได้รับความสนใจมากจากคนดูที่อิสลิงตัน จึงได้ความคิดที่จะเปิดสอนโรงเรียนสอนการขี่ม้าในลอนดอน ที่ที่ซึ่งแอสต์ลีย์สามารถเปิดการแสดงการขี่ม้าผาดโผนไปพร้อมกันได้ด้วย ในปี พ.ศ. 2311 หรือประมาณเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ได้หนึ่งปี แอสต์ลีย์ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนขี่ม้าขึ้นที่ตอนใต้ของสะพานเวสมินสเตอร์ในลอนดอนโดยทำการสอนในช่วงเช้าและเปิดการแสดง "ความแกล้วกล้าของนักขี่ม้า" ในช่วงบ่าย แอสต์ลีย์เรียกลานสนามที่จัดแสดงว่า "เซอร์คัส" (circus -แปลว่าวงกลมหรือวงเวียน) เนื่องจากรูปร่างกลมของสนามแสดง แอสต์ลีย์เลือกลานกลมด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกเป็นการการง่ายที่จะทำให้ผู้ชมมองเห็นนักขี่ได้ตลอดเวลา และประการที่สอง วงกลมจะทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ที่ช่วยให้การยืนขี่ขณะม้าวิ่งควบเป็นวงโค้งได้มั่นคงขึ้น หลังจากแสดงต่อเนื่องมาหลายปี แอสต์ลีย์ได้ต่อเติมชาน ที่นั่งและหลังคาให้กับลานแสดงของเขา ทวิอัฒจันทร์ของแอสต์ลีย์ในลอนดอนประมาณ พ.ศ. 2351 ลานกลมละครสัตว์โรงแรกของแอสต์ลีย์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 เมตร แต่ในที่สุดมาลงตัวที่ 13 เมตร ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานนานาชาติในเวลาต่อมา แอสต์ลีย์เริ่มทำเงินได้มากขึ้นเรื่อยๆ และมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้น แต่อย่างไรก็ดี หลังจากเปิดการแสดงได้สองฤดู แอสต์ลีย์จำต้องนำสิ่งแปลกใหม่เข้ามาร่วมการแสดงร่วมเพื่อไม่ให้คนดูเบื่อ เขาเริ่มจ้างนักขี่ม้าอาชีพเพิ่มขึ้น จ้างนักดนตรี ตัวตลก นักแสดงปาหี่ นักแสดงการตีลังกา นักเดินไต่เส้นลวดและสุนัขเต้นระบำมาร่วมรายการด้วย ซึ่งนับเป็นการวางรากฐานรูปแบบละครสัตว์สมัยใหม่อย่างเป็นอยู่ในปัจจุบัน ละครสัตว์ของแอสต์ลีย์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนถึงกับได้รับเชิญให้ไปแสดงหน้าพระที่นั้งของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อ พ.ศ. 2265 ในปีต่อมาแอสต์ลีย์ได้สร้าง "ทวิอัฒจันทร์" (Amphitheatre) ของเขาขึ้นแต่ก็ถูกไฟใหม้เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2267 แต่เขาก็สร้างมันขึ้นมาใหม่หลังจากถูกไฟไหม้หลายครั้ง, และด้วยความมั่งคั่งมันได้กลายเป็น "ราชทวิอัฒจรรย์แอสต์ลีย์" แอสต์ลีย์ได้เปิดการแสดงละครสัตว์ปารีสขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ซึ่งเรียกกันว่า "ทวิอัฒจันทร์อองแกลส์" (Amphitheatre Anglais) หลังจากนั้นก็ได้มีผู้เปิดการแสดงละครสัตว์ขึ้นหลายแห่งซึ่งนำไปสู่การมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คู่แข่งสำคัญคนแรกของแอสต์ลีย์คือนักขี่ม้าอาชีพชื่อชาลส์ ฮิวส์ซึ่งเคยทำงานกับแอสต์ลีย์มาก่อน และด้วยความร่วมมือกับชาลส์ ดิบดินนักแต่งละครแพนโทไมม์หรือละครใบ้โบราณผู้มีชื่อเสียง ฮิวส์ได้เปิดอัฒจรรย์ขึ้นมาแข่งในลอนดอนซึ่งดิบดินตั้งชื่อว่า "สำนักดุริยางค์อาชาราชละครสัตว์" (Royal Circus and Equestrian Philharmonic Academy) แอสต์ลีย์เองก็ได้เปิดโรงละครสัตว์ขึ้นอีก 18 แห่งในเมืองต่างๆ ของยุโรปและได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์หลายราชวงศ์ แอสต์ลีย์มีชื่อเสียงมากและร่ำรวยจนน่าอิจฉา แต่เขาไม่เคยใช้สัตว์ป่ามาแสดงเลยจนกระทั่งเมื่อ 14 ปีหลังการตายของเขาในปารีสเมื่ออายุได้ 72 ปี ด้วยโรคเกาท์ในกร. ภาพวาด คณะละครสัตว์ ละครสัตว์ (circus) โดยทั่วไปแล้วหมายถึง กลุ่มนักแสดงที่เดินทางไปทำการแสดง ที่อาจหมายถึงการแสดง กายกรรม ตัวตลก การฝึกสัตว์ นักดนตรี การแสดงห่วง การเดินบทลวดขึง จักกลิง การขี่จักรยานล้อเดียว และการแสดงผาดโผนอื่น ๆ หมวดหมู่:ศิลปะการแสดง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และละครสัตว์

ฟิลิป แอสต์ลีย์และละครสัตว์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และละครสัตว์

ฟิลิป แอสต์ลีย์ มี 20 ความสัมพันธ์ขณะที่ ละครสัตว์ มี 0 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (20 + 0)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ฟิลิป แอสต์ลีย์และละครสัตว์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »