โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว vs. เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน.. ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) (พ.ศ. 2371 - พ.ศ. 2431) มีนามเดิมว่า วร หรือ วอน เป็นบุตรชายใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ธิดาหลวงแก้วอายัติ (จาด) ท่านเริ่มรับราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และเป็นอุปทูตติดตามพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ราชทูต ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2403 ต่อมาท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ จางวางมหาดเล็ก และเป็นราชทูต ไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ. 2409 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหม ศักดินา 10,000 เมื่อ พ.ศ. 2412 ท่านดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เป็นเวลา 19 ปี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2431 บุคคลทั่วไปออกนามเรียกเป็นการสามัญว่า “เจ้าคุณทหาร” หรือ “เจ้าคุณกลาโหม” และชื่อเรียกนี้ก็กลายมาเป็นชื่อของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในเวลาต่อมา เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 65 คน โดยบุตรธิดาที่รับราชการในตำแหน่งสำคัญ เช่น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2430พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)ประเทศฝรั่งเศสเหรียญรัตนาภรณ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

พ.ศ. 2430

ทธศักราช 2430 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1887 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2430และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · พ.ศ. 2430และเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)และเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ประเทศฝรั่งเศสและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ประเทศฝรั่งเศสและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญรัตนาภรณ์

หรียญรัตนาภรณ์ เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งส่วนราชการและส่วนพระองค์ เดิมชื่อ เหรียญรจนาภรณ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2416 เหรียญรัตนาภรณ์ มีลำดับชั้นทั้งหมด 5ชั้น มีหลักเกณฑ์ในการรับพระราชทานดังนี้ ชั้นที่ 1และ 2 มักจะพระราชทานให้ พระราชวงศ์, ขุนนางข้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิดและทรงสนิทสนมเป็นพิเศษ, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, ประธานองคมนตรี, องคมนตรี ฯลฯ ชั้นที่ 3 และ 4 พระราชทานให้ ขุนนางช้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิด, ข้าราชบริพารที่ทรงสนิทสนม, พระอนุวงศ์และราชนิกุล ฯลฯ ชั้นที่ 5 พระราชทานให้ ผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งส่วนราชการหรือส่วนพระองค์, ผู้ที่สร้างชื่อเสียงคุณงามความดีให้กับประเทศ ฯลฯ แต่ทั้งนี้การพระราชทานขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยส่วนพระองค์ บุคคลที่มียศตำแหน่งตามที่ระบุอาจได้รับพระราชทานชั้นที่สูงหรือต่ำกว่านี้ ก็สุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหรียญรัตนาภรณ์ · เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)และเหรียญรัตนาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

รื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก (The Most Exalted Order of the White Elephant) เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แล้ว ให้ประกาศรายนามในราชกิจจานุเบกษา ปรกติแล้วจะประกาศในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ของทุกปี แยกเป็น 2 ฉบับ คือชั้นต่ำกว่าสายสะพาย และชั้นสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาให้สร้างขึ้นเมื่อ..

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก · เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

รื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (The Most Illustrious Order of Chula Chom Klao) สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการทั้งปวง ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ "จุลจอมเกล้า" เป็นนามของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ".

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า · เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มี 148 ความสัมพันธ์ขณะที่ เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 4.40% = 8 / (148 + 34)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »