โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า

พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า vs. พระโกนาคมนพุทธเจ้า

อนาคตวงศ์ระบุว่า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า (ธมฺมราชสมฺพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตถัดจากพระรามสัมพุทธเจ้า หลัสิ้นศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรยแล้ว แผ่นดินถูกทำลาย เกิดสุญกัปยาวนานถึงหนึ่งอสงไขย จากนั้นจะมีมัณฑกัปซึ่งมีพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นมา 2 พระองค์ได้แก่ พระรามสัมพุทธเจ้า และพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้านี้ก็คือพระเจ้าปเสนทิโกศลนั่นเอง โดยย้อนกลับไปในภัทรกัปนี้ในสมัยของพระโกนาคมนพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เกิดเป็นมาณพชื่อว่า สุททะ มีอาชีพขายดอกบัว โดยเก็บดอกบัวมาขายวันละ 2 ดอก เช้าวันหนึ่ง มาณพก็ทำการเก็บดอกบัว 2 ดอกมาขายตามปกติ พระโกนาคมนะพุทธเจ้าทรงบิณฑบาต ก็ทรงทราบด้วยญาณว่า มาณพนี้เป็น วงศ์แห่งพุทธเจ้า จึงแย้มพระโอษฐ์ มาณพหนุ่มเห็นเช่นนั้นก็แปลกใจ จึงทูลถาม ว่าพระองค์ทอดพระเนตรและแย้มพระโอษฐ์เพราะเหตุใด พระโกนาคมนพุทเจ้า จึงตรัสว่าตัวท่านนี่แหละคือน้องของตถาคต มาณพหนุ่มได้ฟังเช่นนั้น ก็ยิ่งแปลกใจมากขึ้น ทูลถามว่า ข้าเป็นน้องของท่านเมื่อใด พระโกนาคมนะพุทธเจ้าจึงได้ทำนายว่า ในมัณฑกัปป์หนึ่งท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล พระนามว่าพระธรรมราชา เมื่อสุททมาณพได้ยินเช่นนั้นจึงเกิดความปีติยินดี จึงได้ถวายดอกบัว 2 ดอกนั้นด้วยความเคารพ พระโกนาคมนพุทธเจ้าได้แสดงพุทธปาฏิหาริย์ขึ้นนั่งบนดอกบัว ด้วยมาณพกลัวพระพุทธองค์ร้อน จึงได้ทำที่บังแดดด้วยผ้า 2 ผืนและไม้อ้อ 4 ลำ และได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระพุทธองค์ได้ทรงนั่งอยู่บนดอกบัวนี้จนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น อานิสงค์การถวายดอกบัวนี้ เมื่อพระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าดำเนินไปไหนจะมีดอกบัวเท่าจักรรถผุดจากพื้นดินรองรับเสมอ และทุกอิริยาบถของพระองค์จะมีห้องแก้ว 7 ประการเพื่อบังแดดและน้ำค้างด้วยผลทานที่ท่านถวายผ้าบังแดดนั้นเอง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้ามีพระชนมายุ 5 หมื่นปี. ระโกนาคมนพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 23 ในพุทธวงศ์ และเป็นพระองค์ที่ 2 ในภัททกัปนี้ ที่พระองค์มีพระนามเช่นนี้เนื่องจากขณะที่พระองค์ประสูติฝนทองได้ตกลงมาทั่วทั้งชมพูทวีป พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดภิยโยสราชกุมารและอุดรราชกุมาร พร้อมด้วยบริวาร พระกายสูง 80 ศอก มีพระชนมายุ 30,000 พรรษาจึงเสด็จปรินิพพาน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า

พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้า · พระพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า

พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้า มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระโกนาคมนพุทธเจ้า มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 4.55% = 1 / (8 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระธรรมราชาสัมพุทธเจ้าและพระโกนาคมนพุทธเจ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »