โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาบาร์บ

ดัชนี ปลาบาร์บ

ปลาบาร์บ (Barb) เป็นชื่อสามัญของปลาน้ำจืดหลายชนิด ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสกุล Barbus และPuntius โดยในอดีตถูกเรียกรวมกันในวงศ์ย่อย Barbinae โดยที่อาจมีบางวงศ์ย่อยได้ถูกยกให้ออกไปเป็นวงศ์ต่างหาก เช่น Labeoninae และปลาขนาดเล็กหลายชนิดในทวีปแอฟริกาอาจได้รับการจำแนกออกเป็นวงศ์ย่อยใหม่ รากศัพท์คำว่า "barb" เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกปลาทั่วไปในวงศ์ปลาตะเพียนในภาษายุโรป มาจากภาษาละตินคำว่า barba ที่แปลว่า "เครา" หรือ "หนวด" โดยอ้างอิงมาจากหนวดของปลาที่ปรากฏอยู่ที่มุมปากในหลายชน.

19 ความสัมพันธ์: ภาษาละตินวงศ์ย่อยปลาเลียหินวงศ์ปลาตะเพียนสกุลบาร์โบดีสสกุลบาร์โบนีมัสสกุลพุนชัสสกุลซีสโทมัสปลาบ้าปลากระโห้ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืดปลาสะกางปลาหางบ่วงปลาจาดปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)ปลาตะพากปลาซิวซอ-บวาปลาซิวใบไผ่ยักษ์ปลาโจกปลาเอิน

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน

วงศ์ย่อยปลาเลียหิน (Algae eater, Stone lapping) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Cyprinidae หรือวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นวงศ์ใหญ่ ในอันดับปลากินพืช (Cypriniformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labeoninae (/ลา-เบ-โอ-นี-เน/) โดยรวมแล้ว ปลาในวงศ์ย่อยนี้ มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวทรงกระบอก ครีบหลังยกสูงและไม่มีก้านครีบแข็ง ลักษณะสำคัญ คือ ปากจะงุ้มลงด้านล่าง มีริมฝีปากบนหนาและแข็ง ในบางสกุลจะมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายสิวกระจายอยู่บนนั้น ในหลายชนิดมีหนวดอยู่ 1 คู่ โดยเป็นปลาที่ใช้ปากในการดูดกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็ก บริเวณพื้นน้ำหรือโขดหิน, ตอไม้ ใต้น้ำ เป็นอาหาร มักพบกระจายพันธุ์ทั้งในลำธารน้ำเชี่ยว และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มักอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง ขนาดแตกต่างกันออกไปตั้งแต่เพียงไม่เกิน 10 เซนติเมตร จนถึงเกือบ 1 เมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปทั้งทวีปเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและวงศ์ย่อยปลาเลียหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุลบาร์โบดีส

กุลบาร์โบดีส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Barbodes (/บาร์-โบ-ดีส/) ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่า Barbodes มาจากภาษาละตินคำว่า barbus หมายถึง "หนวดปลา" และภาษากรีกคำว่า oides หมายถึง "เหมือนกับ" หรือ "คล้ายกับ" มีลักษณะสำคัญ คือ เมื่อยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนจะมีแต้มกลมเรียงกันในแนวด้านข้างลำตัว 3-5 แต้ม ซึ่งรวมทั้งแต้มบริเวณคอดหาง และมีแต้มที่จุดเริ่มต้นของครีบหลัง ก้านครีบแข็งมีขอบเป็นซี่จักรแข็ง เกือบทุกชนิดมีหนวดบนขากรรไกรบนสองคู่ ยกเว้นในบางชนิด มีเกล็ดที่มีท่อในแนวเส้นข้างลำตัว 22-32 เกล็.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและสกุลบาร์โบดีส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลบาร์โบนีมัส

กุลบาร์โบนีมัส (Tinfoil barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Barbonymus (/บาร์-โบ-นี-มัส/) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ มีครีบหลังที่มีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างมีร่องระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกร ฐานครีบก้นยาวประมาณร้อยละ 90 ของหัว จะงอยปากไม่มีตุ่มเม็ดสิว มีหนวด 2 คู่ โดยแบ่งเป็นริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด สกุลนี้ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1999 โดยมอริส ก็อตลา ซึ่งเป็นนักมีนวิทยาชาวสวิสที่พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยแยกออกมาจากสกุล Barbodes โดยคำว่า Barbonymus มาจากคำว่า Barbus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งในวงศ์เดียวกัน ที่เคยรวมกันเป็นสกุลเดียวกันก่อนหน้านั้น และคำว่า ἀνώνυμος (anṓnumos) ในภาษากรีกโบราณ ที่แปลว่า "ที่ไม่ระบุชื่อ" เนื่องจากปลาสกุลนี้ก่อนหน้านี้ขาดชื่อทั่วไปที่เหมาะสม.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและสกุลบาร์โบนีมัส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลพุนชัส

ปลาตะเพียนหน้าแดง (''Sahyadria denisonii'') ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลนี้ แต่ปัจจุบันแยกอยู่ในสกุล ''Sahyadria''Raghavan, R., Philip, S., Ali, A. & Dahanukar, N. (2013): http://www.threatenedtaxa.org/ZooPrintJournal/2013/November/o367326xi134932-4938.pdf ''Sahyadria'', a new genus of barbs (Teleostei: Cyprinidae) from Western Ghats of India. ''Journal of Threatened Taxa, 5 (15): 4932-4938.'' สกุลพุนชัส (Barb) เป็นสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Puntius.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและสกุลพุนชัส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลซีสโทมัส

กุลซีสโทมัส เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Systomus (/ซีส-โท-มัส/) เป็นปลาพื้นเมืองที่พบได้ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย เป็นปลาที่มีขอบท้ายก้านครีบแข็งของครีบหลังมีซี่จักรแข็งแรง ริมฝีปากเรียบบาง มีหนวดที่ริมฝีปากบนสองคู่ เกล็ดในแนวเส้นข้างลำตัวพัฒนาเป็นท่อสมบูรณ์จำนวนระหว่าง 27-34 เกล็ด เกล็ดบนลำตัวแต่ละเกล็ดมีฐานเกล็ดสีดำ แลดูเหมือนลายตามยาวจาง ๆ มีแต้มกลมรี ตามแนวยาวที่ฐานครีบหาง หลายชนิดมีจุดกลมสีดำบริเวณจุดเริ่มต้นของครีบหลัง มักพบแถบสีดำบริเวณขอบบนและล่างของครีบหาง หน้า 68, ตะเพียน Update, "คุยเฟื่องเรื่องปลาไทย" โดย อ.ชัยวุฒิ กรุดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและสกุลซีสโทมัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาบ้า

ปลาบ้า ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช, แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ปลาบ้าอาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขง, แม่น้ำน่าน, แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงหรือลูกกระเบาเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีผู้นำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง ปลาบ้ายังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น "ปลาอ้ายบ้า", "ปลาพวง" ในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลาโพง" นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "ปลาแซมบ้า".

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโห้

ปลากระโห้ (Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ปลากระโห้ จัดเป็นปลาประจำกรุงเทพมหานครของกรมประมง.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลากระโห้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด

ปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด หรือ ปลาสร้อยนกเขา เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) โดยใช้ชื่อสกุลว่า Osteochilus (/อ็อสแตโอคิลุส/).

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาสร้อยนกเขาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสะกาง

ปลาสะกาง หรือ ปลากระมัง เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อย ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) 4 ชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Puntioplites (/พุน-ทิ-อ็อพ-ลิ-ทีส/) มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน โดยมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หัวมีขนาดเล็ก ไม่มีหนวด ตาโต มีจุดเด่นคือ สันหลังยกสูงและครีบหลังก้านสุดท้ายแข็งและมีขนาดใหญ่ ยกสูง ด้านหลังของก้านครีบนี้มีทั้งรอยยักและไม่มีรอยยัก ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน พบกระจายพันธุ์อยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย, แม่น้ำโขง และคาบสมุทรมลายูไปจนถึงเกาะบอร์เนียว, เกาะชวา และเกาะซูลาเวซี มีชนิดด้วยกันทั้งหมด คือ.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาสะกาง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหางบ่วง

ปลาหางบ่วง (Golden carp, Sucker carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbichthys laevis อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนหัวเล็ก ด้านหลังค่อนข้างลึก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่น มีริมฝีปากหนาอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้น 2 คู่ ตาเล็ก ครีบหลังและครีบหางใหญ่ เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินอมเทาหรือเหลืองอ่อน ที่ด้านข้างลำตัวใกล้ครีบอกมีแต้มเล็ก ๆ สีคล้ำ ครีบมีสีเหลืองอ่อนหรือชมพูเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร นับเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Barbichthys อาศัยอยู่ในแม่น้ำที่ไหลแรงและลำธารในป่า พบตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง มีพฤติกรรมอพยพย้ายถิ่นเป็นครั้งคราวในฤดูน้ำหลาก โดยอาหารได้แก่ อินทรียสารและตะไคร่น้ำ พบขายเป็นครั้งคราวในตลาดสด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบัน พบได้เฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่เดียวเท่านั้น และเป็นปลาที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว ซึ่งในอดีตจะพบชุกชุมที่แม่น้ำสะแกกรัง.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาหางบ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจาด

ปลาจาด เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Poropuntius (/พอร์-โอ-พุน-ชัส/) ความเป็นมาของปลาในสกุลนี้เริ่มจากแม็กซ์ วีลเฮม คาร์ล เวบเบอร์ และลีฟาน เฟอดินานด์ เดอ โบฟอร์ต ได้ตั้งสกุล Lissocheilus (ปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว) ขึ้นในปี ค.ศ. 1916 เพื่อใช้กับปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอธิบายว่า ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 มะสึมิสึ โอชิมะ นักมีนวิทยาชาวญี่ปุ่น ได้พบว่าปลาบางส่วนของสกุล Lissocheilus มีริมฝีปากล่างแยกออกมาเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางเป็นแผ่นหนังใหญ่ ทำให้มีปัญหาในการจำแนกชนิด จึงได้ตั้งสกุล Acrossocheilus ขึ้น (ซึ่งปัจจุบันสกุลนี้ใช้ระบุปลาที่พบในประเทศเวียดนามและจีนตอนใต้ เป็นหลัก) โดยจำแนกปลาที่อยู่ในสกุล Lissocheilus เดิมที่มีลักษณะของริมฝีปากล่างตามที่กล่าวมาให้อยู่ในสกุลนี้ ต่อมา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ได้ตั้งสกุล Poropuntius นี้ขึ้น ในปี ค.ศ. 1931 โดยแยกออกจากสกุล Lissocheilus ซึ่งครีบหลังมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย ชื่อสกุล Lissocheilus ต้องถูกยกเลิก เพราะพบว่าตั้งซ้ำซ้อนกับสกุลของหอยที่เป็นซากฟอสซิลซึ่งมีผู้ตั้งไว้ในปี ค.ศ. 1882 ดังนั้น จึงต้องหันกลับไปพิจารณาระหว่างสกุล Poropuntius กับสกุล Acrossocheilus ก็พบว่าลักษณะทางอนุกรมวิธานของสกุล Poropuntius นั้นเด่นกว่าสกุล Acrossocheilus ในปี ค.ศ. 1996 วอลเตอร์ เรนโบธ เสนอให้ใช้สกุล Poropuntius กับปลาที่แมลคัม อาร์เธอร์ สมิธ อนุกรมวิธานไว้ในปี ค.ศ. 1945 คือ ปลาจาดบ้านถ้ำ (P. bantamensis) และปลาเขยา (P. deauratus) ที่เดิมเคยใช้ชื่อสกุล Acrossocheilus เปลี่ยนมาใช้ชื่อสกุลนี้ แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความสับสนอย่างมากในการใช้ชื่อสกุลของสกุลนี้ เรนโบธจึงเสนอขึ้นมาในปี ค.ศ. 1985 ให้ใช้สกุล Neolissocheilus ขึ้น ซึ่งปัจจุบันนี้ใช้ในกลุ่มปลาพลวง อย่างไรก็ตาม สกุล Poropuntius นี้ มีความคล้ายคลึงกับสกุล Hypsibarbus ซึ่งเป็นสกุลที่เรนโบธตั้งขึ้นเองในปี..

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาจาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาข้าวเม่า (ปลาซิว)

ำหรับปลาข้าวเม่าที่มีลำตัวใส ดูที่: ปลาข้าวเม่า ปลาข้าวเม่า เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Chela (/เคล-อา/) ในวงศ์ปลาตะเพียน จัดเป็นปลาซิวหรือปลาแปบจำพวกหนึ่ง มีลำตัวยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในลำธารและบ่อน้ำขนาดเล็ก ๆ ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องที่อยู่ระหว่างคางจนถึงครีบท้องแบนเป็นสัน ปากเล็กและเฉียงขึ้นบน เส้นข้างลำตัวอยู่ต่ำและโค้งขนานไปกับแนวท้อง ปลายเส้นข้างลำตัวไปสิ้นสุดลงที่ครึ่งล่างของโคนหาง ครีบก้นมีฐานครีบยาวกว่าฐานของครีบหลัง ครีบอกใหญ่ ยาวและปลายครีบแหลม ครีบท้องมีก้านครีบยื่นออกเป็นเส้นเดี่ยวและครีบหางมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ปลายแยกเป็นแฉกลึก เดิมทีปลาในสกุลนี้เคยมีประชากรมากกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้แยกออกไปเป็นสกุลต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในสกุล Laubuka หรือปลาซิวหัวตะกั่ว จึงเหลือเพียง 2 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาข้าวเม่า (ปลาซิว) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพาก

ปลาตะพาก เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Hypsibarbus (/ฮีป-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลางในวงศ์นี้ มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 11 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) โดยปลาในสกุลนี้ถูกแยกออกมาจากสกุล Puntius ในปี ค.ศ. 1996 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ โดยมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากปลาในสกุลอื่น คือ มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ใต้คางมีร่องแยกระหว่างขากรรไกรล่างและคาง ฐานครีบก้นยาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวหัว ขอบเกล็ดแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห ปลาตะพากมีชื่อเรียกรวมกันแบบอื่นอีก อาทิ "ปลากระพาก" (ประพาสไทรโยค), "ปลาปากหนวด", "ปลาปีก" (ภาษาอีสาน), "ปลาปากคำ" หรือ "ปลาสะป๊าก" (ภาษาเหนือ) เป็นต้น โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypsibarbus มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "ὕψι" (ฮิปซี) และ barbus (บาร์บัส) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไปของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน โดยมีความหมายถึง สันฐานที่มีความแบนข้าง.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาตะพาก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวซอ-บวา

ปลาซิวซอ-บวา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sawbwa resplendens; ซอ-บวา เป็นคำภาษาพม่า แปลว่า "เจ้าฟ้า") เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และเป็นปลาชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Sawbwa ปลาซิวซอ-บวาเป็นปลาถิ่นเดียวในทะเลสาบอินเล รัฐฉาน ในประเทศพม่า ในอุณหภูมิน้ำค่อนข้างเย็น คือ ประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส มีรูปร่างเรียวยาว แบนข้าง ส่วนหัวเล็ก ปากเล็กเป็นมุมแหลม หางคอดเรียว ใบหางรูปแฉกตัววี ครีบบางใส เมื่อโตเต็มที่ปลาซิวซอ-บวามีความยาวประมาณ 35 มิลลิเมตร เพศผู้มีสีเงินเหลือบฟ้า ส่วนหัวและปลายหางมีสีแดง เพศเมียและปลาที่ยังไม่โตเต็มวัยมีสีเทา มีจุดสีดำตรงช่องทวาร ไม่มีเกล็ด กินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนของแมลงน้ำและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร มีนิสัยรักสงบ ตื่นตกใจ ชอบอยู่รวมเป็นฝูง ในแวดวงปลาสวยงามในประเทศไทยมีผู้เพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยเรียกกันว่า "ปลาซิวซับวา".

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาซิวซอ-บวา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์

ปลาซิวใบไผ่ยักษ์ (Giant danio) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จำพวกปลาซิว ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Devario (/เด-วา-ริ-โอ/) ปลาซิวในสกุลนี้ เคยถูกรวมเป็นสกุลเดียวกันกับปลาซิวสกุล Danio หรือ ปลาซิวใบไผ่ หรือ ปลาจุกกี มาก่อน แต่ปลาซิวที่อยู่ในสกุลปลาซิวใบไผ่ใหญ่นี้ จะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า โดยจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 5-15 เซนติเมตร และมีลวดลายสีสันต่าง ๆ ในบริเวณข้างลำตัว โดยก็ถูกเรียกชื่อสามัญว่า "ปลาซิวใบไผ่" หรือ "ปลาซิวใบไผ่ใหญ่" พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นลำธารหรือน้ำตกในป่าดิบ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจจะมีบางชนิดที่เป็นชื่อพ้องกันหน้า 28-29, Genus Devario - ปลาซิวใบไผ่ใหญ่ (Giant danio), "Mini Attlas" โดย สุริศา ซอมาดี.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาซิวใบไผ่ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโจก

ปลาโจก (Soldier river barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cyclocheilichthys (/ไซ-โคล-ไคล-อิค-ธีส/; เฉพาะชนิด C. apogon, C. armatus และ C. raspasson ใช้ชื่อสกุลว่า Anematichthys) โดยคำว่า Cyclocheilichthys มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า κύκλος (kýklos) หมายถึง "วงกลม", χείλος (cheílos) หมายถึง "ริมฝีปาก" และ ἰχθύς (ikhthús) หมายถึง "ปลา" ซึ่งมีความหมายถึง ริมฝีปากของปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวม คือ มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไป ส่วนหัวแหลม ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย บางชนิดมีหนวด 2 คู่ บางชนิดมีหนวด 1 คู่ หรือไม่มีหนวดเลย บริเวณแก้มและจะงอยปากมีตุ่มประสาทเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีไม่เกิน 50 แถว มีลักษณะเด่นคือ ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้าแข็งยาวคล้ายเงี่ยงเห็นได้ชัดเจน และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย มีก้านครีบแขนง 8 ครีบ พื้นลำตัวโดยมากด้านหลังและครีบสีเทาอมฟ้า ส่วนอื่นสีเงิน แต่ก็มีบางชนิดที่เป็นสีอื่น เช่น สีแดง และมีลวดลายตามลำตัว ขนาดลำตัวแตกต่างกันไปตามชนิด มีตั้งแต่ 15 เซนติเมตร จนถึง 2 ฟุต มีทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาโจก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเอิน

ปลาเอิน หรือ ปลายี่สก (Striped barbs) เป็นชื่อสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุล Probarbus (/โพร-บาร์-บัส/) อองรี เอมิล โซวาค นักมีนวิทยาชาวฝรั่งเศสเป็นผู้บรรยายลักษณะทางอนุกรมวิธานของปลาสกุลนี้ในปี ค.ศ. 1880 และในปีถัดมาได้กลับมาบรรยายเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง โดยปลาที่เป็นต้นแบบมีความยาว 34 และ 53 เซนติเมตร ตามลำดับ ลักษณะที่สำคัญอีกประการ คือ มีฟันที่ลำคอหนึ่งแถว จำนวนทั้งหมดสี่ซี่ มีหนวดที่ริมฝีปากบนหนึ่งคู่ ครีบหลังมีก้านครีบแขนงเก้าก้าน ก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังสั้น แข็ง และมีขอบเรียบ ตามลำตัวมีเส้นขีดตามแนวนอนแตกต่างกันออกตามแต่ละชนิด จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่อีกจำพวกหนึ่งในวงศ์นี้ โดยขนาดเมื่อโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 135 เซนติเมตร ปลาตัวเมียเมื่อถึงฤดูวางไข่อาจมีน้ำหนักตัวถึง 36 กิโลกรัม โดยช่วงที่ไข่สุกพร้อมที่จะถูกปล่อยออกมาผสมกับน้ำเชื้อของตัวผู้อยู่ในช่วงปลายปีจนถึงต้นฤดูร้อนของปีถัดมา มีการกระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงและที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย และมีพบได้ที่แม่น้ำปะหัง ในมาเลเซียอีกด้วย เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก จึงถูกจับจนใกล้จะสูญพันธุ์แล้วในธรรมชาติ แต่ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วด้วยวิธีการผสมเทียม มีชื่อที่สามเหลี่ยมทองคำ จังหวัดเชียงราย เรียกว่า "ปลาเสือ".

ใหม่!!: ปลาบาร์บและปลาเอิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Barb (fish)Barbinae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »