โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาตะพาก

ดัชนี ปลาตะพาก

ปลาตะพาก เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ในสกุล Hypsibarbus (/ฮีป-ซี-บาร์-บัส/) จัดเป็นปลาขนาดกลางในวงศ์นี้ มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายปลาตะเพียนในสกุล Barbonymus ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกัน แต่ปลาตะพากจะมีลำตัวที่ยาวกว่า และขนาดจะใหญ่ได้มากกว่า แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และทางตอนใต้ของประเทศจีน พบอาศัยในแม่น้ำสายใหญ่รวมถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือป่าดิบชื้น โดยมีขนาดลำตัวประมาณ 60-80 เซนติเมตร มีทั้งหมด 11 ชนิด (สูญพันธุ์ไปแล้ว 1 ชนิด ดูในตาราง) โดยมีชนิดที่รู้จักกันดีที่สุดคือ ปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) โดยปลาในสกุลนี้ถูกแยกออกมาจากสกุล Puntius ในปี ค.ศ. 1996 โดยวอลเตอร์ เรนโบธ โดยมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากปลาในสกุลอื่น คือ มีก้านครีบเดี่ยวของครีบหลังมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ใต้คางมีร่องแยกระหว่างขากรรไกรล่างและคาง ฐานครีบก้นยาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของความยาวหัว ขอบเกล็ดแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห ปลาตะพากมีชื่อเรียกรวมกันแบบอื่นอีก อาทิ "ปลากระพาก" (ประพาสไทรโยค), "ปลาปากหนวด", "ปลาปีก" (ภาษาอีสาน), "ปลาปากคำ" หรือ "ปลาสะป๊าก" (ภาษาเหนือ) เป็นต้น โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypsibarbus มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า "ὕψι" (ฮิปซี) และ barbus (บาร์บัส) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ทั่วไปของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน โดยมีความหมายถึง สันฐานที่มีความแบนข้าง.

35 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2468พ.ศ. 2474พ.ศ. 2488พ.ศ. 2521พ.ศ. 2539พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542การสูญพันธุ์ภาษากรีกโบราณภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นเหนือภูเขาวอลเตอร์ เรนโบธวงศ์ปลาตะเพียนสกุล (ชีววิทยา)สกุลบาร์โบนีมัสสกุลพุนชัสสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อัตราร้อยละอันดับปลาตะเพียนฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธประเทศจีนปลาที่มีก้านครีบปลาตะพากส้มปลาตะพากเหลืองปลาตะเพียนสาละวินปลาตะเพียนปากหนวดปลาปากหนวดปลาน้ำจืดป่าดิบชื้นน้ำตกแม่น้ำเมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พ.ศ. 2468

ทธศักราช 2468 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1925 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาตะพากและพ.ศ. 2468 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2474

ทธศักราช 2474 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1931 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาตะพากและพ.ศ. 2474 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ปลาตะพากและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2521

ทธศักราช 2521 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1978 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาตะพากและพ.ศ. 2521 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาตะพากและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

หน้าปกพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ปลาตะพากและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: ปลาตะพากและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีกโบราณ

ทเปิดเรื่องมหากาพย์ ''โอดิสซีย์'' ภาษากรีกโบราณ เป็นรูปแบบของภาษากรีกที่ใช้ในยุคกรีซโบราณ และกรีซยุคคลาสสิค ตลอดจนโลกยุคโบราณของอารยธรรมเมดิเตอเรเนียน ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล จนถึง ศตวรรษที่ 6..

ใหม่!!: ปลาตะพากและภาษากรีกโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: ปลาตะพากและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นเหนือ

ำเมือง (40px)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ภาษาถิ่นภาคพายัพ เป็นภาษาถิ่นของชาวไทยวนทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นอาณาจักรล้านนาเดิม ได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ลำพูน, ลำปาง, พะเยา และยังมีการพูดและการผสมภาษากันในบางพื้นที่ของจังหวัดตาก, สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ปัจจุบันกลุ่มคนไทยวนได้กระจัดกระจายและมีถิ่นที่อยู่ในจังหวัดสระบุรี, จังหวัดราชบุรี และอำเภอของจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียงกับราชบุรีอีกด้วย คำเมืองยังสามารถแบ่งออกเป็นสำเนียงล้านนาตะวันตก (ในจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน และแม่ฮ่องสอน) และสำเนียงล้านนาตะวันออก (ในจังหวัดเชียงราย, พะเยา, ลำปาง, อุตรดิตถ์, แพร่ และน่าน) ซึ่งจะมีความแตกต่างกันบ้าง คือ สำเนียงล้านนาตะวันออกส่วนใหญ่จะไม่พบสระเอือะ เอือ แต่จะใช้สระเอียะ เอียแทน (มีเสียงเอือะและเอือเพียงแต่คนต่างถิ่นฟังไม่ออกเอง เนื่องจากเสียงที่ออกมาจะเป็นเสียงนาสิกใกล้เคียงกับเอียะ เอีย) ส่วนคนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนจำนวนมากสืบเชื้อสายมาจากชาวยองในรัฐฉาน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ คำเมืองมีไวยากรณ์คล้ายกับภาษาไทยกลางแต่ใช้คำศัพท์ไม่เหมือนกันและไวยากรณ์ที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เดิมใช้คู่กับ อักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นตัวอักษรของอาณาจักรล้านนาที่ใช้อักษรมอญเป็นต้นแ.

ใหม่!!: ปลาตะพากและภาษาไทยถิ่นเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ปลาตะพากและภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

วอลเตอร์ เรนโบธ

ร.วอลเตอร์ เรนโบธ (Walter Rainboth) หรือ วอลเตอร.

ใหม่!!: ปลาตะพากและวอลเตอร์ เรนโบธ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตะเพียน

วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชน.

ใหม่!!: ปลาตะพากและวงศ์ปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาตะพากและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สกุลบาร์โบนีมัส

กุลบาร์โบนีมัส (Tinfoil barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Barbonymus (/บาร์-โบ-นี-มัส/) มีลักษณะสำคัญทางอนุกรมวิธานคือ มีครีบหลังที่มีก้านครีบเดี่ยวที่ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ปากล่างมีร่องระหว่างริมปากกับกระดูกขากรรไกร ฐานครีบก้นยาวประมาณร้อยละ 90 ของหัว จะงอยปากไม่มีตุ่มเม็ดสิว มีหนวด 2 คู่ โดยแบ่งเป็นริมฝีปากบน 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่ ปลาที่อยู่ในสกุลนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด เป็นปลาที่พบได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด สกุลนี้ได้รับการตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1999 โดยมอริส ก็อตลา ซึ่งเป็นนักมีนวิทยาชาวสวิสที่พำนักอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยแยกออกมาจากสกุล Barbodes โดยคำว่า Barbonymus มาจากคำว่า Barbus ซึ่งเป็นสกุลหนึ่งในวงศ์เดียวกัน ที่เคยรวมกันเป็นสกุลเดียวกันก่อนหน้านั้น และคำว่า ἀνώνυμος (anṓnumos) ในภาษากรีกโบราณ ที่แปลว่า "ที่ไม่ระบุชื่อ" เนื่องจากปลาสกุลนี้ก่อนหน้านี้ขาดชื่อทั่วไปที่เหมาะสม.

ใหม่!!: ปลาตะพากและสกุลบาร์โบนีมัส · ดูเพิ่มเติม »

สกุลพุนชัส

ปลาตะเพียนหน้าแดง (''Sahyadria denisonii'') ซึ่งเดิมเคยอยู่ในสกุลนี้ แต่ปัจจุบันแยกอยู่ในสกุล ''Sahyadria''Raghavan, R., Philip, S., Ali, A. & Dahanukar, N. (2013): http://www.threatenedtaxa.org/ZooPrintJournal/2013/November/o367326xi134932-4938.pdf ''Sahyadria'', a new genus of barbs (Teleostei: Cyprinidae) from Western Ghats of India. ''Journal of Threatened Taxa, 5 (15): 4932-4938.'' สกุลพุนชัส (Barb) เป็นสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Puntius.

ใหม่!!: ปลาตะพากและสกุลพุนชัส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาตะพากและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาตะพากและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาตะพากและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราร้อยละ

รื่องหมายเปอร์เซ็นต์ อัตราร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ (percentage/percent) คือแนวทางในการนำเสนอจำนวนโดยใช้เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 มักใช้สัญลักษณ์เป็น เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ "%" เช่น ร้อยละ 45 หรือ 45% มีค่าเทียบเท่ากับ อัตราร้อยละมักใช้สำหรับการเปรียบเทียบว่าปริมาณหนึ่ง ๆ มีขนาดเท่าไรโดยประมาณเมื่อเทียบกับอีกปริมาณหนึ่ง ซึ่งปริมาณอย่างแรกมักเป็นส่วนย่อยหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอย่างหลัง ตัวอย่างเช่น ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเท่ากับ $2.50 และผู้ขายต้องการเพิ่มราคาอีก $0.15 ดังนั้นอัตราการเพิ่มราคาคือ 0.15 ÷ 2.50.

ใหม่!!: ปลาตะพากและอัตราร้อยละ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตะเพียน

อันดับปลาตะเพียน หรือ อันดับปลากินพืช (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cypriniformes, Carp, Barb, Loach, Minnow, Chinese suckerfish, Garra) เป็นอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยปลาตะเพียน, ปลาทอง, ปลาคาร์ป, ปลาซิว เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Cyprinidae มีลักษณะโดยรวมคือ ลำตัวมีเกล็ด ส่วนใหญ่แบนข้าง สันท้องกลมหรือเป็นสันคม ไม่มีหนามที่สันท้อง ตาไม่มีหนังคลุม ปากมีหลายตำแหน่งทั้งอยู่ตรงด้านหน้า เฉียงขึ้น หรืออยู่ทางด้านล่าง บางชนิดยืดหดได้เล็กน้อย บางชนิดมีลักษณะคล้ายปากดูด ส่วนใหญ่ไม่มีฟันบนขากรรไกรหรือบางชนิดที่มีก็มีไม่เกิน 8 ซี่ รอยต่อส่วนปลายของขากรรไกรล่างมีปมยื่นออกมาเรียกว่า ซิมไซซีล นอบ ริมฝีปากบางอาจมีหรือไม่มีติ่งเนื้อ บางชนิดไม่มีริมฝีปาก ไม่มีหนามใต้ตา หรือหน้าตา ช่องเปิดเหงือกกว้างกระดูกโอเพอร์เคิล เจริญดี มีหนวด 1-2 คู่ หรือไม่มี ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายของครีบหลังอาจแข็ง หรือไม่แข็ง อาจมีหยักด้านในหรือไม่มี ไม่มีครีบไขมัน มีฟันที่หลอดคอ 1-3 แถว ขอบปากเป็นกระดูกพรีแมคซิลลา ขากรรไกรบนยืดหดได้ บางชนิดครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว มีครีบหลังตอนเดียว ถุงลมมีขนาดค่อนข้างใหญ่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองตอน ไม่ถูกแผ่นกระดูกปกคลุมไว้ เป็นปลาที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกภูมิภาคของโลก ทั้งอเมริกาเหนือ, ทวีปยูเรเชียและทวีปเอเชีย มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ พบในน้ำจืดมากกว่าทะเล ส่วนใหญ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหาร ไม่มีกระเพาะอาหาร แต่ก็มีหลายชนิดที่กินเนื้อหรือแพลงก์ตอน เป็นปลาที่มนุษย์คุ้นเคยมานานเพราะใช้เป็นอาหาร นอกเหนือจากปลาในวงศ์ Cyprinidae แล้ว ยังมีปลาในวงศ์อื่นอีกที่อยู่ในอันดับนี้ประมาณ 5-6 วงศ์ ได้แก.

ใหม่!!: ปลาตะพากและอันดับปลาตะเพียน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ

ร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ (ื่อย่อ: H.M. Smith) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2408 / ค.ศ. 1865 -28 กันยายน พ.ศ. 2484 / ค.ศ. 1941) นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อธิบดีสำนักงานประมง (the Bureau of Fisheries) แห่งสหรัฐอเมริกา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ หรือ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เกิดที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ได้จบการศึกษาปริญญาเอกแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกนิติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) เริ่มต้นทำงานที่ สำนักประมง สหรัฐอเมริกา (U. S. Fish Commission) ปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ 1897-1903 หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory ที่ Wood Hole, และโดยเป็นผู้กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษาและสำรวจธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ถึงปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ได้เดินทางพร้อมคณะนักสำรวจมาที่ฟิลิปปินส์ ด้วยเรือชื่อ USS Albatross ด้วยเป็นกรรมการสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เพื่อสำรวจความหลากหลายของธรรมชาติในภูมิภาคแถบนี้.

ใหม่!!: ปลาตะพากและฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ปลาตะพากและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาตะพากและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพากส้ม

ปลาตะพากส้ม, ปลาจาด หรือ ปลาจาดแมลคัม (Goldfin tinfoil barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus malcolmi ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว ครีบและหางเป็นสีแดงหรือสีส้ม รูปร่างอ้วนป้อมกว่า แต่ขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน มีลำตัวกว้างและแบนข้าง เกล็ดค่อนข้างใหญ่ จำนวนแถวของเกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมี 26 แถว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน ก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นหนามแข็งขอบจักเป็นฟันเลื่อย มีก้านครีบแขนง 8 ก้าน ครีบหางเป็นแฉกลึกและยาวมากกว่าความยาวหัว ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน และมีก้านครีบแขนง 5 ก้าน ลำตัวมีสีขาวเงินสะท้อนแสง และมีลายดำเชื่อมต่อกันระหว่างเกล็ดดูคล้ายตาข่าย ปลาตะพากส้มแพร่ขยายพันธุ์โดยมนุษย์ เป็นครั้งแรกจากการผสมเทียมจากสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดเพชรบุรี พบว่าวางไข่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ไข่เป็นประเภทไข่ติด มีขนาดความยาวเต็มที่ประมาณ 50 เซนติเมตร พบได้ที่แม่น้ำเพชร ที่จังหวัดเพชรบุรี และแม่น้ำปิง ที่จังหวัดตาก และแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย ที่พบบ่อยคือ แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำโขง ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน ปลาตะพากส้มได้รับการอนุกรมวิธานจาก ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ นักวิชาการประมงชาวอเมริกัน ได้เก็บตัวอย่างต้นแบบจากแม่น้ำปิง เมืองระแหง ซึ่งปัจจุบันคือ จังหวัดตาก เมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1924 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นปลาชนิดใหม่ จึงส่งตัวอย่างไปยังพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ แห่งกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ แมลคัม อาเธอร์ สมิธ นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวอังกฤษที่เข้ามาศึกษาสัตว์ทั้งสองประเภทนี้ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาปีกแดง" นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาตะพากและปลาตะพากส้ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพากเหลือง

ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (Golden-bellied barb) เป็นปลาน้ำจืดจำพวกปลาตะพากชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาตะพากชนิดที่พบได้หลากหลายและเป็นที่รู้จักกันดีที.

ใหม่!!: ปลาตะพากและปลาตะพากเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนสาละวิน

ปลาตะเพียนสาละวิน หรือ ปลาตะพากสาละวิน ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus salweenensis ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาตะพากชนิดหนึ่ง มีขนาดความยาวประมาณ 20–40 เซนติเมตรเท่านั้น จัดเป็นปลาที่เล็กกว่าปลาตะพากชนิดอื่น มีลักษณะคือ ครีบหลังยกสูงตอนปลายมีสีดำ มีก้านครีบแข็งที่อันที่ 2 หยักที่ขอบด้านท้าย ครีบก้นสูงและมีฐานครีบสั้น เกล็ดไม่มีสีเหลืองหรือสีส้มหรือสีแดงเช่นปลาตะพากชนิดอื่น ๆ และมีรูปร่างที่ยาวกว่าปลาตะพากชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด มีพฤติกรรมที่ไม่ทราบแน่นอนและพบเฉพาะลุ่มน้ำสาละวินในภาคตะวันตกของไทยที่ติดกับชายแดนพม่าเท่านั้น.

ใหม่!!: ปลาตะพากและปลาตะเพียนสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะเพียนปากหนวด

ำหรับปลาปากหนวดชนิดอื่น ดูที่ Hypsibarbus vernayi ปลาตะเพียนปากหนวด หรือ ปลาปากคีบแดง (ชื่อท้องถิ่น) (Yellow eyed silver barb) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาในสกุลปลาตะพากชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในประเทศไทย มีลักษณะเหมือนปลาตะพากทั่วไป มีลำตัวกว้าง 9.5 เซนติเมตร ยาว 15 เซนติเมตร พบยาวเต็มที่ 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่เวียดนามและมาเลเซีย เป็นปลาที่กินพืชน้ำ, ไส้เดือนน้ำ และแมลงน้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขงนั้น พบชุกชุมในช่วงปลายปี คือ เดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นปลาเศรษฐกิจในชุมชน ที่ชนพื้นถิ่นจับมารับประทานและขายกันในท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิต.

ใหม่!!: ปลาตะพากและปลาตะเพียนปากหนวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปากหนวด

ำหรับปลาปากหนวดชนิดอื่นดูที่: Hypsibarbus pierrei ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus vernayi ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงปลาตะพากเหลือง (H. wetmorei) แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นไม่ยาวถึงโคนหางเหมือนปลาตะพากเหลือง ครีบและหางเป็นสีแดงเข้มหรือสีส้ม และถิ่นที่อยู่พบในภาคอีสาน, ภาคเหนือ และภาคกลางแถบ จังหวัดเพชรบุรี, ราชบุรี พบน้อยกว่าปลาตะพากเหลือง คือพบเป็นบางฤดูกาลเท่านั้น ความเป็นมาของปลาปากหนวด เริ่มจาก อาเธอร์ เอส. เวอร์เนย์ นักมีนวิทยาชาวอังกฤษได้เก็บตัวอย่างปลาปากหนวดได้ 2 ตัว จากอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จึงได้ส่งตัวอย่างให้ จอห์น ร็อกโบโรห์ นอร์แมน เพื่อตรวจสอบว่าเป็นปลาชนิดใหม่หรือไม่ ปรากฏว่าเป็นปลาชนิดใหม่ นอร์แมนจึงตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้แก่เวอร์เนย์ ปลาปากหนวดมีลำตัวที่แบนข้าง หัวค่อนข้างเล็ก มีหนวดยาว 2 คู่ มีเกล็ดตามลำตัวประมาณ 26-28 แถว เกล็ดรอบคอดหาง 12 แถว ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวก้านสุดท้ายเป็นซี่แข็งและขอบจักเป็นฟันเลื่อย ตัวมีสีขาวเงินเจือเหลือง ขอบเกล็ดบนหลังแต่ละเกล็ดมีลายสีดำติดต่อกันเป็นร่างแห ปลาปากหนวด หรือ ปลาปีกแดง ในช่วงวันขึ้น 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ ในเดือนมีนาคม ของทุกปี ในแม่น้ำมาง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำน่าน ในตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน จะมีปรากฏการณ์ที่ปลาปากหนวดนับหมื่นหรือแสนตัวว่ายทวนน้ำขึ้นไปผสมพันธุ์และวางไข่ตามลำน้ำและโขดหิน ซึ่งปลาจะมากองรวมกัน ชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ปลากอง" ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียง 2 วันนี้เท่านั้น และก่อนที่จะเกิดปรากฏการณ์นี้ จะมีสิ่งบอกเหตุ คือ ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศเย็นกว่าปกติ และนกเค้าแมวส่งเสียงร้อง เมื่อผสมพันธุ์และวางไข่เสร็จแล้ว จะกลับไปอาศัยอยู่ยังที่เดิม หรือบางตัวก็ตายลงตามอายุขั.

ใหม่!!: ปลาตะพากและปลาปากหนวด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาตะพากและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (tropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ ป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตร.

ใหม่!!: ปลาตะพากและป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตก

น้ำตก หรือ โตน ในภาษาใต้ เป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากลำน้ำไหลลงมาจากจุดที่สูงกว่า ทำให้เป็นลักษณะทัศนียภาพของน้ำตก น้ำตกที่พบได้ตามภูเขานั้น น้ำตกอีกวาซู ในอาร์เจนตินาและบราซิล น้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาตะพากและน้ำตก · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: ปลาตะพากและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาตะพากและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: ปลาตะพากและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hypsibarbusกระพากสกุลปลาตะพากตะพากปลาสะป๊าก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »