โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาการ์ตูนแดง

ดัชนี ปลาการ์ตูนแดง

ปลาการ์ตูนแดง หรือ ปลาการ์ตูนแก้มหนาม (Maroon clownfish, Spine-cheeked clownfish) เป็นปลาน้ำเค็มขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas biaculeatus จัดอยู่ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) วงศ์ย่อยปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) จัดเป็นปลาการ์ตูนเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Premnas ซึ่งแตกต่างไปจากปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในสกุล Amphiprion สิ่งที่ทำให้ปลาการ์ตูนแดงมีความแตกต่างจากปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ คือ บริเวณแก้มหรือแผ่นปิดเหงือกมีหนามยื่นออกมาจากตรงกลาง อยู่เหนือริมฝีปากเล็กน้อยขึ้นไปจนถึงบริเวณใต้ดวงตา ซึ่งสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะลำตัวแบนกว้าง มีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่กว่าปลาการ์ตูนชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะปลาเพศเมียที่โดยปกติจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้อยู่แล้ว และมีสีที่คล้ำกว่า ครีบอกมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีแดงก่ำ บริเวณแผ่นปิดเหงือก กึ่งกลางลำตัว และโคนหาง มีแถบสีขาวพาด สีของปลาการ์ตูนแดงค่อนข้างหลากหลาย ในปลาขนาดเล็กจะมีตั้งแต่สีแดงสดจนถึงแดงก่ำ และจะค่อย ๆ เข้มขึ้นจนปลาเจริญเติบโตเต็มที่ ขณะที่บางตัวในขนาดเล็กจะมีแต้มสีดำบริเวณตามครีบต่าง ๆ และจะจางหายไปเมื่อปลาโตขึ้น จัดเป็นปลาการ์ตูนที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง โดยมีความยาวเต็มที่ประมาณ 17 เซนติเมตร มีอุปนิสัยก้าวร้าวห่วงถิ่นค่อนข้างมาก พบแพร่กระจายพันธุ์ในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิกจนถึงเกาะไต้หวัน เช่น เกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย และเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ ในออสเตรเลีย เป็นต้น โดยจะอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Entacmaea quadricolor เพียงชนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งปลาการ์ตูนแดงในเริ่มแรกที่มีการค้นพบและทำการอนุกรมวิธาน ถูกเข้าใจว่าเป็นปลาในวงศ์เดียวกับปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) โดยถูกจับได้ในปี ค.ศ. 1790 ที่อินดีสตะวันออก ซึ่งก็คือ ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน หลังจากนั้นเมื่อมีการศึกษาเพิ่มเติมขึ้น ก็ถูกเปลี่ยนไปใช้สกุลใหม่และชื่อชนิดใหม่ไปมา จนกระทั่งมาใช้ชื่อสกุลอย่างในปัจจุบัน เมื่อปี ค.ศ. 1817 และชื่อเก่าก็กลายเป็นชื่อพ้องหรือยกเลิกใช้ไป นอกจากนี้แล้ว ปลาการ์ตูนแดงที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะสุมาตรา จะมีอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่มีลายสีเหลืองเจือด้วยสีฟ้าอ่อนแทนด้วยแถบสีขาว และแถบสีเหลืองนี้จะไม่จางหายไปเมื่อปลาที่พบในแหล่งอื่น ตรงกันข้าม เมื่อปลามีอายุมากขึ้นแถบดังกล่าวจะมีสีเข้มขึ้นด้วย ซึ่งปลาในลักษณะนี้ถูกเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามว่า "ปลาการ์ตูนทอง" ซึ่งในปี ค.ศ. 1904 ปลาการ์ตูนทองเคยถูกแยกออกเป็นชนิดใหม่ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas epigrammata ด้วย นอกจากนี้แล้วในธรรมชาติ ยังพบปลาการ์ตูนบางตัวที่คาดว่าเป็นลูกผสมระหว่างปลาการ์ตูนแดงกับปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Amphiprion frenatus) ด้วยในบริเวณทะเลฟิลิปปิน โดยมีสีสันเหมือนปลาการ์ตูนแดงทุกประการ แต่มีครีบต่าง ๆ สั้นกว่ารวมถึงหนามบริเวณแก้มด้วย อนึ่ง ปลาการ์ตูนแดงในตู้เลี้ยงจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากธรรมชาติ คือ ยอมรับดอกไม้ทะเลได้มากชนิดขึ้น เช่น Macrodactyla doreensis, Heteractis malu, H. magnifica, Crytodendrum adhaesivum แต่กระนั้นก็ขึ้นอยู่กับนิสัยปลาแต่ละตัวด้ว.

45 ความสัมพันธ์: ชื่อพ้องพ.ศ. 2333พ.ศ. 2344พ.ศ. 2345พ.ศ. 2359พ.ศ. 2360พ.ศ. 2372พ.ศ. 2373พ.ศ. 2397พ.ศ. 2418พ.ศ. 2447พ.ศ. 2553กันยายนการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามภูมิศาสตร์ไต้หวันวงศ์ปลาสลิดหินวงศ์ปลาผีเสื้อสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีขาวสีดำสีน้ำเงินสีแดงสีเหลืองสปีชีส์อันดับปลากะพงอินเดียตะวันออกอนุกรมวิธานทะเลทะเลฟิลิปปินดอกไม้ทะเลตาตู้ปลาประเทศออสเตรเลียประเทศอินโดนีเซียปลาการ์ตูนปลาการ์ตูนมะเขือเทศปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มเกรตแบร์ริเออร์รีฟเกาะสุมาตราเมตร

ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและชื่อพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2333

ทธศักราช 2333 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2333 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2344

ทธศักราช 2344 ตรงกับคริสต์ศักราช 1801 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2344 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2345

ทธศักราช 2345 ตรงกับคริสต์ศักราช 1802 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2345 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2359

ทธศักราช 2359 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2359 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2360

ทธศักราช 2360 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2360 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2372

ทธศักราช 2372 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2372 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2373

ทธศักราช 2373 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1830 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2373 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2397

ทธศักราช 2397 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1854.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2397 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2418

ทธศักราช 2418 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1875.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2418 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

กันยายน

กันยายน เป็นเดือนที่ 9 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนกันยายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีกันย์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีตุล แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนกันยายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวสิงโตและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว เดือนกันยายนในภาษาอังกฤษ September มาจากภาษาละติน septem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 7 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนกันยายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและกันยายน · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิศาสตร์ไต้หวัน

กาะไต้หวัน เกาะไต้หวัน (ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân) เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาธารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไต้หวันก็ตาม แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและภูมิศาสตร์ไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดหิน

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลาสลิดหิน (Damsel, Demoiselle) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pomacentridae เป็นปลาทะเลหรือน้ำกร่อยขนาดเล็ก โดยรวมแล้วมีขนาดประมาณ 4-8 เซนติเมตร มีความโดดเด่นตรงที่มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงาม จึงเป็นที่นิยมของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแนวปะการัง นับเป็นปลาที่พบได้บ่อยและชุกชุมที่สุดในแนวปะการัง พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูง มีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร มักกัดทะเลาะวิวาทกันเองภายในฝูง กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอน, สาหร่าย และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ จัดเป็นปลาที่วงศ์ใหญ่ มีจำนวนสมาชิกในวงศ์ประมาณ 360 ชนิด ใน 29 สกุลหรือวงศ์ย่อย ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 28 ชนิด โดยที่คำว่า Pomacentridae ที่เป็นภาษาละตินที่ใช้เป็นชื่อวงศ์ในทางวิทยาศาสตร์นั้น แปลงมาจากภาษากรีกคำว่า "poma" แปลว่า "ปก" หมายถึง "แผ่นปิดเหงือก" และ "kentron" แปลว่า "หนาม" ซึ่งหมายถึง "หนามที่บริเวณแผ่นปิดเหงือกอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของปลาในวงศ์นี้" ลักษณะทางชีววิทยา คือ ลำตัวสั้นปอมรูปไขรีแบนขาง เกล็ดเป็นแบบสาก เสนขางตัวขาดตอน ครีบหลังติดกันเปนครีบเดียว มี รูจมูกเพียงคูเดียว ครีบทองอยูในตำแหนงอก ไมมีฟนที่พาลาทีน ปลาในวงศ์ปลาสลิดหิน โดยมากแล้ว เป็นปลาที่ดูแลไข่จนกระทั่งฟักเป็นตัว โดยทั้งปลาตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล แต่ก็มีบางจำพวกอย่าง ปลาการ์ตูน ที่สามารถเปลี่ยนเพศได้ตามสถานการณ์ โดยปกติแล้วเป็นปลาทะเลและปลาน้ำกร่อย แต่ก็มีบางชนิดเท่านั้นที่พบอาศัยอยู่ในน้ำจืดด้ว.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและวงศ์ปลาสลิดหิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาผีเสื้อ

วงศ์ปลาผีเสื้อ (วงศ์: Chaetodontidae, Butterflyfish, Bannerfish, Coralfish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในชั้นปลากระดูกแข็ง อันดับปลากะพง (Perciformes) ประกอบไปด้วยสมาชิกแบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 10 สกุล พบประมาณ 114 ชนิด มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง มีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไว มีสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม มีพฤติกรรมอาศัยเป็นฝูงหรือเป็นคู่ในแนวปะการัง พบแพร่กระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นปลาที่ออกหากินในเวลากลางวัน โดยอาศัยการแทะกินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ตามแนวปะการัง ส่วนในเวลากลางคืนจะอาศัยหลับนอนตามโพรงหินหรือปะการัง และจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู ซึ่งในหลายชนิดและบางสกุล จะมีจุดวงกลมสีดำขนาดใหญ่คล้ายดวงตาอยู่บริเวณท้ายลำตัวเพื่อล่อหลอกให้ศัตรูสับสนได้อีกด้วยคล้ายกับผีเสื้อที่เป็นแมลง มีการสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับปลาในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ด้วยความสวยงามและรูปร่างที่น่ารัก จึงทำให้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งในบางชนิดสามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ หลายชนิดเลี้ยงได้ไม่ยากนัก ขณะที่บางชนิดที่เลี้ยงได้ยาก สำหรับในน่านน้ำไทยพบปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด อาทิ ปลาผีเสื้อนกกระจิบ (Chelmon rostratus), ปลาผีเสื้อทอง (Chaetodon semilarvatus), ปลาผีเสื้อจมูกยาวขอบตาขาว (Forcipiger flavissimus), ปลาโนรีเกล็ด (Heniochus diphreutes) เป็นต้น โดยจะพบในด้านทะเลอันดามันมากกว่าอ่าวไทย ซึ่งปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อนั้น ในอดีตเมื่อเริ่มมีการอนุกรมวิธาน ด้วยลักษณะปากที่ยื่นยาวทำให้มีความเข้าใจผิดว่า สามารถพ่นน้ำจับแมลงได้เหมือนเช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotidae) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด โดยความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1764 เมื่อมีการส่งตัวอย่างปลาในยังกรุงลอนดอนเพื่อลงรูปตีพิมพ์ลงในหนังสือ ปรากฏเป็นภาพของปลาผีเสื้อนกกระจิบ และถูกบรรยายว่าสามารถพ่นน้ำจับแมลงกินเป็นอาหารได้ จึงถูกกล่าวอ้างต่อมาอย่างผิด ๆ อีกนาน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและวงศ์ปลาผีเสื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำเงิน

ีน้ำเงิน เป็นหนึ่งในแม่สี ทั้งแม่สีทางแสง และทางวัตถุธาตุ เป็นแม่สีที่มีความยาวคลื่นต่ำที่สุด แสงสีน้ำเงินมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 440-490 นาโนเมตร เป็นสีที่ใกล้เคียงกับสีฟ้าและสีกรมท่า และถือเป็น 1 ในแม่สีร่วมกับ สีแดง และสีเขียว สีน้ำเงิน เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสีน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อินเดียตะวันออก

งประเทศที่รวมอยู่ในอินเดียตะวันตก อินเดียตะวันออก, อีสต์อินดีส หรือ อินดีส (East Indies หรือ Indies) เป็นคำที่ใช้บรรยายดินแดนที่รวมทั้งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Oxford Dictionary of English 2e, Oxford University Press, 2003, East Indies/East India ที่เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, พม่า, ศรีลังกา, มัลดีฟส์ และรวมทั้งไทย, กัมพูชา, ลาว, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ติมอร์-เลสเต, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในความหมายที่จำกัดอินดีสหมายถึงหมู่เกาะทางตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียโดยเฉพาะหมู่เกาะมลายูOxford Dictionary of English 2e, Oxford University Press, 2003, "East Indies/East India" อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ในบริเวณนี้เรียกว่าหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่จะมาเป็นอินโดนีเซีย อินเดียตะวันออก (East Indies) อาจจะรวมอินโดจีน, หมู่เกาะฟิลิปปินส์, บรูไน, สิงคโปร์ และติมอร์-เลสเต แต่จะไม่รวมนิวกินีตะวันตก (ปาปัวตะวันตก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมลานีเซีย ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอินเดียตะวันออกบางครั้งก็เรียกว่า "ชาวอินเดียตะวันออก" เพื่อให้แตกต่างจากผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเอเชียใต้, แคริบเบียน (ที่เรียกว่า “ชาวอินเดียตะวันตก”) และจากผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในทวีปอเมริกาที่เรียกว่า "ชาวอเมริกันอินเดียน" (แต่ในอเมริกาเหนือคำว่า "ชาวอินเดียตะวันออก" อาจจะหมายถึงผู้ที่มาจากอินเดียที่อยู่ในอเมริกาเหนือ) ชาวอินเดียตะวันออกมาจากหลายวัฒนธรรม หลายชาติพันธุ์ และหลายศาสนาที่ส่วนใหญ่รวมทั้งศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ศาสนาของชนกลุ่มน้อยก็ได้แก่ศาสนาคริสต์, ศาสนาซิกข์, ศาสนาเชน และความเชื่ออื่น ๆ ในบางบริเวณ นอกจากนั้นภาษาที่พูดก็มาจากหลายตระกูล.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและอินเดียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟิลิปปิน

ทะเลฟิลิปปิน ทะเลฟิลิปปิน (Dagat Pilipinas; Philippine Sea) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ มีร่องลึกได้แก่ ร่องลึกฟิลิปปินเทรนซ์และมาเรียนาเทรนซ์ ที่เป็นจุดลึกที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและทะเลฟิลิปปิน · ดูเพิ่มเติม »

ดอกไม้ทะเล

อกไม้ทะเล (Sea Anemones) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดและหลายสกุล ในอันดับ Actiniaria อาศัยอยู่ภายใต้ท้องทะเลและมหาสมุทร ลักษณะของลำตัวที่มีรูปร่างคล้ายถุงรูปทรงกระบอก มีด้านหนึ่งเป็นฐานสำหรับยืด ด้านตรงข้ามเป็นช่องปาก(รูเปิด).

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและดอกไม้ทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและตา · ดูเพิ่มเติม »

ตู้ปลา

ตู้ปลาที่เลี้ยงปลาน้ำจืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ปลาตะพาก, ปลาตะพัด ในสวนสัตว์บริสตอล ประเทศอังกฤษ ตู้ปลาแบบทั่วไปภายในบ้านเรือน ขนาด 80x30 เซนติเมตร ตู้ปลา (Aquarium) คือ ภาชนะหลักสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงาม มีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยมากมักจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยผลิตจากวัสดุประเภทกระจกหรืออะครีลิค มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ประมาณ 1 ฟุต จนถึงหลายเมตรในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในน้อยกว่าหรือช้ากว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก โดยมากแล้วตู้ปลาที่ผลิตจากกระจกจะเชื่อมต่อกันด้วยกาวซิลิโคนแบบกันน้ำ ซึ่งมีความเหนียวทนทานต่อการละลายของน้ำ ขณะที่ประเภทที่ผลิตจากอะครีลิคจะมีความทนทานกว่า เนื่องจากไม่แตกหักได้ง่าย แต่ก็จะมีราคาขายที่สูงกว่า ซึ่งตู้ปลาแบบที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้วยแล้ว จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและตู้ปลา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูน

ปลาการ์ตูน เป็นปลากระดูกแข็งขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Amphiprioninae ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae).

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและปลาการ์ตูน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ

ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ (Tomato clownfish, Bridled clownfish, Red clownfish, Tomato anemonefish) เป็นปลาการ์ตูนชนิดหนึ่ง ในปลาขนาดเล็กจะมีลายสีขาวพาดลำตัวด้านละ 3 ลาย แต่เมื่อโตขึ้นลายดังกล่าวจะหายไป เหลือเพียงลายบริเวณหน้าด้านตรงแผ่นปิดเหงือกเท่านั้น มีขนาดโตเต็มที่ 14 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณหมู่เกาะริวกิว, ทะเลญี่ปุ่น, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยปกติแล้วไม่พบในน่านน้ำไทย แต่ก็มีรายงานและภาพถ่ายหลายครั้งที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยปกติแล้วจะอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเล ชนิด ดอกไม้ทะเลนมสาว (Entacmaea quadricolor) เป็นปลาทะเลที่ได้รับความนิยมในการเป็นปลาสวยงาม จัดเป็นปลาที่สวยงามและเลี้ยงง่ายกว่าปลาการ์ตูนชนิดอื่น เช่น ปลาการ์ตูนส้มขาว (A. ocellaris) หรือปลาการ์ตูนเพอร์คูล่า (A. percula) ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและปลาการ์ตูนมะเขือเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

เกรตแบร์ริเออร์รีฟ

กรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) เป็นพืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย หรือตอนใต้ของทะเลคอรัล เริ่มตั้งแต่แหลมยอร์ก (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ ครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบ ๆ แนวปะการัง และแนวปะการังใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แนวปะการังเหนือ (Northern Reef) หมู่เกาะวิตซันเดย์ (Whitsunday Island) และแนวปะการังใต้ (Southern Reef) แนวปะการัง มีสิ่งชีวิตมากมาย ทั้งปะการังชนิดอ่อน และชนิดแข็ง สีสวยกว่า 350 ชนิด ตลอดจนปลา และสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ต่าง ๆ อีก 1500 ชน.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและเกรตแบร์ริเออร์รีฟ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาการ์ตูนแดงและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PremnasPremnas biaculeatusปลาการ์ตูนแก้มหนาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »