โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นาซีเยอรมนีและปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นาซีเยอรมนีและปฏิบัติการบาร์บารอสซา

นาซีเยอรมนี vs. ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร. ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นาซีเยอรมนีและปฏิบัติการบาร์บารอสซา

นาซีเยอรมนีและปฏิบัติการบาร์บารอสซา มี 26 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บลิทซ์ครีกชาวสลาฟกองทัพแดงการบุกครองโปแลนด์กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพฝ่ายอักษะยุทธการที่สตาลินกราดยูโกสลาเวียลักเซมเบิร์กสหภาพโซเวียตสหรัฐสงครามต่อเนื่องสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ประเทศกรีซประเทศฝรั่งเศสประเทศยูเครนประเทศลิทัวเนียประเทศสโลวาเกียประเทศออสเตรียประเทศเชโกสโลวาเกียโจเซฟ สตาลินเบนิโต มุสโสลินีเกษตรกรรม

บลิทซ์ครีก

วามเสียหายหลังจากบลิทซ์ครีก บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg) การโจมตีสายฟ้าแลบ เป็นคำแผลงเป็นอังกฤษ เป็นปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีของกองทัพนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรวมแสนยานุภาพทั้งทางภาคพื้นดินและในอากาศเข้าด้วยกัน คำว่า บลิทซ์ครีก เป็นอธิบายการโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย แนวคิดบลิทซ์ครีกนั้นได้รับการพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซ์ครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง นำโดยพลเอกไฮนซ์ กูเดเรียน บลิทซ์ครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรก ๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี.

นาซีเยอรมนีและบลิทซ์ครีก · บลิทซ์ครีกและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวสลาฟ

ไม่มีคำอธิบาย.

ชาวสลาฟและนาซีเยอรมนี · ชาวสลาฟและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

กองทัพแดงและนาซีเยอรมนี · กองทัพแดงและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

การบุกครองโปแลนด์และนาซีเยอรมนี · การบุกครองโปแลนด์และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ

นื้อหาของข้อตกลงลับ (เป็นภาษาเยอรมัน) กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพ (Molotov–Ribbentrop Pact) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ชื่อตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี โยอาคิม ฟอน ริบเบนทรอพ โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (German–Soviet Non-aggression Pact) และได้รับการลงนามในกรุงมอสโก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 สิงหาคม 1939 (แต่ในกติกาสัญญาระบุเป็นวันที่ 23 สิงหาคม)Blank Pages by G.C.Malcher ISBN 1-897984-00-6 Page 7 ความตกลงดังล่าวเป็นการประกาศวางตัวเป็นกลางหากภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม ภาคีผู้ลงนามทั้งสองสัญญาจะไม่เข้าร่วมกลุ่มกับอำนาจอื่นซึ่ง "พุ่งเป้าหมายไปยังคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม" กติกาสัญญาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง กติกาสัญญานาซี–โซเวียต (Nazi–Soviet Pact), กติกาสัญญาฮิตเลอร์–สตาลิน, กติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี–โซเวียต หรือบางครั้งก็เรียกว่า พันธมิตรนาซี–โซเวียตBenjamin B. Fischer, "", Studies in Intelligences, Winter 1999–2000, last accessed on 10 December 2005 กติกาสัญญามีผลจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 1941 เมื่อเยอรมนีเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา นอกเหนือจากการกำหนดเงื่อนไขในการไม่รุกรานระหว่างกันแล้ว กติกาสัญญาดังกล่าวยังรวมไปถึงข้อตกลงลับ ซึ่งแบ่งยุโรปตะวันออกให้อยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนีและโซเวียต เพื่อให้มีการจัดระเบียบทางดินแดนและทางการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวใหม่ หลังจากนั้น เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ร่วมกันบุกครองโปแลนด์ ตามด้วยการผนวกเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนียและดินแดนทางตอนเหนือของโรมาเนียเข้าไปอยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการผนวกดินแดนทางตะวันออกของฟินแลนด์ หลังจากความพยายามรุกรานของสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว ภาคผนวกลับดังกล่าวถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดสงครามแห่งการรุกราน.

กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและนาซีเยอรมนี · กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

นาซีเยอรมนีและฝ่ายอักษะ · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและฝ่ายอักษะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สตาลินกราด

ทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม..

นาซีเยอรมนีและยุทธการที่สตาลินกราด · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและยุทธการที่สตาลินกราด · ดูเพิ่มเติม »

ยูโกสลาเวีย

ูโกสลาเวีย (Yugoslavia; สลาวิกใต้: Jugoslavija; เซอร์เบีย: Југославија) เป็นชื่ออดีตประเทศบริเวณคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความหมายของคำว่ายูโกสลาเวียคือ "ดินแดนของชาวสลาฟตอนใต้".

นาซีเยอรมนีและยูโกสลาเวีย · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) อาจหมายถึง.

นาซีเยอรมนีและลักเซมเบิร์ก · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

นาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

นาซีเยอรมนีและสหรัฐ · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามต่อเนื่อง

งครามต่อเนื่อง ประกอบด้วยสงครามระหว่างฟินแลนด์และสหภาพโซเวียต ตั้งแต่ปี..

นาซีเยอรมนีและสงครามต่อเนื่อง · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและสงครามต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

นาซีเยอรมนีและสงครามโลกครั้งที่สอง · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

นาซีเยอรมนีและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

นาซีเยอรมนีและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และนาซีเยอรมนี · จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

นาซีเยอรมนีและประเทศกรีซ · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

นาซีเยอรมนีและประเทศฝรั่งเศส · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

นาซีเยอรมนีและประเทศยูเครน · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย (Lithuania; Lietuva เลฺยียทุวะ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania; Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซี.

นาซีเยอรมนีและประเทศลิทัวเนีย · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและประเทศลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสโลวาเกีย

ลวาเกีย (Slovakia; Slovensko) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสโลวัก (Slovak Republic; Slovenská republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับเช็กเกีย ทางเหนือติดต่อกับโปแลนด์ ทางตะวันออกติดต่อกับยูเครน ทางใต้ติดต่อกับฮังการี และทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับออสเตรีย เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศคือเมืองหลวงบราติสลาวา ปัจจุบันสโลวาเกียเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหภาพยุโรป และได้เปลี่ยนสกุลเงินของประเทศจากกอรูนาสโลวักมาเป็นยูโรเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552.

นาซีเยอรมนีและประเทศสโลวาเกีย · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและประเทศสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

นาซีเยอรมนีและประเทศออสเตรีย · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเชโกสโลวาเกีย

right right เชโกสโลวาเกีย เป็นอดีตประเทศในยุโรปกลาง ปัจจุบันแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกี.

นาซีเยอรมนีและประเทศเชโกสโลวาเกีย · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและประเทศเชโกสโลวาเกีย · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

นาซีเยอรมนีและโจเซฟ สตาลิน · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เบนิโต มุสโสลินี

นีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ ได้จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในการครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี มุสโสลินีถูกจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยกองกำลังปาร์ติซานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่บริเวณใกล้ชายแดนอิตาลี-สวิสเซอร์แลนด์ ในขณะที่เขาพยายามจะหลบหนีออกจากอิตาลี และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี อนุภรรยา และผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์คนอื่นๆ อีกประมาณ 15 คน ได้ถูกนำไปยังเมืองมิลาโน เพื่อแขวนประจานต่อสาธารณชน.

นาซีเยอรมนีและเบนิโต มุสโสลินี · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและเบนิโต มุสโสลินี · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

นาซีเยอรมนีและเกษตรกรรม · ปฏิบัติการบาร์บารอสซาและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นาซีเยอรมนีและปฏิบัติการบาร์บารอสซา

นาซีเยอรมนี มี 238 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา มี 125 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 26, ดัชนี Jaccard คือ 7.16% = 26 / (238 + 125)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นาซีเยอรมนีและปฏิบัติการบาร์บารอสซา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »