โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกล่าเหยื่อ

ดัชนี นกล่าเหยื่อ

หยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง นกล่าเหยื่อ (Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง") เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร Brown, Leslie (1997).

38 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญกลางวันกลางคืนภาษาละตินมองโกเลียฤดูหนาววงศ์นกแสกวงศ์นกเค้าแมววงศ์เหยี่ยวปีกแหลมวงศ์เหยี่ยวและอินทรีศพสัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์สนธยาอินทรีคาบสมุทรมลายูคาบสมุทรเกาหลีประเทศญี่ปุ่นประเทศจีนประเทศไทยปักษีวิทยานกแสกนกแสกแดงนกเลขานุการนกเค้านกเค้าโมงนกเค้าเหยี่ยวแร้งแร้งโลกใหม่โซ่อาหารไซบีเรียเพศชายเหยี่ยวเหยี่ยวออสเปรเขตปกครองตนเองทิเบตเดลินิวส์เนื้อสัตว์

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

กลางวัน

วลา 13:00 UTC ของวันที่ 2 เมษายน กลางวันคือพื้นที่สว่างในภาพ กลางวัน (Daytime) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์ได้ฉายลงบนพื้นผิวโลก หรือเท่ากับช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก เมื่อโลกหมุนไปตำแหน่งของกลางวันก็จะเปลี่ยนไป ความยาวนานของกลางวันขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนโลกและความเอียงของแกนโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนด้านที่แสงอาทิตย์ไม่ได้ฉายลงบนโลกเรียกว่ากลางคืน ทำนองเดียวกับดาวเคราะห์อื่นๆ กลางวันคือช่วงเวลาที่พื้นผิวของดาวเคราะห์นั้นได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตนเอง.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและกลางวัน · ดูเพิ่มเติม »

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มองโกเลีย

มองโกเลีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและมองโกเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ฤดูหนาว

ฤดูหนาว (ฝรั่งเศส: hiver; เยอรมัน อังกฤษ: winter; สเปน: invierno; โปรตุเกส: inverno) เป็นฤดูที่มีอากาศหนาวที่สุดในปี ฤดูหนาวในเขตอบอุ่นและเขตหนาวของซีกโลกเหนือ โดยทั่วไปจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 22 ธันวาคม ถึง 22 มีนาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือได้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป อากาศจะหนาวเย็น ยกเว้นภาคใต้ของประเทศไทยอุณหภูมิจะลดลงได้บ้างเป็นครั้งคราวและจะมีฝนตกตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่สุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงนราธิวาส หนาว หมวดหมู่:ฤดูหนาว.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและฤดูหนาว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกแสก

วงศ์นกแสก (Barn-owl, วงศ์: Tytonidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับนกเค้าแมว (Strigiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Tytonidae นับเป็นวงศ์ของนกเค้าแมววงศ์หนึ่ง นอกเหนือจากวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae) มีลักษณะทั่วไป คือ มีขนาดใหญ่กว่านกในวงศ์นกเค้าแมว ใบหน้ากลมแบน มีขนสีขาวเต็มหน้า ทำให้คล้ายรูปหัวใจ ตามีสีดำ อยู่ด้านหน้า และมีขนาดเล็กกว่าวงศ์นกเค้าแมว ปากเป็นจะงอยงุ้ม สีเหลืองเทา ชมพู หลังและปีกสีน้ำตาลอ่อน มีสีน้ำตาลเทาเป็นส่วน ๆ คอ อก ท้อง สีขาว ขาวนวล มีจุดสีน้ำตาลเข้มทั่วไป ปีกยาว หางสั้น ขนปีกและหางมีลายขวางสีเหลืองสลับน้ำตาลอ่อน ขาใหญ่ มีขนคลุมขา ตีนสีชมพู นิ้วมีเล็บยาว รูปร่างลักษณะตัวผู้และตัวเมียจะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะโตกว่าเล็กน้อย ลำตัวตั้งตรง มีพฤติกรรมการหากินและเป็นอยู่คล้ายกับนกในวงศ์นกเค้าแมว โดยแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล 16 ชนิด และยังมีอีก 4 สกุล ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (ดูในตาราง) พบกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ในหลายภูมิประเทศ ทั้งในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล จนถึงชุมชนเมืองของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย พบได้ 3 ชนิด คือ นกแสก (Tyto alba) นกแสกทุ่งหญ้า (Tyto capensis) และนกแสกแดง (Phodilus badius) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า และพบได้เฉพาะในป่าเท่านั้น.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและวงศ์นกแสก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกเค้าแมว

วงศ์นกเค้าแมว หรือ วงศ์นกเค้าแมวแท้ (True owl, Typical owl, วงศ์: Strigidae) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อในอันดับ Strigiformes หรือนกเค้าแมว ใช้ชื่อวงศ์ว่า Strigidae ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ (อีกวงศ์หนึ่ง นั่นคือ Tytonidae ซึ่งเป็นวงศ์ของนกแสก) มีลักษณะทั่วไปที่เป็นลักษณะเด่นชัด คือ มีตากลมโตสีเหลือง และมีตาอยู่ด้านหน้า ในบางสกุลหรือบางชนิด จะมีขนหูตั้งขึ้นต่อจากคิ้ว ตาสองข้างอยู่ด้านหน้า เหนือปาก เป็นเหมือนรูปจมูก มีเส้นสีที่แสดงเขตใบหน้าอย่างชัดเจน จะงอยปากงุ้มแหลมคม ปากงุ้มแหลม ปากและขาสีเนื้อ มีเล็บนิ้วยาวสำหรับฉีกเหยื่อที่จับได้ สีขนส่วนใหญ่ของหลัง-ปีก-อก และท้อง จะเป็นสีน้ำตาล-น้ำตาลเข้ม และมีลายน้ำตาลเข้ม-ดำ อก และท้องจะมีสีอ่อน กว่าหลังและปีก หางจะไม่ยาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ลวดลายของอกและท้องรวมทั้งสีขนจะแตกต่างกันในแต่ละชนิด นอกจากนี้แล้ว นกในวงศ์นี้ ยังสามารถหมุนคอได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก โดยมากแล้วเป็นนกที่หากินในเวลากลางคืน โดยอาหารหลักได้แก่ หนู และสัตว์ชนิดอื่น เช่น สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เป็นต้น มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว และจะสำรอกส่วนที่ย่อยไม่ได้เช่น กระดูกหรือก้อนขน ออกมาเป็นก้อนทีหลัง อาจมีบางชนิดที่กินปลาเป็นอาหาร มีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ นกเค้าเอลฟ์ (Micrathene whitneyi) ที่มีน้ำหนักเพียง 40 กรัม ความยาวลำตัวเพียง 14 เซนติเมตร ความยาวปีก 20 เซนติเมตร จนถึง นกเค้าอินทรียูเรเชีย (Bubo bubo) ที่มีความยาวปีกยาวกว่า 75 เซนติเมตร น้ำหนัก 4.20 กิโลกรัม นับเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์และอันดับนี้ ปัจจุบัน พบทั้งหมดราว 200 ชนิด แบ่งได้เป็น 25 สกุล ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว 4 (ดูในตาราง) พบได้ทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่บริเวณขั้วโลกเหนือ พบได้ในหลากหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ในป่าดิบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 200 เมตร จนถึงชุมชนมนุษย์ในเมืองใหญ่ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั้งหมด 17 ชน.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและวงศ์นกเค้าแมว · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหยี่ยวปีกแหลม

วงศ์เหยี่ยวปีกแหลม (Falconidae) ประกอบไปด้วยเหยี่ยวและคาราคาราซึ่งเป็นนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน มีประมาณ 60 ชนิด วงศ์นี้แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Polyborinae ประกอบด้วย คาราคารา และเหยี่ยวป่า และ Falconinae ประกอบด้วย เหยี่ยว, เหยี่ยวเคสเตรล และ เหยี่ยวแมลงปอ.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและวงศ์เหยี่ยวปีกแหลม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและวงศ์เหยี่ยวและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

ศพ

องแกะ ศพ คือ ร่างของมนุษย์ที่ตายแล้ว สำหรับร่างของสัตว์ที่ตายแล้ว เรียก "ซาก".

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและศพ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

สนธยา

มสนธยา สนธยา หรือ โพล้เพล้(Twilight) หมายถึง ช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น หรือหลังจากดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ที่ยังกระจายอยู่ในชั้นบรรยากาศชั้นบน ได้ส่องมายังชั้นบรรยากาศชั้นล่างและพื้นผิวโลก ทำให้ขณะนั้นเห็นท้องฟ้าบริเวณใกล้กับขอบฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม หรือแดง ซึ่งแสงลักษณะนี้ในภาษาไทยเรียกว่า ผีตากผ้าอ้อม.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและสนธยา · ดูเพิ่มเติม »

อินทรี

อินทรี เป็นนกจำพวกนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Accipitridae อันดับ Accipitriformes (วงศ์และอันดับเดียวกับ เหยี่ยว) มีโครงสร้างทางกายภาพที่แข็งแรง ประกอบด้วยโครงกระดูก กล้ามเนื้อ ส่วนต่าง ๆ ขน และกรงเล็บเป็นหลัก จัดอยู่ในประเภทนกที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร มีขนาด ปีก และ หาง ที่กว้าง ลักษณะปลายปีกแหลมหรือปีกแตก จะงอยปากงองุ้มเป็นตะขอ อินทรีเป็นนกที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง สายตาคม บินเร็ว โจมตีแม่นยำ มองเห็นเป้าหมายได้จากระยะไกล มีเพดานบินตั้งแต่พื้นราบจนถึงความสูง 2,100 เมตร และจัดได้ว่าเป็นสัตว์ที่มีสายตาดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังถือเป็นนกหรือสัตว์ปีกที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีอายุได้มากถึง 70 ปี ส่วนใหญ่จะมีสีเข้มและสร้างรังบนหน้าผาที่สูงชัน อินทรีเป็นนกที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นนกที่กินเนื้อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, งู, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเช่น หนู และเป็นนกนักล่าซึ่งล่านกด้วยกัน และไข่นกที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร อินทรีพบอาศัยกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั่วทุกแห่งในโลก ยกเว้นพื้นที่ในทวีปแอนตาร์กติก ที่มีอากาศหนาวเย็น ในประเทศไทย มีอินทรีอยู่ด้วยกันจำนวนหนึ่ง อาทิ นกออก (Haliaeetus leucogaster), อินทรีหัวนวล (H. leucoryphus), อินทรีดำ (Ictinaetus malaiensis), อินทรีปีกลาย (Clanga clanga) เป็นต้น เนื่องจากเป็นนกขนาดใหญ่ น่าเกรงขาม และบินได้สูงและกว้างไกล ทำให้มีความสง่างาม ในเชิงของการเป็นสัญลักษณ์แล้ว อินทรีถูกมนุษย์ใช้ในเชิงสัญลักษณ์เป็นระยะเวลายาวนาน ในหลายวัฒนธรรมของทุกมุมโลก เช่น เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งของไทย หรือ สหรัฐอเมริกาได้ใช้อินทรีหัวขาว (Haliaeetus leucocephalus) เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรมลายู

มุทรมลายู คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (Semenanjung Tanah Melayu; Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและคาบสมุทรมลายู · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรเกาหลี

มุทรเกาหลี (Korean Peninsula) เป็นคาบสมุทรทางตะวันออกของทวีปเอเชีย ทอดตัวลงไปทางทิศใต้สู่มหาสมุทรแปซิฟิก มีความยาวประมาณ 1,000 กิโลเมตร พื้นที่รวมกันได้ 220,847 ตร.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและคาบสมุทรเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปักษีวิทยา

ปักษีวิทยา (ornithology) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสัตววิทยา ที่ศึกษาเกี่ยวกับนก คำว่า ornithology มาจากคำในภาษากรีก 2 คำ คือ ornis ("นก") และ logos ("ความรู้") ผู้ที่ศึกษาสาขาวิชานี้จะเรียกว่า "นักปักษีวิทยา" (ornithologist) มนุษย์ให้ความสนใจนกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากภาพเขียนบนผนังถ้ำในสมัยยุคหิน ในยุคแรก ความรู้เกี่ยวกับนกเริ่มมาจากความพยายามในการล่านกหายาก และการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อกินไข่และเนื้อ โดยเริ่มที่อียิปต์ ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล และที่จีน ประมาณ 246 ปีก่อนคริสตกาล ในสมัยใหม่ ปักษีวิทยาช่วยในการไขปริศนาหลายอย่างเกี่ยวกับวิวัฒนาการ พฤติกรรม และนิเวศวิทยา เพราะมีการศึกษาถึงสปีชีส์ กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่ การเรียนรู้ การใช้สอยเครื่องมือ ฯลฯ โดยได้จากการศึกษาตัวอย่าง จากในห้องปฏิบัติการ และจากการลงพื้นที่จริง หมวดหมู่:สัตววิทยา หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:ปักษีวิทยา.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและปักษีวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

นกแสก

นกแสก หรือ นกแฝก หรือ นกเค้าหน้าลิง (Barn owl, Common barn owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งในวงศ์นกแสก (Tytonidae) วงศ์ย่อย Tytoninae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tyto alba จัดเป็น 1 ชนิดในจำนวน 19 ชนิดของนกในอันดับนกเค้าแมวที่พบได้ในประเทศไทย และนับเป็นนกแสกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 1 ชนิดนั้นคือ นกแสกแดง).

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและนกแสก · ดูเพิ่มเติม »

นกแสกแดง

นกแสกแดง (Oriental bay owl) เป็นนกล่าเหยื่ออยู่ในวงศ์นกแสก (Tytonidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายนกแสกธรรมดา (Tyto alba) แต่มีขนาดที่เล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงประมาณ 28-29 เซนติเมตร ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลเหลือง อันเป็นที่มาของชื่อ มีลายจุดสีน้ำตาลเหลืองหรือสีเนื้อ ด้านล่างลำตัวและใบหน้าสีเนื้อแกมชมพู มีลายแต้มสีออกม่วง ตาสีน้ำตาลเข้ม มีขนสีน้ำตาลยื่นยาวเล็กน้อยออกไปทางด้านข้างของรูหูเป็นพุ่ม ในขณะที่บินจะเห็นปีกค่อนข้างสั้น จัดเป็นนกที่บินได้เก่งมาก และอาจส่งเสียงร้องไปในขณะที่บิน โดยที่นกแสกชนิดนี้จะพบได้เฉพาะในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 2,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกหากินในตอนกลางคืน ตอนกลางวันส่วนใหญ่จะหลบซ่อนตามโพรงของต้นไม้ จึงทำให้พบเห็นตัวค่อนข้างยาก มีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปี โดยทำรังตามโพรงต้นไม้ ซึ่งเป็นโพรงที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่น ๆ ทำทิ้งเอาไว้ รังมักจะอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 2-5 เมตร หรือมากกว่า นกมักจะใช้โพรงเดิมเป็นประจำทุก ๆ ปี นอกเหนือจากโพรงเหล่านั้นถูกนกหรือสัตว์อื่น ๆใช้ และนกแสกแดงไม่สามารถที่จะขับไล่ออกไปได้ ปรกติไม่มีวัสดุรองรังอีก รูปร่างของไข่เป็นรูปไข่ค่อนข้างกลม ขนาดโดยเฉลี่ย 30.0 x 34.5 มิลลิเมตร เปลือกไข่มีสีขาว ผิวเรียบ ในแต่ละรังมีไข่ 3-4 ฟอง บางรังก็มี 5 ฟอง ตัวเมียตัวเดียวที่ทำการฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากที่ออกไข่ฟองแรก ทั้ง 2 เพศช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน การพัฒนาของลูกอ่อนไม่แตกต่างไปจากนกแสกธรรมดามากนัก นกแสกแดงจัดเป็นนกแสก 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบได้ในภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกพบได้น้อยและพบได้เฉพาะพิ้นที่บางส่วนเท่านั้น ในต่างประเทศพบได้ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น ศรีลังกา จนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ ทำให้แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อยด้วยกัน เช่น P. b. badius พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, P. b. saturatus พบในรัฐสิกขิม, P. b. ripleyi พบในอินเดียตอนใต้, P. b. assimilis พบในศรีลังกา เป็นต้น.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและนกแสกแดง · ดูเพิ่มเติม »

นกเลขานุการ

ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: ราศีธนู และกลุ่มดาวคนยิงธนู นกเลขานุการ หรือ นกเลขานุการินี (Secretarybird, Secretary bird) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในอันดับ Accipitriformes อันเป็นอันดับเดียวกับอินทรี, เหยี่ยว และแร้ง และจัดเป็นเพียงชนิดเดียวและสกุลเดียว ในวงศ์ Sagittariidae เท่านั้น นกเลขานุการเป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม และมีความสูงกว่า 1 เมตร (ประมาณ 1.2-1.3 เมตร) เมื่อสยายปีกกว้างได้ถึง 2 เมตร ซึ่งชื่อ "นกเลขานุการ" แปลตรงตัวมาจากภาษาอังกฤษ คือ "Secretary bird" ซึ่งชื่อนี้ได้ดัดแปลงมาจากภาษาอาหรับคำว่า "saqr-et-tair" ซึ่งมีความหมายว่า "นกนักล่า" และต่อมาได้เพี้ยนจนกลายเป็น "Secretary" อย่างในปัจจุบัน แต่บางข้อมูลก็ระบุว่ามาจากขนหลังหัวที่เป็นซี่ ๆ ชี้ตั้งขึ้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเหมือนขนนกที่ชาวตะวันตกในศตวรรษก่อนใช้ทัดหูและใช้แทนปากกา นกเลขานุการ มีลักษณะทั่วไปคล้ายอินทรี แต่มีส่วนขาที่ยาวมาก เป็นนกที่วิ่งและหากินตามพื้นดิน โดยไม่ค่อยบิน มีพฤติกรรมมักหากินอยู่เป็นคู่ตามทุ่งหญ้าและพุ่มไม้ต่าง ๆ โดย อาหาร คือ แมลงขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๊กแตน, หนูชนิดต่าง ๆ นกที่ทำรังบนพื้นดินรวมทั้งไข่นก และสัตว์เลื้อยคลาน และมีรายงานว่าสามารถล้มสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างแอนทิโลปขนาดเล็กหรือที่เป็นลูกอ่อนได้ด้วย ทั้งนี้ นกเลขานุการจะสร้างรังขนาดใหญ่บนต้นไม้ พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของทะเลทรายสะฮาราลงไป ซึ่งปัจจุบันจะพบได้ตามเขตอนุรักษ์และอุทยานแห่งชาติต่าง.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและนกเลขานุการ · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้า

นกเค้า หรือ นกเค้าแมว หรือ นกฮูก (Owl) เป็นนกที่อยู่ในอันดับ Strigiformes มีรูปใบหน้าคล้ายแมว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ จับสัตว์เล็ก ๆ กินเป็นอาหาร เช่น หนู, งู หรือสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเล็ก ๆ ในขณะที่บางชนิดที่มีขนาดใหญ่อาจจับปลา หรือปูกินได้ด้วย จัดเป็นนกล่าเหยื่อจำพวกหนึ่งเหมือนเหยี่ยว, อินทรี และแร้ง ที่หากินในเวลากลางวัน ส่วนนกเค้าแมวนั้นมักหากินในเวลากลางคืน ทำให้มีเล็บโค้งแหลมและมีปากงุ้มแหลมสำหรับจับสัตว์กิน เหตุที่หากินในเวลากลางคืน เป็นเพราะนกเค้าแมวเป็นนกที่ไม่อาจสู้กับนกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน อย่าง เหยี่ยวหรืออินทรีได้ อีกทั้งบางครั้งยังถูกนกที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง นกเอี้ยงหรือนกกิ้งโครงไล่จิกตีอีกต่างหาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน จึงมีดวงตาโตกว่าเหยี่ยวและอินทรีมาก ดวงตาอยู่ด้านหน้าของใบหน้าเหมือนมนุษย์และสัตว์ตระกูลแมว หัวหมุนได้เกือบรอบตัวได้ถึง 270 องศา เนื่องจากมีกระดูกสันหลังตรงคอ 14 ชิ้น ซึ่งมากกว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ในโลก หูของนกเค้าแมวมีความไวมากเป็นพิเศษสำหรับการฟังเสียงในเวลากลางคืนและหาเหยื่อ มีขนปีกอ่อนนุ่ม บินได้เงียบเพื่อไม่ให้เหยื่อรู้ตัว และมีประสาทสายตาที่มองเห็นได้ดีกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่าโดยปกติแล้วตัวเมียมีขนาดโตกว่าตัวผู้ ตัวเมียเป็นตัวที่กกไข่ ตัวผู้ไม่กกไข่ มักพบก้อนที่สำรอกคายออกทิ้งลงมาที่พื้นเบื้องล่างในรังหรือบริเวณใกล้เคียงกับรัง เพราะนกเค้าแมวมักกลืนเหยื่อเข้าไปทั้งตัว กระดูกและขนที่ไม่ย่อยก็สำรอกออกมาเป็นก้อนทิ้งทีหลัง.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและนกเค้า · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าโมง

นกเค้าโมง หรือ นกเค้าแมว (Asian barred owlet) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกนกเค้าแมว มีลายสีน้ำตาลทั่วทั้งตัว ด้านใต้ของลำตัวเป็นสีขาวและมีลายสีขาวในแนวตั้งลากยาวขึ้นมาที่บริเวณอกอย่างไม่เป็นระเบียบ มีม่านตาสีเหลือง ในวัยเล็กจะมีลวดลายบนหัวเป็นจุดคล้ายกับนกเค้าแคระ (G. brodiei) ซึ่งเป็นนกในสกุลเดียวกันและเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวที่เล็กที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย นกเค้าโมง มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก มีชนิดย่อยทั้งสิ้น 8 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสภาพแวดล้อม ทั้งป่าทึบที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,980 เมตร จนถึงสวนสาธารณะในเมืองใหญ่ บางครั้งอาจจะพบได้ในเวลากลางวันได้อีกด้วย จึงนับเป็นนกจำพวกนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่พบเห็นตัวได้บ่อยรองมาจากนกแสก (Tyto alba) สำหรับในประเทศไทย พบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่างและภาคกลางตอนล่าง มีพฤติกรรมร้องได้หลายเสียง หลายทำนอง ในเวลากลางคืนจะร้องเป็นครั้งคราวคล้ายกับจะบอกโมงยาม จึงได้ชื่อว่า "นกเค้าโมง" เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 แต่จากความที่เป็นนกขนาดเล็ก จึงทำให้นกเค้าโมงเป็นนกเค้าแมวอีกชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกับนกเค้าแคร.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและนกเค้าโมง · ดูเพิ่มเติม »

นกเค้าเหยี่ยว

นกเค้าเหยี่ยว (Brown Hawk-owl) เป็นนกเค้าแมวชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับนกเหยี่ยวหรืออินทรี มีลำตัวขนาดใหญ่ ปีกกว้างและกลมมน ตากลมโตสีเหลืองทอง ระหว่างตามีแถบคาดสีเหลือง หัวและลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวด้านล่างสีกีกาหรือสีขาว มีลายจุดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง มีขนาดใหญ่เต็มที่สูงได้ถึง 30 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคตะวันออกกลางจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ หมู่เกาะอันดามันในทะเลอันดามัน จนถึงภาคใต้ของจีนและหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ, ภาคตะวันตก, ภาคใต้, บางส่วนของภาคตะวันออก และจัดเป็นนกอพยพในภาคใต้ โดยพบในป่าโปร่ง, ป่าชายเลน จนถึงป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,200 เมตร มีทั้งหมด 12 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและนกเค้าเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

แร้ง

แร้งสีน้ำตาล (''Gyps indicus'') แร้ง หรือ อีแร้งบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและแร้ง · ดูเพิ่มเติม »

แร้งโลกใหม่

แร้งโลกใหม่ (New world vulture) เป็นวงศ์ของนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ ในวงศ์ Cathartidae โดยนกในวงศ์นี้จะพบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะซีกโลกที่เรียกว่า "โลกใหม่" เท่านั้น คือ ทวีปอเมริกา ทั้ง อเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แร้งโลกใหม่ เป็นนกที่กินซากสัตว์เป็นอาหารเช่นเดียวกับแร้งโลกเก่า (Aegypiinae) ที่พบในทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป แต่ทว่ามีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือ แร้งโลกใหม่ในหลายชนิดจะหาอาหารด้วยการใช้ประสาทการดมกลิ่นแทนที่จะการมองเห็น เช่นเดียวกับแร้งโลก หรือนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น ๆ และทำให้การจัดอันดับของแร้งโลกใหม่นั้นไม่มีข้อยุติ โดยบางข้อมูลจะจัดให้อยู่ในอันดับ Accipitriformes เช่นเดียวกับนกล่าเหยื่อจำพวกอื่น แต่ในบางข้อมูลก็จัดให้อยู่ในอันดับ Ciconiiformes อันเป็นอันดับเดียวกับพวกนกกระสา โดยเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากนกกระสา หรือกระทั่งอยู่ในอันดับ Cathartiformes ซึ่งเป็นอันดับของตนเองไปเลยก็มี.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและแร้งโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

โซ่อาหาร

ซ่อาหารในทะเลสาบสวีเดนแห่งหนึ่ง เหยี่ยวออสเปรกินปลาไพก์เหนือ (northern pike) ปลาไพก์เหนือกินเพิร์ช (perch) เพิร์ชกินบลีก (bleak) บลีกกินกุ้งน้ำจืดตามลำดับ โซ่อาหาร (food chain) เป็นลำดับเชื่อมโยงเส้นตรงและกลมในสายใยอาหารโดยเริ่มจากพืชและต่อด้วยสัตว์กินพืชจากนั้นจะเกิดการกินเป็นทอดๆ โซ่อาหารแตกต่างจากสายใยอาหาร เพราะสายใยมีเครือข่ายความสัมพันธ์การกินที่ซับซ้อน แต่โซ่อาหารมีเส้นทางการกินเป็นเส้นตรงและรูปทรงวงกลมเท่านั้น ตัววัดทั่วไปที่ใช้บอกจำนวนโครงสร้างเชิงอาหารของสายใยอาหารคือ ความยาวโซ่อาหาร ในรูปแบบง่ายที่สุด ความยาวของโซ่อาหาร คือ จำนวนเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับฐานของสายใย และความยาวโซ่เฉลี่ยของสายใยทั้งหมด คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของความยาวโซ่ทั้งหมดในสายใยอาหาร โซ่อาหารปรากฏครั้งแรกในหนังสือตีพิมพ์เมื่อ..

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและโซ่อาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ไซบีเรีย

ซบีเรีย ไซบีเรีย (Siberia, Сиби́рь) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีอากาศหนาวเย็นได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี..

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยว

หยี่ยว หรือ อีเหยี่ยวบรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและเหยี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวออสเปร

หยี่ยวออสเปร (Osprey, Sea hawk, Fish eagle) เป็นนกล่าเหยื่อที่กินปลาเป็นอาหาร มีขนาดใหญ่ ยาว 60 เซนติเมตร ช่วงปีกกว้าง 2 เมตร ขนส่วนบนเป็นสีน้ำตาล ศีรษะและส่วนล่างมีสีค่อนข้างเทา มีสีดำบริเวณตาและปีก เหยี่ยวออสเปรมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ชอบทำรังใกล้กับแหล่งน้ำ แม้ว่าในทวีปอเมริกาใต้จะเป็นเพียงแค่นกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ แต่ก็ถือว่าสามารถพบได้ทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา เหยี่ยวออสเปรกินปลาเป็นอาหาร จึงพัฒนาลักษณะทางกายภาพเฉพาะและแสดงพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อช่วยในการล่าและการจับเหยื่อ จึงส่งผลให้มีสกุลและวงศ์เป็นของตนเองคือ สกุล Pandion และ วงศ์ Pandionidae มี 4 สปีชีส์ย่อยที่ได้รับการยอมรับ แม้จะมีนิสัยชอบในการทำรังใกล้แหล่งน้ำ แต่เหยี่ยวออสเปรก็ไม่ใช่อินทรีทะเล.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและเหยี่ยวออสเปร · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองทิเบต

ตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa).

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและเขตปกครองตนเองทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

เดลินิวส์

ลินิวส์ (Daily News) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย ที่มียอดจำหน่ายมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ นำเสนอข่าวทั่วไป ก่อตั้งโดย นายแสง เหตระกูล ออกฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ใช้ชื่อหัวหนังสือพิมพ์ขณะนั้นว่า เดลิเมล์วันจันทร์ จำนวน 16 หน้า ราคาฉบับละ 1.00 บาท โดยมีนายประพันธ์ เหตระกูล เป็นบรรณาธิการบริหาร ปัจจุบันใช้ชื่อ เดลินิวส์ (ตั้งแต่ 22 มกราคม พ.ศ. 2522) มีจำนวนหน้าระหว่าง 28-48 หน้า ราคาฉบับละ 10.00 บาท มีจำนวนพิมพ์ปัจจุบันที่ 900,000 ฉบับ สำหรับผู้บริหารคือ ประชา เหตระกูล เป็นบรรณาธิการบริหาร และอภิชัย รุ่งเรืองกุล เป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณ.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและเดลินิวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อสัตว์

นื้อสัตว์ต่าง ๆ เนื้อสัตว์ เป็นเนื้อของสัตว์ที่มนุษย์บริโภคเป็นอาหาร มนุษย์เป็นสัตว์กินทั้งพืชและเนื้อ ล่าและฆ่าสัตว์เอาเนื้อมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นของอารยธรรมทำให้มนุษย์นำสัตว์มาเลี้ยง เช่น ไก่ แกะ หมูและปศุสัตว์ และนำมาใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ในระดับอุตสาหกรรมในที่สุด เนื้อสัตว์ประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ และโดยปกติกินร่วมกับอาหารอย่างอื่น เนื้อสัตว์นั้นกินดิบ ๆ ได้ แต่ปกติจะกินสุกและสามารถปรุงรสได้หลายวิธี หากไม่ผ่านการแปรรูป เนื้อสัตว์จะเน่าในเวลาไม่กี่วัน การเน่าเสียของเนื้อสัตว์นั้นเกิดจากการติดเชื้ออันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และจากการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและฟังไจ ซึ่งอาจจะมาจากตัวเนื้อสัตว์เอง มาจากมนุษย์จัดการกับเนื้อสัตว์ และจากกระบวนการปรุงอาหาร การบริโภคเนื้อสัตว์นั้นมีหลากหลายทั่วโลก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม หรือศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้กินมังสวิรัติเลือกไม่กินเนื้อ ด้วยเหตุผลด้านจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ศาสนาหรือสุขภาพ ซึ่งสัมพันธ์กับการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์ โดยส่วนใหญ่ เนื้อสัตว์หมายถึงกล้ามเนื้อโครงร่างและไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่อาจหมายถึงเนื้อเยื่อที่กินได้ เช่น เครื่องในสัตว์ ในทางกลับกัน เนื้อสัตว์ บางครั้งใช้เรียกอย่างจำกัด คือหมายถึงเพียงเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (หมู, ปศุสัตว์, แกะ, ฯลฯ) ที่ถูกเลี้ยงดูและเตรียมไว้ให้มนุษย์บริโภค แต่ไม่รวมถึงปลา สัตว์ทะเลต่าง ๆ สัตว์ปีก หรือสัตว์ชนิดอื่น.

ใหม่!!: นกล่าเหยื่อและเนื้อสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »