โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นกกะรางหัวขวานและนกตะขาบทุ่ง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง นกกะรางหัวขวานและนกตะขาบทุ่ง

นกกะรางหัวขวาน vs. นกตะขาบทุ่ง

นกกะรางหัวขวาน เป็นนกขนาดกลาง มีสีสวย มีลักษณะเด่นที่จำง่ายคือมีหงอน (หัวขวาน) คล้ายหมวกของพวกอินเดียแดง พบทั่วทั้งทวีปแอฟริกาและยูเรเชียพร้อมทั้งทั่วประเทศไทย เป็นสปีชีส์เดียวของวงศ์ Upupidae ที่ยังหลงเหลืออยู่ มีสปีชีส์ย่อยเฉพาะเกาะเซนต์เฮเลนา (ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้) ที่สูญพันธ์ไปแล้ว และเฉพาะเกาะมาดากัสการ์ที่บางครั้งจัดเป็นสปีชีส์ของตนเอง ชื่อสกุลภาษาละตินว่า Upupa คล้ายกับชื่อภาษาอังกฤษว่า "hoopoe" (อ่านว่า ฮูพู) โดยเป็นชื่อเลียนเสียงร้องของนก นกกะรางหัวขวานเป็นนกประจำชาติของประเทศอิสราเอล เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535. นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง นกกะรางหัวขวานและนกตะขาบทุ่ง

นกกะรางหัวขวานและนกตะขาบทุ่ง มี 13 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์นกตะขาบสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับด้วงอันดับนกตะขาบจิ้งหรีดทวีปเอเชียคาโรลัส ลินเนียสตั๊กแตนประเทศอินเดียเมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วงศ์นกตะขาบ

นกตะขาบ หรือ นกขาบ (Roller) เป็นนกในวงศ์หนึ่ง ที่อยู่ในอันดับนกตะขาบ (Coraciiformes) ซึ่งร่วมด้วยนกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae), นกจาบคา (Meropidae), นกเงือก (Bucerotidae) สำหรับนกตะขาบจัดอยู่ในวงศ์ Coraciidae นกตะขาบเป็นที่บินได้เก่งมาก ลำตัวอวบอ้วน หัวโต ปากหนาใหญ่ ลำตัวขนาดพอ ๆ กับอีกา ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีม่วงหรือน้ำเงินคล้ำ ชอบเกาะนิ่งตามที่โล่ง ๆ เช่น ทุ่งหญ้า, ทุ่งนา เพื่อมองหาเหยื่อซึ่งได้แก่ แมลงขนาดใหญ่, กิ้งก่า และสัตว์เล็ก ๆ เมื่อพบจะบินออกไปจับอย่างรวดเร็ว ทั้งพุ่งลงไปที่พื้นดินและบินไล่จับกลางอากาศ ชอบบินร่อนฉวัดเฉวียนเสมอ ทำรังในโพรงไม้หรือชอกหิน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัว 17-20 วัน ลูกนกใช้เวลาประมาณ 30 วันอาศัยอยู่ในรัง โดยในบางชนิด เมื่อโตแล้วแยกออกไปสร้างรังต่างหาก ยังมีพฤติกรรมกลับมาช่วยพ่อแม่ที่ให้กำเนิด เลี้ยงดูลูกนกที่เกิดใหม่ด้วย ดังนั้น ในรังบางครอกจะมีลูกนกที่เป็นเครือญาติกันเกิดพร้อม ๆ กัน แพร่กระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และยุโรป พบทั้งหมด 12 ชนิด ใน 2 สกุล สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชน.

นกกะรางหัวขวานและวงศ์นกตะขาบ · นกตะขาบทุ่งและวงศ์นกตะขาบ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

นกกะรางหัวขวานและสัตว์ · นกตะขาบทุ่งและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

นกกะรางหัวขวานและสัตว์มีแกนสันหลัง · นกตะขาบทุ่งและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

นกกะรางหัวขวานและสัตว์ปีก · นกตะขาบทุ่งและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

นกกะรางหัวขวานและอันดับด้วง · นกตะขาบทุ่งและอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกตะขาบ

อันดับนกตะขาบ เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Coraciiformes โดยที่คำว่า "Coraciiformes" นั้น หมายถึง "เหมือนนกเรเวน" หรืออีกบริบทคือ "อีกา" (อีกาจัดเป็นนกเกาะคอน) โดยมาจากคำว่า "Corax" ในภาษาละติน มีความหมาย "อีกา" และคำว่า "Forma" หมายถึง "รูปแบบ" ซึ่งเป็นคำลงท้ายในการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นนกที่มีลักษณะคล้ายกับอีกา เป็นนกที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะโดยร่วมกัน คือ จะงอยปากมีหลายรูปแบบ คือ ปากตรง ปากแบนข้าง ปากโค้ง ปากเป็นรูปขอ รูจมูกไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น หางยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายหางมนหรือเป็นหางตัด ปีกยาวปานกลางจนถึงยาวมาก ปลายปีกมักแหลม ขนปลายปีกมี 10-11 เส้น มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ยกเว้นในบางชนิด ขายาวปานกลางหรือขาสั้น แข้งสั้น หน้าแข้งด้านหน้าปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดใหญ่แบบเกล็ดซ้อน โดยเกล็ดแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เท่ากัน นิ้วหลังสั้นกว่านิ้วหน้า โคนนิ้วเป็นแบบนิ้วติด ยกเว้นในบางวงศ์ แกนขนรองมีขนาดเล็กหรือไม่มี หัวอาจมีหงอนหรือมีขนก็ได้ มีพฤติกรรมทำรังตามโพรงไม้หรือโพรงดินตามริมฝั่งแม่น้ำ ไข่มีเปลือกสีขาวหรือสีน้ำเงิน วางไข่ครั้งละ 2-8 ฟอง ลูกนกแรกเกิดไม่สามารถที่จะเดินหรือช่วยเหลือตัวเองได้ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และเสริมด้วยสัตว์ขนาดเล็ก ๆ เช่น หนู หรือกิ้งก่า และแมลงต่าง ๆ พบกระจายพันธุ์อยู่แทบทุกภูมิภาคของโลก ยกเว้นเกาะฮาวาย ประกอบไปด้วยวงศ์ทั้งหมด 11 วงศ์ โดยนกที่เป็นที่รู้จักกันดีในอันดับนี้ ได้แก่ นกเงือก (Bucerotidae) ซึ่งเป็นนกที่มีหงอนบนหัวและมีขนาดใหญ่, นกตะขาบ (Coraciidae), นกกะรางหัวขวาน (Upupidae), นกกระเต็น (Alcedinidae) เป็นต้น (แต่ในบางข้อมูลจะจัดนกเงือก, นกกระเต็น และนกกะรางหัวขวาน แยกออกเป็นอันดับต่างหาก) ในประเทศไทย พบทั้งสิ้น 5 วงศ์ ประมาณ 38 ชน.

นกกะรางหัวขวานและอันดับนกตะขาบ · นกตะขาบทุ่งและอันดับนกตะขาบ · ดูเพิ่มเติม »

จิ้งหรีด

้งหรีด หรือ จังหรีด (Cricket; วงศ์: Gryllidae) เป็นแมลงจำพวกหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Gryllidae ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) จิ้งหรีดถือเป็นแมลงที่มีขนาดลำตัวปานกลางเมื่อเทียบกับแมลงโดยทั่วไป มีปีก 2 คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ขาคู่หลังใหญ่และแข็งแรงใช้สำหรับกระโดด ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทำเสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันดีของจิ้งหรีด ขณะที่ตัวเมียจะไม่สามารถทำเสียงดังนั้นได้ และจะมีอวัยวะสำหรับใช้วางไข่เป็นท่อยาว ๆ บริเวณก้นคล้ายเข็ม เห็นได้ชัดเจน จิ้งหรีดสามารถพบได้ในทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้น พบแล้วประมาณ 900 ชนิด ในประเทศไทยก็พบได้หลายชนิด จิ้งหรีดเป็นแมลงที่กัดกินพืชชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร สามารถกินได้หลายชนิด มักออกหากินในเวลากลางคืน มักจะอาศัยโดยการขุดรูอยู่ในดินหรือทราย ในที่ ๆ เป็นพุ่มหญ้า แต่ก็มีจิ้งหรีดบางจำพวกเหมือนกันที่อาศัยบนต้นไม้เป็นหลัก สำหรับในประเทศไทย พบจิ้งหรีดได้ทั่วทุกภูมิภาค ชนิดของจิ้งหรีดที่พบ ได้แก่ จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus), จิ้งหรีดทองแดง (G. testaceus), จิ้งโกร่ง หรือ จิ้งกุ่ง (Brachytrupes portentosus) เป็นต้น จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตแบบไม่ต้องผ่านการเป็นหนอนหรือดักแด้ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะเหมือนตัวเต็มวัย เพียงแต่ยังไม่มีปีก และมีสีที่อ่อนกว่า ต้องผ่านการลอกคราบเสียก่อน จึงจะมีปีกและทำเสียงได้ จิ้งหรีดจะผสมพันธุ์เมื่อเป็นตัวเต็มวัย การผสมพันธุ์และวางไข่แต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 15 วันต่อครั้ง ในแต่ละรุ่น เมื่อหมดการวางไข่รุ่นสุดท้ายแล้วตัวเมียก็จะตาย โดยตัวผู้จะทำเสียงโดยยกปีกคู่หน้าถูกันให้เกิดเสียง เพื่อเรียกตัวเมีย จังหวะเสียงจะดังเมื่อตัวเมียเข้ามาหา บริเวณที่ตัวผู้อยู่ ตัวผู้จะเดินไปรอบ ๆ ตัวเมียประมาณ 2-3 รอบ ช่วงนี้จังหวะเสียงจะเบาลง แล้วตัวเมียจะขึ้นคร่อมตัวผู้ จากนั้นตัวผู้จะยื่นอวัยวะเพศแทงไปที่อวัยวะเพศตัวเมีย หลังจากนั้นประมาณ 14 นาที ถุงน้ำเชื้อก็จะฝ่อลง แล้วตัวเมียจะใช้ ขาเขี่ยถุงน้ำเชื้อทิ้งไป เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ตัวเมียใช้อวัยวะวางไข่ที่แทงลงในดินที่มีลักษณะเรียวยาวคล้ายเมล็ดข้าวสาร ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ก็จะฟักออกเป็นตัวอ่อน ตลอดอายุไข่จิ้งหรีดตัวเมียสามารถวางไข่ได้ตั้งแต่ 600-1,000 ฟอง ซึ่งจะวางไข่เป็นรุ่น ๆ ได้ประมาณ 4 รุ่น จิ้งหรีดถือเป็นแมลงที่เป็นศัตรูพืชอย่างหนึ่ง แต่ก็มีความเกี่ยวพันธ์กับมนุษย์ในแง่ของเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงมาอย่างยาวนาน ในหลายวัฒนธรรม ในหลายประเทศ มีการเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อฟังเสียงร้อง และเลี้ยงไว้สำหรับการกัดกัน โดยถือว่าเป็นแมลงจำพวกหนึ่งที่สามารถนำมาต่อสู้กันได้อย่างด้วงกว่าง อีกทั้งยังปรากฏในนิทานอีสปในเรื่อง มดกับจิ้งหรีด เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบัน ยังนิยมใช้เพื่อการบริโภคเป็นอาหาร และใช้เป็นอาหารสัตว์ จึงมีการส่งเสริมให้เลี้ยงจิ้งหรีดในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมเลี้ยงกันในบ่อปูนซีเมนต์วงกลม โดยมีแหล่งใหญ่อยู่ที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.

จิ้งหรีดและนกกะรางหัวขวาน · จิ้งหรีดและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ทวีปเอเชียและนกกะรางหัวขวาน · ทวีปเอเชียและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

คาโรลัส ลินเนียสและนกกะรางหัวขวาน · คาโรลัส ลินเนียสและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ตั๊กแตน

อวัยวะสืบพันธุ์ของตั๊กแตน ภาพของ ''Coryphistes ruricola'' ที่คล้ายตั๊กแตน ตั๊กแตน (Grasshopper) จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โธรพอ.

ตั๊กแตนและนกกะรางหัวขวาน · ตั๊กแตนและนกตะขาบทุ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

นกกะรางหัวขวานและประเทศอินเดีย · นกตะขาบทุ่งและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

นกกะรางหัวขวานและเมตร · นกตะขาบทุ่งและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

นกกะรางหัวขวานและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · นกตะขาบทุ่งและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง นกกะรางหัวขวานและนกตะขาบทุ่ง

นกกะรางหัวขวาน มี 110 ความสัมพันธ์ขณะที่ นกตะขาบทุ่ง มี 42 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 13, ดัชนี Jaccard คือ 8.55% = 13 / (110 + 42)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง นกกะรางหัวขวานและนกตะขาบทุ่ง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »