โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนแปลงนาม

ดัชนี ถนนแปลงนาม

นนแปลงนาม (Thanon Plaeng Nam) เดิมมีชื่อว่า "ตรอกป่าช้าหมาเน่า" เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ เป็นถนนเส้นสั้น ๆ ระยะประมาณ 100 เมตร เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราช อยู่ตรงข้ามกับถนนพลับพลาไชย และอยู่ใกล้กับถนนผดุงด้าว หรือซอยเท็กซัส โดยอยู่ก่อนถึงแยกหมอมีจากถนนเจริญกรุง สาเหตุที่เรียกว่า ตรอกป่าช้าหมาเน่า ก็เนื่องมาจาก ในอดีตพื้นที่ของตรอกนี้คือจุดทิ้งขยะของย่านเยาวราช ใครที่ผ่านตรอกนี้ก็จะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหม็นเหมือนกลิ่นหมาเน่าหรือซากศพเน่า ต่อมาได้มีการตัดถนนเยาวราช ทางการได้เข้าปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและกำจัดขยะออกไป และเปลี่ยนชื่อให้เป็นมงคลเป็น ซอยแปลงนาม และปรับปรุงขยายเป็นถนนในเวลาต่อมา บริเวณถนนแปลงนามนี้มีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นย่านการค้า ซึ่งในถนนแปลงนามนี้มีของต่าง ๆ ที่ขึ้นชื่อมากมาย เช่น เครื่องดนตรีจีน, ตะเกียงเจ้าพายุและของเก่า, เครื่องครัวจีน ในส่วนของร้านอาหารมีหลายอย่างที่หลากหลาย เช่น รังนกและหูฉลาม, หมูสะเต๊ะ, ข้าวต้มและอาหารตามสั่ง, ข้าวหมูแดง, ขนมจีบ, พระรามลงสรง และเป็นที่ตั้งของวัดมงคลสมาคม (อักษรเวียดนาม: Chùa Hội Khánh; 會慶寺) ศาสนสถานในพุทธศาสนาแบบอนัมนิก.

20 ความสัมพันธ์: พระรามลงสรงกรุงเทพมหานครภัตตาคารรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครวัดกันมาตุยารามวัดมังกรกมลาวาสสถานีวัดมังกรสนุก.คอมถนนพลับพลาไชยถนนผดุงด้าวถนนเยาวราชถนนเจริญกรุงคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทยแยกพลับพลาไชยแยกหมอมีแยกเสือป่าไชนาทาวน์ (กรุงเทพมหานคร)ไทยโพสต์ไทยเชื้อสายจีนเขตสัมพันธวงศ์

พระรามลงสรง

ระรามลงสรง (Swimming Rama) หรือมีชื่อในภาษาแต้จิ๋วว่า ซาแต๊ปึ่ง (三茶反) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ซาแต๊ (三茶) เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารจีนตอนใต้ ประกอบด้วยข้าวสวย ผักบุ้งลวก และเนื้อหมู ราดด้วยน้ำราดข้นคล้ายน้ำสะเต๊ะ เป็นอาหารที่นิยมในหมู่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน ปัจจุบันหารับประทานได้ยากในไท.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและพระรามลงสรง · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ภัตตาคาร

ัตตาคาร หรือ ร้านอาหาร เป็นร้านที่คอยบริการอาหารตามความต้องการของลูกค้า ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและภัตตาคาร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดกันมาตุยาราม

ระประธานในอุโบสถ วัดกันมาตุยาราม เป็นวัดราษฎร์ขนาดเล็ก สังกัดธรรมยุตินิกาย ตั้งอยู่ริมถนนมังกร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แวดล้อมด้วยชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดกุศลสมาครของฝ่ายอนัมนิกาย และวัดบำเพ็ญจีนพรตของฝ่ายจีนนิกาย วัดนี้สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและวัดกันมาตุยาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดมังกรกมลาวาส

"ซำป้อหุกโจ้ว" ชื่อเรียกสามพระประธานประจำวัดมังกรกมลาวาส วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ (ตัวเต็ม: 龍蓮寺, ตัวย่อ: 龙莲寺, พินอิน: Lóng lián sì หลงเหลียนซื่อ, ฮกเกี้ยน: เล้งเหลียนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: เล่งเน่ยยี่, สำเนียงกวางตุ้ง: หล่งลิ่นจี๋, สำเนียงฮากกา: หลุ่งเหลี่ยนซื้อ) เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ วัดนี้ บางคนเรียกว่า "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ "เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร (คำว่า “เน่ย” แปลว่า ดอกบัวและคำว่า “ยี่” แปลว่า วัด) ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและวัดมังกรกมลาวาส · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวัดมังกร

นบริเวณทางลงสู่ตัวสถานี ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบจากท้องของมังกร สถานีวัดมังกร เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค ซึ่งโครงการยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ใจกลางย่านธุรกิจของชาวไทยเชื่อสายจีน ในแนวถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร บริเวณย่านวัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ใกล้กับถนนเยาวราช ซึ่งถือเป็นไชน่าทาวน์ของเมืองไท.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและสถานีวัดมังกร · ดูเพิ่มเติม »

สนุก.คอม

นุก.คอม (Sanook.com ตราสัญลักษณ์สะกดว่า Sanook!) เป็นเว็บท่าที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของประเทศไทยมาโดยตลอดนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการ เว็บไซต์ สนุก.คอม ก่อตั้งโดย ปรเมศวร์ มินศิริ เมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและสนุก.คอม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย ในมุมมองจากถนนหลวง ถนนพลับพลาไชยคือถนนที่เป็นจุดตัด ถนนพลับพลาไชย (Thanon Phlapphla Chai) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มที่แยกแปลงนาม อันเป็นทางแยกที่ตัดระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนแปลงนาม ที่แขวงป้อมปราบ จากนั้ันทอดยาวไปจนถึงแยกพลับพลาไชย อันเป็นห้าแยกที่เป็นจุดตัดกับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ และไปสิ้นสุดที่แยกอนามัย อันเป็นจุดตัดกับถนนบำรุงเมือง ที่แขวงวัดเทพศิรินทร์ รวมความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถนนพลับพลาไชย เป็นถนนที่มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง, สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย 1 และ 2 (สน.พลับพลาไชย 1 และ 2) ที่ดูแลพื้นที่ย่านเยาวราชทั้งหมด และรวมไปถึงบริเวณใกล้เคียง เช่น วงเวียน 22 กรกฎาคม, โรงพยาบาลหัวเฉียว, โรงพยาบาลกลาง เป็นต้น, วัดคณิกาผล, ศาลเจ้าหลี่ตี้เมี่ยว, วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, องค์การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ภาคประชาชน), สมาคมส่งเสริมวิชาชีพ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ (แห่งประเทศไทย) เป็นต้น โดยชื่อ "พลับพลาไชย" มาจากชื่อของวัดพลับพลาไชย อันเป็นวัดเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ มีประวัติมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี โดยในอดีตสถานที่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นโคกหรือเนินดินขนาดใหญ่ และมีการตั้งคอกวัวไว้ที่นี่ด้วย จึงนิยมเรียกกันว่า "วัดโคก" หรือ "วัดคอก" จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามของวัดแห่งนี้ใหม่ เป็น "วัดพลับพลาชัย" เนื่องจากเป็นสถานที่ตั้งพลับพลาในการซ้อมรบของกองเสือป่ารักษาดินแดน ถนนพลับพลาไชย ในปี..

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและถนนพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนผดุงด้าว

รรยายกาศของอาหารริมทางในเวลาค่ำคืน ที่ถนนผดุงด้าวช่วงติดกับถนนเยาวราช ถนนผดุงด้าว (Thanon Phadung Dao) เป็นถนนสายสั้น ๆ สายหนึ่งในพื้นที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยเป็นถนนที่มีความยาวประมาณ 200 เมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก เชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุง และถนนเยาวราช เช่นเดียวกับถนนแปลงนาม ที่อยู่ใกล้เคียง และช่วงที่ 2 เป็นช่วงฝั่งถนนเยาวราช ในช่วงนี้มีถนนอีกสายหนึ่งที่ตัดผ่าน คือ ถนนพาดสาย ถนนผดุงด้าวมีชื่อเรียกติดปากว่า ซอยเท็กซัส หรือ ตรอกเท็กซัส อันเนื่องจากที่นี่ในอดีต เคยเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์เท็กซัสมาก่อน ถนนผดุงด้าว ได้รับชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เพื่อกำหนดให้ชื่อถนน หรือตรอกซอกซอยต่าง ๆ เหล่านี้มีความเป็นสากล และเพื่อให้สอดคล้องกับถนนสายต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีผู้เสนอทั้งชื่อ "ผดุงด้าว" และ "ผดุงเผ่า" ซึ่งทรงเลือกชื่อ ผดุงด้าว ในอดีต ถนนผดุงด้าวมีความคึกคักอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ถือว่าเป็นแหล่งบันเทิงยามราตรี โรงภาพยนตร์เท็กซัส เป็นที่รู้จักกันดีจะฉายภาพยนตร์อินเดียที่ได้รับความนิยมในขณะนั้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีธุรกิจที่หมิ่นเหม่ต่อศีลธรรมและกฎหมายอยู่ด้วย นั่นคือ โรงน้ำชาที่มีผู้หญิงขายบริการ และยังเป็นแหล่งที่จำหน่ายหนังสือปกขาว หรือหนังสือลามกอนาจาร แห่งแรกอีกด้วย ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์เท็กซัสได้เลิกกิจการไปนานหลายปีแล้ว และได้กลายมาเป็นภัตตาคารสุกี้ที่ใช้ชื่อ เท็กซัส เช่นเดียวกับในอดีต นับเป็นภัตตาคารอายุเก่าแก่ยาวนาน และเป็นแห่งแรก ๆ ที่มีจำหน่ายสุกี้ในประเทศไทย นอกจากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีร้านอาหารจำหน่ายเนื้อแพะตุ๋นยาจีน รวมถึงเนื้อจระเข้, หอยทอด และร้านจำหน่ายซีดีเพลงและภาพยนตร์หรืองิ้วของจีน และขนมไหมฟ้า หรือขนมหนวดมังกร อันเป็นขนมของจีนที่หารับประทานได้ยากอีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและถนนผดุงด้าว · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเยาวราช

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและถนนเยาวราช · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย

ณะสงฆ์อนัมนิกาย เป็นคณะสงฆ์นิกายมหายานในประเทศไทย ซึ่งสืบมาจากประเทศเวียดนาม ปัจจุบันมีพระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยว) เป็นเจ้าคณะใหญ.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แยกพลับพลาไชย

แยกพลับพลาไชย เป็นทางห้าแยกจุดตัดถนนพลับพลาไชย กับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ ที่ต่อเนื่องกับย่านถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง บริเวณทางแยกมีร้านข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และภัตตาคารอาหารจีนที่ขึ้นชื่อหลายแห่ง.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและแยกพลับพลาไชย · ดูเพิ่มเติม »

แยกหมอมี

แยกหมอมี (Mo Mi Intersection) หรือที่นิยมเรียกว่า สามแยก หรือ สามแยกถนนเจริญกรุง เป็นห้าแยกจุดตัดถนนเจริญกรุง, ถนนพระรามที่ 4, ถนนทรงสวัสดิ์ และถนนมิตรพันธ์ ในพื้นที่แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและแขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านเยาวราช ซึ่งเป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนที่สำคัญในกรุงเทพฯ ในอดีตพื้นที่แถบนี้มีสถานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในอำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร เรียกว่า "ตำบลสามแยก" ต่อมาในปลายปี..

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและแยกหมอมี · ดูเพิ่มเติม »

แยกเสือป่า

แยกเสือป่า (Suea Pa Intersection) เป็นทางแยกหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นสี่แยกในแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ เป็นจุดตัดระหว่างถนนเสือป่า, ถนนเจริญกรุง และถนนราชวงศ์ โดยได้ชื่อ "เสือป่า" มาจากถนนเสือป่าอันเป็นถนนที่ตัดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานชื่อในปี..

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและแยกเสือป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไชนาทาวน์ (กรุงเทพมหานคร)

นนเยาวราช ถนนสายหลักของไชนาทาวน์ กรุงเทพมหานคร แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หลัก ๆ ของไชนาทาวน์ กรุงเทพมหานคร ไชนาทาวน์ในกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในไชนาทาวน์หรือชุมชนจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและไชนาทาวน์ (กรุงเทพมหานคร) · ดูเพิ่มเติม »

ไทยโพสต์

ทยโพสต์ (Thaipost) เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน เสนอข่าวทั่วไป เน้นข่าวการเมือง มีคำขวัญว่า “อิสรภาพแห่งความคิด” ออกฉบับปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยมี โรจน์ งามแม้น (นามปากกา: เปลว สีเงิน) เป็นผู้บริหาร และบรรณาธิการบริหาร ที่ยกทีมกองบรรณาธิการชุดเดิม มาจากหนังสือพิมพ์สยามโพสต์ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งกับเครือบางกอกโพสต์ ที่เป็นเจ้าของสยามโพสต์ ร่วมด้วย ทวีสิน สถิตย์รัตนชีวิน (นามปากกา: อ้วน อรชร) ผู้บริหาร และบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 ไทยโพสต์ถูกกดดันให้ขายได้โดยตรงกับสมาชิกเท่านั้น แต่ปัจจุบัน สามารถกลับมาวางแผงขายได้ตามปกติ ไทยโพสต์จะมีฉบับพิเศษ ขนาดแทบลอยด์ แทรกอยู่ในฉบับ เสนอข่าวสีสัน แต่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน ใช้ชื่อ “เอ็กซ์-ไซท์ ไทยโพสต์” (X-Cite Thaipost) ในฉบับวันจันทร์-วันเสาร์ และฉบับวันอาทิตย์ใช้ชื่อ “ไทยโพสต์ แทบลอยด์” (Thaipost Tabloid) ในรูปแบบนิตยสารรายสัปดาห.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและไทยโพสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทยเชื้อสายจีน

วไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทยและเป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 9.4 ล้านคนในประเทศไทย หรือร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมิ่นหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและไทยเชื้อสายจีน · ดูเพิ่มเติม »

เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

ใหม่!!: ถนนแปลงนามและเขตสัมพันธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สี่แยกแปลงนามถ.แปลงนามซอยแปลงนามแยกแปลงนาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »