โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชนี ฑ

ฑ (มณโฑ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 17 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฐ (ฐาน) และก่อนหน้า ฒ (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ) อักษร ฑ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ หรือ /d/ (ดูหัวข้อถัดไป) และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฑ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ฑังส, ฑาก, ฑาหก, ฑาหะ นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต.

18 ความสัมพันธ์: บัณฑิตบัณเฑาะว์พยัญชนะกะเทยกาฐมาณฑุภาษาบาลีภาษาสันสกฤตมัณฑะเลย์มณฑปราชวงศ์ปาณฑพอักษรไทยจำนงค์ ทองประเสริฐท้าวปาณฑุฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)นางมณโฑไตรยางศ์

บัณฑิต

ัณฑิต (บัน-ดิด) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฑและบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

บัณเฑาะว์

ฑมรุจากทิเบต ฑมรุ อยู่ในหัตถ์ขวาของพระศิวะ บัณเฑาะว์ เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากอินเดีย มีลักษณะหัวและท้ายใหญ่ ตรงกลางคอด ขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกกับลูกตุ้ม กลองชนิดนี้ไม่ใด้ตีด้วยไม้หรือมือ แต่ใช้มือถือพลิกข้อมือกลับไปกลับมา ให้ลูกตุ้มที่ปลายเชือกกระทบหนังหน้ากลองทั้งสองด้าน ชื่อบัณเฑาะว์ มาจากคำบาลีว่า "ปณวะ" ในอินเดียเรียกว่า "ฑมรุ" (อักษรเทวนาครี डमरू; ḍamaru) เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นในหัตถ์ขวาของพระศิวะ ในประเทศไทย บัณเฑาะว์ใช้เป็นเครื่องให้จังหวะในการบรรเลงประกอบ "ขับไม้" ในงานพระราชพิธี เช่น ขับกล่อมสมโภชพระมหาเศวตฉัตร สมโภชพระยาช้างเผือกและช้างสำคัญ เรียกว่า "ขับไม้บัณเฑาะว์" โดยอาจใช้บัณเฑาะว์ลูกเดียว หรือใช้บัณเฑาะว์ 2 ลูก ไกวพร้อมกันทั้งสองมือ.

ใหม่!!: ฑและบัณเฑาะว์ · ดูเพิ่มเติม »

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: ฑและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

กะเทย

กะเทย ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า "คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลำไยกะเทย" ส่วนความหมายทางแพทยศาสตร์ หมายถึง คนที่มีอวัยวะของทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในคน ๆ เดียวกัน ส่วนกะเทยที่มีจิตใจตรงข้ามกับเพศของตน ทางการแพทย์เรียกกลุ่มนี้ว่า "ลักเพศ".

ใหม่!!: ฑและกะเทย · ดูเพิ่มเติม »

กาฐมาณฑุ

right กาฐมาณฑุ (काठमाडौं, Kathmandu) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนปาล และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดด้วย เป็นพื้นที่เมืองและชานเมืองที่มีประชากรประมาณ 3.2 ล้านคนในพื้นที่ 3 เมืองในหุบเขากาฐมาณฑุในเนปาลกลาง บนแม่น้ำพาคมตี (Bagmati) อีก 2 เมืองคือปาฏัน (Patan) และภักตปุระ (Bhaktapur) กาฐมาณฑุตั้งที่ 27°43' เหนือ 85°22' ตะวันออก (27.71667, 85.36667) เมืองนี้ยังได้รับการแข่งขันกีฬาภูมิภาคเอเชียใต้เป็นครั้งแรกอีกด้วย และเมืองนี้เป็นเมืองหลวงเมืองเดียวในโลกที่มีตำรวจจราจรเป็นตำรวจหญิง.

ใหม่!!: ฑและกาฐมาณฑุ · ดูเพิ่มเติม »

(ฐาน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 16 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฏ (ปฏัก) และก่อนหน้า ฑ (มนโฑ) ออกเสียงอย่าง ถ (ถุง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ใระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฐ ฐาน” (บางคนก็เรียกว่า ฐ สัณฐาน) อักษร ฐ มีเครื่องหมายอยู่ข้างใต้ เรียกว่า เชิง แต่นิยมตัดเชิงออกเป็น เมื่อเขียนคำที่มีสระอุ หรือสระอู อักษร ฐ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/.

ใหม่!!: ฑและฐ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ฑและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ฑและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

มัณฑะเลย์

มัณฑะเลย์ (မန္တလေးမြို့ หม่านดะเล้) เป็นอดีตเมืองหลวง และเมืองใหญ่อันดับที่สองของพม่ารองจากนครย่างกุ้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี ห่างจากย่างกุ้งไปทางทิศเหนือ 716 กิโลเมตร ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ฑและมัณฑะเลย์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑป

พระมณฑปภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มณฑป คือ เรือนยอดหรือเครื่องยอดหลังคาขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมไทย.

ใหม่!!: ฑและมณฑป · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาณฑพ

กซ้าย ภีมะ, อรชุน, ยุธิษฐิระ, ฝาแฝดนกุลและสหเทพ และพระนางเทราปตี ในเรื่องมหาภารตะ ปาณฑพ(ปาน-ดบ) เป็นกลุ่มพี่น้อง 5 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวปาณฑุ ประสูติจากพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ที่ร่ายเวทมนตร์อัญเชิญเทพมาประทานโอร.

ใหม่!!: ฑและราชวงศ์ปาณฑพ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ฑและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

จำนงค์ ทองประเสริฐ

ตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สาขาตรรกศาสตร์ ประจำราชบัณฑิตยสถาน มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก.

ใหม่!!: ฑและจำนงค์ ทองประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวปาณฑุ

ท้าวปาณฑุ เป็นพระโอรสของเจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาส ซึ่งเกิดจากพิธีที่เรียกว่า นิโยค มีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีผิวกายที่ขาวซีด เป็นน้องชายของท้าวธฤตราษฎร์และเป็นบิดาของปาณฑพทั้ง 5 มีพระชายา 2 พระองค์คือพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ครั้งหนึ่งเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วเสด็จประพาสป่า ได้ยิงธนูใส่กวางคู่หนึ่งที่กำลังสมสู่กันอยู่ แต่ปรากฏว่ากวางคู่นั้นเป็นฤๅษีกินทมะจำแลงกายเป็นกวาง ก่อนตายฤๅษีได้สาปแช่งท้าวปาณฑุว่า เมื่อใดที่ท่านสมสู่กับหญิงผู้ใดก็ตามขอให้ท่านได้ประสบถึงแก่ความตาย ทำให้ท้าวปาณฑุเสียใจมากจึงสละราชสมบัติแล้วเข้าป่าออกบวช ซึ่งชายาทั้ง 2 ก็ขอติดตามไปด้วย วันหนึ่งท้าวปาณฑุได้เข้าไปในป่ากับพระนางมาทรีเพื่อไปเก็บผลไม้และดอกไม้ ระหว่างนั้นได้เกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนางมาทรีขึ้น จึงทำให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจในเวลาต่อมาตามคำสาปของฤๅษีที่ได้สาปแช่งไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: ฑและท้าวปาณฑุ · ดูเพิ่มเติม »

ฒ (ผู้เฒ่า) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 18 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฑ (มณโฑ) และก่อนหน้า ณ (เณร) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฒ ผู้เฒ่า” อักษร ฒ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฒ อยู่คำเดียวคือ เฒ่า นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: ฑและฒ · ดูเพิ่มเติม »

ฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย)

ฉันทลักษณ์ หมายถึง ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ไทย ซึ่งกำชัย ทองหล่อให้ความหมายไว้ว่า ฉันทลักษณ์ คือตำราที่ว่าด้วยวิธีร้อยกรองถ้อยคำหรือเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นระเบียบตามลักษณะบังคับและบัญญัติที่นักปราชญ์ได้ว่างเป็นแบบไว้ ถ้อยคำที่ร้อยกรองขึ้นตามลักษณะบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ เรียกว่า คำประพันธ์กำชัย ทองหล่อ.

ใหม่!!: ฑและฉันทลักษณ์ (กวีนิพนธ์ไทย) · ดูเพิ่มเติม »

นางมณโฑ

นางมณโฑ ในมหากาพย์รามายณะเรียกว่า มนโททรี (मंदोदरी มํโททรี) เป็นชายาของพาลี ทศกัณฐ์ หนุมาน และพิเภก โดยระหว่างเป็นมเหสีของทศกัณฐ์ นางได้ให้กำเนิดนางสี.

ใหม่!!: ฑและนางมณโฑ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: ฑและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »