โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์

ดัชนี ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์

มทางเพลงพระราชนิพนธ์ เป็นรายการประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ใบสุดท้าย), ถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ ถ้วยประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ซึ่งมูลนิธิหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นำโดย พล.อ. กะสิณ ทองโกมล ประธานหอสมุดเคลื่อนที่ฯ ร่วมกับ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์, สมาคมนักเพลงลูกทุ่งแห่งประเทศไทย, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และสมาคมวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง (สวปอ.) ร่วมกันจัดการประกวดขึ้น โดยใช้รูปแบบจากรายการ ชุมทางดาวทอง ผลิตรายการโดย บริษัท เซเว่นสตาร์สตูดิโอ จำกัด ออกอากาศทุกวันพุธ เวลา 09.30 - 10.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มออกอากาศครั้งแรกวันที่ 7 ธันวาคม..

19 ความสัมพันธ์: ชลธี ธารทองชินกร ไกรลาศชุมทางดาวทองพ.ศ. 2559พ.ศ. 2560พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุศิลปินแห่งชาติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ประยงค์ ชื่นเย็นประเทศไทยนคร ถนอมทรัพย์เบญทราย หุ่นน้อยเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเทพ โพธิ์งาม7 ธันวาคม8 กุมภาพันธ์

ชลธี ธารทอง

ลธี ธารทอง เป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดังระดับตำนาน โดยมีผลงานเป็นที่รู้จักและคุ้นหูคนไทยมากมาย และได้สร้างนักร้องชื่อดังหลายคนประดับวงการลูกทุ่งไทย ชลธี ธารทอง ได้รับการประกาศให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) ปี 2542.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และชลธี ธารทอง · ดูเพิ่มเติม »

ชินกร ไกรลาศ

น ฝ้ายเทศ เป็นที่รู้จักในชื่อ ชินกร ไกรลาศ (1 เมษายน พ.ศ. 2489 — 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560) เป็นนักร้องลูกทุ่งที่ประยุกต์เพลงพื้นบ้านมาผสมผสานกับการแสดงดนตรีลูกทุ่งในหลายลักษณะ ทั้งลำตัด เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงอีแซว และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) ประจำปีพุทธศักราช 2541.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และชินกร ไกรลาศ · ดูเพิ่มเติม »

ชุมทางดาวทอง

มทางดาวทอง เป็นรายการประเภทวาไรตี้,แข่งขันร้องเพลงลูกทุ่ง ซึ่งได้พัฒนารูปแบบมาจากรายการ ชุมทางเสียงทอง ที่เคยออกอากาศในช่วงปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2558 และ ชุมทางคนเด่น ผลิตรายการโดย บริษัท เซเว่นสตาร์สตูดิโอ จำกัด ออกอากาศทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ เวลา 09.30 - 10.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และชุมทางดาวทอง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2559

ทธศักราช 2559 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ และเป็น.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และพ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2560

ทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และพ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ

ระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (พระนามเดิม: หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร; ประสูติ: 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) เป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) และอดีตพระวรชายาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นธิดาคนโตของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร พระองค์เป็นทั้งพระภาติยะและอดีตพระสุณิสาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องจากอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์มีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ ถือเป็นเจ้านายที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระวรชายา พระองค์แรก มีพระราชธิดา คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา แต่หลังการหย่าในปี..

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปินแห่งชาติ

ลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2528) ถึงสิ้นปี..

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และศิลปินแห่งชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ตราจารย์ พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง นายกองใหญ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน..

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

นีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 (Bangkok Broadcasting Television Channel 7) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9ราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม 86 ตอน 10 ง หน้า 241, 4 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 · ดูเพิ่มเติม »

อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์

อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ ชื่อเล่น ทับทิม เป็นนักแสดงชาวไทย สังกัด สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และอัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ · ดูเพิ่มเติม »

ประยงค์ ชื่นเย็น

ประยงค์ ชื่นเย็น เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ที่อยู่ในวงการมานานหลายสิบปี โดยมีผลงานการเรียบเรียงเพลงไว้มากมาย และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2552 ประยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดพระตะบอง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนการช่างบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (ปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์) เข้าสู่วงการเพลงโดยเป็นนักดนตรีตำแหน่งทรัมเป็ต ของวงรวมดาวกระจาย ต่อมาจึงอยู่กับวงดนตรีสุรพัฒน์ ของชลธี ธารทอง วงดนตรีของผ่องศรี วรนุช และ เพลิน พรหมแดน ตามลำดับ ประยงค์เริ่มทำงานด้านการเรียบเรียงเสียงประสานในปี พ.ศ. 2516 โดยเป็นผู้เรียบเรียงเพลงทุกรูปแบบ และควบคุมการบรรเลงเพลงให้กับวงดนตรีไทยลูกทุ่งและไทยสากล ผลงานบันทึกเสียงเพลงแรกในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสาน คือเพลง ทนหนาวอีกปี ขับร้องโดย เด่น บุรีรัมย์ ต่อมาได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงมากมายนับพันเพลง บทเพลงที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ เพลง จดหมายจากแนวหน้า ทหารเรือมาแล้ว อเวจีใจ ล่องเรือหารัก ของยอดรัก สลักใจ เพลง หนุ่มนารอนาง ของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลง อกหักซ้ำสอง ของสายัณห์ สัญญา เพลง เทพธิดาผ้าซิ่น ของเสรี รุ่งสว่าง เพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ ของอ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์ เพลง ท้ารัก ของบุษบา อธิษฐาน เพลง รักจริงให้ติงนัง ของรุ่ง สุริยา เพลง ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก ของธานินทร์ อินทรเทพ เพลง ส่วนเกิน ของดาวใจ ไพจิตร รวมถึงเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ เช่น หัวใจถวายวัด ผู้ชายในฝัน ห่างหน่อยถอยนิด เป็นต้น อีกทั้งยังได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพลงที่รู้จักกันดีคือ เพลงส้มตำ ฉบับที่ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และ สุนารี ราชสีมา ประยงค์ ชื่นเย็น ยังเป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการเพลงลูกทุ่ง โดยการประสมประสานระหว่างดนตรีพื้นบ้านของไทยกับดนตรีตะวันตก ได้เริ่มนำเครื่องดนตรีไทยหลายชนิดมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีสากล จนเป็นเอกลักษณ์ของเพลงลูกทุ่ง ประยงค์ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย เช่น รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน จากการเรียบเรียงเสียงประสานเพลง แม่ยก อาลัยนักรบ และหนุ่มนารอนาง รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ ข้อยเว้าแม่นบ่ รางวัลนักรบ ประเภทเพลงไทยสากล จากเพลง ปั้นดินให้เป็นดาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากร และอาจารย์พิเศษสอนดนตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และยังเป็นกรรมการตัดสินทางด้านดนตรีและขับร้องรายการต่างๆ โดยยังคงมีผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และประยงค์ ชื่นเย็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

นคร ถนอมทรัพย์

นคร ถนอมทรัพย์ หรือ กุง กาดิน นักร้อง นักแต่งเพลง นักจัดรายการวิทยุ ในอดีตเคยเป็นนักร้องของวงดนตรีจุฬารัตน์ โดยเป็นคนสนิทของครูมงคล อมาตยกุล มีชื่อเสียงจากการร้องและแต่งเพลงแปลง โดยใช้ชื่อในการแสดงว่า "กุง กาดิน" และพากย์เสียงละครวิทยุ ผลงานเพลงที่แต่งที่มีชื่อเสียง ได้แก่เพลง รักกันไว้เถิด ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ประจำปี..

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และนคร ถนอมทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

เบญทราย หุ่นน้อย

ญทราย หุ่นน้อย หรือ เบญทราย กียปัจจ์ ชื่อเล่น ทราย เป็นนักร้องหญิงนักแสดงและพิธีกรชาวไทย จบการศึกษาระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษาที่ โรงเรียนวิเศษศึกษา ระดับมัธยมศึกษาที่ วิทยาลัยนาฏศิลป์กรมศิลปากร ระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เข้าสู่วงการด้วยการเข้าประกวด เดอะบอย โมเดล คอนเทสท์ ของ นิตยสารวัยรุ่น เดอะบอย และเป็นพี่สาวของนักแสดงชื่อดัง โอ๋ เพชรดา เทียมเพ็ชร ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการ ชุมทางเสียงทอง ทางช่อง 7 สี และอดีตผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นายรังสรรค์ กียปัจจ์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2546 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา ปัจจุบันมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ น้องต้นน้ำและน้องต้นไม้.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และเบญทราย หุ่นน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช รวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลง เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island" นอกจากนี้ มีเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว คือ ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และ รัก ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์, ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์), ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป และโดยพระองค์ท่านเองทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี วง อ.ส. วันศุกร์ ออกอากาศ ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในระยะหลังพระองค์มีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้พระองค์ทรงไม่มีเวลาที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อ..

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

เทพ โพธิ์งาม

ทพ โพธิ์งาม มีชื่อจริงว่า สุเทพ โพธิ์งาม เป็นนักแสดงตลก หัวหน้าคณะโพธิ์งามในอดีต มีความสามารถหลายอย่าง เคยแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง และยังเป็นผู้กำกับและเขียนบทภาพยนตร์อีกด้ว.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และเทพ โพธิ์งาม · ดูเพิ่มเติม »

7 ธันวาคม

วันที่ 7 ธันวาคม เป็นวันที่ 341 ของปี (วันที่ 342 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 24 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และ7 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 กุมภาพันธ์

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 39 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 326 วันในปีนั้น (327 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ชุมทางเพลงพระราชนิพนธ์และ8 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »