โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและชาวกะเหรี่ยง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและชาวกะเหรี่ยง

ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลา vs. ชาวกะเหรี่ยง

ผู้ลี้ภัยแม่ลา ก่อตั้งขึ้นในปี 2527 อยู่ในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในเขตทิวเขาดอยมอนกุจู ปัจจุบันให้ที่อยู่แก่ผู้ลี้ภัย 50,000 คน ซึ่งมีเพิ่มทุกสัปดาห์จากประเทศพม่า ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาเป็นค่ายผู้ลี้ภัยสำหรับชาวพม่าแห่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผู้ลี้ภัยกว่า 90% มีเชื้อสายกะเหรี่ยง เดิมค่ายตั้งขึ้นหลังฐานทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) แตก ที่หมู่บ้านแม่ลาของไทยตรงพรมแดนในปี 2527 โดยมีประชากร 1,100 คน ไม่นานหลังจากนั้น ค่ายถูกย้ายไปยังจุดอันเป็นที่ตั้งของโซนซีในปัจจุบัน เนื่องจากความกังวลด้านความมั่นคง หลังมาเนอปลอว์แตกในเดือนมกราคม 2538 ค่ายจำนวนหนึ่งถูกโจมตีในการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดน และทางการไทยเริ่มรวบรวมค่ายเพื่อเพิ่มความมั่นคง ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาถูกกำหนดเป็นค่ายหลักในพื้นที่ ในเดือนเมษายน 2538 ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาเพิ่มขนาดจากที่รองรับได้ 6,969 คน เป็น 13,195 คน ในปีต่อมา ค่ายเพิ่มขนาดเป็นสองเท่าอีก เป็น 26,629 คน เนื่องจากผู้ลี้ภัยที่สูญหายไปในการย้ายค่ายกลับมายังค่าย ค่ายแม่ลาถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาสำหรับผู้ลี้ภัย ฉะนั้น ประชากรปัจจุบันจึงมีนักเรียนหลายพันคนที่มาศึกษาในค่ายด้วย บ้างมาจากค่ายผู้ลี้ภัยอื่น แต่ส่วนใหญ่มาจากพม่า นักเรียนเหล่านี้ได้รับการลงทะเบียนเป็นผู้อยู่อาศัยชั่วคราว ค่ายถูกโจมตีในปี 2540 โดยกำลังกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (DKBA) ที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยกองทัพพม่า ไม่มีการรุกล้ำอีกหลังจากนั้น แต่กระสุนปืนครกตกในส่วน เอ5 ในเดือนมีนาคม 2541 ทุกฤดูแล้ง พื้นที่นี้ค่อนข้างตึงเครียดกับความมั่นคงของค่าย มีการขู่จะโจมตีด้วยอาวุธ และ/หรือ ความพยายามเผาค่าย พื้นที่รัฐกะเหรี่ยงที่ตั้งอยู่ตรงข้ามค่ายแม่ลานั้นอยู่ห่างไกล โดยไม่มีนิคมขนาดใหญ่หรือโครงสร้างพื้นฐาน กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ยังมีกองบัญชาการกองพลน้อยที่ 7 อยู่ใกล้เคียง และมีกองรักษาด่านจำนวนมากของกองทัพพม่าและกองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธอยู่ในพื้นที. กะเหรี่ยง, กาเรน, กายิน, หรือคนยาง (ကရင်လူမျိုး,; กะเหรี่ยง) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต อาศัยอยู่มากในรัฐกะเหรี่ยง ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า กะเหรี่ยงมีประชากรประมาณร้อยละ 7 ของประชากรชาวพม่าทั้งหมด หรือประมาณ 5 ล้านคน ชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพไปอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยตามแนวชายแดนไทยพม่า กลุ่มกะเหรี่ยงมักจะสับสนกับ กะยันชนเผ่าที่รู้จักกันดีสำหรับแหวนคอสวมใส่โดยผู้หญิงของพวกเขา แต่พวกเขาเป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยงแดง (คะเรนนี) ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าคะยาในรัฐกะยาของพม่า บางส่วนของชาวกะเหรี่ยงนำโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ได้เข้าร่วมสงครามต่อต้านรัฐบาลพม่าตั้งแต่ต้นปี 1949 จุดมุ่งหมายของเคเอ็นยูครั้งแรกเพื่อแยกเป็นอิสระ ตั้งแต่ปี 1976 กลุ่มติดอาวุธได้เรียกร้องรัฐบาลกลางในการปกครองตนเองมากกว่าการที่จะแยกเป็นอิสร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและชาวกะเหรี่ยง

ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและชาวกะเหรี่ยง มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงจังหวัดตาก

สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง

งชาติทางการของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง หรือ กะเหรี่ยงเคเอ็นยู (The Karen National Union: KNU; ကရင် အမျိုးသား အစည်းအရုံး) คือ กลุ่มติดอาวุธชาวกะเหรี่ยงในพม่าที่ทำการสู้รบกับรัฐบาลพม่าตามแนวชายแดนไทย ในบริเวณอาณาเขตของพื้นที่ที่เรียกเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "กอซูเล" (Kawthoolei) ฝ่ายเคเอ็นยูได้สู้รบกับพม่ามานานเกินกึ่งศตวรรษมาแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. 2491 โดยร่วมกับกองกำลังย่อยที่มีชื่อว่า กะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอ (Karen National Liberation Army - KNLA) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอยู่ภายใต้การปกครองของนายพลโบเมียะมานานกว่า 30 ปีซึ่งได้ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2543 (นายพลโบเมียะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ในโรงพยาบาลในประเทศไทย) สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงสามารถเลี้ยงตนเองโดยการควบคุมตลาดมืดที่ทำการค้าชายแดนกับประเทศไทย หลังจากการลุกฮือต่อต้านเผด็จการของประชาชนชาวพม่าที่เรียกว่า "เหตุการณ์ 8888 ทมิฬ" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 และได้ล้มเหลวยุติลงด้วยการปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลเมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน หลังเหตุการณ์นี้ รัฐบาลพม่าได้หันไปขอความช่วยเหลือจากจีน มีการให้สัมปทานทางการค้าหลายอย่างแก่จีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับอาวุธจำนวนมากทำให้กองทัพพม่ามีขนาดใหญ่และเข้มแข็งจากเดิมเป็นอันมาก และในช่วงนี้รัฐบาลพม่าก็ได้เริ่มเปิดการเจรจากับสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงที่ต่อสู้กับรัฐบาลและเปิดโอกาสให้มีการเจรจาเพื่อให้เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลหรือมิเช่นนั้นจะต้องถูกทำลายลงทั้งหมด แต่ฝ่ายกะเหรี่ยงไม่ยอม กองกำลังของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงอ่อนแอลงมากจากการปราบปรามของฝ่ายรัฐบาลและได้เสียกองบัญชาการที่ "มาเนอพลอ" ใกล้กับชายแดนไทยเมื่อ พ.ศ. 2537 รวมทั้งการยอมเข้าร่วมมือกับรัฐบาลกองกำลังย่อยส่วนหนึ่งของกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอที่เป็นกะเหรี่ยงฝ่ายนับถือพุทธที่เรียกตนเองว่า กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตยฝ่ายพุทธ (Democratic Karen Buddhist Army - DKBA) กองกำลังกลุ่มนี้ได้รับมอบอาณาเขตพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ปกครองตนเองเป็นการแลกเปลี่ยนที่ยอมร่วมมือกับรัฐบาล กองกำลังกระเหรียงพุทธนี้เองที่มีส่วนสำคัญช่วยรัฐบาลทหารพม่ายึดกองบัญชาการเคเอ็นยูที่มาเนอพลอได้ เหตุผลที่กะเหรี่ยงกลุ่มนี้อ้างในการเข้ากับฝ่ายรัฐบาลคือการถูกเอาเปรียบ เหลื่อมล้ำและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกะเหรี่ยงฝ่ายเคเอ็นยูซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงกับกะเหรี่ยงเคเอ็นแอลเอยังคงร่วมกันต่อสู้กับรัฐบาลพม่าต่อไป โดยจัดตั้งกองกำลังเป็นหน่วยทหารกองโจรขนาดเล็กหลบซ่อนอยู่ตามแนวชายแดนไทยโดยใช้วิธีตั้งค่ายแบบชั่วคราวที่เคลื่อนย้ายหนีได้สะดวก มีการประทะกันประปรายโดยตลอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้กองทัพฝ่ายรัฐบาลจะมีขีดความสามารถที่จะกวาดล้างกองกำลังกะเหรี่ยงได้เป็นผลสำเร็จ แต่ก็จะเสียกำลัง ยุทธโปกรณ์และงบประมาณไปมาก ซึ่งอาจทำให้กองทัพพม่าโดยรวมอ่อนแอลง ฝ่ายรัฐบาลทหารพม่าจึงยังคงปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปก่อน การสู้รบของชาวกะเหรี่ยงนับเป็นการสู้รบเพื่ออิสรภาพที่ยาวนานที่สุดในโลก คือนานมากถึง 59 ปี.

ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง · ชาวกะเหรี่ยงและสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดตาก

นมิตรภาพ ไทย-พม่า (แม่สอด-เมียวดี) ทอดข้ามแม่น้ำเมย จังหวัดตาก (30px) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ ถึง 9 จังหวั.

ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและจังหวัดตาก · จังหวัดตากและชาวกะเหรี่ยง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและชาวกะเหรี่ยง

ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลา มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ ชาวกะเหรี่ยง มี 40 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.26% = 2 / (7 + 40)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ค่ายผู้ลี้ภัยแม่ลาและชาวกะเหรี่ยง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »