โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คิวมูโลนิมบัส

ดัชนี คิวมูโลนิมบัส

วมูโลนิมบัสที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน ลักษณะของแท่งทั่งตีเหล็กที่ใช้เปรียบเทียบกับลักษณะของเมฆคิมมูโลนิมบัส คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน cumulus "กองของสิ่งของ" และ nimbus "พายุฝน, เมฆพายุ" คิวมูโลนิมบัส คือ เมฆที่มีลักษณะหนาสูงทึบในแนวตั้ง โดยมีความสัมพันธ์กับ พายุฟ้าคะนอง และ อากาศที่มีลักษณะแปรปรวน ก่อตัวขึ้นจากไอน้ำซึ่งได้รับการนำพาพัดขึ้นด้านบนด้วยกระแสลมแรง สามารถพบได้ในแบบเดี่ยว, รวมเป็นกลุ่ม, หรือ ตามแนวปะทะอากาศเย็น คิวมูโลนิมบัส สามารถทำให้เกิด ฟ้าผ่า หรือ สภาพอากาศที่รุนแรงได้ ยกตัวอย่างเช่น ทำให้เกิดพายุทอร์นาโด อักษรย่อสำหรับ คิวมูโลนิมบัส คือ Cb.

3 ความสัมพันธ์: พายุฟ้าคะนองภาษาละตินแนวปะทะอากาศเย็น

พายุฟ้าคะนอง

ฝนฟ้าคะนองตรงแบบเหนือทุ่ง พายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุชนิดหนึ่งที่ถูกจัดลักษณะโดยปรากฏการณ์จากผลกระทบของ แสง และ เสียง บนบรรยากาศของโลก ที่รู้จักกันในชื่อ ฟ้าร้อง อุตุนิยมวิทยาได้กำหนดชนิดของ เมฆ ที่เกี่ยวข้องกับพายุฝนฟ้าคะนองว่าเป็นคิวมูโลนิมบัส ปกติแล้วพายุฝนฟ้าคะนองจะมาพร้อมกับลมแรง, ฝนตกหนัก และบางครั้งมี หิมะ ฝนหิมะ หรืออาจไม่ตกลงสู่พื้นดินเลยก็ได้ ทั้งหมดนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดลูกเห็บตกซึ่งเรียก พายุลูกเห็บ พายุฝนฟ้าคะนองอาจจะตกหนักเป็นหย่อม ๆ หรือตกหนักแบบกระจายตัวที่เรียก ซูเปอร์เซลล์ ก็ได้ พายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนักหรือรุนแรงอาจเกิดการหมุนตัวซึ่งเรียกว่าซูปเปอร์เซลล์ ในขณะที่พายุฝนฟ้าคะนองส่วนใหญ่เคลื่อนที่ด้วยแรงลมปกติผ่านชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ ที่มันสถิตย์อยู่ เมื่อเกิดแรงลมพัดเฉือนในแนวตั้งเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดการหันเหเบี่ยงเบนในทิศทางที่ลมพัดเฉือนนั้นพัดมาเป็นสาเหตุให้พายุเคลื่อนตัว ผลของพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากการเคลื่อนตัวขึ้นลงอย่างรวดเร็วของอากาศที่อุ่นและชื้น มันก่อให้เกิดมวลอากาศที่อุ่นและชื้นขึ้นภายในและด้านหน้าของกลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองนั้น ในขณะที่มวลอากาศอุ่นและชื้นเคลื่อนตัวขึ้นลงนั้น มันเกิดความเย็น,กลั่นตัวจนควบแน่นและก่อตัวเป็นกลุ่มก้อนเมฆที่แผ่ตัวต่ำปกคลุมทั่วท้องฟ้าจนมาถึงความสูงเกิน 20 กม.

ใหม่!!: คิวมูโลนิมบัสและพายุฟ้าคะนอง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: คิวมูโลนิมบัสและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

แนวปะทะอากาศเย็น

แนวปะทะอากาศเย็นเหนือฝั่งตะวันออกและตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ภาพอธิบายการเคลื่อนที่ของแนวปะทะอากาศเย็น สัญลักษณ์ของแนวปะทะอากาศเย็น เส้นสีน้ำเงินมีสามเหลี่ยมสีน้ำเงินอยู่บนเส้นชี้แสดงถึงทิศทางที่แนวปะทะอากาศเย็นกำลังเคลื่อนตัวไป.

ใหม่!!: คิวมูโลนิมบัสและแนวปะทะอากาศเย็น · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »