โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คันธมาทน์และพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง คันธมาทน์และพระปัจเจกพุทธเจ้า

คันธมาทน์ vs. พระปัจเจกพุทธเจ้า

ันธมาทน์ (อ่านว่า คันทะมาด) เป็นชื่อภูเขาในป่าหิมพานต์ แปลว่า ภูเขาเป็นที่ยังสัตว์ให้เมาด้วยกลิ่นหอม คือภูเขาหอม   “คันธมาทน์” เป็นชื่อภูเขาสำคัญลูกหนึ่งตามตำนานการสร้างโลกและจักรวาลในคติทางพระพุทธศาสนา เป็น ๑ ใน ๕ ขุนเขาที่ล้อมรอบสระอโนดาตในป่าหิมพานต์ อันได้แก่ สุทัสนกูฏ จิตรกูฏ กาฬกูฏ คันธมาทนกูฏ และไกรลาส แต่ละลูกมีความสูงถึง ๒๐๐ โยชน์           คำ คันธมาทน์ นี้มาจาก คันธ (กลิ่นหอม) + มาทน (ยินดี) คือ ภูเขาที่ให้ชาวโลกยินดีด้วยกลิ่นหอม ความหมายดังกล่าวนี้เป็นคุณลักษณะประการสำคัญของเขาคันธมาทน์ คือเป็นขุนเขาที่พร้อมพรั่งไปด้วยพรรณไม้ที่ส่งกลิ่นหอม ดังในคัมภีร์โลกทีปกสารและไตรภูมิกถาพรรณนาลักษณะเขาคันธมาทน์ไว้ว่า    คันธมาทน์ นัยว่ามีกลิ่นหอมอบอวลอยู่ตลอดเวลา ด้วยเป็นภูเขาที่สะพรั่งด้วยต้นไม้หอมนานาชนิด ดารดาษไปด้วยต้นไม้สมุนไพรนับจำนวนมิได้ ยอดเขาคันธมาทนะนั้น มั่วมูลด้วยกลิ่น ๑๐ ประการเหล่านี้คือ กลิ่นที่รากมีต้นกฤษณาเป็นต้น กลิ่นที่แก่นมีต้นจันทน์เป็นต้น กลิ่นที่กระพี้มีต้นสนเป็นต้น กลิ่นที่เปลือกมีต้นสวังคะเป็นต้น กลิ่นที่สะเก็ดมีมะขวิดเป็นต้น กลิ่นที่ยางมีต้นสัชฌะเป็นต้น กลิ่นที่ใบมีต้นพิมเสน เป็นต้น กลิ่นที่ดอกมีต้นบุนนาคและโกสุมเป็นต้น กลิ่นที่ผลมีต้นชาติผลเป็นต้น กลิ่นที่กลิ่นเพราะเป็นกลิ่นรวมของทุก ๆ กลิ่นเป็นแหล่งรวมแห่งโอสถ เป็นที่อาศัยแห่งหมู่สัตว์ใหญ่น้อย มีถ้ำใหญ่อยู่ ๓ ถ้ำ คือ ถ้ำทอง ถ้ำแก้ว และถ้ำเงิน เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายโดยรวมกันอยู่ที่เงื้อมชื่อนันทมูลกะ (นัยอรรถกถา) เขาอันชื่อคันธมาทนกูฏนั้นเทียรย่อมแก้วอันชื่อมสาลรัตนะ กลวงในเขานั้นดั่งถั่วสะแตกแลราชมาส พรรณไม้ที่เกิดในเขานั้น ลางต้นรากหอม ลางต้นแก่นหอม ลางต้นยอดหอม ลางต้นเปลือกหอม ลางต้นลำหอม ลางต้นดอกหอม ลางต้นลูกหอม ลางต้นใบหอม ลางต้นยางหอม (ลางต้นหอมทุกอย่าง) แลว่าไม้ในเขานั้นหอม ๑๐ สิ่งดั่งกล่าวนี้แล ไม้ทั้งหลายนั้นเทียรย่อมเป็นยา แลว่าเชือกเขาเถาวัลย์อันมีในเขานั้นเทียรย่อมมีทุกสิ่ง แลเทียรย่อมหอมอยู่ทุกเมื่อบ่มิรู้วายรสเลย จึงเรียกว่าคันธมาทนเพื่อดั่งนั้น                                                                                                                                                                 (ไตรภูมิกถา)           ความมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของเขาคันธมาทน์ คือในวันเดือนดับและวันเดือนเพ็ญ ขุนเขาแห่งไม้หอมนี้จะมีแสงสว่างรุ่งโรจน์โชติช่วง ดังในไตรภูมิกถาพรรณนาไว้ว่า “แลเขานั้นเมื่อเดือนดับแลรุ่งเรืองชัชวาลอยู่ดั่งถ่านเพลิง ถ้าเมื่อเดือนเพ็งเรืองอยู่ดั่งไฟไหม้ป่าแลไหม้เมืองแล”           นอกจากนี้เขาคันธมาทน์ยังเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย  ดังในคัมภีร์จักรวาฬทีปนีกล่าวไว้อย่างละเอียดว่า           ภูเขาชื่อคันธมาทน์ล่วงเลยภูเขาทั้งเจ็ด คือ จูฬกาฬบรรพต มหากาฬบรรพต ขุทกบรรพต จันทบรรพต สุริยบรรพต มณีบรรพต และสุวรรณบรรพต ในหิมวันตประเทศ ณ ภูเขาคันธมาทน์นั้นแลมีเงื้อมชื่อนันทมูลกะเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีถ้ำ๓ ถ้ำ คือ ถ้ำทอง ถ้ำแก้วมณี และถ้ำเงิน ที่ปากถ้ำแก้วมณี มีต้นคำสูงโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง ต้นคำนั้นย่อมผลิดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้นโดยทั่วถึงทั้งในน้ำหรือบนบก โดยวิเศษในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้ามา ข้างหน้าต้นคำนั้นเป็นโรงกลมสำเร็จด้วยสรรพรัตนะ ณ โรงกลมนั้น  สัมมัชนกวาต (ลมกวาด)  กวาดหยากเยื่อทิ้ง สมกรณวาต (ลมเกลี่ย)  เกลี่ยทรายซึ่งล้วนแล้วด้วยสรรพรัตนะ ให้เสมอ สิญจนวาต (ลมรด)  นำน้ำจากสระอโนดาตมารด สุคันธกรณวาต (ลมกลิ่น) นำกลิ่นของต้นไม้หอมทุกอย่างมาจากป่าหิมพานต์  โอจินกวาต (ลมโปรย)  โปรยดอกไม้  สันถรกวาต (ลมลาด) ปูลาดในที่ทุกแห่ง ในโรงกลมนี้มีอาสนะปูไว้ทุกเมื่อ ซึ่งเป็นที่นั่งประชุมของพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์ในวันอุบัติแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้า และในวันอุโบสถพระปัจเจกพุทธเจ้า ครั้นนั่งแล้วย่อมเข้าสมาบัติบางอย่าง แล้วออก (จากสมาบัตินั้น) จากนั้นพระสังฆเถระก็ถามพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์มาใหม่ถึงกรรมฐานว่าท่านได้บรรลุอย่างไร  เพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวงจะได้อนุโมทนาในกาลนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์มาใหม่ก็จะกล่าวคาถาพยากรณ์อันเป็นคำอุทานของตนนั้นแล                                                                                                                                                        (จักรวาฬทีปนี) ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กล่าวว่า พระเวสสันดรพร้อมทั้งพระมเหสีและพระโอรสพระธิดา ได้เสด็จผนวชในป่าเชิงเขานี้. ระปัจเจกพุทธเจ้า (ปจฺเจกพุทฺธ; ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรมเช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้) ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น) พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดีแต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตรในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขาแห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า) พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง คันธมาทน์และพระปัจเจกพุทธเจ้า

คันธมาทน์และพระปัจเจกพุทธเจ้า มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

คันธมาทน์และพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

คันธมาทน์และวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · พระปัจเจกพุทธเจ้าและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง คันธมาทน์และพระปัจเจกพุทธเจ้า

คันธมาทน์ มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระปัจเจกพุทธเจ้า มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 9.52% = 2 / (7 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คันธมาทน์และพระปัจเจกพุทธเจ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »