โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557

ดัชนี ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557

วันที่ 8 กรกฎาคม 2557 กองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เปิดฉากปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์ (Operation Protective Edge, מִבְצָע צוּק אֵיתָן, ปฏิบัติการปกป้องขอบแดน) ในฉนวนกาซาที่ฮะมาสควบคุม จากนั้น การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลและการโจมตีด้วยจรวดของปาเลสไตน์นานเจ็ดสัปดาห์ ตลอดจนการระดมยิงและการต่อสู้ในการบุกครองภาคพื้นดินและการโจมตีผ่านอุโมงค์ข้ามชายแดน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,100 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์ The Guardian.

10 ความสัมพันธ์: กองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซาสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติฮะมาสความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์คณะกรรมการป้องกันประชาชนฉนวนกาซาประเทศอิสราเอลแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์เบนจามิน เนทันยาฮู

กองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซา

กองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซา (al-Aqsa Martyrs' Brigades, كتائب شهداء الأقصى) เป็นกลุ่มทหารของปาเลสไตน์ที่เป็นกลุ่มย่อยของฟาตะห์ มีอุดมการณ์ต่อต้านอิสราเอล ต้องการขับไล่ชาวยิวออกจากเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซาและเยรูซาเลม เพื่อจัดตั้งรัฐปาเลสไตน์ เป้าหมายของกลุ่มเป็นพลเรือน อิสราเอล สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปจัดให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มก่อการร้าย กลุ่มนี้ตั้งชื่อตามมัสยิดอัลอักซา ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม สมาชิกของกลุ่มแยกมาจากตันซีมหลังยัสเซอร์ อาราฟัตเสียชีวิตเมื่อ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และกองพลน้อยผู้พลีชีพอัลอักซา · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ

สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs, ย่อ: OCHA) เป็นองค์กรของสหประชาชาติ ก่อตั้งในปี 2534 โดยข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 46/182 ข้อมติออกแบบมาเพื่อสร้างเสริมการสนองของสหประชาชาติต่อภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติธรรมชาติที่ซับซ้อน องค์การก่อนหน้านี้ของสหประชาชาติที่มีภารกิจคล้ายกัน คือ กรมกิจการมนุษยธรรม (Department of Humanitarian Affairs, DHA) และองค์การก่อนหน้า สำนักงานผู้ประสานงานการบรรเทาภัยพิบัติสหประชาชาติ (United Nations Disaster Relief Coordinator, UNDRC) ในปี 2541 เนื่องจากการจัดระเบียบใหม่ DHA รวมเข้ากับ OCHA และได้รับออกแบบให้เป็นศูนย์กลางภัยพิบัติขนาดใหญ่ของสหประชาชาติ เป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมของกลุ่มพัฒนาสหประชาชาติ หลังรวมกับ DHA อาณัติของสำนักงานฯ ขยายไปครอบคลุมการประสานงานการสนองทางมนุษยธรรม การพัฒนานโยบายและการสนับสนุนมนุษยธรรม กิจกรรมขององค์กรมีการจัดระเบียบและการเฝ้าดูการจัดหาทุนทางมนุษยธรรม ตลอดจนการแลกเปลี่ยนสารนิเทศ การประสานงานและทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วสำหรับการบรรเทาภาวะฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 สตีเฟน โอไบรอัน (Stephen O'Brien) เป็นหัวหน้า OCHA โดยเป็นปลัดเลขาธิการด้านกิจการมนุษยธรรมและผู้ประสานงานการบรรเทาภาวะฉุกเฉิน (USG/ERC) มีวาระห้าปี หมวดหมู่:องค์การช่วยเหลือมนุษยธรรม หมวดหมู่:การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน หมวดหมู่:กลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หมวดหมู่:องค์กรสาขาสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมาส

มาส (حماس) ย่อมาจาก ฮะเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ (حركة المقاومة الاسلامية) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ มักถูกเรียกว่า กลุ่มหัวรุนแรงฮะมาส หรือ กลุ่มติดอาวุธฮะมาส ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีกลุ่มฟะตะห์โดยใช้ระเบิดพลีชีพ อามาสเป็นขบวนการที่เป็นผลพวงของการต่อต้านอิสราเอลใน..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และฮะมาส · ดูเพิ่มเติม »

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

วามขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปาเลสไตน์ และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้ ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ในวันที่ 7 ธันวาคม..2560 ภายหลังประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ รับรอง กรุงเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล การเจรจาสันติภาพก็มีแนวโน้มว่าจะจบลง สงครามรอบใหม่เริ่มขึ้นภายหลังการประกาศรับรองดังกล่าว ในวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมการป้องกันประชาชน

ณะกรรมการป้องกันประชาชน (Popular Resistance Committees) เป็นองค์กรทางทหารของปาเลสไตน์ที่จัดตั้งในฉนวนกาซาที่ถือเป็นขบวนการก่อการร้ายโดยอิสราเอลและสหรัฐ ก่อตั้งในช่วงปลายปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และคณะกรรมการป้องกันประชาชน · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และฉนวนกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine; ภาษาอาหรับ الجبهة الشعبية لتحرير فلسطين, al-Jabhah al-Sha`biyyah li-Tahrīr Filastīn) เป็นกลุ่มติดอาวุธและพรรคการเมืองนิยมลัทธิมากซ์ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

แนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Democratic Front for the Liberation of Palestine; ภาษาอาหรับ: 'الجبهة الديموقراطية لتحرير فلسطين', ถอดอักษร Al-Jabha al-Dimuqratiya Li-Tahrir Filastin หรือ al-Jabha al-Dimuqratiyah; الجبهة الديموقراطية) เป็นองค์กรทางการเมืองและการทหารของปาเลสไตน์ ที่นิยมลัทธิมากซ์ เป็นองค์กรที่เป็นสมาชิกขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และแนวร่วมประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

เบนจามิน เนทันยาฮู

เบนจามิน "บีบี" เนทันยาฮู (Benjamin "Bibi" Netanyahu; בִּנְיָמִין "בִּיבִּי" נְתָנְיָהוּ; بنيامين نتانياهو; เกิด 21 ตุลาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนปัจจุบัน เขายังเป็นสมาชิกรัฐสภา (Knesset) และหัวหน้าพรรคลิคุด (Likud) เขาเกิดในกรุงเทลอาวีฟ มีบิดามารดาเป็นชาวยิวโลกิยะ เนทนยาฮูเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่เกิดในประเทศอิสราเอลหลังการสถาปนารัฐ เนทันยาฮูเข้าร่วมกำลังป้องกันอิสราเอลไม่นานหลังสงครามหกวันในปี 2510 และเป็นหัวหน้าทีมในหน่วยรบพิเศษซาเยเรตแมตกัล (Sayeret Matkal) เขาเข้าร่วมหลายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วยปฏิบัติการอินเฟอร์โน (ปี 2511), ปฏิบัติการกิฟต์ (ปี 2511) และปฏิบัติการไอโซโทป (ปี 2525) ซึ่งระหว่างนั้นเขาถูกยิงที่ไหล่ เขาต่อสู้ในแนวหน้าในสงครามการบั่นทอนกำลัง (War of Attrition) และสงครามยมคิปปูร์ในปี 2516 โดยร่วมกับกำลังพิเศษตีโฉบฉวยตามคลองสุเอซ แล้วนำการโจมตีของคอมมานโดลึกเข้าดินแดนซีเรีย เขาได้ยศร้อยเอกก่อนได้รับการปลด หลังสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ด้วยปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เขาได้รับสรรหาเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่บอสตันคอนซัลทิงกรุป เขากลับประเทศอิสราเอลในปี 2521 เพื่อก่อตั้งสถาบันต่อต้านการก่อการร้ายโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu Anti-Terror Institute) ซึ่งได้ชื่อตามโยนาทัน เนทันยาฮู ผู้เสียชีวิตขณะเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบบี (Entebbe) เนทันยาฮูรับราชการเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2531 เนทันยาฮูเป็นหัวหน้าพรรคลิคุดในปี 2536 เนทันยาฮูชนะการเลือกตั้งปี 2539 ทำให้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่หนุ่มที่สุด ดำรงวาระแรกระหว่างเดือนมิถุนายน 2539 ถึงกรกฎาคม 2541 เขาย้ายจากเวทีการเมืองไปภาคเอกชนหลังพ่ายการเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2542 แก่เอฮุด บารัค (Ehud Barak) เนทันยาฮูหวนคืนการเมืองในปี 2545 โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปี 2545–2546) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ปี 2546–2548) ในรัฐบาลแอเรียล ชารอน แต่เขาออกจากรัฐบาลเพราะความไม่ลงรอยต่อแผนการปลดปล่อยกาซา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนทันยาฮูปฏิรูปเศรษฐกิจอิสราเอลขนานใหญ่ ซึ่งผู้วิจารณ์ยกย่องว่าพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในเวลาต่อมาอย่างสำคัญ เขาทวงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุดในเดือนธันวาคม 2548 หลังชารอนออกไปตั้งพรรคการเมืองต่างหาก ในเดือนธันวาคม 2549 เนทันยาฮูเป็นผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาและหัวหน้าพรรคลิคุดอย่างเป็นทางการ หลังการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2552 ซึ่งลิคุดได้อันดับสองและพรรคฝ่ายขวาได้เสียงข้างมาก เนทันยาฮูตั้งรัฐบาลผสม หลังชัยชนะในการเลือกตั้งปี 2556 เขากลายเป็นบุคคลที่สองที่ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม ถัดจากเดวิด เบนกูเรียน ในเดือนมีนาคม 2558 เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สี่ เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลสี่สมัย เท่ากับสถิติของเดวิด เบนกูเรียน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวในประวัติศาสตร์อิสราเลที่ได้รับเลือกตั้งสามครั้งติดต่อกัน ปัจจุบันเขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่สอง หมวดหมู่:นายกรัฐมนตรีอิสราเอล หมวดหมู่:ทหารชาวอิสราเอล หมวดหมู่:ชาวยิว หมวดหมู่:ชาวเทลอาวีฟ.

ใหม่!!: ความขัดแย้งอิสราเอล–กาซา พ.ศ. 2557และเบนจามิน เนทันยาฮู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Operation Protective Edgeปฏิบัติการปกป้องขอบแดนปฏิบัติการโพรเทกทิฟเอดจ์ปฏิบัติการโปรเทคทีฟเอดจ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »