โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์

ดัชนี กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์

กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestinian Liberation Army) เป็นกองกำลังทางทหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ก่อตั้งเมื่อ..

21 ความสัมพันธ์: ฟะตะห์กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์กองทัพรัสเซียกำลังความมั่นคงแห่งชาติปาเลสไตน์ยัสเซอร์ อาราฟัตรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์สงครามกลางเมืองซีเรียสงครามกลางเมืองเลบานอนสงครามหกวันอันวัร อัสซาดาตองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ฉนวนกาซาประเทศอิรักประเทศอิสราเอลประเทศอียิปต์ประเทศจอร์แดนประเทศซีเรียประเทศเลบานอนปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ฟะตะห์

ฟะตะห์ หรือ ฟัตห์ (Fatah; فتح) เป็นพรรคการเมืองของปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นขั้วอำนาจปาเลสไตน์กับกลุ่มฮะมาส ได้สู้รบกันมาตลอด และต่อมาได้เจรจาหยุดยิงและมีการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ 25 มกราคม พ.ศ. 2549 ร่วมตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคฮะมาสที่ชนะการเลือกตั้ง ก่อนถูกประกาศยกเลิก เนื่องจากกลุ่มฮะมาสไม่เป็นที่ยอมรับของรัฐบาลหลายประเทศ หมวดหมู่:พรรคการเมืองปาเลสไตน์ หมวดหมู่:ขบวนการแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และฟะตะห์ · ดูเพิ่มเติม »

กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์

กองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Popular Front for the Liberation of Palestine-General Command) เป็นกลุ่มที่แยกตัวออกมาจากแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ เมื่อ..

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และกองบัญชาการใหญ่แนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพรัสเซีย

กองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย (Вооружённые Си́лы Росси́йской Федера́ции) เป็นราชการทหารของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย วันที่ 7 พฤษภาคม 2535 บอริส เยลต์ซินลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีที่สถาปนากระทรวงกลาโหมรัสเซียและกำหนดให้หน่วยทหารกองทัพโซเวียตทั้งหมดในดินแดนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพ จำนวนกำลังพลมีระบุในคำสั่งประธานาธิบดีรัสเซีย วันที่ 1 มกราคม 2551 มีการกำหนดทหาร 2,019,629 นาย รวมถึงทหาร 1,134,800 นาย ในปี 2553 สถาบันศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศประเมินว่ากองทัพรัสเซียมีกำลังพลประจำการราว 1,040,000 นาย และกองหนุน 2,035,000 นาย (ส่วนใหญ่เป็นอดีตทหารเกณฑ์)IISS Military Balance 2010, p. 222 หอบัญชีรัสเซียรายงานกำลังพลในกองทัพและได้รับค่าจ้างแท้จริงไว้ที่ 766,000 นายในเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งไม่ตรงกับกำลังพลที่ระบุไว้ในคำสั่งประธานาธิบดี จนถึงเดือนธันวาคม 2556 กองทัพมีกำลังพลอยู่ที่ร้อยละ 82 ของกำลังพลที่ต้องการ.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และกองทัพรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กำลังความมั่นคงแห่งชาติปาเลสไตน์

กำลังความมั่นคงแห่งชาติปาเลสไตน์ (NSF) (قوات الأمن الوطني الفلسطيني) เป็นกำลังกึ่งทหารของรัฐปาเลสไตน.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และกำลังความมั่นคงแห่งชาติปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ยัสเซอร์ อาราฟัต

ัสเซอร์ อาราฟัต (ياسر عرفات ยาซิร อะเราะฟาต; 24 สิงหาคม พ.ศ. 2472 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) เป็นที่รู้จักในชื่อในการรบว่า อะบู อัมมาร์ (ابو عمّار) ชื่อจริงคือ โมฮัมหมัด อับดุล ราห์มาน อัลดุล ราอูฟ อาราฟัต อัล กุดวา (محمد عبد الرؤوف القدوة الحسيني) เป็นผู้นำชาวปาเลสไตน์ เป็นประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) ประธานองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (PNA) และผู้นำฟะตะห์ (Fatah) พรรคการเมืองและอดีตกลุ่มกำลังกึ่งทหารที่เขาก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และยัสเซอร์ อาราฟัต · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองเลบานอน

สงครามกลางเมืองเลบานอน เป็นสงครามกลางเมืองหลายด้านในประเทศเลบานอน กินเวลาตั้งแต่ปี 1975 ถึง 1990 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 120,000 คน ปัจจุบัน มีประมาณ 76,000 คนยังพลัดถิ่นอยู่ในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการอพยพครั้งใหญ่ประชาชนเกือบหนึ่งล้านคนจากประเทศอันเนื่องจากสงคราม หมวดหมู่:สงครามกลางเมือง หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เลบานอน หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับเลบานอน หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับซีเรีย หมวดหมู่:สงครามเกี่ยวข้องกับอิสราเอล.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และสงครามกลางเมืองเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามหกวัน

งครามหกวัน (Six-Day War., מלחמת ששת הימים) เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ หลังจากวิกฤตการณ์สุเอซ ญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ได้ขอให้สหประชาชาติถอนกำลังออกไปจากอียิปต์แล้ว กองทัพของอียิปต์ได้เคลื่อนที่เข้ายึดฉนวนกาซาและปิดล้อมอ่าวอะกาบา และห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน อิสราเอลจึงได้โจมตีอียิปต์ก่อน ทำให้เกิดสงครามระหว่างยิวกับอาหรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสงครามนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และสงครามหกวัน · ดูเพิ่มเติม »

อันวัร อัสซาดาต

มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต (محمد أنور السادات; Muhammad Anwar al-Sadat; 25 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2524) นักการทหาร นักการเมืองและประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2513 - 6 ตุลาคม..

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และอันวัร อัสซาดาต · ดูเพิ่มเติม »

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐปาเลสไตน์เอกราช กว่า 100 รัฐรับรององค์การฯ เป็น "ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์" ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วยMadiha Rashid al Madfai, Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991, Cambridge Middle East Library, Cambridge University Press (1993).

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

วามขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์ และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948 เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์

วามขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ เป็นการต่อสู้ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความขัดแย้งนี้เกิดเป็นวงกว้าง และบางครั้งยังใช้คำนี้อ้างอิงถึงความขัดแย้งนิกายในปาเลสไตน์ในอาณัติระหว่างยีชูฟ (yishuv) ขบวนการไซออนิสต์กับประชากรอาหรับภายใต้การปกครองของอังกฤษ ความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ก่อเกิดเป็นส่วนสำคัญของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลที่ใหญ่กว่า ถูกเรียกอย่างกว้างขวางว่าเป็น "ความขัดแย้งที่หายยากที่สุด" ของโลก แม้มีกระบวนการสันติภาพระยะยาวและการปรองดองทั่วไปของอิสราเอลกับอียิปต์และจอร์แดน แต่อิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่สามารถบรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายได้ ประเด็นสำคัญที่ยังเหลืออยู่ คือ การรับรองร่วมกัน เขตแดน ความมั่นคง สิทธิน้ำ การควบคุมเยรูซาเลม นิคมอิสราเอล เสรีภาพในการเคลื่อนไหวของปาเลสไตน์ และการแก้ไขการอ้างสิทธิการเดินทางกลับสำหรับผู้ลี้ภัยของปาเลสไตน์ ความรุนแรงของความขัดแย้งในภูมิภาคอันอุดมไปด้วยแหล่งความสนใจทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและศาสนาทั่วโลก กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างประเทศจำนวนมากว่าด้วยสิทธิทางประวัติศาสตร์ ประเด็นความมั่นคงและสิทธิมนุษยชน และเป็นปัจจัยขัดขวางการท่องเที่ยวและการเข้าถึงพื้นที่ซึ่งพิพาทกันอย่างดุเดือดโดยทั่วไป มีความพยายามหลายครั้งเพื่อเป็นนายหน้าทางแก้สองรัฐ (two-state solution) อันเกี่ยวข้องกับการสถาปนารัฐปาเลสไตน์เอกราชขึ้นคู่กับรัฐอิสราเอล (หลังการสถาปนาอิสราเอลในปี 2491) ในปี 2550 ตามการหยั่งเสียงจำนวนหนึ่ง ทั้งชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ส่วนใหญ่เห็นชอบทางแก้สองรัฐเป็นวิธีแก้ไขความขัดแย้งมากกว่าทางแก้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น สาธารณชนยิวส่วนใหญ่ยังมองว่าข้อเรียกร้องรัฐเอกราชของชาวปาเลสไตน์ชอบธรรม และคิดว่าประเทศอิสราเอลสามารถตกลงให้จัดตั้งรัฐเช่นว่าได้ ความไม่ไว้วางใจร่วมกันและความไม่ลงรอยอย่างสำคัญหยั่งลึกในประเด็นพื้นฐาน เช่นเดียวกับกังขาคติต่อกันและกันเกี่ยวกับการผูกมัดตามพันธกรณีที่รักษาในความตกลงท้ายที่สุด ในสังคมอิสราเอลและปาเลสไตน์ ความขัดแย้งนี้ก่อให้เกิดมุมมองและความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่งเน้นการแบ่งแยกลึกล้ำซึ่งไม่ได้มีเฉพาะระหว่างชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์เท่านั้น แต่ยังภายในแต่ละสังคมด้วย ลักษณะเด่นของความขัดแย้งนี้เป็นระดับความรุนแรงที่สังเกตได้แทบตลอดระยะของความขัดแย้ง มีการสู้รบโดยกองทัพตามแบบ กลุ่มกึ่งทหาร กลุ่มก่อการร้ายและปัจเจกบุคคล กำลังพลสูญเสียมิได้จำกัดแต่เฉพาะทหาร แต่ทั้งสองฝ่ายยังสูญเสียประชากรพลเรือนไปเป็นอันมาก มีตัวแสดงระหว่างประเทศที่โดดเด่นเกี่ยวข้องในความขัดแย้งนี้ด้วย สองภาคีที่เข้าร่วมการเจรจาโดยตรง คือ รัฐบาลอิสราเอลและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ การเจรจาอย่างเป็นทางการมีผู้แทนระหว่างประเศเป็นสื่อกลาง เรียก กลุ่มสี่ว่าด้วยตะวันออกกลาง (Quartet on the Middle East) ซึ่งมีผู้แทนทางการทูตพิเศษเป็นผู้แทน ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรปและสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับเป็นอีกตัวแสดงหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเสนอแผนสันติภาพทางเลือด อียิปต์ สมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในอดีตเคยเป็นผู้มีส่วนหลัก นับแต่ปี 2549 ฝ่ายปาเลสไตน์แตกแยกด้วยความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มแยกหลัก คือ ฟาตาห์ พรรคเด่นเดิม และผู้ท้าชิงเลือกตั้งในภายหลัง ฮามาส หลังฮามาสชนะการเลือกตั้งในปี 2549 สหรัฐ สหภาพยุโรป และอิสราเอลปฏิเสธการรับรองรัฐบาลฮามาสและเงินทุนให้องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ส่วนมากถูกระงับ หนึ่งปีให้หลัง หลังการยึดอำนาจในฉนวนกาซาของฮามาสในเดือนมิถุนายน 2550 ดินแดนซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการเป็นรัฐปาเลสไตน์ (อดีตองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ องค์การปกครองชั่วคราวของปาเลสไตน์) ถูกแบ่งระหว่างฟาตาห์ในเวสต์แบงก์และฮามาสในฉนวนกาซา การแบ่งการปกครองระหว่างภาคีนี้ส่งผลให้การปกครองสองพรรคขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง การเจรจาสันติภาพรอบล่าสุดเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2556 และกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ในวันที่ 7 ธันวาคม..2560 ภายหลังประธานาธิบดี ดอนัลด์ ทรัมป์ รับรอง กรุงเยรูซาเล็ม ให้เป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล การเจรจาสันติภาพก็มีแนวโน้มว่าจะจบลง สงครามรอบใหม่เริ่มขึ้นภายหลังการประกาศรับรองดังกล่าว ในวันที่ 9 ธันวาคม..

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และฉนวนกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และประเทศเลบานอน · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์และปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »