โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กวนอิม

ดัชนี กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลาง เป็นพระโพธิสัตว์ในตามคติมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในประเทศอินเดีย และได้ผสมผสานกับตำนานเรื่องเจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน ของศาสนาพื้นบ้านจีนจนก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์" เจ้าแม่กวนอิมเป็นผู้.

40 ความสัมพันธ์: ชมพูทวีปชาวจีนพระพุทธเจ้าพระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระอรหันต์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์พระธรรม (ศาสนาพุทธ)พระถังซัมจั๋งพระโพธิสัตว์การกินภาษาสันสกฤตภิกษุภิกษุณีมหายานวรรณกรรมวัชรยานวัวศีรษะสัทธรรมปุณฑรีกสูตรสาวกหลี่จิ้งธิดาพญามังกรทะเลทิเบตควายประเทศญี่ปุ่นประเทศอินเดียประเทศจีนนาจาแม่ชีไทยสยามไซอิ๋วเสือเห้งเจียเถรวาทเทพารักษ์เทวรูปเทวดาเดือนยี่เด็กแดง

ชมพูทวีป

มพูทวีป มีความหมายได้ 2 ประการ ประการแรกหมายถึง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน มีชื่อเรียกทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “เอเชียใต้”, “อนุทวีปอินเดีย”, หรือ “ภารตวรรษ” (Bharatavarsa) ประการที่สองหมายถึงทวีปใหญ่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเนรุซึ่งเป็น 1 ใน 4 ทวีปของชาวภารตะ (อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป).

ใหม่!!: กวนอิมและชมพูทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ชาวจีน

รูปวาดในกรุงปักกิ่งแสดงถึงชนเผ่าทั้ง 56 ของจีน ชาวจีน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กวนอิมและชาวจีน · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: กวนอิมและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์

ระมัญชุศรีโพธิสัตว์ (मञ्जुश्री Mañjuśrī; 文殊 Wénshū หรือ 文殊師利菩薩 Wénshūshili Púsà; もんじゅ Monju; འཇམ་དཔལ་དབྱངས། Jampelyang; मंजुश्री Manjushree) เป็นพระโพธิสัตว์ในกลุ่มตถาคตโคตรของพระไวโรจนพุทธะ ชื่อของท่านแปลว่า แสงอันอ่อนหวานหรืออ่อนโยน เป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือในทิเบตรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ชื่อของท่านมีปรากฏในพระสูตรต่างๆมากมาย เช่น สัทธรรมปุณฑรีกสูตร ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายปัญญาและมีหน้าที่คุ้มครองนักปราชญ.

ใหม่!!: กวนอิมและพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอรหันต์

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.

ใหม่!!: กวนอิมและพระอรหันต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ระอวโลกิเตศวร เป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญของพระพุทธศาสนามหายาน ที่มีผู้เคารพศรัทธามากที่สุด และเป็นบุคลาธิษฐานแห่งมหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรปรากฏอยู่ทั่วไปในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน อาทิ ปรัชญาปารมิตาสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร และการัณฑวยูหสูตฺร.

ใหม่!!: กวนอิมและพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรม (ศาสนาพุทธ)

ระธรรมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 454 หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ อาจพอกล่าวได้ว่าการเรียนรู้พระธรรม ก็คือการเรียนรู้ธรรมดาโลก และเรียนรู้สิ่งที่เป็นปกติที่มีบ่อเกิดที่มาว่ามาอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร.

ใหม่!!: กวนอิมและพระธรรม (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

พระถังซัมจั๋ง

วาดพระถังซัมจั๋ง เหี้ยนจึง หรือสำเนียงกลางว่า เสวียนจั้ง (ประมาณ ค.ศ. 602 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 664) หรือที่รู้จักในนิยายไซอิ๋วว่า ถังซัมจั๋ง (唐三藏) เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี..

ใหม่!!: กวนอิมและพระถังซัมจั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

พระโพธิสัตว์

ระปรัชญาปารมิตา ชวา ศิลปะศรีวิชัย พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ศิลปะขอม วัดโทได พระโพธิสัตว์ (बोधिसत्त्व bodhisattva; बोधिसत्त bodhisatta) หมายถึง ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คำว่า "โพธิสัตว์" แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก แต่รายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: กวนอิมและพระโพธิสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

การกิน

การรับทานอาหารมักเป็นกิจกรรมทางสังคม การกิน หรือ การบริโภค เป็นการนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพลังงาน หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม หมวดหมู่:สรีรวิทยา หมวดหมู่:กิจวัตรของมนุษย์.

ใหม่!!: กวนอิมและการกิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: กวนอิมและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: กวนอิมและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุณี

กษุณี (ภิกฺขุณี; ภิกฺษุณี) เป็นคำใช้เรียกนักพรตหญิงในศาสนาพุทธ คู่กับภิกษุที่หมายถึงนักพรตชายในพระพุทธศาสนา คำว่า ภิกษุณี เป็นศัพท์ที่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนา โดยเป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชหญิงในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่ใช้เรียกนักบวชในศาสนาอื่น ภิกษุณี หรือ ภิกษุณีสงฆ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี โดยวิธีรับคุรุธรรม 8 ประการ ในคัมภีร์เถรวาทระบุว่าต่อมาในภายหลังพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุญาตวิธีการอุปสมบทภิกษุณีให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จนศีลของพระภิกษุณีมีมากกว่าพระภิกษุ โดยพระภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ในขณะที่พระภิกษุมีศีลเพียง 227 ข้อเท่านั้น เนื่องจากในสมัยพุทธกาลไม่เคยมีศาสนาใดอนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบวชมาก่อน และการตั้งภิกษุณีสงฆ์ควบคู่กับภิกษุสงฆ์อาจเกิดข้อครหาที่จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อการประพฤติพรหมจรรย์และพระพุทธศาสนาได้ หากได้บุคคลที่ไม่มีความมั่นคงในพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นนักบวช จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏว่ามีการตั้งวงศ์ภิกษุณีเถรวาทขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตามในประเทศพุทธเถรวาทที่เคยมีหรือไม่เคยมีวงศ์ภิกษุณีสงฆ์ในปัจจุบัน ต่างก็นับถือกันโดยพฤตินัยว่าการที่อุบาสิกาที่มีศรัทธาโกนศีรษะนุ่งขาวห่มขาว ถือปฏิบัติศีล 8 (อุโบสถศีล) ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า แม่ชี เป็นการผ่อนผันผู้หญิงที่ศรัทธาจะออกบวชเป็นภิกษุณีเถรวาท แต่ไม่สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีเถรวาทได้ โดยส่วนใหญ่แม่ชีเหล่านี้จะอยู่ในสำนักวัดซึ่งแยกเป็นเอกเทศจากกุฎิสงฆ์ ภิกษุณีสายเถรวาทซึ่งสืบวงศ์มาแต่สมัยพุทธกาลด้วยการบวชถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท ที่ต้องบวชในสงฆ์สองฝ่ายคือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ ได้ขาดสูญวงศ์ (ไม่มีผู้สืบต่อ) มานานแล้ว คงเหลือแต่ภิกษุณีฝ่ายมหายาน (อาจริยวาท) ที่ยังสืบทอดการบวชภิกษุณีแบบมหายาน (บวชในสงฆ์ฝ่ายเดียว) มาจนปัจจุบัน ซึ่งจะพบได้ในประเทศจีน, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และศรีลังกา ปัจจุบันมีการพยายามรื้อฟื้นการบวชภิกษุณีในฝ่ายเถรวาท โดยทำการบวชมาจากภิกษุณีมหายาน และกล่าวว่าภิกษุณีฝ่ายมหายานนั้น สืบวงศ์ภิกษุณีสงฆ์มาแต่ฝ่ายเถรวาทเช่นกัน แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าฝ่ายมหายานมีการบวชภิกษุณีสืบวงศ์มาโดยมิได้กระทำถูกตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีศีลที่แตกต่างกันอย่างมากด้วย ทำให้มีการไม่ยอมรับภิกษุณี (เถรวาท) ใหม่ ที่บวชมาแต่มหายานว่า มิได้เป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามพระวินัยปิฎกเถรวาท และมีการยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างว่าพระพุทธศาสนาจำกัดสิทธิสตรีด้วย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะพระพุทธเจ้าได้อนุญาตให้มีภิกษุณีที่นับเป็นการเปิดโอกาสให้มีนักบวชหญิงเป็นศาสนาแรกในโลก เพียงแต่การสืบทอดวงศ์ภิกษุณีได้สูญไปนานแล้ว จึงทำให้ในปัจจุบันไม่สามารถบวชสตรีเป็นภิกษุณีตามพระวินัยเถรวาทได้.

ใหม่!!: กวนอิมและภิกษุณี · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: กวนอิมและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรม

วรรณกรรมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท.

ใหม่!!: กวนอิมและวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayāna) มันตรยาน (Mantrayāna) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) หรือ ตันตรยาน (Tantric Buddhism) เป็นศาสนาพุทธแบบคุยหลัทธิ ที่สืบทอดขนบความเชื่อและการปฏิบัติแบบตันตระมาจากอินเดียสมัยกลาง วัชรยาน หมายถึง ยานเพชร ซึ่งผู้ศรัทธาในสายนี้เชื่อว่าเป็นยานที่ประเสริฐกว่าหีนยานและมหายาน.

ใหม่!!: กวนอิมและวัชรยาน · ดูเพิ่มเติม »

วัว

วัว หรือ โค (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: งัว) เป็นสัตว์มีกีบเท้าที่เป็นสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ชนิดที่สามัญที่สุด เป็นสมาชิกสมัยใหม่ที่โดดเด่นในวงศ์ย่อย Bovinae เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุดในสกุล Bos และถูกจำแนกเป็นกลุ่มอย่างกว้างขวางที่สุดว่า Bos primigenius วัวถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ เพื่อเอานมและผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ และเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากวัวมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ในบางประเทศ เช่น อินเดีย วัวเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ จากบรรพบุรุษวัวที่เป็นสัตว์เลี้ยงเพียง 80 ตัว ในทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีเมื่อราว 10,500 ปีก่อนBollongino, Ruth & al.

ใหม่!!: กวนอิมและวัว · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: กวนอิมและศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สัทธรรมปุณฑรีกสูตร

ัทธรรมปุณฑรีกสูตร ฉบับอักษรฮันจา (อักษรจีนที่ใช้ในประเทศเกาหลี) สมัยราชวงศ์โครยอ เขียนขึ้นราว ค.ศ. 1340 สัทธรรมปุณฑรีกสูตร (सद्धर्मपुण्डरीकसूत्र) เป็นพระสูตรที่สำคัญในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนิกชนมหายานโดยเฉพาะในประเทศเอเชียตะวันออก เป็นสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าเทศนาในช่วง 8 ปีสุดท้ายก่อนปรินิพพาน สมัยแห่งการบันทึกพระสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกนั้นไม่มีมติที่แน่นอน ซึ่งการค้นพบต้นฉบับของสัทธรรมปุณฑริกสูตรในหลายสถานที่จากหลากหลายภูมิภาค สัทธรรมปุณฑริกสูตรมีการแปลเป็นหลายภาษา และมีการคัดลอกต้นฉบับตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน อันเป็นข้อพิสูจน์ว่าสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนจำนวนมากในหลากหลายเชื้อชาติ โดยมีการค้นพบต้นฉบับภาษาต่าง ๆ อันได้แก่ สันสกฤต บาลี คานธารี โขตาน ซากา โตคาเรียน ซอกเดีย อุยกูร์เก่า ทิเบต จีน มองโกเลีย แมนจู ซีเซี่ย(ตันกัต) เกาหลี เวียดนาม เป็นต้น ตัวอย่างของสะสมจากสถาบันต้นฉบับภาษาตะวันออกแห่งสมาคมวิทยาศาสตร์รัสเซียมีต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤต คัดลอกด้วยตัวอักษรพราหมีเตอร์กีสถานใต้ ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 ต้นฉบับแปลภาษาจีน คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ต้นฉบับแปลภาษาอุยกูร์เก่า คัดลอกราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในปัจจุบันมีการแปลเป็นภาษา อังกฤษ อิตาเลียน เกาหลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ไทย ลาว กรีก สเปน เป็นต้น วินเตอร์นิตซ์ได้เสนอความเห็นว่า พระนาคารชุนได้อ้างถึงข้อความจากสัทธรรมปุณฑรีกสูตรอยู่หลายตอน เพราะฉะนั้นต้นฉบับเดิมย่อมต้องมีอยู่แล้วใน..

ใหม่!!: กวนอิมและสัทธรรมปุณฑรีกสูตร · ดูเพิ่มเติม »

สาวก

วก แปลว่า ผู้ฟัง คือผู้ฟังตามครูบาอาจารย์ผู้สั่งสอนหลักธรรม ใช้สำหรับบุรุษ ถ้าเป็นสตรีใช้ว่า สาวิกา สาวก ในคำวัดใช้หมายถึงผู้ฟังโอวาทนุสาสนี หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าโดยเคารพ ใช้เรียกทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่นใช้ว่า พระอรหันตสาวก พระสงฆ์สาวก ภิกษุสาวก ภิกษุณีสาวิกาและใช้หมายถึงลูกศิษย์ของศาสดาอื่นๆ ด้วย เช่นวสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร สาวกของพราหมณ์พาวรี สาวก ในคำไทยใช้หมายรวมไปถึงลูกศิษย์ ลูกน้อง ผู้ติดตามนักบวชนักบุญผู้มีชื่อเสียงตลอดถึงผู้มีอำนาจ เช่นใช้ว.

ใหม่!!: กวนอิมและสาวก · ดูเพิ่มเติม »

หลี่จิ้ง

หลี่จิ้ง หรือ ถักทะลีทีอ๋อง ("โลกบาลหลี่ผู้ถือเจดีย์", Pagoda-Bearing Heavenly King Li) เป็นหนึ่งในจตุโลกบาลจีนซึ่งตรงกับท้าวเวสสุวรรณ หลี่จิ้งมีบุตรสามคน คือ จินจา มูจา และนาจา เดิมหลี่จิ้นเป็นแม่ทัพสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนต้น ได้ออกมาล่าสัตว์กับองค์ฮ่องเต้ พระนามว่า จ้าวอ๋อง ทั้งคู่จะดักจับกวางหนุ่มตัวหนึ่ง ขณะนั้นนาจาเป็นเทพเจ้าเด็ก ชอบลงมาบนโลกมนุษย์มาเล่นกับสัตว์ในป่า เมื่อรู้ว่าจ้าวอ๋องผู้มีนิสัยโหดร้ายมาล่าสัตว์ จึงสั่งให้กวางตัวนี้หนีไป แต่กวางตัวนี้ไม่หนี นาจาจึงเอาตัวเข้ารับแทนธนูของแม่ทัพหลี่จิ้งแทน และไปเกิดใหม่ในครรภ์ของภรรยาหลี่จิ้ง เป็นบุตรชายคนที่สามชื่อว่า นาจา ภายหลังจากเสียชีวิต หลี่จิ้งได้รับการแต่งตั้งจากองค์เง็กเซียนฮ่องเต้ได้เป็นขุนพลสวรรค์ มีอาวุธคู่กายคือ เจดีย์ 7 ชั้น ที่เคยจับซุนหงอคงขังเอาไว้ เจดีย์นี้สามารถกักขังได้ทั้งวิญญาณ ภูตผีปีศาจ หรือแม้แต่เทพเจ้า เมื่อหลี่จิ้งจะลงมาโปรดสัตว์โลกจะมีนาจาตามมาด้วยทุกครั้ง.

ใหม่!!: กวนอิมและหลี่จิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ธิดาพญามังกร

ทวรูปของธิดาพญามังกร ธิดาพญามังกร หรือที่ชาวไทยนิยมเรียกทับศัทพ์ภาษาจีนว่า เง็กนึ้ง เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์โดยนิยมประดิษฐานนับถือคู่กันกับสุธนกุมาร.

ใหม่!!: กวนอิมและธิดาพญามังกร · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: กวนอิมและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ทิเบต

ทิเบต (ภาษาทิเบต: བོད་ เป้อ, ภาษาจีน: 西藏 xīzàng ซีจ้าง) เป็นเขตที่ราบสูงในทวีปเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่อยู่ของชาวทิเบต และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ และปัจจุบันมีชาวฮั่นและหุยมาอยู่อาศัยด้วยเป็นจำนวนมาก ทิเบตเป็นบริเวณที่สูงที่สุดในโลก มีระดับความสูงเฉลี่ย 4,900 เมตร หมวดหมู่:เอเชียกลาง หมวดหมู่:เอเชียตะวันออก.

ใหม่!!: กวนอิมและทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ควาย

| name.

ใหม่!!: กวนอิมและควาย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: กวนอิมและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: กวนอิมและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: กวนอิมและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

นาจา

นาจา หรือ หน่าจา (จีน: 哪吒, พินอิน: Nézhā หรือ Núozhā) เทพเจ้าตามคติความเชื่อของจีน บางตำราเชื่อว่าเป็นบุตรของเจ้าแม่กวนอิมอีกด้วย นาจาประสูติเมื่อวันที9เดือน9(ตามปฎิทินจีน).

ใหม่!!: กวนอิมและนาจา · ดูเพิ่มเติม »

แม่ชี

แม่ชีในกรุงเทพ นางชี หรือ แม่ชี เป็นนักพรตหญิงในศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาท นุ่งขาวห่มขาว โกนศีรษะ ถือศีลแปด อาศัยในวัดเช่นเดียวกับภิกษุ แต่มิได้อุปสมบท บางแห่งจึงถือว่าแม่ชีไม่ใช่นักบวช แต่เป็นอุบาสิกาในพุทธบริษัทสี่เท่านั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีการก่อตั้งสำนักชีโดยเฉพาะเพื่อจะได้ไม่ปะปนกับพระภิกษุซึ่งเป็นเพศชาย บางแห่งมีบทบาทจนเป็นที่ยอมรับในสังคม และบางสำนักนางชีสามารถออกบิณฑบาตรได้เช่นเดียวกับพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีอุบาสิกาที่ถือศีลแปด เช่นกันแต่มิได้ปลงผม เรียกว่า ชีพราหมณ.

ใหม่!!: กวนอิมและแม่ชี · ดูเพิ่มเติม »

ไทยสยาม

ทยสยาม (Thai Siam) โดยทั่วไปหมายถึง คือกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งพูดภาษาไทยกลาง หรือมี เชื้อชาติไทยสยามผสมอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และอาศัยกระจายอยู่ในประเทศอื่นทั่วโลก โดยคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาคริสต์ ในความหมายทางชาติพันธุ์ ใช้เฉพาะเจาะจงถึงคนไทยภาคกลาง หรือเดิมเรียกว่า ชาวสยาม แต่ในความหมายมุมกว้าง สามารถหมายความครอบคลุมถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทย อื่นๆ ทั้งนอกและในราชอาณาจักร เช่น ไทยโคราช ไทยอีสาน ไทยโยเดีย หรือ ไทยเกาะกง เช่นกัน.

ใหม่!!: กวนอิมและไทยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

ไซอิ๋ว

วาดเรื่องไซอิ๋ว จากพระราชวังฤดูร้อน ที ประเทศจีน แสดงภาพตัวละครเอกของเรื่อง (จากซ้าย) ซุนหงอคง, ม้ามังกร, พระถังซัมจั๋ง, ตือโป๊ยก่าย, ซัวเจ๋ง ไซอิ๋ว (ซีโหยวจี้; Journey to the West แปลตรงตัวว่า บันทึกการเดินทางสู่ตะวันตก) เป็นนิยายคลาสสิกของจีน แต่งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1590 ช่วงราชวงศ์หมิง ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน ไซอิ๋วเป็นเรื่องของการเดินทางไปยังชมพูทวีป (อินเดีย) เพื่ออัญเชิญคัมภีร์พระพุทธศาสนาของหลวงจีนชื่อ พระถังซำจั๋ง (อ้างอิงจากผู้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีนามว่าพระเสวียนจั้ง 玄奘大師) โดยมีสัตว์ 3 ตัวเป็นเพื่อนร่วมทาง คือ เห้งเจีย (ลิง) ตือโป๊ยก่าย (หมู) และซัวเจ๋ง (ปีศาจปลา) ซึ่งระหว่างการเดินทางต้องพบกับการขัดขวางของเหล่าปิศาจมากมาย ด้วยเนื้อหาที่เป็นการผจญภัย และมีสัตว์เป็นตัวเอก ทำให้ไซอิ๋วได้รับความนิยมจากหมู่เยาวชนมากที่สุดในวรรณกรรมเอกทั้ง 4 เรื่อง เป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับสามก๊ก(三國演義) ความฝันในหอแดง (紅樓夢) และซ้องกั๋ง (水滸傳) การ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ดราก้อนบอล เป็นหนึ่งในงานที่ได้รับอิทธิพลจากไซอิ๋ว หลักฐานภาพจิตรกรรมฝาฝนังตุนหวง พระเสวียนจั้ง เดินทางมีสัมภาระจูงเสือเดินทางไปด้ว.

ใหม่!!: กวนอิมและไซอิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: กวนอิมและเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เห้งเจีย

alt.

ใหม่!!: กวนอิมและเห้งเจีย · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: กวนอิมและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เทพารักษ์

ศาลพระภูมิ ซึ่งมนุษย์สร้างให้เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ เทพารักษ์ หมายถึง เทวดาที่ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตามศาสนาพุทธ ถือว่าเทพารักษ์เป็นเทพระดับหนึ่ง ในสวรรค์ชั้นกามาพจรภพ บางที่อาจเรียกว่าเป็นเทวดา บางที่อาจเรียกว่าผีเสฐียรโก.

ใหม่!!: กวนอิมและเทพารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวรูป

ทวรูปพระพรหม ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ จากจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เทวรูป (Cult image) เป็นประติมากรรมลอยตัว สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเทพเจ้า (ถ้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งที่เคารพนับถือที่ไม่ใช่เทพเจ้าเรียกว่า "รูปเคารพ") เทวรูปนั้นได้มีการนำมาใช้เพื่อกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา และการสักการบูชาเคารพ มีการสักการบูชาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การถวายข้าวตอกดอกไม้ การไหว้ หรือมีพิธีกระบวนแห่ต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: กวนอิมและเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: กวนอิมและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เดือนยี่

ือน 2 คือเดือนที่สองของปี อาจหมายถึงเดือนกุมภาพันธ์ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือเดือนที่สองตามปฏิทินจันทรคติ และเนื่องจากปฏิทินจันทรคติกำหนดตามดิถีจันทร์ เดือน 2 จึงไม่ตรงกันทุกปีเมื่อเทียบกับปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน แบ่งได้เป็น.

ใหม่!!: กวนอิมและเดือนยี่ · ดูเพิ่มเติม »

เด็กแดง

right เด็กแดง หรือ หง ไหเอ๋อร์ ตามสำเนียงกลาง หรือ อั้งฮั้ยยี้ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (Red Boy) เป็นตัวละครจากนวนิยายคลาสสิกของจีนเรื่อง ไซอิ๋ว เป็นบุตรขององค์หญิงพัดเหล็กกับราชาปีศาจกระทิง เนื่องจากบำเพ็ญพรตมากว่าสามร้อยปี จึงมีพละกำลังวิเศษ บิดาจึงให้ไปคอยรักษาภูเขาเพลิงไว้ เด็กแดงจึงมี "เพลิงสมาธิ" ("ซันเม่ย์เจินหั่ว" ตามสำเนียงกลาง หรือ "ซิมม้วยฮวย" ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) ซึ่งทำให้เขาสามารถปล่อยกระแสไฟจากดวงตา รูจมูก และปาก ซึ่งเป็นไฟที่มิอาจดับด้วยน้ำได้ เด็กแดงมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "ยุวธีรราช" ("เชิ่งยิงต้าหวัง" ตามสำเนียงกลาง หรือ "เซี้ยเองไต้อ๋อง" ตามสำเนียงฮกเกี้ยน; Boy Sage King) ต่อมาสถาปนาเป็นสุธนกุมาร อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระโพธิสัตว์กวนอิม.

ใหม่!!: กวนอิมและเด็กแดง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กวนอินพระโพธิสัตว์กวนอิมเจ้าแม่กวนอิม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »