เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

Think tank

ดัชนี Think tank

ำภาษาอังกฤษว่า think tank (คณะทำงานระดับมันสมอง, กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัย, คณะผู้เชี่ยวชาญ, กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ) หรือ policy institute (สถาบันนโยบาย) หรือ think factory (โรงงานความคิด) เป็นต้น เป็นองค์การที่ทำงานวิจัยและสนับสนุนเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายสังคม กลยุทธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร เทคโนโลยี และวัฒนธรรม สถาบันนโยบายโดยมากเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งบางประเทศรวมทั้งสหรัฐและแคนาดาเว้นภาษีให้ และพวกอื่นก็ได้ทุนจากรัฐบาล จากองค์การสนับสนุนประเด็นทางกฎหมายต่าง ๆ จากธุรกิจ หรือได้รายได้จากการให้คำปรึกษาหรือการวิจัยที่เกี่ยวข้องกัน สถาบันนโยบายอาจมีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากสาขาวิชาต่าง ๆ ทำงานให้กับผู้บริโภคที่เป็นรัฐบาลหรือเอกชน โปรเจ็กต์จากรัฐบาลบ่อยครั้งเกี่ยวกับการวางแผนทางสังคมและการป้องกันประเทศ งานที่ทำให้กับเอกชนอาจรวมการพัฒนาและการทดสอบเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แหล่งเงินทุนอาจรวมการมอบเงินทุน สัญญาว่าจ้าง การบริจาคส่วนบุคคล และรายได้จากการขายรายงาน.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: การทำให้เป็นประชาธิปไตยธีโอดอร์ โรสเวลต์ทฤษฎีอติชนตัวแบบนอร์ดิกไมเคิล บลูมเบอร์ก

การทำให้เป็นประชาธิปไตย

การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือ การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย (Democratization) เป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสำคัญไปในทางประชาธิปไตย การเปลี่ยนจากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นกึ่งประชาธิปไตย หรือจากกึ่งประชาธิปไตย/อำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีผลเป็นความมั่นคงทางประชาธิปไตย (ดังที่สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่าง) หรืออาจจะกลับไปกลับมาบ่อย ๆ (ดังที่ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่าง) รูปแบบต่าง ๆ ของการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ เช่น ประเทศจะเริ่มทำสงครามหรือไม่ เศรษฐกิจจะเติบโตหรือไม่ กระบวนการมีปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ประวัติ และประชาสังคม ผลสูงสุดของกระบวนการนี้ก็เพื่อประกันว่า ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และมีส่วนตัดสินใจในระบอบการปกครอง.

ดู Think tankและการทำให้เป็นประชาธิปไตย

ธีโอดอร์ โรสเวลต์

ีโอดอร์ รูสเวลต์ ธีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt) (27 ตุลาคม พ.ศ. 2401 - 6 มกราคม พ.ศ. 2462) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 26 ของสหรัฐอเมริกา ผู้คนนิยมเรียกเขาว่า เท็ดดี้ ซึ่งรูสเวลต์นั้นคือแรงบรรดาลใจให้ก่อให้เกิดตุ๊กตาหมีในตำนานอย่าง หมีเท็ดดี้ ซึ่งหลายๆคนรู้จักดี แต่ในด้านการบริหารประเทศ รูสเวลต์ก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร เขาได้ดำรงตำแหน่งติดต่อกันถึง 2 สมัย 8 ปี และใบหน้าของเขาก็ได้ถูกสลักไว้ในอนุสรณ์สถานแห่งชาติเมานต์รัชมอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขาหรือรูสเวลต์เป็นประธานาธิบดีที่มีความสามารถมากคนหนึ่งของอเมริกา มีบทบาทและทรงอิทธิพลคนหนึ่ง ที่สำคัญเขายังได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดในปี ค.ศ.

ดู Think tankและธีโอดอร์ โรสเวลต์

ทฤษฎีอติชน

ในสาขารัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทฤษฎีอติชน หรือ ทฤษฎีอภิชน (elite theory) เป็นทฤษฎีที่มุ่งหมายจะพรรณนาและอธิบายความสัมพันธ์ของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบัน โดยอ้างว่า ชนกลุ่มน้อยที่เป็นสมาชิกของอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจหรือของเครือข่ายการกำหนดนโยบาย จะมีอำนาจมากที่สุดในสังคม โดยอำนาจนี้จะเป็นอิสระจากกระบวนการเลือกตั้งของประชาธิปไตย คืออาศัยตำแหน่งในบรรษัทหรือการเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริษัท หรืออาศัยตำแหน่งในสถาบันนโยบายหรือกลุ่มอภิปรายนโยบาย หรืออาศัยอิทธิพลเหนือเครือข่ายบุคคลที่วางนโยบายโดยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่มูลนิธิ/องค์กรต่าง ๆ สมาชิกของกลุ่มอภิสิทธิชนจะมีอำนาจสำคัญในการตัดสินนโยบายของบริษัทหรือของรัฐบาล ตัวอย่างที่เห็นได้ก็คือ บทความในนิตยสารฟอบส์ ชื่อว่า "ผู้มีอำนาจมากที่สุดในโลก (The World's Most Powerful People)" ที่แสดงรายการบุคคลที่นิตยสารอ้างว่ามีอำนาจมากที่สุดในโลก (โดยแต่ละคนเทียบเท่ากับคน 100,000,000 คนอื่น) ลักษณะทางสังคมที่เข้าข่ายทฤษฎีโดยพื้นฐานก็คือ อำนาจมีการรวมศูนย์ อภิสิทธิชนพร้อมเพรียงกัน คนที่ไม่ใช่อภิสิทธิชนมีหลากหลายและไร้อำนาจ เทียบกับผลประโยชน์/สิ่งที่อภิสิทธิชนสนใจที่มีเอกภาพเนื่องจากมีพื้นเพหรือตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะเฉพาะของการมีอำนาจก็คือการมีตำแหน่งในสถาบัน แม้กลุ่มอาจจะไม่ได้อยู่ในเครือข่ายอำนาจธรรมดาของรัฐ (เช่นในประวัติศาสตร์ อาจจะเป็นเพราะเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความป็นขุนนาง เชื้อชาติ เพศ หรือศาสนา) ทฤษฎีก็ยังแสดงว่า "กลุ่มต้านอภิสิทธิชน" (counter-elites) บ่อยครั้งก็จะเกิดภายในกลุ่มที่ถูกยกเว้นเช่นนี้ ดังนั้น การเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มเช่นนี้กับรัฐ จึงมองได้ว่าเป็นการต่อรองระหว่างกลุ่มต่อต้านอภิสิทธิชนกับกลุ่มอภิสิทธิชน ซึ่งก็จะทำให้เห็นปัญหาสำคัญอีกอย่างว่า อภิสิทธิชนสามารถรวบผู้ต่อต้านให้เป็นพวกได้ ทฤษฎีอภิสิทธิชนเป็นเรื่องตรงข้ามกับทฤษฎีพหุนิยมทางการเมือง ซึ่งสมมุติว่า ทุก ๆ คน หรืออย่างน้อยก็กลุ่มสังคมต่าง ๆ จะมีอำนาจเท่ากันและจะถ่วงดุลกันเอง ทำให้ได้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนทั้งหมดในสังคม เทียบกับทฤษฎีนี้ที่อ้างว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเหลวไหลแบบอุตมรัฐ หรือไม่ก็เป็นไม่ไปได้ในกรอบของทุนนิยม ซึ่งเป็นมุมมองปัจจุบันที่เข้ากับลัทธิมากซ์ได้.

ดู Think tankและทฤษฎีอติชน

ตัวแบบนอร์ดิก

งของประเทศนอร์ดิก ตัวแบบนอร์ดิก หรือ ทุนนิยมแบบนอร์ดิก หรือ ประชาธิปไตยสังคมนิยมแบบนอร์ดิก (Nordic model, Nordic capitalismThe Nordic Way, Klas Eklund, Henrik Berggren and Lars Trägårdh.) หมายถึงนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมที่สามัญในประเทศกลุ่มนอร์ดิก รวมทั้งเดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และสวีเดน ซึ่งรวมระบบทุนนิยมตลาดเสรี กับรัฐสวัสดิการและการร่วมเจรจาต่อรองของแรงงานในระดับประเทศ เป็นตัวแบบที่เริ่มได้ความสนใจหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ประเทศต่าง ๆ จะต่างกันอย่างสำคัญ แต่ก็มีลักษณะบางอย่างเหมือนกัน รวมทั้ง.

ดู Think tankและตัวแบบนอร์ดิก

ไมเคิล บลูมเบอร์ก

มเคิล รูเบนส์ บลูมเบอร์ก (Michael Rubens Bloomberg) (เกิด 14 กุมภาพันธ์ 2485) เป็นนักธุรกิจ นักเขียน นักการเมือง และนักการกุศลชาวอเมริกัน เขามีทรัพย์สินสุทธิประเมินที่ 47,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท) โดยเดือนตุลาคม 2560 จึงทำให้เขาเป็นคนรวยที่สุดอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และอันดับ 10 ของโลก เขาได้ลงนามร่วมกับองค์กรสัญญาว่าจะให้ ที่มหาเศรษฐีสัญญาว่าจะมอบทรัพย์สินของตนเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง บลูมเบอร์กเป็นผู้ก่อตั้ง ประธานบริหาร และเจ้าของบริษัท Bloomberg L.P.

ดู Think tankและไมเคิล บลูมเบอร์ก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Policy instituteThink factoryกลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัยสถาบันนโยบายคณะวิจัยคณะทำงานระดับมันสมองโรงงานความคิด