โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แกรนท์กาเซลล์

ดัชนี แกรนท์กาเซลล์

แกรนท์กาเซลล์ (Grant's gazelle) เป็นแอนทีโลปขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง นับเป็นแอนทีโลปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากาเซลล์ หรือแอนทีโลปขนาดกลางด้วยกัน (ชื่อในภาษาสวาฮิลีเรียกว่า Swala Grantiในขณะที่ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษและชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสำรวจชาวสกอตในยุคศตวรรษที่ 19 พันเอกเจมส์ ออกุสตุส แกรนท์) ตัวผู้มีน้ำหนัก 60–75 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมีย 40–50 กิโลกรัม ความสูงจากเท้าจรดหัวไหล่ 80–90 เซนติเมตร ความยาวตลอดลำตัว 1–1.4 เมตร ความยาวหาง 25–30 เซนติเมตร อายุขัยโดยเฉลี่ย 10–12 ปี ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับอิมพาลา ซึ่งเป็นแอนทีโลปอีกชนิดหนึ่ง มีคอยาวแข็งแรงและมีเขาคู่ยาวเรียวแหลมสวยงาม ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่ามีเขาสั้นและเล็กกว่าตัวผู้ มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ระยะไกล คือ มีแผานสีดำเป็นทางขวางข้างลำตัวจากขาหน้าจรดขาหลังทั้ง 2 ข้างคล้ายทอมสันส์กาเซลล์ และมีทางสีดำยาวลงตรงสะโพกทั้ง 2 ด้าน หางสีขาวแต่ปลายหางเป็นสีดำ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนเหนือของแทนซาเนียถึงตอนใต้ของซูดาน และเอธิโอเปีย และด้านชายฝั่งทะเลของเคนยาจนถึงทะเลสาบวิกตอเรีย ใบหน้าแบบโคลสอั.

15 ความสัมพันธ์: กรรมพันธุ์กาเซลล์วงศ์ย่อยกาเซลล์วงศ์วัวและควายสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์กีบคู่อิมพาลาทอมสันส์กาเซลล์ทะเลสาบวิกตอเรียประเทศซูดานประเทศแทนซาเนียประเทศเอธิโอเปียแอนทิโลป

กรรมพันธุ์

กรรมพัน.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และกรรมพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

กาเซลล์

กาเซลล์ (Gazelle) เป็นสัตว์กีบคู่ขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Eudorcas อยู่ในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ลักษณะโดยรวมของกาเซลล์ คือ มีความสูงที่ไหล่ราว 70-100 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 20-35 กิโลกรัม มีลักษณะปราดเปรียวว่องไว เวลาเดินหรืออยู่เฉย ๆ หางจะปัดตลอดเวลา ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบดำใหญ่พาดขวางลำตัว ท้องสีขาว อาศัยอยู่เป็นฝูง พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย คำว่า "กาเซลล์" นั้นมาจากภาษาอาหรับคำว่า غزال‎ (ġazāl).

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และกาเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยกาเซลล์

วงศ์ย่อยกาเซลล์ (Gazelle, True Antelope, วงศ์: Antilopinae) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Antilopinae ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง มีลักษณะคอและขายาวปราดเปรียว เขามีทั้งกลุ่มที่พบในเพศผู้และพบได้ทั้ง 2 เพศ โดยอาจจะเรียกได้ว่าเป็น "แอนทีโลปแท้" ซึ่งสัตว์ที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้ ได้แก่ กาเซลล์, สปริงบ็อก, แบล็คบัค, เยเรนุค, ไซกา เป็นต้น กระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาจนถึงทวีปเอเชีย ในแถบภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก แบ่งออกได้เป็น 14 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และวงศ์ย่อยกาเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วัวและควาย

วงศ์วัวและควาย เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bovidae จัดเป็นสัตว์กินพืช ลักษณะเด่นของสัตว์ในวงศ์นี้ จะมีเขาที่ไม่มีการแตกกิ่ง ไม่มีการหลุดหรือเปลี่ยนในตลอดช่วงอายุขัย มีกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ห้องหรือ 4 ส่วน และมีการหมักย่อย โดยการหมักของกระเพาะอาหารจะอาศัยแบคทีเรียในท่อทางเดินอาหาร โดยส่วนใหญ่ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ในกระเพาะอาหารจะอยู่ที่ 6.7+0.5 มีถุงน้ำดี นอกจากนั้นสัตว์ในตระกูลนี้สามารถสำรอก อาหารออกมาจากกระเพาะหมัก เพื่อทำการเคี้ยวใหม่ได้ ที่เรียกว่า "เคี้ยวเอื้อง" ลูกที่เกิดใหม่จะใช้เวลาไม่นานในการเดินและวิ่งได้ อันเนื่องจากการวิวัฒนาการเพื่อให้เอาตัวรอดจากสัตว์กินเนื้อที่เป็นผู้ล่าในห่วงโซ่อาหาร สัตว์ที่อยู่ในวงศ์นี้ เป็นสัตว์ที่มนุษย์คุ้นเคยและผูกพันอย่างดีในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจและปศุสัตว์ ได้แก่ วัว, ควาย, แพะ, แกะ เป็นต้น สำหรับสัตว์ป่า มีการกระจายพันธุ์ไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย ในแอฟริกาและบางส่วนของทวีปเอเชีย จะมีบางชนิดที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกวาง (Cervidae) เช่น อิมพาลาหรือแอนทีโลป แต่ความเป็นจริงแล้วเป็นสัตว์ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และวงศ์วัวและควาย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

อิมพาลา

อิมพาลา (Impala) เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาใหญ่เป็นเกลียว ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Aepycerotinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับวัวหรือแพะ, แกะ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้และสกุลนี้ คำว่า "อิมพาลา" มาจากภาษาซูลู ซึ่งเป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ชนิดนี้ ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกเป็นลายลักษณ์อักษรในปี..

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และอิมพาลา · ดูเพิ่มเติม »

ทอมสันส์กาเซลล์

ทอมสันส์กาเซลล์ (Thomson’s gazelle) เป็นกาเซลล์ชนิดหนึ่งในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่โจเซฟ ทอมสัน นักสำรวจชาวสกอต ทอมสันส์กาเซลล์จัดเป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร หางยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นถึงไหล่ประมาณ 70 เซนติเมตร ขนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองมีแถบสีดำพาดอยู่ทั้งสองข้างของลำตัว ขนที่บริเวณท้องเป็นสีขาว หางมีสีดำ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่เขาของตัวเมียจะเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ น้ำหนักเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 20-40 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในบริเวณภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกา เช่น เคนยา, แทนซาเนีย มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามทุ่งหญ้าที่หญ้าไม่สูงมากนักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่มีพุ่มไม้ขึ้นกระจัดกระจาย เป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวโดยสามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อแรกเกิด ลูกทอมสันส์กาเซลล์จะหมอบซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า โดยแม่จะแวะมาให้นมเป็นระยะ ประมาณ 5-6 วัน จนกว่าจะแข็งแรงพอที่จะวิ่งตามฝูงได้ และจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 8-9 เดือน มีระยะตั้งท้องนาน 5.5-6 เดือน ออกลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัว ทอมสันส์กาเซลล์มีนิสัยการกินแบบเดียวกับสัตว์ในวงศ์ Bovinae มากกว่าการกินใบไม้พุ่มแบบสัตว์ในวงศ์ Caprinae มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารหยาบเป็นเนื้อสูง ในธรรมชาติ ทอมสันส์กาเซลล์จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้ออยู่เสมอ ๆ เช่น สิงโต, เสือดาว, เสือชีตาห์ หรือไฮยีนา เป็นต้น ในประเทศไทย ทอมสันส์กาเซลล์กำลังจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ จากการสนับสนุนโดยกรมปศุสัตว์ให้เกษตรกรได้เลี้ยง.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และทอมสันส์กาเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบวิกตอเรีย

right ทะเลสาบวิกตอเรีย (Lake Victoria) อยู่ในเขตติดต่อสามประเทศได้แก่ เคนยา แทนซาเนีย และยูกันดา เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา มีเนื้อที่ 68,800 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบวิกตอเรียเป็นทะเลสาบที่มีอายุน้อยที่สุดในแถบนี้ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหุบเขาทรุดเกรตริฟต์แวลลีย์ และเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญของทวีปแอฟริกา ทะเลสาบวิกตอเรียเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ โดยมีแม่น้ำคาเกรา ไหลเข้ามายังทะเลสาบ วิกตอเรีย หมวดหมู่:ประเทศเคนยา หมวดหมู่:ประเทศแทนซาเนีย หมวดหมู่:ประเทศยูกันดา.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และทะเลสาบวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซูดาน

ซูดาน (Sudan; السودان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐซูดาน (Republic of the Sudan; جمهورية السودان) เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันออกติดกับเอริเทรียและเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเคนยาและยูกันดา ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับคองโกและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับลิเบีย ชื่อของประเทศมาจากภาษาอาหรับว่า Bilad-al-Sudan ซึ่งแปลว่าดินแดนของคนผิวดำ ปัจจุบันซูดานกลายเป็นประเทศที่ขาดความมั่นคงตามดัชนีความเสี่ยงของการเป็นรัฐที่ล้มเหลว เพราะการปกครองแบบเผด็จการทหารและสงครามดาร์ฟูร.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และประเทศซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแทนซาเนีย

แทนซาเนีย หรือชื่อทางการ สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย (United Republic of Tanzania; Jamhuri ya Muungano wa Tanzania) เป็นประเทศที่อยู่บนชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา มีอาณาเขตทางเหนือจดเคนยาและยูกันดา ทางตะวันตกจดรวันดา บุรุนดี และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และทางใต้จดแซมเบีย มาลาวี และโมซัมบิก ส่วนทางตะวันออกจดมหาสมุทรอินเดีย ประเทศตั้งชื่อมาจากแผ่นดินใหญ่แทนกันยีกาและเกาะแซนซิบาร์ที่อยู่นอกจากชายฝั่งตะวันออก แทนซาเนียเป็นสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติ ตั้งแต่ประกาศเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2504 เมื่อ พ.ศ. 2507 แทนกันยีกาได้รวมกับแซนซีบาร์ กลายเป็นสหสาธารณรัฐแทนแกนยิกาและแซนซิบาร์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย เมื่อพ.ศ. 2539 เมืองหลวงของแทนซาเนียย้ายจากดาร์เอสซาลามไปโดโดมา อย่างไรก็ดี สำนักงานของรัฐบาลหลายแห่งยังคงตั้งอยู่ในเมืองหลวงเดิม.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และประเทศแทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเอธิโอเปีย

อธิโอเปีย (Ethiopia; อามฮารา) หรือชื่อทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย (Federal Democratic Republic of Ethiopia; อามฮารา) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่ตั้งอยู่ในส่วนแหลมของทวีปแอฟริกา (Horn of Africa) เป็นหนึ่งในชาติที่มีประวัติศาสตร์อันต่อเนื่องยาวนานที่สุดบนทวีปนี้ ในฐานะชาติอิสระ เอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ยังคงเอกราชระหว่างยุคล่าอาณานิคมในแอฟริกา (Scramble for Africa) และยังคงเอกราชไว้จนถึง พ.ศ. 2479 ซึ่งกองทัพอิตาลีในสมัยของเบนิโต มุสโสลินีได้เข้ายึดครองประเทศนี้ อังกฤษและเอธิโอเปียปราบกองทัพอิตาลีในพ.ศ. 2484 แต่เอธิโอเปียไม่ได้รับเอกราชใหม่จนถึงการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเอธิโอเปีย (Anglo-Ethiopian Agreement) เมื่อธันวาคม พ.ศ. 2487.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และประเทศเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

แอนทิโลป

วาดของส่วนหัวและเขาของแอนทิโลปหลายชนิด แอนทิโลป (antelope) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ในหลายสกุล ในอันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) โดยทั่วไปแล้วแอนทิโลปจะมีลักษณะคล้ายกับกวางซึ่งเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนกัน แต่อยู่ในวงศ์กวาง (Cervidae) และคำนิยามในพจนานุกรมก็มักจะระบุเช่นนั้นว่า แอนทิโลปเป็นสัตว์จำพวกเนื้อและกวางชนิดที่มีเขาเป็นเกลียว หรือบางทีก็แปลว่า ละมั่ง แต่ที่จริงแล้วแอนทิโลปมิใช่กวาง แม้จะมีรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่แอนทิโลปเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับวัวหรือควาย, แพะ หรือแกะ เนื่องจากจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งลักษณะสำคัญของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ เขามีลักษณะโค้งเป็นเกลียว แต่ข้างในกลวง และมีถุงน้ำดี แอนทิโลปกระจายพันธุ์ไปในแอฟริกาและยูเรเชีย แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยสัตว์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นแอนทิโลปได้ในประเทศไทย ได้แก่ เลียงผา และกวางผา ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ตามภูเขาสูง พบเห็นตัวได้ยาก คำว่า แอนทิโลป ปรากฏครั้งแรกในภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1417 โดยได้รับมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า หรืออาจจะมาจากภาษากรีกคำว่า "anthos" ซึ่งหมายถึง "ดอกไม้" และ "ops" ที่หมายถึง "ตา" อาจหมายถึง "ตาสวย" หรือแปลได้ว่า "สัตว์ที่มีขนตาสวย" แต่ในระยะต่อมาในเชิงศัพทมูลวิทยาคำว่า "talopus" และ "calopus" มาจากภาษาละตินในปี ค.ศ. 1607 ใช้เป็นครั้งแรกเพื่อเรียกสัตว์จำพวกกวาง แอนทิโลปมีประมาณ 90 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา มี 30 สกุล กระจายไปในวงศ์ย่อยต่าง ๆ เช่น Alcelaphinae, Antilopinae, Hippotraginae, Reduncinae, Cephalophinae, Bovinae รวมถึงอิมพาลา บางครั้งก็ถูกเรียกว่าแอนทิโลปบ้างเหมือนกัน.

ใหม่!!: แกรนท์กาเซลล์และแอนทิโลป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Gazella grantiGrant's gazelleNanger grantiNanger notataNanger petersii

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »