โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไฟนอลแฟนตาซี IIIและไฟนอลแฟนตาซี IV

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซี IIIและไฟนอลแฟนตาซี IV

ไฟนอลแฟนตาซี III vs. ไฟนอลแฟนตาซี IV

หน้าปกของเกม ไฟนอลแฟนตาซี III รุ่นเครื่องเกมแฟมิคอม ไฟนอลแฟนตาซี III (Final Fantasy III) เป็นเกมเล่นตามบทละคร หนึ่งในเกมชุดไฟนอลแฟนตาซีถูกพัฒนาครั้งแรกและวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2533 โดยบริษัทสแควร์สำหรับเล่นในเครื่องเกมแฟมิคอม ตัวละครในเรื่องออกแบบโดยโยะชิทะกะ อะมะโนะ และเพลงออกแบบโดย โนะบุโอะ อุเอะมัตสึ เหมือนในภาคก่อนหน้า โดยก่อนหน้านี้ทางบริษัทได้มีโครงการที่จะพัฒนาเกมลงเครื่องวันเดอร์สวอนแต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาได้มีการพัฒนาอีกครั้งและวางจำหน่ายในปี 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 สำหรับเครื่องเกมนินเทนโด ดีเอส จากทางสแควร์เอนิกซ์ โดยในเกมที่ทำใหม่นั้นได้ปรับปรุงระบบภาพเป็นกราฟิกส์ 3 มิติ ทั้งหมด และมีระบบการเชื่อมต่อระบบวายฟายเพิ่มเข้ามา การดำเนินเรื่องของเกมเกี่ยวกับเด็กกำพร้าสี่คนได้บังเอิญมาเจอกับคริสตัลในถ้ำแห่งหนึ่ง และได้รับคำชี้แนะของทางคริสตัลว่าแท้จริงแล้วพวกเขาคือนักรบแห่งแสงสว่าง ที่จะมาช่วยกู้โลกจากความมืด หลังจากนั้นเด็กทั้งสี่ได้ผจญภัยไปในโลกกว้าง และได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่นตลอดการเดินทางเผื่อปราบมารร้ายซันเด และนำความสงบกลับคืนมาสู่โลก ในสหรัฐอเมริกา ไฟนอลแฟนตาซี III มักจะถูกเรียกสับสนกับเกมไฟนอลแฟนตาซี VI ซึ่งเป็นเกมที่วางจำหน่ายในอเมริกาเป็นเกมลำดับที่ 3. อง เซซิล ตัวเอกเมื่อตอนที่ยังเป็น อัศวินดำ ไฟนอลแฟนตาซี IV เป็นเกมเล่นตามบทละคร สำหรับเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทสแควร์ (และ สแควร์เอนิกซ์ ในรุ่นต่อมา) ในปี พ.ศ. 2534 โดยถือเป็นภาคที่ประสบความสำเร็จอีกภาคหนึ่ง ภายหลังได้มีการนำมารีเมก ลงในเครื่อง เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน คัลเลอร์ และ เกมบอยแอดวานซ์ และ นินเทนโด ดีเอส ตามลำดับ เรื่องราวในเกมจะเป็นเรื่องของเซซิล ผู้มีอาชีพเป็นอัศวินดำ แต่ต้องรวบรวมสมัครพรรคพวกเพื่อหยุดยั้งกอลเบซ่าในการแย่งชิงคริสตัลจากโลกเบื้องบนและโลกใต้พิภพ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เกมไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ไฟนอลแฟนตาซี II" เพราะทีมงานในสหรัฐอเมริกาใช้เวลาในการแปลภาค 1 นานจนเกินไป พอภาค 4 วางขาย จะแปลภาค 2-3 ก็ไม่ทัน จึงตัดสินใจเอาภาค 4 มาเป็นภาค II แทน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซี IIIและไฟนอลแฟนตาซี IV

ไฟนอลแฟนตาซี IIIและไฟนอลแฟนตาซี IV มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กวีสแควร์สแควร์เอนิกซ์นินจานินเท็นโด ดีเอสเพลย์สเตชันเกมบอยอัดวานซ์เกมเล่นตามบทบาท

กวี

กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปร..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง.

กวีและไฟนอลแฟนตาซี III · กวีและไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

สแควร์

แควร์ (スクウェア) หรือ บริษัทสแควร์จำกัด (株式会社スクウェア, Square Co., Ltd.) เป็นบริษัทผลิตวิดีโอเกมของประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 โดย มาซาฟูมิ มิยาโมโต้ และ ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ เกมแรกของ สแควร์ จัดจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องแฟมิคอม (Nintendo Family Computer หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า Nintendo Entertainment System) และ แฟมิคอม ดิสก์ ซิสเต็ม (Famicom Disk System) โดยเกมในช่วงแรกที่ผลิตออกมาไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งปี 1987 บริษัทก็ประสบปัญหาและมีโอกาสที่จะล้มละลาย และปีเดียวกัน ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ ลูกจ้างของบริษัทได้ถูกตำหนิเกี่ยวกับการสร้างเกมที่คาดว่าจะเป็นเกมสุดท้ายของบริษัท ซึ่งก็คือเกม RPG ชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) บนเครื่องแฟมิคอมนั่นเอง การที่ฮิโรโนบุนำคำว่า “ไฟนอล” (สุดท้าย) มาใช้เพราะเค้าวางแผนไว้ว่าจะลาออกจากการทำงานในอุตสาหกรรมเกมและ ไฟนอลแฟนตาซี จะเป็นเกมสุดท้ายของเขา แต่ ไฟนอลแฟนตาซี กลับทำได้ดีเกินกว่าที่ ฮิโรโนบุ และ สแควร์ คาดไว้ และทำให้มีการจำหน่ายไปสู่อเมริกาเหนือ โดยนินเทนโดอเมริกาซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่อเมริกาในปี ค.ศ. 1990 และจากความสำเร็จนี้เอง ทำให้ฮิโรโนบุยกเลิกแผนการที่จะลาออกและอยู่ที่ สแควร์ซอฟต์ เพื่อพัฒนาเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคใหม่ต่อไป สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกมไฟนอลแฟนตาซีแต่ละภาคมีเนื้อเรื่องที่แปลกใหม่พร้อมกับตัวละครที่ไม่ซ้ำกับภาคก่อนก็น่าจะมีเหตุผลมาจากต้นฉบับของเกม ไฟนอลแฟนตาซี นั้นสร้างขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะไม่มีภาคต่ออีกนั่นเอง ไฟนอลแฟนตาซีภาคต่อมาได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 (ไฟนอลแฟนตาซี II) โดยวางตลาดเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจนถึง ไฟนอลแฟนตาซี III และมีกำหนดการวางจำหน่ายสำหรับเครื่องแฟมิคอม ในอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากการเข้าสู่ยุคใหม่ของเกมและการมาของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม (ชื่อทางการคือ Nintendo Entertainment System) ในที่สุดก็มีการยกเลิกการจำหน่าย ไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องแฟมิคอม และแทนที่โดย ไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม นอกจากนี้ สแควร์ ยังผลิตเกมอื่น ๆ ออกมาอีกและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น โครโนทริกเกอร์, โจโคโบะ, อายน์แฮนด์เดอร์, ซีเคร็ท ออฟ มานา, เซเคนเด็นเซตสึ, เซโนเกียร์ส, ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์, เบรฟเฟนเซอร์ มุซาชิเด็น, วาแกรนต์ สตอรี่ และ คิงด้อมฮาร์ทส (ร่วมมือกับบริษัท Disney Interactive โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟนอลแฟนตาซี) ในปี ค.ศ. 2002 บริษัทสแควร์ ได้รวมกิจการกับ เอนิกซ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเกมดราก้อนเควสต์ เพื่อที่จะควบคุมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเนื่องมาจากความล้มเหลวจากการผลิตภาพยนตร์ Final Fantasy: The Spirits Within และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 การควบรวมบริษัทก็ประสบความสำเร็จและใช้ชื่อเป็นบริษัทสแควร์เอนิกซ์ (Square Enix) จนถึงปัจจุบัน.

สแควร์และไฟนอลแฟนตาซี III · สแควร์และไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

สแควร์เอนิกซ์

แควร์เอนิกซ์ หรือ บริษัท สแควร์เอนิกซ์ โฮลดิงส์ มหาชนจำกัด (株式会社スクウェア・エニックス・ホールディングス คะบุชิกิ-ไงฉะ ซุกุเอะอะ เอะนิกกุซุ โฮรุดิงงุซุ; Square Enix Holdings Co., Ltd) คือ ชื่อของบริษัทผลิตเกม โดยเกมที่มีชื่อเสียงคือเกมชุด ไฟนอลแฟนตาซี ดราก้อนเควสต์ และ คิงดอมฮาร์ต สำนักงานใหญ่อยู่ที่ โยะโยะงิ ในชิบุยะ เมืองโตเกียว สแควร์เอนิกซ์ เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัทสแควร์ และ เอนิกซ์ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 โดยการควบรวมกันครั้งนี้ผู้ถือหุ้นในบริษัทสแควร์ได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นสัดส่วน 0.81 และเอนิกซ์ได้รับในอัตรา 1:1 แต่นอกเหนือจากเรื่องส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้น ในส่วนของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนของบริษัทสแควร์ได้รับบทบาทในฐานะผู้นำในสแควร์เอนิกซ์ รวมทั้งประธานบริษัทสแควร์ซึ่งก็คือนายโยอิจิ วาดะ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานของสแควร์เอนิกซ์นั่นเอง.

สแควร์เอนิกซ์และไฟนอลแฟนตาซี III · สแควร์เอนิกซ์และไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

นินจา

การวาดแม่แบบนินจาจากชุดสเก็ตช์ ("โฮะกุไซ มังงะ")โดย คะสึชิกะ โฮะกุไซ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นบนกระดาษตอนที่ 6 ค.ศ. 1817 คุนะอิ '''คุนะอิ'''มีไว้ขุดหลุมหรือขว้างใส่ศัตรูเหมือนดาวกร.

นินจาและไฟนอลแฟนตาซี III · นินจาและไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโด ดีเอส

นินเท็นโด DS (Nintendo DS หรือตัวย่อ NDS) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาที่มี 2 จอ ของบริษัทนินเท็นโด ตัวอักษร DS ย่อมาจาก Dual Screen หรือ Developer's System ตามที่นินเท็นโดได้บอกไว้ รหัสในการพัฒนาคือ Project Nitro รูปทรงของ NDS เป็นแบบฝาพับ (clamshell) เช่นเดียวกับ Gameboy Advance SP DS ออกแบบมาเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ๆ ในการเล่นเกม จอภาพด้านล่างของ DS เป็นระบบสัมผัส นอกจากนี้ยังมีไมโครโฟนในตัว และการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ DS เครื่องอื่นๆ โดยนินเท็นโดวางตำแหน่งของ DS แตกต่างจากเกมบอย และจับตลาดผู้เล่นที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่า DS วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 และที่ญี่ปุ่น 2 ธันวาคม ปีเดียวกัน.

นินเท็นโด ดีเอสและไฟนอลแฟนตาซี III · นินเท็นโด ดีเอสและไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน

ลย์สเตชัน (อังกฤษ: PlayStation ญี่ปุ่น: プレイステーション) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม ระบบ 32 บิต ผลิตโดย Sony Computer Entertainment โดยได้มีออกมาหลายรุ่นในลักษณะหลักเดียวกันในช่วงปลายปี ทศวรรษ 2540 หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางโซนี่ได้ออกเครื่องเล่นเกมในรุ่นต่อมาซึ่งได้แก่ พีเอสวัน (PSone), เพลย์สเตชัน 2, PSP (PlayStation Portable) และ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกจำหน่ายไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2549.

เพลย์สเตชันและไฟนอลแฟนตาซี III · เพลย์สเตชันและไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

เกมบอยอัดวานซ์

กมบอยอัดวานซ์ เกมบอยอัดวานซ์ (Gameboy Advance หรือตัวย่อ GBA) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาของบริษัทนินเทนโด ถือว่าเป็นรุ่นล่าสุดในเครื่องเล่นเกมตระกูลเกมบอย วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2001 ในทวีปอเมริกาเหนือ วันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 และทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001 มีรหัสระหว่างการพัฒนาว่า Project Atlantis เกมบอยอัดวานซ์สามารถเล่นเกมเก่าของเกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์ ได้.

เกมบอยอัดวานซ์และไฟนอลแฟนตาซี III · เกมบอยอัดวานซ์และไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

เกมเล่นตามบทบาท

กมเล่นตามบทบาท หรือ เกมอาร์พีจี (Role-playing game: RPG) คือเกมประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นสมมุติรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกม โดยเล่นตามกฎกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมกำหนดมา โดยผลลัพธ์ที่เกิดจะแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขที่เลือก โดยเกมอาจจะเป็นทั้งลักษณะ การเล่นโดยเขียนในกระดาษ วิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมก็ได้ ในยุคแรกๆเกมเล่นตามบทบาทจะเป็นลักษณะของเกมกระดาน ที่ผู้เล่นจะแบ่งฝ่ายเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้นำในเกม ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านกระดานในเกม ขณะที่ผู้เล่นอีกฝ่ายจะเป็นผู้เล่นต้องสร้างตัวละครและทอยเต๋ากำหนดค่าต่างๆ รวมถึงกระทำตามกฎต่างๆ เช่น การพูดคุยหาข้อมูล, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, การเก็บวัตถุและอาวุธ, เก็บสะสมค่าประสบการณ์และเลื่อนระดับ (เลเวล) จุดเด่นที่ทำให้เกมเล่นตามบทบาทได้รับความนิยม เพราะเกมเล่นตามบทบาทจะมีอิสระในกฎกติกา ทำให้การเล่นในแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับที่ผู้นำเกมเลือก เกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมีมาก แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เมื่อถึงยุคที่เครื่องเกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เกมเล่นตามบทบาทหลายๆเกมก็พัฒนากลายมาเป็นวิดีโอเกมแนวเล่นตามบทบาท โดยยังคงลักษณะเดิมของตัวเกมไว้ เช่น การให้ผู้เล่นสร้างตัวละครขึ้นเอง การต่อสู้ที่อ้างอิงหลักการทอยลูกเต๋า และอิสรภาพในเกม แต่เมื่อความนิยมเกมเล่นตามบทบาทได้เข้าในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดเกมเล่นตามบทบาทแบบญี่ปุ่นขึ้น หรือที่เรียกว่า คอนโซล-โรลเพลย์อิงเกม (Console-Roleplaying Game) ซึ่งจะตัดทอนเสรีภาพในการเล่นลง แต่จะเสริมเนื้อหาที่เรื่องราวและตัวละครให้มากขึ้น ส่วนเกมของฝั่งอเมริกาจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์-โรลเพลย์อิงเกม (Computer-Roleplaying Game) และฝ่ายเกมกระดานก็ถูกเรียกว่า เทเบิ้ลทอป-โรลเพลย์อิงเกม (Tabletop-Roleplaying Game) ในปัจจุบันคำจัดการความของคำว่า เกมเล่นตามบทบาท หรือ RPG นั้น ในฝั่งประเทศแถบเอเชียจะหมายถึง เกมที่มีการเก็บค่าประสบการณ์, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, ฉากต่อสู้แบบตัดฉากจากฉากสนาม และเนื้อเรื่องที่สวยงามและสนุกสนาน แต่ในเกมฝั่งอเมริกาจะหมายถึง เกมที่มีเสริภาพในการเล่น, การสรรค์สร้างตัวละครได้ตามต้องการ ในประเทศไทย นักเล่นเกมคอมพิวเตอร์บางส่วนเรียกเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลว่า เกมภาษา เนื่องจาก ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมเล่นตามบทบาทมีใช้การเลือกคำสั่ง ผ่านบทสนทนาของตัวละคร (ในช่วงแรกเป็นภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการดำเนินเกม ในปัจจุบันถึงแม้ว่าเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลยังเป็นที่นิยม แต่ก็ยังมีการจำหน่ายเกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานอยู่ เกมเล่นตามบทบาทแบบเกมกระดานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ เดียอาโบล และ ดิเอลเดอร์สครอลส์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมโซลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ไฟนอลแฟนตาซี และ ดราก้อนเควสต.

เกมเล่นตามบทบาทและไฟนอลแฟนตาซี III · เกมเล่นตามบทบาทและไฟนอลแฟนตาซี IV · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซี IIIและไฟนอลแฟนตาซี IV

ไฟนอลแฟนตาซี III มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไฟนอลแฟนตาซี IV มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 13.11% = 8 / (38 + 23)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซี IIIและไฟนอลแฟนตาซี IV หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »