โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VII

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VII

ไฟนอลแฟนตาซี vs. ไฟนอลแฟนตาซี VII

ฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) เป็นเกมชุดของเกมอาร์พีจี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง สร้างขึ้นโดยสแควร์ (ปัจจุบันคือบริษัท สแควร์เอนิกซ์) โดยเกมชุดไฟนอลแฟนตาซีนี้มีในในเครื่องเล่นหลายชนิด ได้แก่ เครื่องเกมคอนโซล เครื่องเกมเคลื่อนที่ เกมออนไลน์ เกมบนโทรศัพท์มือถือ และยังมีทำเป็น ภาพยนตร์การ์ตูน 3 เรื่อง และ ภาพยนตร์เรื่องยาว 2 เรื่อง ไฟนอลแฟนตาซีชุดแรกออกวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อพ.ศ. 2533 รวมทั้งวางขายภูมิภาคอื่นทั่วโลก เช่น ทวีปยุโรป และออสเตรเลีย เครื่องเล่นเกมที่มี ไฟนอลแฟนตาซี ออกจำหน่าย ได้แก่ แฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม ซูเปอร์นินเทนโด เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน เพลย์สเตชัน 2 เกมคอมพิวเตอร์ เกมบอยแอดวานซ์ พีเอสพี เกมคิวบ์ นินเทนโด ดีเอส เอกซ์บอกซ์ 360 เพลย์สเตชัน 3 เอกซ์บอกซ์ วัน เพลย์สเตชัน 4 และโทรศัพท์มือถือ ในเดือนสิงหาคม 2560 เฟมในชุดเกมไฟนอลแฟนตาซีมียอดขายรวมมากกว่า 135 ล้านชุดทั่วโลก นับเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของบริษัทสแควร์เอนิกซ์ ปัจจุบันมีเกมหลักออกวางจำหน่ายแล้ว 15 ภาค และมีเกมที่เกี่ยวข้องอีกมาก. ฟนอลแฟนตาซี VII (ファイナルファンタジーVII; Final Fantasy VII) เป็นเกมแนว RPG สร้างขึ้นโดยบริษัท สแควร์อีนิกซ์ (Square-Enix) (ชื่อเดิม บริษัทสแควร์) ในปี พ.ศ. 2540 ถือเป็นเกมภาคแรกในชุด ไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเล่นในเครื่องเกม เพลย์สเตชัน ของ โซนี่ และ พีซี รวมทั้งได้มีการเชิญ โนบุโอะ อุเอมัตสึ มาแต่งเพลงอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นภาคแรกที่ทำในรูปแบบกราฟิกสามมิติ ทั้งตัวละครและฉาก จากการสำรวจที่ผ่านมา ไฟนอลแฟนตาซีภาคนี้ถือเป็นภาคที่ถูกยกให้เป็นภาคที่ขายดีที่สุดในตระกูล ไฟนอลแฟนตาซี ซึ่งขายได้มากกว่า 9.72 ล้านชุดทั่วโลก (สำรวจเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549) เนื้อเรื่องของเกมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยของกลุ่มๆหนึ่ง ทำการต่อสู้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อว่า "ชินระ คัมพานี" โดยบริษัทนี้ได้ทำการดูดพลังชีวิตของโลกเพื่อเอาไปแปรรูปเป็นแหล่งพลังงาน ดังนั้นการปกปักษ์รักษาโลกโดยกลุ่มคนกลุ่มนี้จึงบังเกิดขึ้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VII

ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VII มี 17 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2540สแควร์สแควร์เอนิกซ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซิดซูเปอร์แฟมิคอมโยชิโนริ คิตาเซะโจโคโบะโนบูโอะ อูเอมัตสึไฟนอลแฟนตาซีไฟนอลแฟนตาซี VIไมโครซอฟท์ วินโดวส์ไอโอเอสเพลย์สเตชันเพลย์สเตชัน 4เกมเล่นตามบทบาทเท็ตสึยะ โนมูระ

พ.ศ. 2540

ทธศักราช 2540 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1997 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2540และไฟนอลแฟนตาซี · พ.ศ. 2540และไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

สแควร์

แควร์ (スクウェア) หรือ บริษัทสแควร์จำกัด (株式会社スクウェア, Square Co., Ltd.) เป็นบริษัทผลิตวิดีโอเกมของประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1983 โดย มาซาฟูมิ มิยาโมโต้ และ ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ เกมแรกของ สแควร์ จัดจำหน่ายครั้งแรกบนเครื่องแฟมิคอม (Nintendo Family Computer หรือที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า Nintendo Entertainment System) และ แฟมิคอม ดิสก์ ซิสเต็ม (Famicom Disk System) โดยเกมในช่วงแรกที่ผลิตออกมาไม่ประสบความสำเร็จมากนัก จนกระทั่งปี 1987 บริษัทก็ประสบปัญหาและมีโอกาสที่จะล้มละลาย และปีเดียวกัน ฮิโรโนบุ ซาคากูชิ ลูกจ้างของบริษัทได้ถูกตำหนิเกี่ยวกับการสร้างเกมที่คาดว่าจะเป็นเกมสุดท้ายของบริษัท ซึ่งก็คือเกม RPG ชื่อ ไฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) บนเครื่องแฟมิคอมนั่นเอง การที่ฮิโรโนบุนำคำว่า “ไฟนอล” (สุดท้าย) มาใช้เพราะเค้าวางแผนไว้ว่าจะลาออกจากการทำงานในอุตสาหกรรมเกมและ ไฟนอลแฟนตาซี จะเป็นเกมสุดท้ายของเขา แต่ ไฟนอลแฟนตาซี กลับทำได้ดีเกินกว่าที่ ฮิโรโนบุ และ สแควร์ คาดไว้ และทำให้มีการจำหน่ายไปสู่อเมริกาเหนือ โดยนินเทนโดอเมริกาซึ่งเป็นผู้จำหน่ายเกม ไฟนอลแฟนตาซี ที่อเมริกาในปี ค.ศ. 1990 และจากความสำเร็จนี้เอง ทำให้ฮิโรโนบุยกเลิกแผนการที่จะลาออกและอยู่ที่ สแควร์ซอฟต์ เพื่อพัฒนาเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคใหม่ต่อไป สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกมไฟนอลแฟนตาซีแต่ละภาคมีเนื้อเรื่องที่แปลกใหม่พร้อมกับตัวละครที่ไม่ซ้ำกับภาคก่อนก็น่าจะมีเหตุผลมาจากต้นฉบับของเกม ไฟนอลแฟนตาซี นั้นสร้างขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าจะไม่มีภาคต่ออีกนั่นเอง ไฟนอลแฟนตาซีภาคต่อมาได้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1988 (ไฟนอลแฟนตาซี II) โดยวางตลาดเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นจนถึง ไฟนอลแฟนตาซี III และมีกำหนดการวางจำหน่ายสำหรับเครื่องแฟมิคอม ในอเมริกาเหนือ แต่เนื่องจากการเข้าสู่ยุคใหม่ของเกมและการมาของเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม (ชื่อทางการคือ Nintendo Entertainment System) ในที่สุดก็มีการยกเลิกการจำหน่าย ไฟนอลแฟนตาซี สำหรับเครื่องแฟมิคอม และแทนที่โดย ไฟนอลแฟนตาซี IV บนเครื่องซุปเปอร์แฟมิคอม นอกจากนี้ สแควร์ ยังผลิตเกมอื่น ๆ ออกมาอีกและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น โครโนทริกเกอร์, โจโคโบะ, อายน์แฮนด์เดอร์, ซีเคร็ท ออฟ มานา, เซเคนเด็นเซตสึ, เซโนเกียร์ส, ไฟนอลแฟนตาซี แทคติกส์, เบรฟเฟนเซอร์ มุซาชิเด็น, วาแกรนต์ สตอรี่ และ คิงด้อมฮาร์ทส (ร่วมมือกับบริษัท Disney Interactive โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟนอลแฟนตาซี) ในปี ค.ศ. 2002 บริษัทสแควร์ ได้รวมกิจการกับ เอนิกซ์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเกมดราก้อนเควสต์ เพื่อที่จะควบคุมการพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเนื่องมาจากความล้มเหลวจากการผลิตภาพยนตร์ Final Fantasy: The Spirits Within และในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 การควบรวมบริษัทก็ประสบความสำเร็จและใช้ชื่อเป็นบริษัทสแควร์เอนิกซ์ (Square Enix) จนถึงปัจจุบัน.

สแควร์และไฟนอลแฟนตาซี · สแควร์และไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

สแควร์เอนิกซ์

แควร์เอนิกซ์ หรือ บริษัท สแควร์เอนิกซ์ โฮลดิงส์ มหาชนจำกัด (株式会社スクウェア・エニックス・ホールディングス คะบุชิกิ-ไงฉะ ซุกุเอะอะ เอะนิกกุซุ โฮรุดิงงุซุ; Square Enix Holdings Co., Ltd) คือ ชื่อของบริษัทผลิตเกม โดยเกมที่มีชื่อเสียงคือเกมชุด ไฟนอลแฟนตาซี ดราก้อนเควสต์ และ คิงดอมฮาร์ต สำนักงานใหญ่อยู่ที่ โยะโยะงิ ในชิบุยะ เมืองโตเกียว สแควร์เอนิกซ์ เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัทสแควร์ และ เอนิกซ์ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 โดยการควบรวมกันครั้งนี้ผู้ถือหุ้นในบริษัทสแควร์ได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นสัดส่วน 0.81 และเอนิกซ์ได้รับในอัตรา 1:1 แต่นอกเหนือจากเรื่องส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้น ในส่วนของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนของบริษัทสแควร์ได้รับบทบาทในฐานะผู้นำในสแควร์เอนิกซ์ รวมทั้งประธานบริษัทสแควร์ซึ่งก็คือนายโยอิจิ วาดะ ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานของสแควร์เอนิกซ์นั่นเอง.

สแควร์เอนิกซ์และไฟนอลแฟนตาซี · สแควร์เอนิกซ์และไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

วามหมายอื่น|PC แก้ความ ไฟล์:ashton 01.svg|thumbภาพวาดของgmail.com เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี.

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและไฟนอลแฟนตาซี · คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

ซิด

องซิด ใน ไฟนอลแฟนตาซี VII ซิด (Cid) คือ ตัวละครในเกมชุด ไฟนอลแฟนตาซี ที่ปรากฏแทบทุกภาค และมักจะมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเรือเหาะและมีสัมพันธ์อันดีกับผู้หญิงชื่อฮิลด้า แต่ถึงจะชื่อเหมือนกัน ก็ไม่ใช่คนเดียวกัน แต่ละภาคจะมีบทแตกต่างกันดังนี้.

ซิดและไฟนอลแฟนตาซี · ซิดและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

ซูเปอร์แฟมิคอม

ซูเปอร์แฟมิคอม (Super Famicom) หรือ ซูเปอร์ฟามิคอม หรือชื่อที่วางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาคือ Super Nintendo Entertainment System (SNES) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมของบริษัทนินเทนโด ซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเล่นเกมรุ่นที่สองของนินเทนโด (นับเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่สี่) ถัดจากแฟมิคอมเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเกมคอนโซลแบบ 16 บิทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนั้น สามารถเอาชนะคู่แข่งอย่างเครื่องเมกะไดรฟ์ของเซก้าได้ แม้แต่หลังจากที่ยุคของเกม 16 บิทจะสิ้นสุดลงไปนานแล้ว เครื่องซูเปอร์แฟมิคอมก็ยังเป็นที่นิยมของนักสะสม และนักพัฒนาอีมูเลเตอร.

ซูเปอร์แฟมิคอมและไฟนอลแฟนตาซี · ซูเปอร์แฟมิคอมและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

โยชิโนริ คิตาเซะ

นะริ คิตาเซะ เป็นผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้างวีดีโอเกมชาวญี่ปุ่น สังกัดสแควร์เอนิกซ์ เขาเป็นที่รู้จักจากการกำกับ ไฟนอลแฟนตาซี VI (1994), Chrono Trigger (1995), ไฟนอลแฟนตาซี VII (1997), ไฟนอลแฟนตาซี VIII (1999) และ ไฟนอลแฟนตาซี X (2001) และเป็นผู้อำนวยการสร้างของ ไฟนอลแฟนตาซี X และ ไฟนอลแฟนตาซี XIII.

โยชิโนริ คิตาเซะและไฟนอลแฟนตาซี · โยชิโนริ คิตาเซะและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

โจโคโบะ

(Chocobo) เป็นสิ่งมีชีวิตในจินตนาการในชุดเกม ไฟนอลแฟนตาซี ของ Square และ Square Enix มีลักษณะเป็นนกขนาดใหญ่สีเหลืองที่บินไม่ได้ สามารถขี่มันเป็นพาหนะหรือจะใช้มันทำอย่างอื่นได้หลายอย่าง โจโคโบะปรากฏครั้งแรกใน Final Fantasy II และให้ถูกให้ความสำคัญในภาคต่อๆมา ทำให้โจโคโบะกลายเป็นตัวละครสัญลักษณ์ประจำเกม Final Fantasy คู่กับโมกลี และด้วยความนิยมทำให้มันยังถูกนำไปสร้างเป็นชุดเกมของตัวเอง.

โจโคโบะและไฟนอลแฟนตาซี · โจโคโบะและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

โนบูโอะ อูเอมัตสึ

นบูโอะ อูเอมัตสึ เกิดวันที่ 21 มีนาคม..

โนบูโอะ อูเอมัตสึและไฟนอลแฟนตาซี · โนบูโอะ อูเอมัตสึและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี

ฟนอลแฟนตาซี (Final Fantasy) เป็นเกมชุดของเกมอาร์พีจี ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง สร้างขึ้นโดยสแควร์ (ปัจจุบันคือบริษัท สแควร์เอนิกซ์) โดยเกมชุดไฟนอลแฟนตาซีนี้มีในในเครื่องเล่นหลายชนิด ได้แก่ เครื่องเกมคอนโซล เครื่องเกมเคลื่อนที่ เกมออนไลน์ เกมบนโทรศัพท์มือถือ และยังมีทำเป็น ภาพยนตร์การ์ตูน 3 เรื่อง และ ภาพยนตร์เรื่องยาว 2 เรื่อง ไฟนอลแฟนตาซีชุดแรกออกวางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจัดจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อพ.ศ. 2533 รวมทั้งวางขายภูมิภาคอื่นทั่วโลก เช่น ทวีปยุโรป และออสเตรเลีย เครื่องเล่นเกมที่มี ไฟนอลแฟนตาซี ออกจำหน่าย ได้แก่ แฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม ซูเปอร์นินเทนโด เพลย์สเตชัน วันเดอร์สวอน เพลย์สเตชัน 2 เกมคอมพิวเตอร์ เกมบอยแอดวานซ์ พีเอสพี เกมคิวบ์ นินเทนโด ดีเอส เอกซ์บอกซ์ 360 เพลย์สเตชัน 3 เอกซ์บอกซ์ วัน เพลย์สเตชัน 4 และโทรศัพท์มือถือ ในเดือนสิงหาคม 2560 เฟมในชุดเกมไฟนอลแฟนตาซีมียอดขายรวมมากกว่า 135 ล้านชุดทั่วโลก นับเป็นเกมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของบริษัทสแควร์เอนิกซ์ ปัจจุบันมีเกมหลักออกวางจำหน่ายแล้ว 15 ภาค และมีเกมที่เกี่ยวข้องอีกมาก.

ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี · ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

ไฟนอลแฟนตาซี VI

ฟนอลแฟนตาซี VI เป็นเกมภาษา หรือ เกมแนว RPG ถูกพัฒนาขึ้นและจัดจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537 โดยบริษัทสแควร์อีนิกซ์ (ชื่อเดิมคือบริษัทสแควร์) ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังได้ถูกรีเมค ลงบนเครื่องเพลย์สเตชัน ในปี พ.ศ. 2542 และเกมบอยแอดวานซ์ ในปี พ.ศ. 2549 ภาคภาษาอังกฤษบนเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมใช้ชื่อว่า "Final Fantasy III" เพราะไม่ได้มีการวางจำหน่ายภาค V ในสหรัฐอเมริกา จึงให้ภาค VI กลายเป็นภาค III แทน.

ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VI · ไฟนอลแฟนตาซี VIและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ไฟนอลแฟนตาซีและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ไฟนอลแฟนตาซี VIIและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอเอส

อโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสเท็นซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอปพลิเคชันเฟรมเวริค์ต่างๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสเท็นที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปล่อยตัว iOS 10 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 13 มิถุนายน..

ไฟนอลแฟนตาซีและไอโอเอส · ไฟนอลแฟนตาซี VIIและไอโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน

ลย์สเตชัน (อังกฤษ: PlayStation ญี่ปุ่น: プレイステーション) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม ระบบ 32 บิต ผลิตโดย Sony Computer Entertainment โดยได้มีออกมาหลายรุ่นในลักษณะหลักเดียวกันในช่วงปลายปี ทศวรรษ 2540 หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางโซนี่ได้ออกเครื่องเล่นเกมในรุ่นต่อมาซึ่งได้แก่ พีเอสวัน (PSone), เพลย์สเตชัน 2, PSP (PlayStation Portable) และ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกจำหน่ายไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2549.

เพลย์สเตชันและไฟนอลแฟนตาซี · เพลย์สเตชันและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

เพลย์สเตชัน 4

ลย์สเตชัน 4 หรือ PS4 (PlayStation 4) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมตระกูลเพลย์สเตชันรุ่นที่ 4 ของบริษัทโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เปิดตัวต่อจากเพลย์สเตชัน 3 ที่งานแถลงข่าวรอบสื่อมวลชนในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013 และเริ่มวางจำหน่ายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2013 ในทวีปอเมริกาเหนือ และต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2013 จึงวางจำหน่ายในยุโรปและออสเตรเลีย เพลย์สเตชัน 4 มีคู่แข่งที่สำคัญคือ Wii U ของนินเทนโด และ Xbox One ของไมโครซอฟท์ ทั้งนี้ ณ เดือนตุลาคม..

เพลย์สเตชัน 4และไฟนอลแฟนตาซี · เพลย์สเตชัน 4และไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

เกมเล่นตามบทบาท

กมเล่นตามบทบาท หรือ เกมอาร์พีจี (Role-playing game: RPG) คือเกมประเภทหนึ่งที่ผู้เล่นสมมุติรับบทเป็นตัวละครหนึ่งในเกม โดยเล่นตามกฎกติกาของเกมผ่านการป้อนคำสั่งและเลือกเงื่อนไขที่เกมกำหนดมา โดยผลลัพธ์ที่เกิดจะแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขที่เลือก โดยเกมอาจจะเป็นทั้งลักษณะ การเล่นโดยเขียนในกระดาษ วิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์เกมก็ได้ ในยุคแรกๆเกมเล่นตามบทบาทจะเป็นลักษณะของเกมกระดาน ที่ผู้เล่นจะแบ่งฝ่ายเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้นำในเกม ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆผ่านกระดานในเกม ขณะที่ผู้เล่นอีกฝ่ายจะเป็นผู้เล่นต้องสร้างตัวละครและทอยเต๋ากำหนดค่าต่างๆ รวมถึงกระทำตามกฎต่างๆ เช่น การพูดคุยหาข้อมูล, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, การเก็บวัตถุและอาวุธ, เก็บสะสมค่าประสบการณ์และเลื่อนระดับ (เลเวล) จุดเด่นที่ทำให้เกมเล่นตามบทบาทได้รับความนิยม เพราะเกมเล่นตามบทบาทจะมีอิสระในกฎกติกา ทำให้การเล่นในแต่ละครั้งจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับที่ผู้นำเกมเลือก เกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศมีมาก แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เมื่อถึงยุคที่เครื่องเกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เกมเล่นตามบทบาทหลายๆเกมก็พัฒนากลายมาเป็นวิดีโอเกมแนวเล่นตามบทบาท โดยยังคงลักษณะเดิมของตัวเกมไว้ เช่น การให้ผู้เล่นสร้างตัวละครขึ้นเอง การต่อสู้ที่อ้างอิงหลักการทอยลูกเต๋า และอิสรภาพในเกม แต่เมื่อความนิยมเกมเล่นตามบทบาทได้เข้าในประเทศญี่ปุ่นได้เกิดเกมเล่นตามบทบาทแบบญี่ปุ่นขึ้น หรือที่เรียกว่า คอนโซล-โรลเพลย์อิงเกม (Console-Roleplaying Game) ซึ่งจะตัดทอนเสรีภาพในการเล่นลง แต่จะเสริมเนื้อหาที่เรื่องราวและตัวละครให้มากขึ้น ส่วนเกมของฝั่งอเมริกาจะเรียกว่า คอมพิวเตอร์-โรลเพลย์อิงเกม (Computer-Roleplaying Game) และฝ่ายเกมกระดานก็ถูกเรียกว่า เทเบิ้ลทอป-โรลเพลย์อิงเกม (Tabletop-Roleplaying Game) ในปัจจุบันคำจัดการความของคำว่า เกมเล่นตามบทบาท หรือ RPG นั้น ในฝั่งประเทศแถบเอเชียจะหมายถึง เกมที่มีการเก็บค่าประสบการณ์, การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด, ฉากต่อสู้แบบตัดฉากจากฉากสนาม และเนื้อเรื่องที่สวยงามและสนุกสนาน แต่ในเกมฝั่งอเมริกาจะหมายถึง เกมที่มีเสริภาพในการเล่น, การสรรค์สร้างตัวละครได้ตามต้องการ ในประเทศไทย นักเล่นเกมคอมพิวเตอร์บางส่วนเรียกเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลว่า เกมภาษา เนื่องจาก ผู้เล่นรู้สึกว่าเกมเล่นตามบทบาทมีใช้การเลือกคำสั่ง ผ่านบทสนทนาของตัวละคร (ในช่วงแรกเป็นภาษาญี่ปุ่น) สำหรับการดำเนินเกม ในปัจจุบันถึงแม้ว่าเกมเล่นตามบทบาทบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอนโซลยังเป็นที่นิยม แต่ก็ยังมีการจำหน่ายเกมเล่นตามบทบาทแบบกระดานอยู่ เกมเล่นตามบทบาทแบบเกมกระดานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ดันเจี้ยนส์แอนด์ดราก้อน และ วอร์แฮมเมอร์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ เดียอาโบล และ ดิเอลเดอร์สครอลส์ เกมเล่นตามบทบาทของเครื่องคอมโซลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันได้แก่ ไฟนอลแฟนตาซี และ ดราก้อนเควสต.

เกมเล่นตามบทบาทและไฟนอลแฟนตาซี · เกมเล่นตามบทบาทและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

เท็ตสึยะ โนมูระ

ท็ตสึยะ โนมูระ เกิดวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ที่จังหวัดโคจิ เป็นนักวาดภาพประกอบ ออกแบบตัวละคร และนักสร้างสรรค์เกมชาวญี่ปุ่น โดยผลงานที่ทำให้ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในวงกว้างคือ ไฟนอลแฟนตาซี VII โนะมุระเดินทางมาอยู่ที่โตเกียวเมื่อตอนอายุ 18 ปี หลังจบการศึกษาด้านการออกแบบโฆษณาจากโรงเรียนสอนการออกแบบ เขาก็ได้เข้ามาทำงานกับบริษัทสแควร์จำกัด (ปัจจุบันคือ สแควร์เอนิกซ์) ในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2534 โดยผลงานชิ้นแรกที่ได้มีส่วนร่วมคือ ไฟนอลแฟนตาซี IV.

เท็ตสึยะ โนมูระและไฟนอลแฟนตาซี · เท็ตสึยะ โนมูระและไฟนอลแฟนตาซี VII · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VII

ไฟนอลแฟนตาซี มี 116 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไฟนอลแฟนตาซี VII มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 17, ดัชนี Jaccard คือ 11.97% = 17 / (116 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ไฟนอลแฟนตาซีและไฟนอลแฟนตาซี VII หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »