เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ไข้เลือดออกจากไวรัสและไข้เหลือง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ไข้เลือดออกจากไวรัสและไข้เหลือง

ไข้เลือดออกจากไวรัส vs. ไข้เหลือง

ไข้เลือดออกจากไวรัส (viral hemorrhagic fever, VHFs) เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดกับสัตว์และมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสสี่แฟมิลี ได้แก่อาเรนาไวริดี ฟิโลไวริดี บุนยาไวริดี และฟลาวิไวริดี ไข้เลือดออกในกลุ่มนี้ทุกชนิดมีลักษณะทำให้ผู้ป่วยมีไข้และมีเลือดออกผิดปกติ และอาจดำเนินโรครุนแรงทำให้มีไข้สูง ช็อค และเสียชีวิตได้ทั้งหมด โรคในกลุ่มนี้บางโรคมีอาการไม่รุนแรง เช่น Scandinavien nephropathia epidemica ในขณะที่บางโรค เช่นอีโบลา ทำให้มีโรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย ไข้เลือดออกเดงกีซึ่งระบาดในประเทศไทย และเป็นที่รู้จักในชื่อ "ไข้เลือดออก" ก็เป็นโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง. ไข้เหลืองเป็นโรคชนิดหนึ่งในกลุ่มโรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสไข้เหลืองมีขนาด 40-50 นาโนเมตร เป็นไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอไวรัสเซนส์บวก มีปลอกหุ้ม อยู่ในแฟมิลีฟลาวิไวริดี ติดต่อผ่านทางการถูกยุงตัวเมียที่มีเชื้อกัด อาจเป็นยุงไข้เหลือง ยุงลาย หรือยุงอื่นๆ บางชนิด พบในพื้นที่เขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาและพื้นที่ข้างเคียง แต่ไม่พบในทวีปเอเชีย โฮสต์ของไวรัสไข้เหลืองคือลิงไพรเมทรวมถึงมนุษย์และยุงบางชนิด เชื่อว่าโรคนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่แอฟริกา ระบาดมายังอเมริกาใต้พร้อมกับการค้าทาสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีบันทึกการระบาดครั้งใหญ่หลายครั้งในอเมริกา แอฟริกา และยุโรป จนในศตวรรษที่ 19 ไข้เหลืองก็ถูกยกระดับเป็นโรคติดต่อที่อันตรายที่สุดโรคหนึ่ง ผู้ป่วยไข้เหลืองส่วนใหญ่มีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ (โดยเฉพาะหลัง) และปวดศีรษะ ส่วนใหญ่หายได้เองในเวลาหลายวัน ผู้ป่วยบางคนจะมีระยะพิษตามหลังจากระยะไข้ เซลล์ตับเสียหายจนมีดีซ่าน (เป็นที่มาของชื่อโรค) และอาจเป็นมากจนเสียชีวิตได้ ไข้เหลืองอาจทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่าย จึงจัดอยูในกลุ่มโรคไข้เลือดออก องค์การอนามัยโลกประมาณไว้ว่ามีคนที่ไม่ได้รับวัคซีนไข้เหลืองป่วยเป็นไข้เหลือง 200,000 รายต่อปี และเสียชีวิต 30,000 รายต่อปี ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไข้เหลืองกว่า 90% อยู่ในแอฟริกา วัคซีนไข้เหลืองที่ปลอดภัยและใช้ได้ผลนั้นผลิตสำเร็จตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 บางประเทศยังกำหนดให้นักท่องเที่ยวต้องได้รับวัคซีนนี้ก่อนเข้าประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการรักษาจำเพาะจึงมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง พร้อมๆ กับลดจำนวนยุงและลดโอกาสถูกยุงกัด ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา จำนวนผู้ป่วยไข้เหลืองเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง จึงจัดอยู่ในกลุ่มโรคอุบัติซ้ำ (re-emerging disease) เชื่อว่าเป็นผลจากสภาพสังคมและสงครามในหลายๆ ประเทศในแอฟริกา หมวดหมู่:ไข้จากไวรัสที่มีแมลงเป็นพาหะและไข้เลือดออกที่เกิดจากไวรัส หมวดหมู่:ฟลาวิไวรัส หมวดหมู่:โรคเขตร้อน หมวดหมู่:วิทยาตับ หมวดหมู่:โรคติดเชื้อจากแมลง หมวดหมู่:โรคที่ไม่ได้รับการรักษา หมวดหมู่:อาวุธชีวภาพ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ไข้เลือดออกจากไวรัสและไข้เหลือง

ไข้เลือดออกจากไวรัสและไข้เหลือง มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อาร์เอ็นเอไวรัสไวรัสไข้

อาร์เอ็นเอไวรัส

อาร์เอ็นเอไวรัส (RNA virus) คือ ไวรัสที่มีอาร์เอ็นเอ (กรดไรโบนิวคลีอิก) เป็นสารพันธุกรรม กรดนิวคลีอิกนี้โดยปกติเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (ssRNA) แต่ก็มีอาร์เอ็นเอสายคู่ (dsRNA) เช่นกัน โรคเด่นในมนุษย์ที่เกิดจากอาร์เอ็นเอไวรัส ได้แก่ ซาร์ส ไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบซี ไข้ไนล์ตะวันตก โปลิโอและหัด คณะกรรมการสากลฝ่ายไวรัสอนุกรมวิธานจำแนกอาร์เอ็นเอไวรัสอยู่ในกลุ่ม 3, 4 หรือ 5 ของระบบการจำแนกไวรัสบัลติมอร์ และไม่พิจารณาไวรัสซึ่งมีดีเอ็นเอระยะกลางในวงจรชีวิตว่าเป็นอาร์เอ็นเอไวรัส ไวรัสซึ่งมีอาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรม แต่มีดีเอ็นเอระยะกลางในวงจรการถ่ายแบบ เรียก รีโทรไวรัส ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม 6 ของการจำแนกแบบบัลติมอร์ รีโทรไวรัสที่เด่นในมนุษย์ ได้แก่ HIV-1 และ HIV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ คำเรียกอาร์เอ็นเอไวรัสโดยไม่รวมรีโทรไวรัส คือ ไรโบไวรั.

อาร์เอ็นเอไวรัสและไข้เลือดออกจากไวรัส · อาร์เอ็นเอไวรัสและไข้เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ไข้เลือดออกจากไวรัสและไวรัส · ไข้เหลืองและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ไข้และไข้เลือดออกจากไวรัส · ไข้และไข้เหลือง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ไข้เลือดออกจากไวรัสและไข้เหลือง

ไข้เลือดออกจากไวรัส มี 7 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไข้เหลือง มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 10.34% = 3 / (7 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ไข้เลือดออกจากไวรัสและไข้เหลือง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: