เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

โคเอนไซม์คิว10และไมโทคอนเดรีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง โคเอนไซม์คิว10และไมโทคอนเดรีย

โคเอนไซม์คิว10 vs. ไมโทคอนเดรีย

อนไซม์คิว10 (Coenzyme Q10) หรือยูบิควิโนน (ubiquinone) ยูบิเดคาริโนน (ubidecarenone) โคเอ็นไซม์คิว บางครั้งย่อเป็นโคคิวเท็น (CoQ10) โคคิว หรือคิวเท็น คือ 1-4 เบนโซควิโนน โดยคิวหมายถึงหมู่เคมีควิโนน และ 10 หมายถึง จำนวนหน่วยย่อยเคมีไอโซพรีนิลในหาง โคเอนไซม์คิว10 เป็นสารคล้ายวิตามิน ละลายในไขมัน พบในไมโทคอนเดรียเป็นหลักของเซลล์ยูคาริโอตส่วนใหญ่ มันเป็นองค์ประกอบของลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน และมีส่วนในการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ซึ่งสร้างพลังงานในรูปเอทีพี พลังงาน 95% ของร่างกายมนุษย์ผลิตด้วยวิธีนี้ ฉะนั้น อวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงสุด เช่น หัวใจ ตับและไต จึงมีความเข้มข้นของโคเอนไซม์คิว10 สูงสุด โคคิวเท็นมีสามสถานะรีด็อกซ์ คือ ออกซิไดซ์สมบูรณ์ (ยูบิควิโนน) กึ่งควิโนน (ยูบิเซมิควิโนน) และรีดิวซ์สมบูรณ์ (ยูบิควินอล) ขีดความสามารถของโมเลกุลนี้ในการมีอยู่ในรูปออกซิไดซ์สมบูรณ์และรีดิวซ์สมบูรณ์ทำให้มันทำหน้าที่ในลูกโซ่ของการขนส่งอิเล็กตรอน และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามลำดั. รงสร้างของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAhttp://www.mitochondrial.net/ มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ DNA ภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้นมหัศจรรย์ดีเอ็นเอ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง โคเอนไซม์คิว10และไมโทคอนเดรีย

โคเอนไซม์คิว10และไมโทคอนเดรีย มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยูแคริโอต

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ยูแคริโอตและโคเอนไซม์คิว10 · ยูแคริโอตและไมโทคอนเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง โคเอนไซม์คิว10และไมโทคอนเดรีย

โคเอนไซม์คิว10 มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไมโทคอนเดรีย มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 6.25% = 1 / (6 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง โคเอนไซม์คิว10และไมโทคอนเดรีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: