ความคล้ายคลึงกันระหว่าง แอร์บัส เอ350และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์
แอร์บัส เอ350และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สิงคโปร์แอร์ไลน์อากาศยานลำตัวกว้างแอร์บัส เอ330แอร์บัส เอ340โบอิง 777โครงการโบอิงเยลโลว์สโตน
สิงคโปร์แอร์ไลน์
อาคารสิงคโปร์แอร์ไลน์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ (abbreviated 新航) เป็นบริษัทสายการบินในสิงคโปร์ มีท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีเป็นท่าอากาศยานหลัก จัดว่ามีความแข็งแกร่งในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และ"เส้นทางจิงโจ้" (เส้นทางบินระหว่างประเทศในทวีปออสเตรเลียกับสหราชอาณาจักรโดยผ่านซีกโลกตะวันออก) นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงเที่ยวบินตรงเชิงพาณิชย์ที่ใช้เวลาบินนานที่สุดในโลกสองเส้นทาง คือ จากสิงคโปร์ไปนูอาร์ก และลอสแอนเจลิส ด้วยเครื่องบินแอร์บัส เอ 340-500 สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นสายบินแรกที่สั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 และนอกจากกิจการสายการบินแล้ว ยังขยายกิจการไปยังธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสายการบิน เช่น การจัดการและวิศวกรรมอากาศยาน มีสายการบินซิลค์แอร์เป็นบริษัทสาขาที่สิงคโปร์แอร์ไลน์เป็นเจ้าของทั้งหมด ให้บริการเที่ยวบินภายในภูมิภาคไปยังเมืองที่มีความสำคัญระดับรองและมีผู้โดยสารน้อยกว่า และยังมีสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โกเป็นบริษัทสาขาที่ดำเนินการบินฝูงบินขนส่งสินค้าและจัดการขนส่งและจัดเก็บสัมภาระบนเครื่องบินโดยสาร สิงคโปร์แอร์ไลน์ถือหุ้นในสายการบินเวอร์จินแอตแลนติกอยู่ 49% และลงทุนในสายการบินไทเกอร์แอร์ไลน์เป็นส่วนปันผล 49% เพื่อรับมือการแข่งขันจากสายการบินต้นทุนต่ำ สิงคโปร์แอร์ไลน์จัดว่าเป็นสายการบินที่มีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 11 ในเอเชีย และมีผู้โดยสารระหว่างประเทศมากเป็นอันดับ 6 ของโลก สิงคโปร์แอร์ไลน์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารฟอร์จูนให้อยู่ในอันดับที่ 27 ในหมวดหมู่บริษัทที่เป็นที่ยกย่องชมเชยมากที่สุดในโลกประจำ พ.ศ. 2553 และได้สร้างตราบริษัทที่แข็งแกร่งในฐานะผู้สร้างปรากฏการณ์ในอุตสาหกรรมการบิน โดยเฉพาะความเป็นเลิศในด้านนวัตกรรม ความปลอดภัย และบริการ ที่เชื่อมโยงเข้ากับความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างมั่นคง นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลมากมายและเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมในด้านการจัดซื้ออากาศยาน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Airport House ใกล้กับท่าอากาศยานชางงีในย่านชางงีในสิงคโปร.
สิงคโปร์แอร์ไลน์และแอร์บัส เอ350 · สิงคโปร์แอร์ไลน์และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ·
อากาศยานลำตัวกว้าง
รื่องบินแอร์บัส เอ 380 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน โบอิง 777-300ER ของแอร์แคนาดา (ลำตัวกว้าง) อากาศยานลำตัวกว้าง (Wide-body aircraft) คือ อากาศยานที่มีขนาดลำตัว (fuselage) กว้างเพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารได้ถึงสองช่องทางเดิน (aisles) โดยถูกเรียกว่าเป็น อากาศยานที่มีสองช่องทางเดิน ซึ่งประกอบไปด้วยที่นั่งอย่างน้อยเจ็ดที่นั่งต่อหนึ่งแถว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปของลำตัวเครื่องบินนั้นมีขนาดประมาณ 5 ถึง 6 เมตร (16 ถึง 20 ฟุต) ซึ่งทำให้จุผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 200 จนถึง 850 คนในหนึ่งเที่ยวบิน อากาศยานที่มีขนาดลำตัวกว้างที่สุดนั้นมีขนาดความกว้างกว่า 6 เมตร (20 ฟุต) และสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 11 ที่นั่งต่อหนึ่งแถวในการจัดผังที่นั่งที่แบบใช้พื้นที่สูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกันกับอากาศยานลำตัวแคบ (Narrow-body aircraft) ซึ่งจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 3 ถึง 4 เมตร (10 ถึง 13 ฟุต) และมีช่องทางเดินเดียว และจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 2 จนถึง 6 ที่นั่งต่อหนึ่งแถว แต่แรกนั้น อากาศยานลำตัวกว้างนั้นถูกออกแบบเพื่อจุดประสงค์ในด้านประสิทธิภาพ และความสะดวกสบายของผู้โดยสาร รวมทั้งการเพิ่มขนาดของห้องสัมภาระ อย่างไรก็ตาม สายการบินต่างๆ หันมาให้ความสนใจในด้านความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดพื้นที่สำหรับผู้โดยสารเพื่อแลกกับความสามารถในการทำรายได้และกำไรสูงสุด อากาศยานลำตัวกว้างที่มีขนาดกว้างที่สุดมักจะถูกเรียกว่า จัมโบ้เจ็ต ซึ่งได้แก่ โบอิง 747 ("จัมโบ้เจ็ต") แอร์บัส เอ 380 ("ซุปเปอร์จัมโบ้เจ็ต") และรุ่นที่กำลังจะตามมา คือ โบอิง 777 เอ็กซ์ ("มินิจัมโบ้เจ็ต") คำว่า "จัมโบ้เจ็ต" นั้นมาจากชื่อ "จัมโบ้" ของช้างที่โด่งดังจากละครสัตว์ในช่วงศตวรรษที่ 19.
อากาศยานลำตัวกว้างและแอร์บัส เอ350 · อากาศยานลำตัวกว้างและโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ·
แอร์บัส เอ330
แอร์บัส เอ 330 (Airbus A330) เป็นอากาศยานลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัส มีความจุมาก เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะปานกลางถึงระยะไกล โครงสร้างของ แอร์บัส 330 ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการออกแบบโครงสร้าง ใช้วัสดุผสมยุคใหม่และอัลลอยด์ที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบาเป็นพิเศษมาประกอบเป็นตัวโครงสร้างและพื้นผิว ซึ่งสามารถลดน้ำหนักของตัวเครื่องลงได้มาก ลดค่าบำรุงรักษาและยังประหยัดน้ำมัน การออกแบบปีกที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ได้สมรรถนะที่ดีทั้งขณะที่บินขึ้นและร่อนลงจอด และยังทำความเร็วได้เหมาะสมกับอัตตราบรรทุกและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง.
แอร์บัส เอ330และแอร์บัส เอ350 · แอร์บัส เอ330และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ·
แอร์บัส เอ340
แอร์บัส เอ 340 (Airbus A340) เป็นเครื่องบินพาณิชย์ลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัส ทำให้สามารถจัดสรรที่นั่งสำหรับผู้โดยสารได้มากสูงสุดประมาณ 330 ที่ และเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีระยะทางการบินอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในปัจจุบันคือ 15,742 กิโลเมตร ทั้งนี้ระยะทางการบินต่อเนื่องสูงสุดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนนำหนักที่บรรทุก อัตราความเร็ว และรุ่นของ A340 ที่มีอยู่ 6 รุ่นคือ 200/300/300E/500/600 และ 8000 ลักษณะทั่วไปของ A340 จะคล้ายคลึงกับ A330 ซึ่งเริ่มใช้ในปี 1987 และ A340 เริ่มปฏิบัติการบินครั้งแรกในปี 1991 และเริ่มใช้เชิงพาณิชย์ในปี 1993 A340 เป็นเครื่องบินที่มีชั้นโดยสาร 1 ชั้น มีเครื่องยนต์ 4 เครื่องยนต์อยู่ที่ปีกทั้งสองข้าง ข้างละ 2 เครื่องยนต์ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการบินสูงขึ้น เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 เครื่องสามารถให้เครื่องบินบินขึ้นได้ โดยใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องบินแบบที่มีเครื่องยนต์เพียงสองเครื่อง เช่น A320 ในปี 2006 มียอดรวมสั่งซื้อ A340 ทั้งหมด 246 ลำ และได้นำส่งให้กับลูกค้าไปแล้ว 240 ลำ การส่งมอบเครื่องบิน A340.
แอร์บัส เอ340และแอร์บัส เอ350 · แอร์บัส เอ340และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ·
โบอิง 777
อิง 777 เป็นอากาศยานแบบลำตัวกว้าง ใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล ผลิตโดยฝ่ายผลิตเครื่องบินพาณิชย์โบอิง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องบินเชิงพาณิชย์ลำแรกที่มีการออกแบบและพัฒนาบนคอมพิวเตอร์ทุกขั้นตอน โดยโปรแกรมเขียนภาพสามมิติ CATIA และมีสายการบินขนาดใหญ่อย่างยูไนเต็ดแอร์ไลน์, อเมริกันแอร์ไลน์, เดลต้า แอร์ไลน์, ออลนิปปอนแอร์เวย์, บริติช แอร์เวย์, เจแปนแอร์ไลน์, แควนตัส และคาเธย์แปซิฟิก มีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องบินรุ่นนี้ ทำให้ 777 เป็นเครื่องบินที่ตรงตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ทั้งนี้นับจนถึงพฤษภาคม..
แอร์บัส เอ350และโบอิง 777 · โบอิง 777และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ·
โครงการโบอิงเยลโลว์สโตน
แผนภูมิแสดงความจุผู้โดยสารของเครื่องบินรุ่นปัจจุบัน และเครื่องบินรุ่นทดแทน โครงการโบอิงเยลโลว์สโตน (Boeing Yellowstone Project) เป็นโครงการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ที่จะนำมาทดแทนเครื่องบินโดยสารโบอิงในทุกๆ รุ่น ได้แก่ การนำเอาวัสดุคอมโพสิตมาใช้สร้างลำตัวเครื่องบิน, พัฒนาเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น และนำเอาระบบอิเลคทรอนิคมาใช้มากขึ้น โดยเยลโลสโตน โปรเจกต์ แบ่งออกเป็น 3 โครงการย่อย ก็คือ.
แอร์บัส เอ350และโครงการโบอิงเยลโลว์สโตน · โครงการโบอิงเยลโลว์สโตนและโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ แอร์บัส เอ350และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง แอร์บัส เอ350และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์
การเปรียบเทียบระหว่าง แอร์บัส เอ350และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์
แอร์บัส เอ350 มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 10.71% = 6 / (25 + 31)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง แอร์บัส เอ350และโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: