เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

แอร์บัส เอ300และแอร์บัส เอ330

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง แอร์บัส เอ300และแอร์บัส เอ330

แอร์บัส เอ300 vs. แอร์บัส เอ330

แอร์บัส เอ 300 (Airbus A300) แอร์บัส เอ 300 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ลำตัวกว้างที่มีพิสัยบินสั้นถึงปานกลางโดยบริษัทแอร์บัส โดยเป็นครั้งแรกของเครื่องบินขนาดลำตัวกว้างที่มีเพียงสองเครื่องยนต์ โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 266 ที่นั่ง โดยจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทชั้นโดยสาร และมีพิสัยการบินถึง 4,070 ไมล์ทะเล (7,540 กิโลเมตร) เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา แอร์บัส เอ 300 ขึ้นบินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1972 และเริ่มรับผู้โดยสารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 โดยสายการบินแอร์ฟรานซ์ ในเส้นทาง ปารีส-ลอนดอน ซึ่งแอร์บัสรุ่นนี้มีคุณสมบัติ มีเสียงเงียบและประหยัดเชื้อเพลิงกว่าเครื่องบินเจ๊ตโดยสารในขนาดเดียวกันทั้ง ดีซี-10 และ อิล-86 เพราะแอร์บัส เอ 300 ใช้เครื่องยนต์เพียง 2 เครื่องเท่านั้น แอร์บัส เอ 300 สิ้นสุดการผลิตในเดือนกรกฎาคม.. แอร์บัส เอ 330 (Airbus A330) เป็นอากาศยานลำตัวกว้าง ผลิตโดยแอร์บัส มีความจุมาก เป็นอากาศยานที่มีพิสัยบินระยะปานกลางถึงระยะไกล โครงสร้างของ แอร์บัส 330 ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในการออกแบบโครงสร้าง ใช้วัสดุผสมยุคใหม่และอัลลอยด์ที่มีความแข็งแรงและน้ำหนักเบาเป็นพิเศษมาประกอบเป็นตัวโครงสร้างและพื้นผิว ซึ่งสามารถลดน้ำหนักของตัวเครื่องลงได้มาก ลดค่าบำรุงรักษาและยังประหยัดน้ำมัน การออกแบบปีกที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ได้สมรรถนะที่ดีทั้งขณะที่บินขึ้นและร่อนลงจอด และยังทำความเร็วได้เหมาะสมกับอัตตราบรรทุกและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง แอร์บัส เอ300และแอร์บัส เอ330

แอร์บัส เอ300และแอร์บัส เอ330 มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การบินไทยอากาศยานลำตัวกว้างอากาศยานไอพ่นแอร์บัส

การบินไทย

ริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (Thai Airways International Public Company Limited; ชื่อย่อ: ไทย, THAI) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดำเนินธุรกิจการบินพาณิชย์ ในฐานะสายการบินแห่งชาติของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2503 จากเว็บไซต์การบินไทย โดยปฏิบัติการบินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นหลัก ทั้งนี้ การบินไทยยังได้ร่วมก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรการบิน สตาร์อัลไลแอนซ์ เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบินนกแอร์ และเปิดตัวสายการบินลูก ไทยสมายล์ อีกด้วย ปัจจุบัน(มิถุนายน พ.ศ. 2561) การบินไทยบิน 64 สนามบินรวมต่างประเทศและในประเทศ แบ่งเป็นต่างประเทศ 60 สนามบิน ในประเทศไทย 4 สนามบินไม่รวมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งหมด 3 ทวีป 32 ประเทศทั่วโลกไม่รวมประเทศไทย จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยฝูงบินกว่า 84 ลำ การบินไทยเป็นสายการบินลำดับต้นในเอเชีย ที่ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพ ลอนดอน (ท่าอากาศยานฮีทโธรว์) นอกจากนี้ การบินไทยได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากองค์การอนามัยโลกว่าด้วยสุขอนามัยบนเครื่องบินอีกด้ว.

การบินไทยและแอร์บัส เอ300 · การบินไทยและแอร์บัส เอ330 · ดูเพิ่มเติม »

อากาศยานลำตัวกว้าง

รื่องบินแอร์บัส เอ 380 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน โบอิง 777-300ER ของแอร์แคนาดา (ลำตัวกว้าง) อากาศยานลำตัวกว้าง (Wide-body aircraft) คือ อากาศยานที่มีขนาดลำตัว (fuselage) กว้างเพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารได้ถึงสองช่องทางเดิน (aisles) โดยถูกเรียกว่าเป็น อากาศยานที่มีสองช่องทางเดิน ซึ่งประกอบไปด้วยที่นั่งอย่างน้อยเจ็ดที่นั่งต่อหนึ่งแถว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปของลำตัวเครื่องบินนั้นมีขนาดประมาณ 5 ถึง 6 เมตร (16 ถึง 20 ฟุต) ซึ่งทำให้จุผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 200 จนถึง 850 คนในหนึ่งเที่ยวบิน อากาศยานที่มีขนาดลำตัวกว้างที่สุดนั้นมีขนาดความกว้างกว่า 6 เมตร (20 ฟุต) และสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 11 ที่นั่งต่อหนึ่งแถวในการจัดผังที่นั่งที่แบบใช้พื้นที่สูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกันกับอากาศยานลำตัวแคบ (Narrow-body aircraft) ซึ่งจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 3 ถึง 4 เมตร (10 ถึง 13 ฟุต) และมีช่องทางเดินเดียว และจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 2 จนถึง 6 ที่นั่งต่อหนึ่งแถว แต่แรกนั้น อากาศยานลำตัวกว้างนั้นถูกออกแบบเพื่อจุดประสงค์ในด้านประสิทธิภาพ และความสะดวกสบายของผู้โดยสาร รวมทั้งการเพิ่มขนาดของห้องสัมภาระ อย่างไรก็ตาม สายการบินต่างๆ หันมาให้ความสนใจในด้านความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดพื้นที่สำหรับผู้โดยสารเพื่อแลกกับความสามารถในการทำรายได้และกำไรสูงสุด อากาศยานลำตัวกว้างที่มีขนาดกว้างที่สุดมักจะถูกเรียกว่า จัมโบ้เจ็ต ซึ่งได้แก่ โบอิง 747 ("จัมโบ้เจ็ต") แอร์บัส เอ 380 ("ซุปเปอร์จัมโบ้เจ็ต") และรุ่นที่กำลังจะตามมา คือ โบอิง 777 เอ็กซ์ ("มินิจัมโบ้เจ็ต") คำว่า "จัมโบ้เจ็ต" นั้นมาจากชื่อ "จัมโบ้" ของช้างที่โด่งดังจากละครสัตว์ในช่วงศตวรรษที่ 19.

อากาศยานลำตัวกว้างและแอร์บัส เอ300 · อากาศยานลำตัวกว้างและแอร์บัส เอ330 · ดูเพิ่มเติม »

อากาศยานไอพ่น

อากาศยานไอพ่น (jet aircraft) คือ อากาศยานที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเป็นพลังงานขับเคลื่อน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์จะเกิดก๊าซร้อนมาก ซึ่งเมื่อพ่นออกมานั้นจะเกิดแรงดันไปในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมหาศาล สามารถผลักดันให้อากาศยานเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็วอากาศในท้องฟ้าระยะสูงจะมีความหนาแน่นน้อยลง แรงปะทะต้านทานก็น้อยลงไปด้วย แต่กำลังดันจากภายในเครื่องยนต์มิได้ลดน้อยลงเลย ดังนั้นอากาศยานไอพ่นจึงบินได้เร็วขึ้นในระยะสูงขึ้นตามลำดับ เพดานบินของอากาศยานไอพ่นจึงสูงกว่าอากาศยานธรรมดา ตามปกติเสียงวิ่งผ่านอากาศด้วยความเร็ว 1250 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 1 มัค (mach) ถ้าเร็วกว่านั้นเป็นสองเท่าหรือสามเท่าของเสียงก็เรียกว่า มัค 2 หรือ มัค 3 ตามลำดับ เครื่องบินไอพ่นเท่านั้นที่สามารถทำความเร็วได้สูงเช่นนี้ ในขณะที่บินด้วยความเร็วเหนือเสียงเราจะเรียกว่า โซนิค บูม (sonic boom)เป็นเหตุให้บานกระจก ประตูหน้าต่างแตกไปได้ เครื่องบินไอพ่นสมัยเริ่มแรกมิได้ศึกษาเรื่องนี้พอ จึงสร้างไว้ให้มีความแข็งแรงอย่างธรรมดา เมื่อบินเร็วมากๆถึงขั้นเจาะข้ามเขตกำแพงเสียง เครื่องบินไอพ่นก็จะเกิดระเบิดพังทลายเป็นชิ้นเล็กๆ ตกลงมา มีลักษณะเหมือนปาขวดแก้วให้แตกละเอียดที่กำแพงหิน ดังนั้นเครื่องบินไอพ่นสมัยใหม่ที่มีความเร็วตั้งแต่หนึ่งเท่าของเสียงขึ้นไป จึงต้องมีโครงสร้างเป็นโลหะที่แข็งแรงเป็นพิเศษ ยังมีเครื่องบินอีกประเภทหนึ่ง เป็นเครื่องบินไอพ่นซึ่งสามารถขึ้นและลงตรงๆ ในทางดิ่งได้ คุณลักษณะอันนี้เกิดจากการใช้เครื่องยนต์ไอพ่นพุ่งลงมาข้างล่าง ต่อเมื่อเครื่องพุ่งขึ้นได้ระยะสูงปลอดภัยแล้ว นักบินจึงบังคับให้ท่อไอพ่นหมุนเพื่อพ่นไอเสียไปข้างหลัง จะได้ผลักให้ตัวเครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เครื่องบินไอพ่นแบบนี้ ไม่ต้องมีทางวิ่ง จึงใช้ประโยชน์ได้ดีมากบนเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งมีดาดฟ้าที่คับแคบอยู่แล้ว ข้อเสียเปรียบก็มีอยู่ว่า ยังไม่สามารถสร้างเครื่องบินไอพ่นแบบนี้ให้บินได้นานๆ และไกลๆ เท่าเครื่องบินไอพ่นธรรม.

อากาศยานไอพ่นและแอร์บัส เอ300 · อากาศยานไอพ่นและแอร์บัส เอ330 · ดูเพิ่มเติม »

แอร์บัส

แอร์บัส (Airbus) โรงงานผลิตและประกอบเครื่องบินของแอร์บัสกรุ๊ป มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส โรงงานนี้รับผิดชอบในสายงานผลิตเครื่องบินพลเรือน โดยชิ้นส่วนต่างๆที่นำมาประกอบเครื่องบินในโรงงานนี้ ถูกผลิตจากฐานการผลิตย่อยกว่า 16 แห่งในฝรั่งเศส, เยอรมนี, สเปน, จีน, สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา โรงงานนี้มีลูกจ้างทั้งหมด 73,958 คน โรงงานแห่งนี้ก่อตั้งในปี..

แอร์บัสและแอร์บัส เอ300 · แอร์บัสและแอร์บัส เอ330 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง แอร์บัส เอ300และแอร์บัส เอ330

แอร์บัส เอ300 มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ แอร์บัส เอ330 มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 4 / (25 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง แอร์บัส เอ300และแอร์บัส เอ330 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: