โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แมงลักและโหระพา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง แมงลักและโหระพา

แมงลัก vs. โหระพา

แมงลัก (ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum × citriodourum) เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้ แมงลักในประเทศไทยนั้น มี หลากหลายยี่ห้อและหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่ยี่ห้อดังยี่ห้อเดียวอย่างที่เข้าใจ ลักษณะพันธุ์ที่ดีใบต้องใหญ่พอดิบพอดี ไม่เล็กจนแคระแกร็น ดอกสีขาวเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร. หระพา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum basilicum Linn.; วงศ์: LABIATAE; ชื่ออื่น: อิ่มคิมขาว, ฉาน - แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีกิ่งอ่อนสีม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจะเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว 7 - 12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล กลีบดอกโคยเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน มีผลขนาดเล็ก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง แมงลักและโหระพา

แมงลักและโหระพา มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บีตา-แคโรทีนวงศ์กะเพราสกุลกะเพรา-โหระพาแคลเซียม

บีตา-แคโรทีน

ีตา-แคโรทีน (β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้.

บีตา-แคโรทีนและแมงลัก · บีตา-แคโรทีนและโหระพา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กะเพรา

วงศ์กะเพรา หรือ วงศ์มินต์ (Lamiaceae เดิมคือ Labiatae) เป็นชื่อของวงศ์พรรณไม้ของพืชดอกในอันดับแลเมียลิส ที่มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ลำต้นเหลี่ยม ดอกออกเป็นช่อยกสูงคล้ายฉัตร หรือบ้างก็ไม่ยกสูงมาก เป็นวงศ์ของ กะเพรา โหระพา แมงลัก สะระแหน่ ยี่หร่า ลาเวนเดอร์ โรสแมรี บลูซัลเวีย ซัลเวียฮัมมิ่งเบิร์ดแดง ออริกาโน เดิมวงศ์มินต์ (Labiatae) หมายความรวมถึงพืชจำพวก สัก ผกากรอง มังกรคาบแก้ว ตรีชะวา พัดโบก และพืชอื่นๆในวงศ์สัก (Verbenaceae) ด้วย แต่ภายหลังมีการแยกเอาพืชกลุ่มนี้ไปตั้งวงศ์ใหม่เป็นวงศ์สัก.

วงศ์กะเพราและแมงลัก · วงศ์กะเพราและโหระพา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลกะเพรา-โหระพา

ไม่มีคำอธิบาย.

สกุลกะเพรา-โหระพาและแมงลัก · สกุลกะเพรา-โหระพาและโหระพา · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

แคลเซียมและแมงลัก · แคลเซียมและโหระพา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง แมงลักและโหระพา

แมงลัก มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ โหระพา มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 9.30% = 4 / (26 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง แมงลักและโหระพา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »