ความคล้ายคลึงกันระหว่าง แมงและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล
แมงและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์ขาปล้องแมงมุมแมงมุมแม่ม่ายดำ
สัตว์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
สัตว์และแมง · สัตว์และแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล ·
สัตว์ขาปล้อง
ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.
สัตว์ขาปล้องและแมง · สัตว์ขาปล้องและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล ·
แมงมุม
แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.
แมงและแมงมุม · แมงมุมและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล ·
แมงมุมแม่ม่ายดำ
แมงมุมแม่ม่ายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Latrodectus hesperus) เป็นแมงมุมพิษในสกุลแมงมุมแม่ม่าย กระจายพันธุ์ในภาคตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย เพศเมียมีขนาดตัวราว 14–16 มิลลิเมตร มีลำตัวสีดำ กลางลำตัวมีเครื่องหมายเป็นรูปนาฬิกาทราย เครื่องหมายนี้อาจเป็นได้ทั้งสีแดงหรือสีเหลือง ในขณะที่เพศผู้จะมีขนาดตัวราวครึ่งหนึ่งของตัวเมียและมีลำตัวสีอ่อนกว่าตัวเมีย แมงมุมในสกุลแม่ม่าย ภายหลังการผสมพันธุ์กับตัวผู้แล้ว ตัวเมียจะกินแมงมุมตัวผู้เข้าไปซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ โดยที่แมงมุมตัวเมียเท่านั้นที่สามารถกัดมนุษย์ได้ เนื่องจากตัวผู้มีกรามขนาดเล็กเกินกว่าจะกัดผ่านผิวหนังมนุษย์ พิษของแมงมุมสายพันธุ์นี้ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งจนกลายเป็นอัมพาต ซึ่งหากการอัมพาตเกิดกับกระบังลมและหัวใจก็อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ ผู้ถูกกัดมักมีอาการแสดงออกราว 20 นาทีถึง 1 ชั่วโมงภายหลังถูกกัด ซึ่งความรุนแรงก็จะขึ้นกับปริมาณสารพิษที่ร่ายกายได้รับ นอกจากนี้ยังอาจพบอาการข้างเคียงอื่นๆร่วมด้วย อาทิ ปวดท้องอย่างรุนแรง, คลื่นไส้อาเจียน, เหงื่อออกมาก, มือสั่น และชัก.
แมงและแมงมุมแม่ม่ายดำ · แมงมุมแม่ม่ายดำและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ แมงและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง แมงและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล
การเปรียบเทียบระหว่าง แมงและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล
แมง มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 11.11% = 4 / (11 + 25)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง แมงและแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: