โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แปะก๊วย

ดัชนี แปะก๊วย

''Ginkgo biloba'' แปะก๊วย (;) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราว..

28 ความสัมพันธ์: พืชภาวะสมองเสื่อมภาษาญี่ปุ่นมหายุคมีโซโซอิกมหาวิทยาลัยโตเกียวมงกุฎยุคจูแรสซิกยุคเพอร์เมียนลำไส้เล็กวงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำสมัยไพลโอซีนอัลซไฮเมอร์ธรณีกาลขงจื๊อคามากูระคาโรลัส ลินเนียสประเทศญี่ปุ่นประเทศฝรั่งเศสประเทศจีนปรัชญาแพนด้ายักษ์แปะก๊วยโรคอัลไซเมอร์โรคซึมเศร้าเบาหวานเฟิร์นเซี่ยงไฮ้เซน

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: แปะก๊วยและพืช · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสมองเสื่อม

วะสมองเสื่อม หรือ โรคสมองเสื่อม (มาจากภาษาละติน de- "ออกไป" และ mens มาจาก mentis "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือโรคที่เกิดในสมองซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความผิดปกติในพัฒนาการ (developmental disorders) ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความจำ, ความใส่ใจ, ภาษา, และการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร) กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับสมุฏฐานโรค (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, ดีซ่าน, หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่มอาการเพ้อ (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก อาการป่วยทางจิต (mental illness) บางชนิด เช่น ภาวะซึมเศร้า (depression) และโรคจิต (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ.

ใหม่!!: แปะก๊วยและภาวะสมองเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาญี่ปุ่น

ษาญี่ปุ่น (日本語) เป็นภาษาทางการของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้ทั่วโลกราว 130 ล้านคน นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว รัฐอังกาอูร์ สาธารณรัฐปาเลา ได้กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาทางการภาษาหนึ่ง นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังถูกใช้ในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ย้ายไปอยู่นอกประเทศ นักวิจัยญี่ปุ่น และนักธุรกิจต่างๆ คำภาษาญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะภาษาจีน ที่ได้นำมาเผยแพร่มาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อกว่า 1,500 ปีที่แล้ว และตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ก็ได้มีการยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนมาใช้อีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เช่นคำที่มาจากภาษาดัตช์ ビール (bier แปลว่า เบียร์) และ コーヒー (koffie แปลว่า กาแฟ).

ใหม่!!: แปะก๊วยและภาษาญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

มหายุคมีโซโซอิก

มหายุคมีโซโซอิก (อังกฤษ: Mesozoic Era) เป็นมหายุคที่สองจาก 3 มหายุคทางธรณีกาลของโลกในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก โดยอยู่ถัดจากมหายุคพาลีโอโซอิกและอยู่ก่อนหน้ามหายุคซีโนโซอิก มหายุคมีโซโซอิกมีช่วงอายุตั้งแต่ 251-65 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในช่วงเวลาที่มีการแยกตัวออกจากกันของแผ่นดินพันเจีย ทำให้เกิดผืนแผ่นดินลอเรเซียและผืนแผ่นดินกอนด์วานา คั่นกลางด้วยมหาสมุทรเททิส จากนั้นจึงเกิดการแยกตัวขึ้นอีกภายในผืนแผ่นดินทั้งสองทำให้เกิดทวีปต่าง ๆ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มหายุคมีโซโซอิกเป็นมหายุคที่เรียกได้ว่าสัตว์เลื้อยคลานครองโลก.

ใหม่!!: แปะก๊วยและมหายุคมีโซโซอิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโตเกียว

หอประชุมยาสุดะในมหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยโตเกียว หรือย่อว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นในลักษณะของมหาวิทยาลัยวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองโตเกียว มีพื้นที่แยกออกเป็น 5 วิทยาเขต ใน ฮงโง โคมะบะ คะชิวะ ชิโระงะเนะ และ นะกะโนะ และได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีเกียรติมากที่สุดในญี่ปุ่น และยังจัดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยโตเกียวประกอบด้วย 10 คณะซึ่งมีนักศึกษารวมทั้งสิ้นประมาณ 30,000 คน ในจำนวนนี้มีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 2,100 คนเป็นนักศึกษาไทยประมาณ 150 คน (ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงทีสุดในบรรดามหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น) ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมสาขาวิทยาการเกือบทั้งหมด แต่ที่มีชื่อเสียงมากเป็นพิเศษคือ กฎหมาย รัฐศาสตร์ วรรณกรรม เศรษฐศาสตร์ แพทยศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ผลิตนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงของญี่ปุ่นจำนวนมาก นับแต่อดีตจนปัจจุบันแม้ว่าสัดส่วนจะลดลงก็ตาม อัตราส่วนของรัฐมนตรีที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโตเกียวยังคงสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละช่วงคริสต์ศตวรรษจะอยู่ที่ประมาณ 2/3 1/2 1/4 1/5 และ1/6 ในช่วงคริสศตวรรษที่ 1950 60 70 80 และ 90 ตามลำดับ มหาวิทยาลัยโตเกียวมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูงในหลากหลายสาขาวิชา และมีอัตราการแข่งขันในการเข้าศึกษาสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโตเกียวมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งอยู่หกมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยเกียวโตซึ่งผลิตนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมาก หนึ่งในศิษย์เก่าเจ้าของรางวัลโนเบลของมหาวิทยาลัยโตเกียวคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพิเรียลชื่อ ศาสตราจารย์ คิคุจิ ไดโรกุ ในด้านกีฬา ทีมเบสบอลมหาวิทยาลัยโตเกียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในระดับมหาวิทยาลัยของกรุงโตเกียว ศูนย์ฮงโหงะเป็นศูนย์หลักของมหาวิทยาลัยซึ่งเดิมเป็นที่พำนักของตระกูล "มาเอดะ" ช่วงสมัยเอโดะผู้เป็นเจ้าเมืองเคหงะ สัญลักษณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักและอยู่จนปัจจุบันของมหาวิทยาลัยคือ "อะกามง" (ประตูแดง) ส่วนตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปใบแปะก๊วย ซึ่งปลูกอยู่เรียงรายทั่วทั้งบริเวณของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: แปะก๊วยและมหาวิทยาลัยโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎ

มงกุฎของพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์กปัจจุบันตั้งอยู่ที่ปราสาทโรเซ็นบอร์กในกรุงโคเปนเฮเกน '''มงกุฎ'''ของจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีที่ทรงสวมในวันราชาภิเษกของพระสวามี มงกุฎ (crown; สะกดด้วยตัว ฎ ชฎา) คือเครื่องสวมศีรษะที่เป็นสัญลักษณ์ที่สวมโดยพระมหากษัตริย์ หรือผู้นำทางศาสนาที่เป็นเครื่องหมายของความมีอำนาจทางการเมือง, ความมีสิทธิ, ความเป็นอมตะ, ความชอบธรรมในการเป็นกษัตริย์, ชัยชนะ, การฟื้นฟู, เกียรติยศ และความรุ่งโรจน์ของผู้สวม ทางด้านศิลปะมงกุฎอาจจะแสดงในภาพที่มีเทวดาประทานมงกุฎให้แก่มนุษย์ นอกจากมงกุฎที่สร้างกันตามปกติแล้ว อาจจะทำจากดอกไม้, ดาว, ใบไม้, หรือหนาม แต่มงกุฎประจำตำแหน่งแล้วส่วนใหญ่จะทำจากโลหะและอัญมณี.

ใหม่!!: แปะก๊วยและมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคจูแรสซิก

ทรแอสซิก←ยุคจูแรสซิก→ยุคครีเทเชียส ยุคจูแรสซิก (Jurassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ระหว่าง 199.6 ± 0.6 ถึง 145.4 ± 4.0 ล้านปีก่อน ยุคนี้อยู่หลังยุคไทรแอสซิกและอยู่ก่อนยุคครีเทเชียส ยุคนี้ถูกกำหนดช่วงเวลาจากชั้นหิน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริงยังไม่สามารถระบุแน่นอน ตัวเลขปีที่ระบุข้างต้นมีโอกาสผิดพลาดได้ 5 ถึง 10 ล้านปี ชื่อจูแรสซิก ตั้งโดย อเล็กซานเดอร์ บรอกเนียร์ต (Alexandre Brogniart) จากปริมาณหินปูนที่สะสมเป็นจำนวนมากในชั้นหินที่ตรวจที่ภูเขาชูรา ตรงรายต่อระหว่างประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และ สวิตเซอร์แลนด์ ยุคนี้ทำให้เกิดหนังเรื่องจูแรสซิกปาร.

ใหม่!!: แปะก๊วยและยุคจูแรสซิก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเพอร์เมียน

ร์บอนิเฟอรัส←ยุคเพอร์เมียน→ยุคไทรแอสซิก ยุคเพอร์เมียน(permian)เป็นยุคสุดท้ายในมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง299±0.5ล้านปีมาแล้วถึง251±0.16ล้านปีมาแล้วมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่มากมาย พืชตระกูลสน เฟิร์นมีมากในช่วงนี้ สัตว์เลื้อยคลานในช่วงนี้คล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ แต่เกิดการสูญพันธ์ช่วงปลายยุค ซึ่งเป็นการสูญพันธ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่พบบนโลก สิ่งมีชีวิตบนโลกได้สูญพันธ์ไปถึง 96-97%.

ใหม่!!: แปะก๊วยและยุคเพอร์เมียน · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: แปะก๊วยและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ

วงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ (Teal, Dabbling duck) เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์ปีกจำพวกเป็ด หรือนกเป็ดน้ำวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Anatidae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anatinae หรือจัดอยู่ในเผ่า Anatini เป็ดที่อยู่ในวงศ์ย่อยนี้มีลักษณะไม่ต่างอะไรกับสมาชิกที่อยู่ในวงศ์ใหญ่ คือ มีจะงอยปากแบนและตรงปลายปากงุม ตีนมีพังผืด นิ้วเรียว นิ้วหลังคอนขางเล็กและเปนนิ้วตางระดับ บินไดเกง สวนใหญเปนนกอพยพยายถิ่น นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่จะว่ายน้ำหรือดำน้ำได้อีกด้วยตีนที่เป็นพังผื.

ใหม่!!: แปะก๊วยและวงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไพลโอซีน

Diodora italica จากสมัยไพลโอซีนของไซปรัส สมัยไพลโอซีน (Pliocene หรือ Paleocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 5.333 ถึง 2.588See the 2009 version of the ICS geologic time scale: ล้านปีก่อนปัจจุบัน สมัยไพลโอซีนเป็นสมัยที่สองและสมัยใหม่ที่สุดของยุคนีโอจีนของมหายุคซีโนโซอิก สมัยไพลโอซีนต่อมาจากสมัยไมโอซีนและตามด้วยสมัยไพลสโตซีน ชื่อของสมัยตั้งโดยนักธรณีวิทยาชาลส์ ไลเอลล์ ที่มาจากคำในภาษากรีกว่า πλεῖον (pleion แปลว่า "มาก") และ καινός (kainos ที่แปลว่า "ใหม่") ที่แปลง่าย ๆ ว่า "สมัยที่ตามมาจากสมัยปัจจุบัน" ที่หมายถึงสมัยของสัตว์ทะเลมอลลัสกาของสมัยใหม.

ใหม่!!: แปะก๊วยและสมัยไพลโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

อัลซไฮเมอร์

อัลซไฮเมอร์ หรือ อัลไซเมอร์ (Alzheimer) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: แปะก๊วยและอัลซไฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธรณีกาล

รณีกาล (Geologic Time) ตามความหมายทางธรณีวิทยานั้น เป็นชื่อเรียกของระยะช่วงเวลา ซึ่งได้แบ่งลงมาเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และช่วงอายุ (Age) ตามลำดับ มาตราเวลาทางธรณีวิทยา ใช้โดยนักธรณีวิทยา หรือนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เพื่ออธิบายเวลาที่จุดต่างๆ และอธิบายความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตของประวัติของโลก ตัวอย่างของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดมาตราเวลาทางธรณีวิทยา มี International Commission on Stratigraphy กำหนดชื่อของเวลาและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง (stratigraphy เป็นการศึกษาธรณีวิทยาในเรื่องชั้นต่างๆของโลก เช่นเปลือกโลก/ผิวโลกและชั้นอื่นๆใต้ผิวโลกลงไป), US Geological Survey กำหนดสีมาตรฐานของเวลาทางธรณีวิทยาที่ห้วงเวลาต่างๆ จากวิธีการหาเวลาในอดีตโดยการวัดการสลายของกัมมันตภาพรังสี (radiometric dating) พบว่าโลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี.

ใหม่!!: แปะก๊วยและธรณีกาล · ดูเพิ่มเติม »

ขงจื๊อ

งจื๊อ (Confucius; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงบรมครูจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) หรือ วันที่ 27 เดือน 8 (八月廿七日) ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย".

ใหม่!!: แปะก๊วยและขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

คามากูระ

"คามากูระ" อาจหมายถึง ยุคคะมะกุระ หรือ รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ คามากูระ เป็นเมืองในจังหวัดคะนะงะวะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 50 กิโลเมตร จากโตเกียว มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 39.60 ตารางกิโลเมตร และในปี..

ใหม่!!: แปะก๊วยและคามากูระ · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: แปะก๊วยและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: แปะก๊วยและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: แปะก๊วยและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: แปะก๊วยและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: แปะก๊วยและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

แพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ (Giant panda) หรือที่นิยมเรียกว่า แพนด้า (Panda เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือใบไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว.

ใหม่!!: แปะก๊วยและแพนด้ายักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

แปะก๊วย

''Ginkgo biloba'' แปะก๊วย (;) เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน (แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราว..

ใหม่!!: แปะก๊วยและแปะก๊วย · ดูเพิ่มเติม »

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593ประมาณการณ์ความชุกใน..

ใหม่!!: แปะก๊วยและโรคอัลไซเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: แปะก๊วยและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: แปะก๊วยและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ใหม่!!: แปะก๊วยและเฟิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยงไฮ้

ซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซี เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก ตามมาด้วยสิงคโปร์และรอตเทอร์ดาม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในประเทศจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองคือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้.

ใหม่!!: แปะก๊วยและเซี่ยงไฮ้ · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: แปะก๊วยและเซน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GinkgoGinkgo bilobaGinkgoaceaeGinkgoalesGinkgoopsidaGinkgophytaแปะก้วยแป๊ะก๊วยแป๊ะก๋วย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »