โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เฮาส์ เอ็ม.ดี.

ดัชนี เฮาส์ เอ็ม.ดี.

(House) หรือ เฮาส์ เอ็ม.ดี. (House M.D.) เป็นละครแพทย์ (medical drama) ทางโทรทัศน์สัญชาติอเมริกันซึ่งเดิมฉายทางเครือข่ายฟ็อกซ์จำนวน 8 ฤดูกาล ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2547 ถึง 21 พฤษภาคม 2555 ตัวละครหลักของเรื่อง คือ น. เกรกอรี เฮาส์ (ฮิวจ์ ลอรี) เป็นอัจฉริยะการแพทย์ที่ติดยาแก้ปวด นอกคอกและเกลียดมนุษย์ผู้นำทีมผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยโรค ณ โรงพยาบาลสอนพรินซ์ตัน–เพลนส์โบโร (Princeton–Plainsboro Teaching Hospital (PPTH)) ซึ่งไม่มีอยู่จริงในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ข้อตั้งของละครกำเนิดกับพอล แอตตานาซิโอ (Paul Attanasio) ฝ่ายเดวิด ชอร์ ซึ่งได้รับความชอบเป็นผู้สร้าง รับผิดชอบแนวคิดของตัวละครอันเป็นชื่อเรื่องเป็นหลัก ผู้ผลิตบริหารของละครมีชอร์, แอตตานาซิโอ, แคที เจคอบส์ (Katie Jacobs) หุ้นส่วนธุรกิจของแอตตานาซิโอ, และผู้กำกับภาพยนตร์ ไบรอัน ซิงเกอร์ ส่วนใหญ่ถ่ายทำในเซนชูรีซิตี เฮาส์มักขัดแย้งกับแพทย์ด้วยกัน ซึ่งรวมทีมวินิจฉัยของเขาเองด้วย เพราะทฤษฎีของเขาจำนวนมากเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วยอาศัยวิจารณญาณที่ละเอียดมากหรือซึ่งเป็นข้อโต้เถียง การดูหมิ่นกฎและกระบวนการโรงพยาบาลของเขาทำให้เขาขัดแย้งกับเจ้านายของเขา คือ ผู้บริหารโรงพยาบาลและคณบดีคณะแพทยศาสตร์ พญ.

27 ความสัมพันธ์: บริษัทแพร่สัญญาณฟ็อกซ์กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริสกัล เพนน์การวินิจฉัยแยกโรคภาษาอังกฤษมอร์ฟีนวิทยาการระบาดสหรัฐออกซิโคโดนอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ฮิว ลอรีจริยธรรมแพทย์ประสบการณ์ผิดธรรมดาแมสซีฟแอตแทกโรคหายากโรคฮันติงตันโรเบิร์ต ฌอน ลีโอนาร์ดโอลิเวีย ไวลด์โทรทัศน์ความละเอียดสูงเชอร์ล็อก โฮมส์เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุเมทาโดนเทียร์ดรอปเนื้อตายเหตุขาดเลือดเน็ตฟลิกซ์CSI720p

บริษัทแพร่สัญญาณฟ็อกซ์

ลโก้ของบริษัทฟ็อกซ์บรอดแคสติง บริษัทฟ็อกซ์บรอดแคสติง หรือที่ชาวอเมริกันทั่วไปเรียกว่า “ฟ็อกซ์” (FOX) เป็นธุรกิจสถานีโทรทัศน์ของเครือ นิวส์ คอร์ปอเรชัน ยักษ์ใหญ่ด้านสื่อที่มีนายรูเพิร์ต เมอร์ด็อก เป็นเจ้าของ โดยสถานีฟ็อกส์นับได้ว่าเป็นสถานีโทรทัศน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ก่อตั้งเมื่อเพียง ค.ศ. 1986 แต่สามารถทะยานสู่อันดับหนึ่งด้านความนิยมสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 49 ปี นอกจากนี้ในปี..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และบริษัทแพร่สัญญาณฟ็อกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส

กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส (อังกฤษ: Quadriceps femoris muscle, ภาษาลาตินแปลว่า กล้ามเนื้อสี่หัวของกระดูต้นขา "four headed muscle of the femur"), มีชื่อเรียกสั้นๆว่า ควอดริเซ็บ (quadriceps) หรือ ควอดส (quads) ควอดริเซ็บ ฟีเมอริส เป็นกลุ่มกล้ามเนื่อขนาดใหญ่รวมกันสี่กล้ามเนื้อ อยู่ด้านหน้าของต้นขา กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ถูกใช้ในการเหยียดขาตรง หรือยืดขา (extensor of the knee) กลุ่มกล้ามเนื้อนี้ครอบคลุมอยู่ทางด้านหน้า และด้านข้างของกระดูกต้นขา(femur) กล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส โครงสร้าง แบ่งเป็นสี่กล้ามเนื้อย่อย 1.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และกล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส · ดูเพิ่มเติม »

กัล เพนน์

กัล เพนน์ (Kal Penn, कल पेन) เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2520 นักแสดงฮอลลีวูด มีชื่อจริงว่า กัลเพน สุเรศ โมที กัล เพนน์ ได้กล่าวว่าเรื่องราวของปู่ย่าตายายของเขาเดินขบวนกับ มหาตมา คานธี สำหรับอินเดียเป็นประเทศที่มีอิทธิพลสำคัญในความสนใจของเขาทางการเมือง ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของเขา คือ Harold & Kumar (คู่บ้าฮาป่วน) ในปี..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และกัล เพนน์ · ดูเพิ่มเติม »

การวินิจฉัยแยกโรค

การวินิจฉัยแยกโรค (differential diagnosis) เป็นกระบวนการหนึ่งของการวินิจฉัยทางการแพทย์ ที่เป็นการพิจารณาว่าโรคหรือภาวะหนึ่งๆ มีความเหมือนหรือต่างจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่อาจมีลักษณะทางคลินิกใกล้เคียงกันอย่างไรบ้าง ทำโดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขเพื่อหาคำวินิจฉัยที่ถูกต้องของผู้ป่วย หรืออย่างน้อยทำเพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยที่มาด้วยอาการดังที่เห็นนี้มีโรคที่เป็นอันตรายมากหรือไม่ เพื่อแยกโรคที่อันตรายเหล่านั้นออกไปก่อนเป็นสำคัญ แต่ละตัวเลือกมักถูกเรียกว่าคำวิจิจฉัยแยกโรค เช่น ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไอ เมื่อผ่านการตรวจแล้วอาจได้คำวินิจฉัยสุดท้ายเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่ระหว่างนั้นแพทย์อาจมีคำวินิจฉัยแยกโรคในใจคือโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งจะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายหรือแม้แต่ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคอันตรายดังที่ว่านั้น เป็นต้น.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และการวินิจฉัยแยกโรค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ฟีน

มอร์ฟีน (Morphine) ที่ขายภายใต้ชื่อการค้าหลายชื่อ เป็นยาระงับปวดชนิดยาเข้าฝิ่น ออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลางเพื่อลดความรู้สึกปวด ใช้ได้ทั้งกับอาการปวดเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง มอร์ฟีนยังมักใช้กับอาการปวดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดและระหว่างการคลอด สามารถให้ทางปาก โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดใต้ผิวหนัง เข้าหลอดเลือดดำ เข้าช่องว่างระหว่างไขสันหลัง หรือทางทวารหนัก ฤทธิ์สูงสุดอยู่ประมาณ 20 นาทีเมื่อให้เข้าหลอดเลือดดำ และ 60 นาทีเมื่อให้ทางปาก ส่วนระยะออกฤทธิ์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 7 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีสูตรออกฤทธิ์ยาว ผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจเกิดได้มีความพยายามหายใจลดและความดันเลือดต่ำ มอร์ฟีนมีศักยะสูงสำหรับการติดยาและการใช้เป็นสารเสพติด หากลดขนาดหลังการใช้ระยะยาว อาจเกิดอาการถอนได้ ผลข้างเคียงทั่วไปมีซึม อาเจียนและท้องผูก แนะนำให้ระวังเมื่อใช้ระหว่างตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะมอร์ฟีนจะมีผลต่อทารก ฟรีดริช แซร์ทัวร์เนอร์เป็นผู้แรกที่แยกมอร์ฟีนระหว่าง..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และมอร์ฟีน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และวิทยาการระบาด · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิโคโดน

ออกซิโคโดน (oxycodone) เป็นสารสังเคราะห์ โอปิออยด์ ที่ทำให้ติดยาสูงมากมันเป็นยาบรรเทาปวด ที่สังเคราะห์ได้จาก ทีบาอีน (thebaine) มันเป็นยาใช้รับประทานที่มีประสิทธิภาพสูงมาก และมักทำตลาดเป็นสูตรผสม เช่น กับแอสไพรินหรือพาราเซตามอล Tylox ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวด และทำออกมาในรูปควบคุมการปลดปล่อย (sustained-release form) ให้ยาออกฤทธิ์ได้ยาวนานผู้ผลิตคือ Purdue Pharma และชื่อการค้าคือ OxyContin และประเภทออกฤทธิ์ทันที (instant-release forms) มีชื่อทางการค้าว่า OxyIR OxyNorm และ rcolone OxyContin มีในรูปยาเม็ดขนาด 10, 20, 40 และ 80 มก. และด้วยกลไกการปลดปล่อยนี้ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นาน 8-12 ชั่วโมง.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และออกซิโคโดน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์

อาร์เธอร์ อิกเนเชียส โคนัน ดอยล์ (Arthur Ignatius Conan Doyle) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ในเมืองเอดินบะระ แคว้นสกอตแลนด์ แห่งสหราชอาณาจักร และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1930 เป็นนักเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย ประวัติศาสตร์ และแพทย์คนสำคัญของสกอตแลนด์ แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด คือนิยายรหัสคดีชุด "เชอร์ล็อก โฮมส์" โคนัน ดอยล์ได้รับการศึกษาจากคณะเยซูอิต ที่วิทยาลัยสโตนีเฮิสต์ และจบการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เมื่อปี ค.ศ. 1881 แล้วประกอบอาชีพแพทย์ตามที่ได้ร่ำเรียนมา ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มงานเขียนเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เรื่องสั้นเรื่องแรกของเขาได้รับตีพิมพ์ในวารสารแชมเบอร์ (Chambers) เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 และเขียนสารคดีเรื่องแรก ในวารสารการแพทย์ "British Medical Journal" ในเดือนเดียวกัน เรื่องที่ไม่ได้ตีพิมพ์เรื่องหนึ่งในช่วงนั้น แสดงถึงการทดลองด้วยคุณลักษณะ 2 อย่าง คือ การใช้ตัวเอกที่มีความรู้ในศาสตร์ลับ และคนเล่าเรื่องที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านใด แต่พัฒนาการของแนวคิดดังกล่าวก้าวถึงจุดสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1886 และสร้างสีสันมีชีวิตชีวามาก จากเรื่อง "A Study in scarlet" เป็นเรื่องของนักสืบชื่อเชอร์ล็อก โฮลมส์ และเพื่อนชื่อหมอวัตสัน ด้วยการสร้างบทสนทนาที่สนุกสนาน น่าติดตาม ทำให้เรื่องของเขาเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง และตีพิมพ์เป็นเรื่องสั้นกว่า 56 เรื่อง และนวนิยาย 4 เรื่อง โดยได้รับแนวคิดจาก "Socrates and his disciples" ของเพลโต และ "Don Quixote" ของเซอร์บันเตส เป็นต้น โคนัน ดอยล์ยังถือว่าเป็นหนี้ความรู้ของเอ็ดก้าร์ แอลลแลน โป (Edgar Allan Poe) บิดาแห่งรหัสคดี แต่การสร้างสรรค์เรื่องของโคนัน ดอยล์ทำให้นวนิยายชุดเชอร์ล็อก โฮมส์มีความแตกต่างจากนิยายสืบสวนทั่วไป และกลายเป็นนิยายรหัสคดียิ่งใหญ่ในชั่วเวลาไม่นาน เขาให้เขียนให้โฮมส์เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1893 เพื่อจบนิยายชุดนี้ แต่ต้องแต่งเรื่องให้โฮมส์กลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของบรรดานักอ่านของเขา เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ได้แก่เรื่องเล่าสมัยกลาง เกี่ยวกับทหารในคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปฏิวัติรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ แต่ดูเหมือนเรื่องสั้นของเขาจะเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากกว่า งานของเขายังมีเรื่องราวการผจญภัยกึ่งนิยายวิทยาศาสตร์ อย่างเรื่องสั้นชุด "Professor Challenger" เป็นต้น โคนัน ดอยล์นั้นได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์เรื่อยมาตั้งแต่จบการศึกษา และเลิกอาชีพนี้ไปทำงานด้านวรรณกรรมเมื่อปี ค.ศ. 1891 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ลอนดอน และต่อมาได้ย้ายไปที่เมืองซัสเซ็กซ์ และเอสเซ็กซ์ เมื่อ ปี ค.ศ. 1902 โคนัน ดอยล์ได้รับพระราชทานยศอัศวิน อันเนื่องมาจากการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะในสงครามแอฟริกา หลังจากบุตรชายของเขาเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ซึ่งเขาได้เขียนประวัติเหตุการณ์ต่าง ๆ เอาไว้) เขาเริ่มสนใจเรื่องธรรมะ ซึ่งมีผลต่อเรื่องสยองขวัญของเขาด้วย โคนัน ดอยล์เสียชีวิตเมื่อปี 1930 อายุได้ 71 ปี ผ่านการสมรส 2 ครั้ง และมีบุตร 5 คน.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และอาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิว ลอรี

มส์ ฮิว แคลัม ลอรี, โอบีอี (James Hugh Calum Laurie; เกิด 11 มิถุนายน ค.ศ. 1959) เป็นนักเขียน นักพากย์ นักแสดงตลก นักแสดง และนักดนตรีชาวอังกฤษ มีชื่อเสียงจากแสดงบทตลกคู่หูกับสตีเฟน ฟราย ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 ในชื่อการแสดงว่า "ฟรายกับลอรี" จากนั้นได้แสดงและพากย์เสียงในภาพยนตร์ครอบครัวหลายเรื่อง เช่น บทตัวประกอบใน 101 ดัลเมเชียน (1996) ของดิสนีย์ และรับบทพ่อใน สจวต ลิตเติล ของโคลัมเบียพิกเจอส์ทั้งสามภาค ในปี 1999, 2002 และ 2006 ลอรีเป็นชาวอังกฤษเชื้อสายสกอต บิดาเป็นนายแพทย์ และนักกีฬาพายเรือโอลิมปิก ส่วนตัวเขาจบจากโรงเรียนอีตัน และปริญญาด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ หลังจากเริ่มต้นชีวิตการแสดงจากบทบาทนักแสดงตลก ฮิว ลอรี เริ่มมีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา จากบทนำในซีรีส์ของฟ็อกซ์บรอดแคสติง เรื่อง เฮาส์ เอ็ม.ดี. ตั้งแต..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และฮิว ลอรี · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรมแพทย์

ริยธรรมแพทย์ (medical ethics) เป็นส่วนหนึ่งของจริยศาสตร์ประยุกต์ (applied ethics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์ (Ethics) ในวิชาปรัชญา (Philosophy) วิชานี้นำเสนอวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานหลักจริยธรรมว่าแพทย์และพยาบาลควรปฏิบัติต่อคนใข้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แต่ละประเทศก็จะมีองค์ความรู้ในสาขานี้แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง องค์ความรู้ที่ตกผลึกในสังคมตะวันตกนั้น ได้แนะนำให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และจริยธรรมแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และประสบการณ์ผิดธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

แมสซีฟแอตแทก

แมสซีฟแอตแทก (Massive Attack) เป็นวงดนตรีทริปฮอปสัญชาติอังกฤษ ก่อตั้งในปี 1988 โดย Robert Del Naja, Grantley Marshall, และ Andrew Vowles ใน Bristol, ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมาชิกทั้งสามเคยร่วมงานด้วยกันมาก่อนในวงชื่อ The Wild Bunch Massive Attack มีอัลบัมแรกชื่อ Blue Lines ในปี 1991 อัลบัมต่อมาคือ Protection ในปี 1994 และ Mezzanine ในปี 1998 เคยร่วมงานกับนักร้องดังเช่น Madonna, Mos Def, Sinéad O'Connor, Horace Andy, มีเพลงฮิต คือ Teardrop.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และแมสซีฟแอตแทก · ดูเพิ่มเติม »

โรคหายาก

รคหายาก หรือ โรคกำพร้า คือโรคที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับประชากร โรคหายากจำนวนมากเป็นโรคทางพันธุกรรม ทำให้ผู้ป่วยโรคเหล่านี้เป็นโรคนั้น ๆ ไปตลอดชีวิต แม้บางรายอาจโชคดีสามารถควบคุมอาการได้ก็ตาม โรคหายากจำนวนมากปรากฏอาการให้เห็นตั้งแต่อายุน้อย เด็กป่วยโรคหายาก 30% เสียชีวิตก่อนอายุครบ 5 ปี โรคที่อาจถือว่าหายากที่สุดคือภาวะพร่องเอนไซม์ไรโบส-5-ฟอสเฟตไอโซเมอเรส โดยมีผู้ป่วยเพียงรายเดียวเท่าที่ปรากฏ ยังไม่มีตัวเลขกำหนดชัดเจนว่าเท่าไหร่จึงเรียกว่าหายาก โรคบางโรคอาจเป็นโรคหายากในบางส่วนของโลก หรือคนบางกลุ่ม แต่อาจพบได้ทั่วไปในอีกกลุ่มหนึ่งก็มี.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และโรคหายาก · ดูเพิ่มเติม »

โรคฮันติงตัน

รคฮันติงตัน (Huntington's disease / chorea / disorder) เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาท ส่งผลต่อการควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ทำให้สติปัญญาเสื่อมถอย และนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ ส่วนใหญ่ปรากฏอาการในช่วงวัยกลางคน เป็นโรคที่เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดของภาวะการเคลื่อนไหวผิดปกติที่เรียกว่าโคเรีย และพบในคนเชื้อชาติยุโรปตะวันตกมากกว่าเอเชียหรือแอฟริกา เกิดจากการกลายพันธุ์ในยีนฮันติงตินยีนหนึ่งในสองยีนในร่างกาย ซึ่งมีการถ่ายทอดลักษณะแบบลักษณะเด่น ดังนั้นทายาทของผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสได้รับถ่ายทอดโรคนี้มา 50% ในบางกรณีที่ทั้งบิดาและมารดามียีนที่เป็นโรคคนละหนึ่งในสองยีน ทายาทจะมีโอกาสเป็นโรค 75% และหากมีบิดาหรือมารดามียีนที่เป็นโรคสองยีน ทายาทก็จะมีโอกาสติดโรค 100% อาการทางกายของโรคฮันติงตันอาจเริ่มปรากฏได้ตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงวัยชรา แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏในช่วงอายุ 35-44 ปี ผู้ป่วยประมาณ 6% เริ่มมีอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 21 ปี โดยมีกลุ่มอาการกล้ามเนื้อเกร็งและเริ่มต้นเคลื่อนไหวลำบาก ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้อาการจะทรุดลงรวดเร็วเกือบทุกคน โรคฮันติงตันที่แสดงอาการเช่นนี้เรียกว่าโรคฮันติงตันวัยเด็ก (juvenile) หรือกล้ามเนื้อเกร็งเคลื่อนไหวลำบาก (akinetic-rigid) หรือชนิดเวสท์ฟาล (Westphal varient) ยีนฮันติงตินเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมสำหรับสร้างโปรตีนชื่อว่าฮันติงติน การกลายพันธุ์ของยีนฮันฮิงตินนี้ทำให้มีการสร้างโปรตีนซึ่งผิดปกติออกมา ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมลงอย่างช้าๆ ในบางบริเวณของสมอง กลไกของการเสื่อมที่เกิดจากการสร้างโปรตีนนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันมีการตรวจทางพันธุกรรมที่สามารถพบการกลายพันธุ์ของยีนนี้ได้ในทุกระยะของการเจริญ รวมถึงก่อนเริ่มมีอาการด้วย ทำให้เป็นประเด็นถกเถียงทางจริยธรรมว่าผู้สงสัยเป็นโรคนั้นควรได้รับการตรวจหายีนก่อโรคเมื่ออายุเท่าไรจึงจะเหมาะสม สิทธิของบิดามารดาในการตรวจหาโรคในบุตร และการรักษาความลับของผลตรวจนั้นๆ มีการพัฒนาการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมเพื่อที่จะให้ข้อมูลและช่วยเหลือผู้ที่ต้องการตรวจหาโรคนี้ และกลายเป็นต้นแบบในการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมสำหรับโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ที่มีลักษณะการถ่ายทอดแบบลักษณะเด่นเช่นเดียวกัน อาการของโรคในผู้ป่วยแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้มาก บางครั้งผู้ป่วยในครอบครัวเดียวกันก็อาจมีอาการแตกต่างกันอย่างมากได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแย่ลงเรื่อยๆ อาการแรกเริ่มโดยทั่วไปจะเป็นอาการของกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและเดินไม่มั่นคง เมื่อโรคดำเนินไปอาการกล้ามเนื้อเสียการประสานงานและการเคลื่อนไหวผิดปกติจะเด่นชัดขึ้น พร้อมๆ กับที่มีกรสูญเสียความสามารถทางจิตใจ สติปัญญา และพฤติกรรม รวมทั้งอาจมีอาการทางจิตเวชได้ด้วย ความสามารถทางกายจะค่อยๆ เสื่อมลงจนในที่สุดการเคลื่อนไหวง่ายๆ ก็อาจกลายเป็นเรื่องยาก ความสามารถทางจิตใจอาจเสื่อมลงจนเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม โรคหัวใจ อุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม จนทำให้อายุขัยสั้นลงอยู่ที่ประมาณ 20 ปีหลังเริ่มมีอาการ ปัจจุบันโรคฮันติงตันยังไม่มีวิธีรักษา ผู้ป่วยระยะท้ายของโรคจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา แต่ระยะหลังเริ่มมีการรักษาใหม่ๆ ที่บรรเทาอาการบางอย่างของโรคได้ มีการก่อตั้งองค์กรช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคฮันติงตันเป็นครั้งแรกในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งองค์กรเหล่านี้จำนวนมากดำเนินการในด้านการให้ข้อมูลและสร้างความตื่นตัวให้กับสังคม ให้ความช่วยเหลือกับผู้ป่วยและครอบครัว และสนับสนุนการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง มูลนิธิโรคที่สืบทอดทางพันธุกรรม (The Hereditary Disease Foundation) เป็นกลุ่มศึกษาวิจัยกลุ่มหนึ่งที่แตกยอดออกมาจากองค์กรให้ความช่วยเหลือที่ก่อตั้งขึ้นเป็นองค์กรแรกๆ ได้มีบทบาทในการค้นหายีนก่อโรคใน..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และโรคฮันติงตัน · ดูเพิ่มเติม »

โรเบิร์ต ฌอน ลีโอนาร์ด

รเบิร์ต ฌอน ลีโอนาร์ด (Robert Sean Leonard) เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และโรเบิร์ต ฌอน ลีโอนาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวีย ไวลด์

อลิเวีย ไวลด์ (Olivia Wilde) นักแสดงและนางแบบแฟชั่นชาวอเมริกัน มีผลงานแสดงภาพยนตร์และซีรีส์ทางโทรทัศน์ เธอเริ่มมีชื่อเสียงหลังจากร่วมแสดงซีรีส์เรื่อง เฮาส์ เอ็ม.ดี. ในฤดูกาลที่ 4 ในปี 2007 จากนั้นได้มีผลงานแสดงภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง เช่น Tron: Legacy (2010), Cowboys & Aliens (2011) และ In Time (2011) ไวลด์มีชื่อจริงว่า โอลิเวีย เจน ค็อกเบิร์น (Olivia Jane Cockburn) เกิดในครอบครัวนักหนังสือพิมพ์และผู้จัดรายการโทรทัศน์ ตระกูลค็อกเบิร์นของเธอสืบเชื้อสายมาจากขุนนางและนักการเมืองไอร์แลนด์และสกอตแลนด์ http://freepages.genealogy.rootsweb.ancestry.com/~battle/celeb/wilde.htmhttp://thepeerage.com/p12406.htm#i124052 เธอเปลี่ยนชื่อในการแสดงเป็น "ไวลด์" ตามชื่อของ "ออสการ์ ไวลด์" นักเขียนชาวไอร.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และโอลิเวีย ไวลด์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรทัศน์ความละเอียดสูง

ทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition television - HDTV) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ ที่มีความละเอียดของภาพ มากกว่าระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (คือระบบเอ็นทีเอสซี, ซีแคม และพาล) โดยสัญญาณดังกล่าวจะแพร่ภาพด้วยระบบโทรทัศน์ดิจิทัล การถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง สามารถให้ความละเอียดสูงสุด 1920x1080 จุดภาพ (Pixel) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า โทรทัศน์ความละเอียดสูงเต็มรูปแบบ (Full HD) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่สัญญาณภาพจะสามารถรองรับ ระบบการออกอากาศสัญญาณโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-Definition Broadcast) สำหรับความละเอียดของภาพ ที่สามารถแสดงบนจอโทรทัศน์ความละเอียดสูง ในปัจจุบันสูงถึง 3840x2160 จุดภาพ หรือที่เรียกว่า Quad HD ซึ่งเกินจากความสามารถที่สัญญาณโทรทัศน์จะส่งได้ แต่ใช้เฉพาะกับการแสดงภาพความละเอียดสูงจากช่องทางอื่น.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และโทรทัศน์ความละเอียดสูง · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์

อร์ล็อก โฮมส์ เป็นนวนิยายสืบสวนหรือรหัสคดี ประพันธ์โดยเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์ นักเขียนและนายแพทย์ชาวสกอต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร เชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นนักสืบชาวลอนดอนผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง เชอร์ล็อก โฮมส์ ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน หรือ หมอวอตสัน ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน Beeton's Christmas Annual ในปี..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และเชอร์ล็อก โฮมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ

อร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ (The Memoirs of Sherlock Holmes) หรือฉบับแปลใหม่ใช้ชื่อว่าชุด ความทรงจำ เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นชุดที่ 2 ของเซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์‎ ประกอบด้วยเรื่องสั้น 11 เรื่องดังนี้.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และเชอร์ล็อก โฮมส์ ชุด จดหมายเหตุ · ดูเพิ่มเติม »

เมทาโดน

มทาโดน (Methadone) เป็นยาสังเคราะห์จำพวกโอปิออยด์ มีฤทธิ์เป็นยาบรรเทาปวด ถูกสังเคราะห์ขึ้นในปี ค.ศ. 1937 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ Max Bockmühl และ Gustav Ehrhart ที่ IG Farben (Hoechst-Am-Main) ซึ่งกำลังวิจัยหายาบรรเทาปวดที่มีความเหมาะสมในระหว่างการผ่าตัดและมีผลข้างเคียงที่ทำให้ติดน้อย เมทาโดนจัดเป็นยาประเภท Schedule II ภายใต้ อนุสัญญาว่าด้วยยาเสพติด (Single Convention on Narcotic Drugs).

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และเมทาโดน · ดูเพิ่มเติม »

เทียร์ดรอป

"เทียร์ดรอป" (Teardrop) เป็นชิงเกิ้ล ของ แมสซีฟ แอทแทค, ใน อัลบั้ม เมซซาไนน์ ออกจำหน่าย ในปี 1998 ร้องโดย เอลิซาเบธ เฟรเซอร์ (Elizabeth Fraser) แห่งวง Cocteau Twins และ ยังเดยได้รับรางวัลจากมิวสิกวีดีโอที่ดีที่สุด Best Video: Massive Attack, "Teardrop".

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และเทียร์ดรอป · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อตายเหตุขาดเลือด

นื้อตายเหตุขาดเลือ.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และเนื้อตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เน็ตฟลิกซ์

น็ตฟลิกซ์ (Netflix) เป็นบริษัทข้ามชาติผู้ให้บริการสื่อแบบส่งต่อเนื่องตามคำขอทางอินเทอร์เน็ตทั่วโลก (ยกเว้นในบางพื้นที่) และผู้ให้บริการเช่ายืมดีวีดีและแผ่นบลูเรย์ทางไปรษณีย์ในสหรัฐอเมริกา บริษัทได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และเน็ตฟลิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

CSI

CSI เป็นตัวอักษรย่อ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และCSI · ดูเพิ่มเติม »

720p

720p เป็นชื่อของความละเอียดในการแสดงผล เลข 720 หมายถึงจำนวนเส้นตามความละเอียดในแนวตั้ง ส่วนตัวอักษร p หมายถึงวิธีการแสดงเส้นแบบ โปรเกรสซีฟ หรือ non-อินเตอร์เลซ 720p ถือเป็นความละเอียดหนึ่งของโทรทัศน์ความละเอียดสูง (HDTV) โดยมีอัตราส่วนแบบ จอกว้างที่ 16:9 ซึ่งมีขนาดจริงที่ 1280×720 หมวดหมู่:อภิธานศัพท์โทรทัศน์ หมวดหมู่:ความละเอียดโทรทัศน์.

ใหม่!!: เฮาส์ เอ็ม.ดี.และ720p · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

House (TV series)House M.D.

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »