โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอซิดแจ๊ซและเฮอร์บี แฮนค็อก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เอซิดแจ๊ซและเฮอร์บี แฮนค็อก

เอซิดแจ๊ซ vs. เฮอร์บี แฮนค็อก

อซิดแจ๊ซ (Acid jazz) หรือในอเมริการู้จักอีกชื่อว่า กรูฟแจ๊ซ เป็นแนวเพลงที่รวมองค์ประกอบของเพลงแจ๊ซ, ฟังก์ และฮิปฮอป ด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จังหวะซ้ำไปซ้ำมา พัฒนาในสหราชอาณาจักรในทศวรรษ 1980 และ 1990 สามารถเห็นได้จากแนวทงของดนตรีของแจ๊สฟังก์ บนดนตรีอีเลกโทรนิก/ป็อป: นักดนตรีแจ๊สฟังก์อย่างเช่น รอย เอเยอร์สและโดนัลด์ เบิร์ด มักได้รับเครดิตว่าเป็นแถวหน้าแห่งวงการเอซิดแจ๊ส เอซิดแจ๊ซยังได้รับอิทธิพลบางส่วนจากดนตรีโซล, ดนตรีเฮาส์ และดิสโก้. อร์เบิร์ต "เฮอร์บี" เจฟฟรีย์ แฮนค็อก นักแต่งเพลงและนักเปียโนแจ๊สชาวอเมริกัน เป็นนักดนตรีที่ผสมผสานดนตรีแบบฟังก์และโซล เข้ากับวิธีการเล่นด้นสดแบบดนตรีแจ๊ส และบลูส์ เฮอร์บี แฮนค็อกเคยเป็นสมาชิกวงควินเท็ทชุดที่สองของไมล์ส เดวิส เป็นนักดนตรีคนแรกๆ ที่นำเครื่องซินธีไซเซอร์มาใช้กับดนตรีแจ๊ส โดยเฉพาะในแนวโพสต์บ็อพ ในปี 1972 แฮนค็อกตั้งวงดนตรีแนวฟังก์เป็นของตัวเอง ชื่อวง "The Headhunters" ต่อมายังมีผลงานร่วมกับอดีตสมาชิกของวงควินเท็ทของไมล์ส คือ เฟรดดี ฮับบาร์ด (ทรัมเปต) เวย์น ชอตเตอร์ (แซกโซโฟน) รอน คาร์เตอร์ (เบส) และโทนี วิลเลียมส์ (กลอง) ผลิตผลงานออกมาอีกสองชุดในปี 1976 และ 1977 ใช้ชื่อวงว่า "V.S.O.P. Quintet" ปัจจุบันแฮนค็อกยังมีผลงานร่วมกับศิลปินรุ่นหลังเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น คานยี เวสต์ จอช โกรแบน นอราห์ โจน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เอซิดแจ๊ซและเฮอร์บี แฮนค็อก

เอซิดแจ๊ซและเฮอร์บี แฮนค็อก มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟังก์ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แจ๊สเปียโน

ฟังก์

ฟังก์ (Funk) เป็นแนวเพลงชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เมื่อนักดนตรีชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้รวมเพลงแนวโซล เข้ากับโซลแจ๊ส และอาร์แอนด์บี ให้มีจังหวะ สามารถเต้นรำได้ เกิดแนวเพลงชนิดใหม่ ฟังก์ได้ลดความเด่นของเมโลดี้และความกลมกลืนลง และนำจังหวะสนุกสนานเพิ่มขึ้นด้วยเบสอิเล็กทรอนิกและกลองให้ชัดขึ้น ไม่เหมือนกับเพลงอาร์แอนด์บีหรือโซล ที่มีการเปลี่ยนคอร์ดหลายครั้ง เพลงฟังก์มักจะมีคอร์ดเดียว ฟังก์ประกอบด้วยจังหวะของเครื่องดนตรีอย่าง กีตาร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า แฮมมอนด์ออร์แกน และกลอง เล่นในจังหวะที่เกาะเกี่ยวกัน วงฟังก์มักจะมีเครื่องเป่าอยู่ด้วย อย่าง แซกโซโฟน ทรัมเป็ต หรือในบางครั้งก็มี ทรอมโบน ผู้มีอิทธิพลต่อดนตรีฟังก์ เช่น เจมส์ บราวน์,สลาย แอนด์ เดอะ แฟมิลี สโตน, จอร์จ คลินตัน แอนด์ พาร์ไลเมน-ฟังก์คาเดลิก,เคอร์ติส เมฟิลด์, เดอะ เมเตอร์ส,เดอะ ฟังก์ บราเตอร์ส, บูทซี คอลลินส์ และ พรินซ์ วงดนตรีที่เป็นที่รู้จักในทศวรรษที่ 1970 อย่าง เอิร์ธ, วินด์แอนด์ไฟร์,ทาวเวอร์ ออฟ พาวเวอร์, คอมโมดอร์ส และคูลแอนด์เดอะแก๊ง ที่โด่งดังหลายๆ วง ก็เล่นเพลงในแนวดิสโก้และโซลด้วย ดนตรีฟังก์ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970 ในช่วงที่ดนตรีดิสโก้โด่งดัง มีความนิยมในการใช้ท่อมแซมเปิ้ลของดนตรีฟังก์ในดนตรีฮิปฮอป และฟังก์ยังมีอิทธิพลต่อแนวดนตรี โก-โก ฟังก์อย่างมีอิทธิพลต่อเพลงแนวนิวเวฟและโพสต์พังก์บ้าง.

ฟังก์และเอซิดแจ๊ซ · ฟังก์และเฮอร์บี แฮนค็อก · ดูเพิ่มเติม »

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์

นตรีอิเล็กทรอนิกส์ (electronic music) เป็นดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วความโดดเด่นของดนตรีสามารถเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีเครื่องไฟฟ้า"The stuff of electronic music is electrically produced or modified sounds.

ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเอซิดแจ๊ซ · ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และเฮอร์บี แฮนค็อก · ดูเพิ่มเติม »

แจ๊ส

แจ๊ส เป็นลักษณะดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิง การโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริก.

เอซิดแจ๊ซและแจ๊ส · เฮอร์บี แฮนค็อกและแจ๊ส · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

เปียโนและเอซิดแจ๊ซ · เปียโนและเฮอร์บี แฮนค็อก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เอซิดแจ๊ซและเฮอร์บี แฮนค็อก

เอซิดแจ๊ซ มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ เฮอร์บี แฮนค็อก มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 10.26% = 4 / (22 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เอซิดแจ๊ซและเฮอร์บี แฮนค็อก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »