โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เหยี่ยวปลาและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เหยี่ยวปลาและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

เหยี่ยวปลา vs. เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

ระวังสับสนกับ: อินทรีกินปลา เหยี่ยวปลา (Fish-eagle, Fishing eagle) เป็นสกุลของนกล่าเหยื่อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ichthyophaga เหยี่ยวปลา มีลักษณะคล้ายกับอินทรีหรือเหยี่ยวในสกุล Haliaeetus หรืออินทรีทะเล แต่มีขนาดเล็กกว่า แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ทั้งหมดพบในทวีปเอเชียในแต่ละภูมิภาค คือ อนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงสุลาเวสี มีลักษณะเด่น คือ ขนส่วนหัวเป็นสีเทา หน้าแข้งขาว เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทามีน้ำหนักน้อยกว่าเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทาถึงครึ่งเท่าตัว. หยี่ยวปลาเล็กหัวเทา (Lesser fish-eagle) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) จัดเป็นเหยี่ยวปลาชนิดหนึ่ง มีขนาดคล้ายกับเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา (I. ichthyaetus) แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมีความยาวประมาณ 51-64 เซนติเมตร และน้ำหนักน้อยกว่ากันถึงเท่าตัว ขนปกคลุมตามลำตัวสีน้ำตาล ท้อง, คอ และโคนหางมีสีขาว หางมีสีน้ำตาล ใบหน้ามีสีเหลือง จะงอยปากสั้นงุ้มหลายแหลมมีสีดำ อุ้งเท้ามีสีน้ำตาล นิ้วยาวแข็งแรง เล็บแหลมคมใช้สำหรับจับและฉีกเหยื่อ มีพฤติกรรมชอบอยู่อาศัยเพียงลำพังตัวเดียวบนยอดไม้สูง โฉบเหยื่อจากผิวน้ำ มีเสียงร้อง โย่ว โย่ว โย่ว ลูกนกที่ยังโตไม่เต็มที่มีขนสีน้ำตาลอ่อน พบกระจายพันธุ์ตามริมแหล่งน้ำขนาดใหญ่ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยจัดเป็นนกประจำถิ่นที่หาได้ยาก โดยจะพบได้เฉพาะบางพื้นที.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เหยี่ยวปลาและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

เหยี่ยวปลาและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกอันดับเหยี่ยวอนุทวีปอินเดียเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี

วงศ์เหยี่ยวและอินทรี (วงศ์: Accipitridae) เป็นหนึ่งในสองวงศ์หลักของอันดับ Accipitriformes (นกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน) นกในวงศ์มีขนาดเล็กถึงใหญ่ มีปากเป็นตะขอแข็งแรง มีสัณฐานต่างกันไปตามอาหารการกิน เหยื่อเป็นตั้งแต่แมลงถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลาง บางชนิดกินซากสัตว์ และสองสามชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร วงศ์เหยี่ยวและอินทรีสามารถพบได้ทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา บางชนิดพบได้บนหมู่เกาะ และบางชนิดเป็นนกอพยพ นกในวงศ์นี้ ประกอบไปด้วย เหยี่ยวนกเขา, อินทรี, เหยี่ยวรุ้ง, เหยี่ยวไคต์ และ แร้งโลกเก่า, เหยี่ยวออสเปรนั้นโดยปกติแล้วจะถูกวางไว้ในอีกวงศ์ (Pandionidae) รวมถึง นกเลขานุการ (Sagittariidae), และ แร้งโลกใหม่ที่ปัจจุบันได้รับการพิจารณาเป็นวงศ์และอันดับที่แยกออกไป ข้อมูลแคริโอไทป์แสดงว่า การวิเคราะห์เหยี่ยวและนกอินทรีจนบัดนี้เป็นกลุ่มจากชาติพันธุ์เดียวที่แยกกันอย่างเด่นชัด แต่ถึงกระนั้นกลุ่มนี้ควรพิจารณาวงศ์ของอันดับเหยี่ยวปีกแหลมหรือหลายอันดับแยกออกมาเป็นของตัวเอง.

วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและเหยี่ยวปลา · วงศ์เหยี่ยวและอินทรีและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และเหยี่ยวปลา · สัตว์และเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและเหยี่ยวปลา · สัตว์มีแกนสันหลังและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

สัตว์ปีกและเหยี่ยวปลา · สัตว์ปีกและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเหยี่ยว

อันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) เป็นอันดับที่ประกอบด้วยนกล่าเหยื่อเวลากลางวันส่วนมาก เช่น เหยี่ยวนกเขา, อินทรี และ แร้ง มีประมาณ 225 ชนิด ในอดีตจะรวมเหยี่ยวในอันดับ Falconiformes แต่ผู้แต่งบางคนแยกมาไว้ในอันดับ Accipitriformes การศึกษา DNA ในปัจจุบันแสดงว่า เหยี่ยวปีกแหลมไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกในอันดับ Accipitriformes แต่ใกล้ชิดกับนกแก้วและนกเกาะคอน ตั้งแต่การแบ่งแยก (แต่ก็ไม่ได้วางเหยี่ยวถัดจากนกแก้วหรือนกเกาะคอน) ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมการการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาใต้แห่งสมาคมนักปักษีวิทยาแห่งอเมริกา (American Ornithologists' Union) (SACC), คณะกรรมการการจัดแบ่งประเภทอเมริกาเหนือ (NACC), และ การประชุมปักษีนานาชาติ (IOC) บนพื้นฐานของ DNA และการจัดประเภทของ NACC และ IOC ได้จัดแร้งโลกใหม่ใน Accipitriformes, ขณะที่ SACC ได้จัดแร้งโลกใหม่อยู่ในอันดับอื่น การจัดวางแร้งโลกใหม่นั้นยังคงเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 1990.

อันดับเหยี่ยวและเหยี่ยวปลา · อันดับเหยี่ยวและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

อนุทวีปอินเดีย

วเทียมของอนุทวีปอินเดีย อนุทวีปอินเดีย เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ, ปากีสถาน, ศรีลังกา รวมทั้งบางส่วนของประเทศเนปาล, ภูฏาน, พม่า, ไทย, และดินแดนบางส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน.

อนุทวีปอินเดียและเหยี่ยวปลา · อนุทวีปอินเดียและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา

หยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา (Grey-headed fish eagle) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) จัดเป็นเหยี่ยวขนาดใหญ่ลำตัวยาวถึง 72 เซนติเมตร มีลักษณะสังเกตได้ง่าย คือ ส่วนหัวสีเทา ลำตัวสีน้ำตาล ส่วนท้องตอนล่างและหางสีขาว เฉพาะที่หางตอนปลายมีแถบสีดำคาด นกอายุน้อยลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีลายขีดน้ำตาลใต้ท้องและลายประสีน้ำตาลบนส่วนหาง จะงอยปากสีน้ำตาลปนเทา แข้งและเท้าสีเทาอ่อน ชอบเกาะอยู่ตามยอดไม้สูง คอยจ้องลงโฉบจับปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ กินเป็นอาหาร สร้างรังอยู่ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ รังอยู่สูง 10-30 เมตรหรืออยู่บนยอดของต้นไม้ วางไข่ครั้งละ 2-3 ฟอง ตัวผู้ขณะบิน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงสุลาเวสี มีพฤติกรรมอาศัยอยู่โดดเดี่ยวตามลำน้ำใหญ่ในป่า, อ่างเก็บน้ำ, นาข้าวตามชายฝั่งทะเล และในป่าพรุที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ หรือน้ำนิ่ง ในประเทศในอดีตพบได้ทั่วทุกภาค แต่ในปัจจุบัน มีรายงานพบในบริเวณเขตรักษาพันธุสัตวปาหวยขาแขง จังหวัดอุทัยธานี และเขตหามลาสัตวปาปาพรุ จังหวัดนราธิวาส และพบจำกัดอยูในเฉพาะบริเวณปาระดับต่ำและอยูในสภาวะใกลสูญพันธุไปจากธรรมชาติแลว ยังไมมีรายงานยืนยันแนชัดวาเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทาจะสามารถใชแหลงน้ำที่มนุษยสรางขึ้นโดยการทำเขื่อนเก็บน้ำเพื่อการชลประทานและการผลิตพลังงานไฟฟาไดหรือไม่ ในประเทศสิงคโปรพบวาทำรังอยูริมอางเก็บน้ำในเดือนมกราคม.

เหยี่ยวปลาและเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา · เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทาและเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

เหยี่ยวปลาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เหยี่ยวปลาและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา

เหยี่ยวปลา มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 30.77% = 8 / (15 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เหยี่ยวปลาและเหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »