เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและเสียงทุ้มแหลมผสม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและเสียงทุ้มแหลมผสม

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี vs. เสียงทุ้มแหลมผสม

ลื่นเสียงด้านล่างไม่มีความถี่มูลฐานที่ 100 เฮิรตซ์ และไม่มีฮาร์มอนิกที่สองคือ 200 เฮิรตซ์ แต่ภาวะเป็นคาบก็ยังเหมือนกับคลื่นด้านบนที่มีฮาร์มอนิกครบสมบูรณ์ เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี (missing fundamental, suppressed fundamental, phantom fundamental) เป็นเสียงฮาร์มอนิกที่ไม่มีจริง ๆ แต่จะได้ยินเมื่อเสียง overtone คือเสียงฮาร์มอนิกที่มีความถี่สูงกว่าความถี่มูลฐานนั้น แสดงนัยว่า มีเสียง เพราะสมองไม่ได้รับรู้เสียงว่าสูงต่ำเท่าไรโดยขึ้นกับความถี่มูลฐานของมันเท่านั้น แต่จะขึ้นกับภาวะเป็นคาบที่เสียงฮาร์มอนิกระดับที่สูงกว่าแสดงนัยด้วย เราจึงอาจได้ยินเสียงที่ความถี่มูลฐาน (โดยอาจมีน้ำเสียงต่างจากเสียงจริง) แม้เสียงที่ความถี่นั้นจะไม่มีจริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเสียงโน้ตดนตรีที่ไม่ใช้เสียงทุ้มแหลมบริสุทธิ์มีเสียงสูงต่ำที่ 100 เฮิรตซ์ มันก็จะมีองค์ประกอบความถี่ซึ่งเป็นพหุคูณของเสียงสูงต่ำนั้น ๆ เช่น 100, 200, 300, 400, 500.... Play เล่นทั้ง 3 แถว เสียงทุ้มแหลมผสม หรือ เสียงทุ้มแหลมรวม (combination tone, resultant tone, subjective tone) เป็นปรากฏการณ์ทางเสียง-จิต ที่ได้ยินเสียงทุ้มแหลมเพิ่มขึ้นที่ไม่มีจริง พร้อมกับได้ยินเสียงทุ้มแหลมสองเสียงที่มีจริง ๆ นักไวโอลิน จูเซปเป ตาร์ตีนี (Giuseppe Tartini) ได้เครดิตว่าค้นพบปรากฏการณ์นี้ถึงจะไม่ใช่คนแรก ดังนั้น เสียงที่ไม่มีจริงนี้จึงเรียกเป็นภาษาอังกฤษ/ภาษาตะวันตกอีกอย่างหนึ่งว่า Tartini tones (เสียงทุ้มแหลมตาร์ตีนี) มีเสียงทุ้มแหลมรวมสองแบบ คือ เสียงทุ้มแหลมเป็นผลบวก (sum tone) ที่สามารถหาความถี่โดยรวมความถี่ของเสียงที่มีจริง ๆ และเสียงทุ้มแหลมเป็นผลลบ (difference tone) โดยเป็นความต่างระหว่างเสียงที่มีจริง ๆ "เสียงทุ้มแหลมรวมจะได้ยินก็เมื่อเล่นเสียงทุ้มแหลมบริสุทธิ์ (คือเสียงทุ้มแหลมที่เกิดจากคลื่นเสียงฮาร์มอนิกธรรมดาที่ไม่มีเสียงแบบ overtones) สองระดับที่ต่างกันโดยความถี่ประมาณ 50 คาบ/นาที (เฮิรตซ์) หรือยิ่งกว่านั้น และเล่นด้วยกันให้ดังพอ" เสียงทุ้มแหลมรวมยังสามารถสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมสัญญาณเสียงในวงจรที่มีความเพี้ยนแบบไม่ใช่เชิงเส้น (นอนลินเนียร์) เช่น เครื่องขยายเสียงที่ขริบยอดสัญญาณหรือกล้ำสัญญาณแบบ Ring modulation.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและเสียงทุ้มแหลมผสม

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและเสียงทุ้มแหลมผสม มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ออร์แกนความถี่มูลฐานโน้ตดนตรีไวโอลินเฮิรตซ์

ออร์แกน

ออร์แกน (Organ, กรีก: ὄργανον ออร์กานอน) เป็นเครื่องดนตรีสากล ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์ หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว หมวดหมู่:เครื่องลม หมวดหมู่:ออร์แกน.

ออร์แกนและเสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี · ออร์แกนและเสียงทุ้มแหลมผสม · ดูเพิ่มเติม »

ความถี่มูลฐาน

การสั่นและคลื่นนิ่งในสาย (เช่นในสายเครื่องดนตรี) เป็นความถี่มูลฐาน (บนสุด) และเสียง overtone 6 ความถี่แรก ความถี่มูลฐาน (fundamental frequency) ซึ่งในภาษาอังกฤษอาจเรียกอย่างโดด ๆ ว่า "fundamental" นิยามว่าเป็นความถี่ต่ำสุดของรูปคลื่นแบบเป็นคาบ ในดนตรี ความถี่มูลฐานก็คือเสียงสูงต่ำของโน้ตดนตรีที่ได้ยินโดยเป็นคลื่นรูปไซน์ (partial) ที่ความถี่ต่ำสุดซึ่งได้ยิน ถ้าดูการซ้อนทับของคลื่นรูปไซน์ (เช่น อนุกรมฟูรีเย) ความถี่มูลฐานก็คือคลื่นรูปไซน์ความถี่ต่ำสุดในผลรวม ในบางกรณี ความถี่มูลฐานจะเขียนเป็นเครื่องหมาย f0 (หรือ FF) ซึ่งระบุความถี่ต่ำสุดจาก 0 ในบางกรณี ก็จะเขียนเป็นเครื่องหมาย f1 ซึ่งหมายถึงฮาร์มอนิกแรก (ฮาร์มอนิกที่สองก็จะเป็น f2.

ความถี่มูลฐานและเสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี · ความถี่มูลฐานและเสียงทุ้มแหลมผสม · ดูเพิ่มเติม »

โน้ตดนตรี

น้ต ''เอ'' หรือ ''ลา'' โน้ต ในทางดนตรี มีความหมายได้สองทาง หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง และความยาวของเสียง หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี.

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและโน้ตดนตรี · เสียงทุ้มแหลมผสมและโน้ตดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ไวโอลิน

วโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตร.

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและไวโอลิน · เสียงทุ้มแหลมผสมและไวโอลิน · ดูเพิ่มเติม »

เฮิรตซ์

ลื่นไซน์ในความถี่ที่แตกต่างกัน เฮิรตซ์ (อ่านว่า เฮิด) (Hertz ย่อว่า Hz) เป็นหน่วย SI ของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ:1 Hz.

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและเฮิรตซ์ · เสียงทุ้มแหลมผสมและเฮิรตซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและเสียงทุ้มแหลมผสม

เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มี มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสียงทุ้มแหลมผสม มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 12.20% = 5 / (26 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เสียงความถี่มูลฐานที่ไม่มีและเสียงทุ้มแหลมผสม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: