โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

เศรษฐศาสตร์มหภาค vs. เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

รษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะกระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้างงาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น. รษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (Keynesian Economics) คือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มีพื้นฐานจากความคิดของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ทฤษฎีนี้กล่าวว่าภาครัฐสามารถรักษาอัตราเจริญเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีบทบาทที่สำคัญ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เกิดขึ้นจากการหาคำตอบให้กับปัญหาความล้มเหลวของตลาดเสรี ซึ่งกล่าวว่าตลาดและภาคเอกชนจะดำเนินการได้ดีกว่าหากภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซง ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ปรากฏครั้งแรกใน The General Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1936 ในทฤษฎีของเคนส์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคของบุคคลหรือบริษัทอาจรวมกันออกมาเป็นผลในระดับมหภาคที่ต่ำกว่ากำลังการผลิตที่แท้จริง นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ส่วนมากเชื่อใน กฎของเซย์ ซึ่งกล่าวว่าอุปทานสร้างอุปสงค์ ดังนั้นจะไม่มีทางเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด แต่เคนส์แย้งว่า อุปสงค์รวม อาจจะมีไม่เพียงพอในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ จึงนำไปสู่อัตราการว่างงานที่สูงและการสูญเสียผลผลิต นโยบายของภาครัฐสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอุปสงค์รวม ซึ่งเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดการว่างงาน และช่วยแก้ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคของเคนส์นั้นเป็นผลสะท้อนจากการปัญหาการว่างงานอย่างรุนแรงในประเทศอังกฤษในทศวรรษที่ 1920 และ สหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1930 เคนส์เสนอวิธีการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยการกระตุ้น (จูงใจให้ลงทุน) ผ่านการใช้สองวิธีรวมกัน คือ การลดอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นการอัดฉีดรายได้และส่งผลให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการผลิตและการลงทุนมากขึ้น จนทำให้เกิดรายได้และการใช้จ่ายมากขึ้น และส่งผลวนเวียนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีค่าหลายเท่าของการลงทุนครั้งแรก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืด

วะเงินฝืด (deflation) เป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดต่ำลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากอุปสงค์รวมมีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าและบริการทำให้ผู้ผลิตต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้น้อย ผลที่ตามมาจะก่อให้เกิดผลเลวร้ายต่อเศรษฐกิจเพราะการจ้างงานจะลดลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินฝืด อำนาจซื้อของบุคคลทั่วไปจะสูงขึ้นด้วย เงินฝืด เป็นภาวะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ มีปัจจัยการเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเพิ่มขึ้นของอุปทาน การหดตัวของอุปสงค์ การลดลงของต้นทุนจากปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับเพิ่มภาษี และการที่ปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น.

ภาวะเงินฝืดและเศรษฐศาสตร์มหภาค · ภาวะเงินฝืดและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

เศรษฐศาสตร์มหภาค มี 5 ความสัมพันธ์ขณะที่ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 10.00% = 1 / (5 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »