เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เรือรบแนวเส้นประจัญบานและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เรือรบแนวเส้นประจัญบานและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

เรือรบแนวเส้นประจัญบาน vs. โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

รือรบแนวเส้นประจัญบาน หรือ เรือแนวเส้นประจัญบาน (ship of the line; le bâtiment de ligne) เป็นเรือรบประเภทหนึ่งที่นิยมต่อขึ้นใช้ ระหว่างศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้ในยุทธวิธีทางน้ำที่เรียกกันว่า แนวเส้นประจัญบาน (line of battle) โดยกองเรือของแต่ละฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์กัน จะแปรขบวนเรือให้เป็นแถวยาว เพื่อใช้อานุภาพการยิงวอลเลย์จากทางกราบเรืออย่างพร้อมเพรียงกันให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งต่างไปจากการประจัญบานทางน้ำในยุคก่อนๆ ซึ่งจะใช้ยุทธวิธีโจมตีโดยนำเรือเข้าประชิดเรือข้าศึก หรือไม่ก็ใช้เรือพุ่งเข้ากระแทก (ramming) เนื่องจากผลแพ้ชนะในยุทธวิธีนี้มักจะขึ้นอยู่กับว่าใครมีเรือระวางขับน้ำมากกว่า และบรรทุกปืนใหญ่อานุภาพสูงได้มากกว่า ความเป็นมหาอำนาจทางทะเลในสมัยนั้นจึงวัดกันว่าใครมีเรือแนวเส้นประจัญบานมากลำกว่า และใหญ่กว่า แบบดีไซน์ของเรือแนวเส้นประจัญบาน ค่อยๆพัฒนาขึ้นตลอดศตวรรษที่ 17 โดยมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ การใช้เสากระโดงเรือ 3 เสา และมีท้ายเรือที่ลดต่ำลง โครงสร้างยกระดับที่ท้ายเรือ (อย่างเรือในยุคบุกเบิกการเดินทะเล) หายไป ความยาวมาตรฐานของเรือประเภทนี้อยู่ที่ประมาณ 200 ฟุต มีระวางขับน้ำระหว่าง 1,200 ถึง 2,000 ตัน ใช้ลูกเรือประมาณ 600 ถึง 800 คน อาวุธประจำเรือถูกเรียงเป็นสามชั้น ปืนใหญ่ของหน่วยยิง (battery) แถวล่างมีอำนาจการยิงมากที่สุด โดยอาจมีปืนใหญ่ที่ยิงลูกปืนใหญ่ขนาด 32-48 ปอนด์ ถึงสามสิบกระบอก; หน่วยยิงแถวกลางมีปืนจำนวนเท่ากันแต่ยิงกระสุนขนาดเล็กกว่า (ประมาณ 24 ปอนด์); แถวบนสุดมีปืนยิงกระสุนขนาด 12 ปอนด์ 30 กระบอก หรือมากกว่านั้น ราชนาวีอังกฤษจัดเรือแนวเส้นประจัญบานออกเป็น 3 ระดับตามจำนวนปืนที่สามาถบรรทุกได้ เรือ "ชั้นเอก" (first-rate) กับชั้นโท จะมีแถวยิงสามแถวเหมือนกัน แต่เรือชั้นเอกจะมีปืนมากกระบอกกว่า คือ ประมาณ 100 ถึง 110 กระบอก ส่วนเรือชั้นตรีจะมีแถวยิงเพียงสองแถว ทำให้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เรือปืนสองแถว (Two-deckers) เรือธงชั้นเอกของกองเรือ อย่างเช่น เรือหลวง''วิกตอรี'' (HMS Victory) เรือธงของราชนาวีที่ได้รับชัยชนะในยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ มีปืนประมาณหนึ่งร้อยกระบอก และอาจใช้ลูกเรือมากถึง 850 นาย นับแต่เครื่องจักรไอน้ำ เข้ามามีบทบาทในการเดินเรือ ยุทธนาวีทางน้ำก็พึ่งพาแรงลมและใบเรือน้อยลง หันมาใช้การขับเคลื่อนด้วยกังหันหรือใบพัดแทน แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเทคโนโลยีคือการเกิดขึ้นของ เรือรบหุ้มเกราะ ไอรอนแคลด ในราวปี 1859 และมีบทบาทสำคัญในการยุทธนาวีในสงครามกลางเมืองอเมริกา และในสงครามโบะชิงของญี่ปุ่น หลังจากนั้นมาเรือแนวเส้นประจัญบานก็เสื่อมความนิยมลงอย่างรวดเร็ว เรือรบหุ้มเกราะวิวัฒนาการต่อจนกลายเป็น เรือประจัญบาน ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นชื่อเรียกเรือรบขนาดใหญ่ที่ลดรูปมาจากคำว่า เรือแนวเส้นประจัญบานนั่นเอง. ลเรือโท โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 ดยุกแห่งบรงเต (Horatio Nelson, 1st Viscount Nelson, 1st Duke of Bronté) เป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ เป็นหนึ่งในชาวอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ ผู้มากด้วยกลยุทธ์ ชั้นเชิงสมัยใหม่ นำมาซึ่งชัยชนะของฝ่ายอังกฤษในหลายยุทธนาวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามนโปเลียน ตลอดการรับราชการทหารของลอร์ดเนลสัน เขาได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้หลายครั้ง ครั้งหนึ่งเขาสูญเสียดวงตาข้างหนึ่งไปที่คอร์ซิกา และสูญเสียแขนข้างหนึ่งไปในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ (Santa Cruz de Tenerife) เขาเสียชีวิตขณะบัญชาการรบในยุทธการที่ตราฟัลการ์ ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะอันงดงามของอังกฤษ เนลสันเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในนอร์ฟอล์กของอังกฤษ และเข้ารับราชการในราชนาวีตามกัปตันเมาริช ซัคลิง (Maurice Suckling) ผู้เป็นลุง เนลสันเติบโตในราชการอย่างรวดเร็วจนได้ทำงานกับเหล่าผู้บัญชาการระดับสูง ก่อนที่ตัวเขาเองจะได้เป็นผู้บัญชาการเรือครั้งแรกในปี 1778 ความกล้าหาญตลอดจนการคิดค้นกลยุทธ์ต่างๆทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ภายหลังสงครามปฏิวัติอเมริกาซึ่งทำให้อังกฤษตกต่ำ เขาก็ต้องประสบกับความเจ็บป่วยตลอดจนถูกให้เกษียณจากราชการ เมื่อสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสปะทุขึ้น เขาก็ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยคุมกองเรืออยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เขาเข้าต่อสู้ในศึกย่อยๆที่ชายฝั่งเมืองตูลงตลอดจนศึกสำคัญอย่างการเข้ายึดครองคอร์ซิกา และเป็นผู้ประสานงานทางการทูตกับบรรดาแคว้นในอิตาลี เขาโดดเด่นขึ้นมาอย่างมากจากชัยชนะในยุทธนาวีที่แหลมเซาวีแซงต์ (São Vicente) ของโปรตุเกสในปี 1797 ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็ทำศึกในยุทธนาวีที่ซันตาครูซเดเตเนรีเฟ ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเขาและตัวเองได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการสูญเสียแขนขวา เขาจำต้องกลับอังกฤษเพื่อพักรักษาตัว และในปีต่อมา เขาก็ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอยเหนือฝรั่งเศสในยุทธนาวีที่แม่น้ำไนล์ และยังคงประจำการอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อคอยสนับสนุนราชอาณาจักรเนเปิลส์เพื่อต้านทานการรุกรานโดยฝรั่งเศสของนโปเลียน ต่อมาในปี 1801 เขาถูกโอนย้ายไปคุมกองเรือที่ทะเลบอลติกและได้รับชัยชนะเหนือเดนมาร์ก-นอร์เวย์ในยุทธนาวีที่โคเปนเฮเกน ต่อมาเขาบัญชาการการปิดล้อมกองเรือผสมของฝรั่งเศสและสเปนที่ตูลง แต่กองเรือผสมก็สามารถฝ่าออกไปได้ เขาไล่ตามกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปนไปจนถึงหมู่เกาะเวสต์อินดีสในทวีปอเมริกา แต่ก็ไม่สามารถล่อกองเรือผสมให้ออกมาทำศึกได้ หลังจากนำกองเรือกลับมายังอังกฤษ เขาก็ไปปิดล้อมเมืองกาดิซในปี 1805 แต่เมื่อกองเรือฝรั่งเศส-สเปนเคลื่อนกำลังออกจากท่า กองเรือของเนลสันก็ไล่ตามไปจนถึงแหลมตราฟัลการ์ และเกิดเป็นยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์ ซึ่งถือเป็นชัยชนะทางทะเลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ความทะเยอทะยานในการพิชิตอังกฤษของนโปเลียนได้แตกสลาย อย่างไรก็ตาม ระหว่างการปะทะ เนลสันที่กำลังบัญชาการรบอยู่บนดาดฟ้าเรือหลวงวิกตอรี ก็ถูกกระสุนปืนจากพลแม่นปืนของฝรั่งเศสยิงเข้าที่บริเวณหน้าอกและเสียชีวิต ร่างของเขาถูกนำตัวกลับไปยังอังกฤษ มีการจัดรัฐพิธีศพให้อย่างสมเกียรติและยิ่งใหญ่ มีการสร้างอนุสาวรีย์ของเขาและนำขึ้นประดับไว้บนเสากลางตั้งจัตุรัสทราฟัลการ์ของกรุงลอนดอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เรือรบแนวเส้นประจัญบานและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

เรือรบแนวเส้นประจัญบานและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์เรือหลวงวิกตอรี

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์

ทธนาวีที่ตราฟัลการ์ (Battle of Trafalgar, 21 ตุลาคม ค.ศ. 1805) เป็นการกระทำยุทธนาวีระหว่าง ราชนาวีอังกฤษกับกองเรือผสมของกองทัพเรือฝรั่งเศสร่วมกับกองทัพเรือสเปน ในช่วงสงครามประสานมิตรครั้งที่สาม (สิงหาคม-ธันวาคม 1805) ใน สงครามนโปเลียน (1803–1815) กองเรือราชนาวีอังกฤษที่มีเรือรบแนวเส้นประจัญบาน 27 ลำภายใต้บัญชาการของพลเรือโทลอร์ดเนลสัน สามารถมีชนะเหนือกองเรือผสมฝรั่งเศส-สเปน 33 ลำ ภายใต้บัญชาการของ พลเรือโท ปีแยร์-ชาร์ล วีลเนิฟว์ แห่งกองทัพเรือฝรั่งเศส ที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของสเปน ทางตะวันตกของแหลมตราฟัลการ์ ซึ่งกองเรือฝรั่งเศสสูญเสียเรือรบไปถึง 22 ลำโดยที่ไม่สามารรถจมเรือรบอังกฤษแม้แต่ลำเดียว ชัยชนะที่งดงามของอังกฤษครั้งนี้เป็นการยืนยันฐานะของราชนาวีอังกฤษที่ได้สั่งสมมาตลอดศตวรรษที่ 18 ในฐานะกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที.

ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์และเรือรบแนวเส้นประจัญบาน · ยุทธนาวีที่ตราฟัลการ์และโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เรือหลวงวิกตอรี

รือหลวงวิกตอรี (HMS Victory) เป็นเรือแนวเส้นประจัญบานชั้นเอก ติดตั้งปืน 104 กระบอก ของราชนาวีอังกฤษ สั่งให้ต่อขึ้นเมื่อ ปี..

เรือรบแนวเส้นประจัญบานและเรือหลวงวิกตอรี · เรือหลวงวิกตอรีและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เรือรบแนวเส้นประจัญบานและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1

เรือรบแนวเส้นประจัญบาน มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ โฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.41% = 2 / (6 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เรือรบแนวเส้นประจัญบานและโฮราชิโอ เนลสัน ไวเคานต์เนลสันที่ 1 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: