ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เยื่อหุ้มสมองและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
เยื่อหุ้มสมองและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สมองน้ำหล่อสมองไขสันหลังไขสันหลังเยื่อหุ้มสมองอักเสบเยื่ออะแร็กนอยด์เยื่อเพียเนื้องอก
สมอง
มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.
สมองและเยื่อหุ้มสมอง · สมองและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ·
น้ำหล่อสมองไขสันหลัง
ภาพเอ็มอาร์ไอแสดงจังหวะการไหลของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง น้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) เป็นสารน้ำชนิดหนึ่งในร่างกาย ใสไม่มีสี หล่ออยู่ในช่องใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางและระบบโพรงสมอง ภายนอกและภายในสมองและไขสันหลัง อาจกล่าวได้ว่าเนื้อสมองและไขสันหลัง "ลอย" อยู่ในน้ำหล่อสมองไขสันหลังนี้ หมวดหมู่:สารน้ำในร่างกาย หมวดหมู่:ระบบประสาทกลาง หมวดหมู่:ประสาทวิทยา.
น้ำหล่อสมองไขสันหลังและเยื่อหุ้มสมอง · น้ำหล่อสมองไขสันหลังและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ·
ไขสันหลัง
ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).
เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง · เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางและไขสันหลัง ·
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมอง(และไขสันหลัง)อักเสบ (meningitis) เป็นภาวะที่มีการอักเสบของเยื่อที่อยู่รอบสมองและไขสันหลังซึ่งเรียกรวมว่าเยื่อหุ้มสมอง การอักเสบนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือจุลชีพอื่นๆ และบางครั้งเกิดจากยาบางชนิด เป็นภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเป็นการอักเสบที่อยู่ใกล้เนื้อสมองและไขสันหลัง ดังนั้นจึงเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการที่พบบ่อยได้แก่อาการปวดศีรษะและคอแข็งเกร็งพร้อมกับมีไข้ สับสนหรือซึมลง อาเจียน ทนแสงจ้าหรือเสียงดังไม่ได้ บางครั้งอาจมีเพียงอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการไม่สบายตัวหรือง่วงซึมได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก หากมีผื่นร่วมด้วยอาจบ่งชี้ถึงสาเหตุเฉพาะบางอย่างของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย''เมนิงโกคอคคัส'' ซึ่งมีผื่นที่มีลักษณะเฉพาะ แพทย์อาจเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัยหรือแยกโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำโดยใช้เข็มเจาะเข้าช่องสันหลังเพื่อนำเอาน้ำหล่อสมองไขสันหลังออกมาตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยทั่วไปทำโดยให้ยาปฏิชีวนะอย่างทันท่วงที บางครั้งอาจมีการใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่รุนแรง เช่น หูหนวก โรคลมชัก โพรงสมองคั่งน้ำ และสติปัญญาเสื่อมถ่อย โดยเฉพาะหากรักษาไม่ทันท่วงที เยื่อหุ้มสมองอักเสบบางชนิดอาจสามารถป้องกันได้ด้วยการให้วัคซีน เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อเมนิงโกคอคคัส, ''ฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา'' ชนิดบี, ''นิวโมคอคคัส'' หรือไวรัสคางทูม เป็นต้น.
เยื่อหุ้มสมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ · เยื่อหุ้มสมองอักเสบและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ·
เยื่ออะแร็กนอยด์
ื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หรือ เยื่ออะแร็กนอยด์ (Arachnoid mater) เป็นหนึ่งในชั้นของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง อยู่ระหว่างชั้นเยื่อดูรา (dura mater) ที่อยู่ด้านบนและเยื่อเพีย (pia mater) ที่อยู่ด้านล่างลึกลงไป โดยมีช่องว่างระหว่างเยื่อเพียและเยื่ออะแร็กนอยด์เรียกว่า ช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) เยื่ออะแร็กนอยด์มีลักษณะบาง คล้ายกับใยแมงมุม ยึดติดกับด้านในของเยื่อดูรา หุ้มรอบสมองและไขสันหลังแต่ไม่ได้แนบไปกับร่องหรือรอยพับของสมอง ข้างใต้เยื่อนี้ลงไปจะมีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) อยู่ภายในช่องว่างใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid space) ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นใยละเอียดของเยื่ออะแร็กนอยด์ยื่นลงไปยึดกับเยื่อเพีย ส่วนของเยื่ออะแร็กนอยด์ที่คลุมรอบสมองและไขสันหลังเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า arachnoidea encephali และ arachnoidea spinalis ตามลำดับ ในบางครั้งเราอาจเรียกเยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อเพียรวมเป็นโครงสร้างเดียวกัน เรียกว่า "เลปโตเมนิงซ์" (leptomeninges; มาจากรากศัพท์ภาษากรีก Lepto- แปลว่า บาง) และเรียกชั้นเยื่อดูราว่า "แพคีเมนิงซ์" (pachymeninx).
เยื่อหุ้มสมองและเยื่ออะแร็กนอยด์ · เยื่ออะแร็กนอยด์และเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ·
เยื่อเพีย
ื่อหุ้มสมองชั้นใน หรือ เยื่อเพีย (pia mater; มาจากภาษาละตินซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับอีกที แปลว่า "มารดาที่อ่อนโยน") เป็นชั้นเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังที่อยู่ในสุด เยื่อเพียมีลักษณะบาง คล้ายกับตาข่าย หุ้มอยู่บนผิวทั้งหมดของสมอง และคลุมแนบไปบนร่องของคอร์เท็กซ์ของสมอง และมีส่วนเชื่อมกับอีเพนไดมา (ependyma) ซึ่งบุรอบโพรงสมองเพื่อสร้างเป็นคอรอยด์ เพล็กซัส (choroid plexus) ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ในไขสันหลัง เยื่อเพียจะติดกับเยื่อดูรา (dura mater) โดยโครงสร้างที่เรียกว่า เดนติคูลาร์ ลิกาเมนท์ (denticular ligaments) ผ่านเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid membrane) เยื่อเพียเจริญมาจากเซลล์นิวรัล เครสท์ (neural crest).
เยื่อหุ้มสมองและเยื่อเพีย · เยื่อเพียและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ·
เนื้องอก
นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".
เนื้องอกและเยื่อหุ้มสมอง · เนื้องอกและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ เยื่อหุ้มสมองและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง เยื่อหุ้มสมองและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
การเปรียบเทียบระหว่าง เยื่อหุ้มสมองและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
เยื่อหุ้มสมอง มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง มี 92 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 6.09% = 7 / (23 + 92)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เยื่อหุ้มสมองและเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: