เมาค้างและเมแทบอลิซึม
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง เมาค้างและเมแทบอลิซึม
เมาค้าง vs. เมแทบอลิซึม
มาค้าง (hangover, veisalgia) เป็นประสบการณ์ฤทธิ์ทางสรีรวิทยาและจิตวิทยาอันไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ให้หลังการบริโภคเอทานอล ซึ่งอยู่ได้นานถึงกว่า 24 ชั่วโมง อาการตรงแบบของเมาค้างอาจรวมปวดศีรษะ ง่วงซึม ปัญหาสมาธิ ปากแห้ง เวียนศีรษะ ล้า กระเพาะอาหารและลำไส้อึดอัด (gastrointestinal distress) ไม่หิว เหงื่อออก คลื่นไส้ การตอบสนองไวเกิน (hyper-excitability) และวิตกกังวล แม้ยังไม่เข้าใจสาเหตุของเมาค้างดีนัก แต่ทราบหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งรวมการคั่งของอะเซทัลดีไฮด์ การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันและเมแทบอลิซึมของกลูโคส ภาวะขาดน้ำ ภาวะกระเดียดกรดเหตุเมแทบอลิก (metabolic acidosis) การสังเคราะห์พรอสตาแกลนดินที่ถูกรบกวน ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีที่เพิ่มขึ้น การขยายหลอดเลือด การอดนอนและทุพโภชนาการ ฤทธิ์ของสารเติมแต่งหรือผลิตผลพลอยได้ที่จำเพาะต่อเครื่องดื่ม เช่น คอนจีเนอร์ (congener) ยังมีบทบาทสำคัญ ตรงแบบอาการเกิดหลังฤทธิ์เป็นพิษของแอลกอฮอล์เริ่มหมด โดยทั่วไปคือเช้าหลังคืนที่ดื่มหนัก แม้มีการเสนอการเยียวยาที่เป็นไปได้จำนวนมาก แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่เสนอว่าการเยียวยาใดมีประสิทธิภาพป้องกันหรือรักษาเมาค้างแอลกอฮอล์ การเลี่ยงแอลกอฮอล์หรือการดื่มปานกลางเป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการเลี่ยงเมาค้าง ผลพวงทางสังคม-เศรษฐกิจและความเสี่ยงทางสุขภาพของเมาค้างแอลกอฮอล์มีการขาดงาน สมรรถภาพอาชีพบกพร่อง ประสิทธิภาพลดลงและความสำเร็จทางวิชาการที่เลว เมาค้างยังอาจทำให้กิจกรรมประจำวันที่อาจเป็นอันตรายมีความเสี่ยง เช่น การขับรถหรือการปฏิบัติงานเครื่องจักรหนัก. กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เมาค้างและเมแทบอลิซึม
เมาค้างและเมแทบอลิซึม มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลูโคส
กลูโคส (อังกฤษ: Glucose; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร.
กลูโคสและเมาค้าง · กลูโคสและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ เมาค้างและเมแทบอลิซึม มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง เมาค้างและเมแทบอลิซึม
การเปรียบเทียบระหว่าง เมาค้างและเมแทบอลิซึม
เมาค้าง มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ เมแทบอลิซึม มี 152 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.60% = 1 / (15 + 152)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เมาค้างและเมแทบอลิซึม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: