เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เมย์เฮมและแบล็กเมทัล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เมย์เฮมและแบล็กเมทัล

เมย์เฮม vs. แบล็กเมทัล

มย์เฮม เป็นวงแบล็กเมทัลจากออสโล, นอร์เวย์ ก่อตั้งในปี 1984 มีสมาขิกดั้งเดิมคือเอสไตน์ ยูโรนิมัส อาร์เซธ์ (Øystein 'Euronymous' Aarseth) มือกีตาร์, ยอร์น 'เนโครบัดเชอร์' สตับเบรัด (Jørn 'Necrobutcher' Stubberud) มือเบส และเคอร์วิน แมนไฮม์ (Kjetil "Manheim") มือกลอง โดยในการอัดเสียงแรกของวง "เดธครัช" (Deathcrush) มีนักร้องนำชื่อ สเวน เอลิค คริสเตียนเซน (Sven Erik Kristiansen)http://www.metal-archives.com/albums/Mayhem/Deathcrush/252 ก่อนจะเปลี่ยนนักร้องนำใหม่เป็นเปอร์ "เดด" โฮลิน (Per "Dead" Ohlin) ที่ทำหน้าที่ทั้งแต่งเพลงและร้องนำ โดยในปัจจุบันนักร้องนำคือ อัตติลา ไซฮาร์ (Attila Csihar) ที่ผันตัวจากวิศวกรไฟฟ้าและครูสอนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ มาเป็นนักร้องนำ โดยเขายังเคยทำงานร่วมกับ "เดด" ในอัลบั้ม De Mysteriis Dom Sathanas อีกด้วย วงเริ่มจากการอัดเทปเสียงในรูปของ EP โดยปราศจากค่ายเพลง จนภายหลัง "ยูโรนิมัส" ไปตั้งค่ายเพลงเอง คือ เดธไลค์ ไซเลินซ์ โปรดักชันส์ (Deathlike Silence Productions) เมย์แฮมสะสมชื่อเสียงจากการแสดงสดที่เล่นในรูปแบบใต้ดิน และการสร้างภาพลักษณ์ฉาวโฉดต่อกระแสแฟนเพลงด้วยการเผาโบสถ์ไม้นอร์เวย์หลายแห่ง รวมถึงการใช้ความรุนแรงกับสมาชิกในวง โดย"ยูโรนิมัส" มือกีตาร์ได้ถูกวาร์จ วิเคอร์เนสมือเบสคนใหม่และสมาชิกวงเบอร์ซัมฆาตรกรรม ในปี 1993 ก่อนออกอัลบั้มแรกของเมย์แฮมเล็กน้อย และการฆ่าตัวตายของ "เดด" ด้วยการใช้ลูกซองยิงเข้าที่ศีรษะของตน ภาพการตายของเขาถูกถ่ายโดย "ยูโรนิมัส" แล้วนำไปทำเป็นปกอัลบั้มคอนเสิร์ต Dawn of the Black Hearts ในปี 1991 เมย์แฮมได้ออกอัลบั้มแรก De Mysteriis Dom Sathanas ในปี 1994 ซึ่งได้รับการพิจารณาให้เป็นอัลบั้มที่มีอิทธิพลต่อวงการแบล็กเมทัลมากที่สุด โดยมีซิงเกิล Freezing Moon เป็นเพลงหลักของอัลบั้มที่ได้รับการโหวตให้เป็นหนึ่งในเพลงแบล็กเมทัลที่ดีที่สุด ในปี 2007 เมย์แฮมได้รับรางวัลจาก Spellemannprisen ของนอร์เวย์ ในอัลบั้มที่ 4 Ordo Ad Chao สำหรับอัลบั้มเมทัลที่ดีที. การเพนท์หน้าสีดำและริมฝีปาก สัญลักษณ์สำคัญของดนตรีแนวแบล็คเมทัล แบล็กเมทัล (Black metal) เป็นหนึ่งในแนวเพลงย่อยของแนวเพลงเฮฟวีเมทัล ในช่วงทศวรรษที่ 80 - 90 มีลักษณะเด่นคือการเล่นจังหวะเร็ว โดยเฉพาะการริฟฟ์กีตาร์ที่ผิดเพี้ยนไม่เป็นจังหวะแน่นอน การทำเสียงแหบเบาเหมือนเสียงภูตผีปีศาจ การเพนท์หน้าสีดำบริเวณขอบตาและริมฝีปาก เนื้อเพลงส่วนใหญ่จะอิงไปถึงการต่อต้านศาสนาคริสต์ การรังเกลียดมนุษย์ ลัทธินิยมภูตผีปีศาจ โดยเฉพาะลัทธิซาตาน จนถูกขนานนามว่าเป็น "ซาตานิกเมทัล" (Satanic metal) แบล็กเมทัล ถือกำเนิดในช่วงทศวรรษที่ 80 ในประเทศแถบยุโรป แนวเพลงนี้ได้รับองค์ประกอบหลักมาจากแนวแทรชเมทัล และ เดธเมทัล วงที่ถือเป็นผู้บุกเบิกแนวนี้ในยุคแรกเช่น เวนอม, บาโธรี, เมอร์ซีฟูลเฟต, เฮลแฮมเมอร์ และเชลติกฟรอสต์ และในยุคที่สอง (ศตวรรษ 1990) ซึ่งส่วนใหญ่ถือกำเนิดในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะในประเทศนอร์เวย์ วงซึ่งนับว่าเป็นแนวแบล็กเมทัลอย่างเต็มรูปแบบ เช่น เมย์เฮม, ดาร์กโทรน, อิมมอร์ทัล และเอมเพอเรอร์ คำว่า "แบล็กเมทัล" มาจากชื่ออัลบั้มของ เวนอม ปี 1982 จนถือว่าเป็นการนำคำว่าแบล็กเมทัลมาใช้เป็นครั้งแรกอีกด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เมย์เฮมและแบล็กเมทัล

เมย์เฮมและแบล็กเมทัล มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ประเทศนอร์เวย์เบอร์ซัม

ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ (Norway; Norge; Noreg) มีชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway; Kongeriket Norge; Kongeriket Noreg) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ในยุโรปเหนือ ส่วนตะวันตกของคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีอาณาเขตจรดประเทศสวีเดน ฟินแลนด์ และรัสเซีย และมีอาณาเขตทางทะเลจรดมหาสมุทรแอตแลนติก ใกล้กับประเทศเดนมาร์กและสหราชอาณาจักร นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวและเป็นที่ตั้งของฟยอร์ดที่มีชื่อเสียง ดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ใกล้เคียง ได้แก่ สฟาลบาร์และยานไมเอน ต่างก็อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของนอร์เวย์และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร ในขณะที่เกาะบูแวในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และเกาะปีเตอร์ที่ 1 ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้นั้น มีฐานะเป็นอาณานิคมของนอร์เวย์เท่านั้น ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร นอกจากนี้ นอร์เวย์ยังอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนดรอนนิงมอดแลนด์ในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิจัยอีกด้ว.

ประเทศนอร์เวย์และเมย์เฮม · ประเทศนอร์เวย์และแบล็กเมทัล · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ซัม

ลโก้เบอร์ซัมในปี 1991 โลโก้เบอร์ซัมในปี 2010 ผลงานจิตรกรรมของ Theodor Kittelsen ซึ่งถูกนำไปเป็นหน้าปกอัลบั้ม Hvis lyset tar oss เบอร์ซัม (Burzum) เป็นชื่อโปรเจคเพลงแนวแบล็กเมทัล โดยวาร์จ วิเคอร์เนส (Varg Vikernes) โปรเจกต์ของเข้าเริ่มต้นในปี 1991 ณ เมืองแบร์เกน ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งต่อมากลายเป็นเอกลักษณ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อวงการเพลงแบล็คเมทัลในประเทศนอร์เวย์ (Norwegian black metal) ในปี 1992 และ 1993 เบอร์ซัมได้ออกอัลบั้มมาทั้งหมด 4 ชุด และวิเคอร์เนส ก็ได้ถูกจำกุมในข้อหาก่อเป็นผู้ขับเคลื่นอำนาจฝั่งขวา (Axis power) เผาโบสถ์ไม้คาทอลิกสี่แห่ง โดยเขายังถ่ายรูปโบสถ์ที่เหลือแต่ซากมาออกเป็นหน้าปกอีพี "อาสค์" (Aske) ในปี 1993 และฆาตรกรรมนายเอสไตน์ ยูโรนิมัส อาร์เซธ์ (Øystein 'Euronymous' Aarseth) มือกีตาร์เลื่องชื่อของวงเมย์เฮม ที่เคยเล่นกีตาร์ร่วมบันทึกเสียงให้อัลบั้มเบอร์ซัมให้ด้วย ในระหว่างติดคุก 21 ปีวิเคอร์เนสไม่หยุดทำเพลงระหว่างอยู่ในเรือนจำ มิหนำซ้ายังได้ออกอัลบั้มอีกสองชุด คำว่า "เบอร์ซัม" ยืมมาจากภาษาของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายแฟนตาซีเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งแปลว่า "ความมืด" แนวดนตรีของเบอร์ซัม อยู่บนพื้นฐานของแนว Norwegian black metal ซึ่งมีเอกลักษณ์คือ ริฟกีตาร์ที่เร็วและดุดัน เสียงร้องที่แผดแห้งเหมือนเสียงจากนรก และกระเดื่องกลองที่รัวดั่งฝีเท้าของม้าป่า เพลงส่วนใหญ่ของเบอร์ซัมนั้นจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับตำนานชาวไวกิงค์โบราณซึ่งมีพฤติกรรมและความเชื่อขัดต่อศาสนาคริสต์อย่างสิ้นเชิง ซึ่งวิเคอร์เนส หลงใหลมาก เนื้อเพลงทั้งหมดถูกถ่ายทอดออกมาในภาษาไวกิงค์ (Norse language) และภาษา Orc (ชนเผ่านักรบที่โหดร้าย นำร่างสุนัขป่าและหมีมาคลุมร่างกายระหว่างการเข้าโจมตี อาศัยอยู่ในป่าประเทศสก๊อตแลนด์) การอัดเสียงเกือบทั้งหมดทำโดยวิเคอร์เนสเพียงคนเดียว ซึ่งเขาไม่มีทั้งกีตาร์ เบส หรือกลอง แต่เขาใช้เครื่องสังเคราะห์เสียงแต่งทำนองประกอบเอาเอง เบอร์ซัมไม่เคยเล่นคอนเสิร์ต และตัววิเคอร์เนสเองก็ไม่เคยคิดที่จะลงเล่นคอนเสิร์ตด้ว.

เบอร์ซัมและเมย์เฮม · เบอร์ซัมและแบล็กเมทัล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เมย์เฮมและแบล็กเมทัล

เมย์เฮม มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ แบล็กเมทัล มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 6.90% = 2 / (9 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เมย์เฮมและแบล็กเมทัล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: