โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เมดูซาและไครเซออร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เมดูซาและไครเซออร์

เมดูซา vs. ไครเซออร์

ในเทพปกรณัมกรีก เมดูซาเป็นสัตว์ประหลาด กอร์กอน ทั่วไปอธิบายว่ามีใบหน้าหญิงมนุษย์น่ากลัวและมีงูพิษเป็น ๆ แทนผม การจ้องเธอโดยตรงจะเปลี่ยนผู้ดูให้เป็นหิน แหล่งข้อมูลส่วนมากอธิบายว่าเธอเป็นธิดาของฟอร์ซีสและซีโต เมดูซาถูกวีรบุรุษเพอร์ซิอัสตัดหัว จากนั้นเขาใช้ศีรษะเธอเป็นอาวุธ กระทั่งเขาถวายแด่เทพีอะธีนาซึ่งนำไปติดบนโล่ของพระนาง ในสมัยโบราณคลาสสิก ภาพศีรษะเมดูซาปรากฏในอุปกรณ์ขับไล่ความชั่วร้าย เรียก กอร์กะเนียน. อร์ฟู ประเทศกรีซ ไครเซออร์ (Χρυσάωρ, Khrusaōr; Chrysaor; แปลว่า "ผู้มีอาวุธทองคำ") เป็นบุคคลในเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของโพไซดอน (Poseidon) เจ้าสมุทร กับเมดูซา (Medusa) อสุรกาย และเป็นพี่ชายของเพกาซัส (Pegasus) ม้ามีปีก ไครเซออร์มักปรากฏรูปโฉมเป็นบุรุษหนุ่ม สำหรับกำเนิดของไครเซออร์นั้น ย้อนไปถึงคราวที่เมดูซาเป็นหญิงรูปงาม แต่ได้ดูหมิ่นอะทีนา (Athena) เทวีแห่งการยุทธ์ ด้วยการสังวาสกับโพเซดอนในวิหารอะทีนา เทวีจึงสาปนางเป็นอสุรกายมีผมเป็นอสรพิษ บางตำราว่า อะทีนายังสาปให้นางมีปีกสีทองงอกออกมาจากศีรษะด้วย ครั้นเพอร์ซิอัส (Perseus) วีรบุรุษ มาตัดศีรษะเมดูซาไปถวายพระเจ้าพอลีเดกทิส (Polydectes) แห่งเกาะเซรีฟอส (Serifos) โลหิตเมดูซาไหลร่วงลงมหาสมุทร และไครเซออร์กับม้าเพกาซัสก็ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทรนั้น บางตำราว่า ทันทีที่เพอร์ซิอัสตัดศีรษะเมดูซา โลหิตกระเด็นจากคอนางออกมาเป็นไครเซออร์กับเพกาซัส เทพปกรณัมว่า ต่อมา ไครเซออร์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินไอเบียเรีย (Iberia) ฮีเซียด (Hesiod) กวีกรีก บรรยายเกี่ยวกับไครเซออร์ไว้ในงานเขียนเรื่อง ทีโอโกนี (Theogony) ว่า "ไครเซออร์สมรสกับคอลลีร์โรอี (Callirrhoe) ธิดาโอซีอานัส (Oceanus) ผู้รุ่งเรือง แล้วให้กำเนิดเกเรียน (geryon) ยักษ์สามหัว ทว่า เกเรียนถูกปลิดชีพด้วยกำลังอันมากล้นของเฮราคลิส (Heracles) ท่ามกลางฝูงโคกระบือที่เกเรียนพาไปเดินทอดน่อง ณ เกาะสมุทรล้อมเอรีทีส (Erytheis) ในวันที่เฮราคลิสขับไล่วัวควายเหล่านั้นเข้าสู่เมืองทีรินซ์ (Tiryns) อันศักดิ์สิทธิ์ ข้ามผ่านกระแสชลโอเคียนอส (Okeanos) และประหารออร์ทอส (Orthos) กับโคบาลยูรีเชียน (Eurytion) ณ ชายทุ่งที่รกทึบเหนือทะเลโอเชียนอส (Oceanos) อันเลื่องชื่อ".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เมดูซาและไครเซออร์

เมดูซาและไครเซออร์ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อะธีนาโพไซดอนเพกาซัสเพอร์ซิอัส

อะธีนา

ในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก อะธีนา (Athena) หรือ อะธีนี (Athene) หรือ แพลลัสอธีนา/อะธีนี (Pallas Athena/Athene) เป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งปัญญา ความกล้า แรงบันดาลใจ อารยธรรม กฎหมายและความยุติธรรม การสงครามโดยชอบ คณิตศาสตร์ ความแข็งแกร่ง ยุทธศาสตร์ ศิลปะ งานฝีมือและทักษะ ภาคโรมัน คือ มิเนอร์วา มีการพรรณนาอะธีนาว่าทรงเป็นพระสหายร่วมทางผู้เฉลียวฉลาดของวีรบุรุษและเทพเจ้าอุปถัมภ์การผจญภัยของวีรบุรุษ พระนางทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์ผู้อุปถัมภ์กรุงเอเธนส์ ชาวเอเธนส์ตั้งวิหารพาร์เธนอนบนอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ (อะธีนาพาร์ธีนอส) เพื่อถวายเกียรติแด่พระนางDeacy, Susan, and Alexandra Villing.

อะธีนาและเมดูซา · อะธีนาและไครเซออร์ · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

เมดูซาและโพไซดอน · โพไซดอนและไครเซออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพกาซัส

รูปสลักนูนต่ำ เบลเลโรฟอนปราบไคเมร่า ด้วยการขี่เพกาซัส เพกาซัส (Pegasus; กรีก: Πήγασος; เปกาซอส หมายถึง "แข็งแรง") เป็นสัตว์ในเทพปกรณัมกรีก เป็นม้าเพศผู้รูปร่างกำยำพ่วงพีสีขาวบริสุทธิ์ และมีปีกอันกว้างสง่างามเหมือนนกพิราบ เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ซึ่งถูกวีรบุรุษเพอร์ซิอุสฟันคอ ในขณะที่เลือดจากลำคอพุ่งกระเซ็นนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง เพกาซัสเป็นพี่ของคริสซาออร์ ซึ่งก็เกิดมาหลังจากนั้น ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลย ตอนที่เพกาซัสเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่เพกาซัสวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงามที่เหล่ากวีและศิลปินชื่นชมกันนักหนา คือ น้ำพุฮิปโปครีนี ที่เป็นที่รู้จักในวรรณคดีกรีกโบราณ ว่ากันว่า หากใครได้ดื่มน้ำพุนี้แล้ว โอกาสที่จะเป็นกวีเอกอยู่แค่เอื้อม นอกจากนี้แล้วเพกาซัสยังทำหน้าที่คอยเก็บสายฟ้าให้ซุส เพกาซัสโดนปราบโดยเด็กหนุ่มรูปงามชาวเมืองโครินทร์ คือ เบลเลอโรฟอน เบลเลอโรฟอนเป็นโอรสของกษัตริย์เมืองโครินท์ คือ กลอคุส ซึ่งต่อมาเบลเลอโรฟอนได้ขี่เพกาซัสปราบสัตว์ประหลาดร้ายไคเมร.

เพกาซัสและเมดูซา · เพกาซัสและไครเซออร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์ซิอัส

อร์ซิอัสกับศีรษะเมดูซา งานปั้นของอันโตนิโอ คาโนวา ในปี ค.ศ. 1801 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน เพอร์ซิอัส (Perseus; Περσεύς) เป็นบุคคลในตำนานเทพปกรณัมกรีก เป็นบุตรของเทพซูสกับหญิงชาวมนุษย์ชื่อ นางแดนาอี ตามตำนานกรีกเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งแคว้นไมซีนี และเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์เพอร์เซอิด เขาเป็นวีรบุรุษคนแรกในปกรณัมกรีกที่มีชื่อเสียงจากการปราบสัตว์ประหลาดโบราณมากมาย ในยุครุ่งเรืองเทพโอลิมปัสทั้ง 12 องค์ ชาวกรีกเชื่อกันว่าเพอร์ซิอัสเป็นผู้ก่อตั้งเมืองไมซีนีขึ้น ณ จุดที่ได้สังหารอะคริซิอัส พระเจ้าตาของตนโดยอุบัติเหตุ นอกจากนี้เพอร์ซิอัสยังเป็นผู้สังหารเมดูซาและเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าหญิงแอนดรอมิดาจากเคตัส (Cetus) ปีศาจทะเลซึ่งถูกส่งมาโดยเทพโปเซดอน เพื่อทำลายเอธิโอเปีย ชื่อของเพอร์ซิอัสยังขาดข้อสรุปทางนิรุกติศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อโบราณก่อนภาษากรีกจะเข้ามา แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่าอาจจะมีรากมาจากคำกริยากรีกว่า "πέρθειν" (perthein) แปลว่า ปล้นสะดม หรือ เข้าตีเมือง.

เพอร์ซิอัสและเมดูซา · เพอร์ซิอัสและไครเซออร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เมดูซาและไครเซออร์

เมดูซา มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไครเซออร์ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 20.00% = 4 / (10 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เมดูซาและไครเซออร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »