เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เมฆออร์ตและแถบไคเปอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เมฆออร์ตและแถบไคเปอร์

เมฆออร์ต vs. แถบไคเปอร์

กราฟิกของนาซ่า แสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพกราฟิกแสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางของเมฆออร์ตเปรียบเทียบกับขนาดของระบบสุริยะ เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 50,000 - 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ ไกลออกไปจากขอบระบบสุริยะรอบนอก ตำแหน่งของเมฆออร์ตอยู่ในระยะความห่าง 1 ใน 4 ของดาวแคระแดงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ในกลุ่มเมฆออร์ตนี้มีวัตถุพ้นดาวเนปจูน อย่างดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน.. กราฟิกแสดงแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต ภาพแสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ยานนิวฮอไรซันส์ ที่ใช้ในการสำรวจแถบไคเปอร์ และดาวพลูโต แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เมฆออร์ตและแถบไคเปอร์

เมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วัตถุพ้นดาวเนปจูนดวงอาทิตย์ดาวเคราะห์แคระ

วัตถุพ้นดาวเนปจูน

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object; TNO) คือวัตถุในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะที่ไกลกว่าวงโคจรเฉลี่ยของดาวเนปจูน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แถบไคเปอร์ แถบจานกระจาย และเมฆออร์ต วัตถุพ้นดาวเนปจูนชิ้นแรกที่มีการค้นพบ คือ ดาวพลูโต เมื่อปี..

วัตถุพ้นดาวเนปจูนและเมฆออร์ต · วัตถุพ้นดาวเนปจูนและแถบไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ดวงอาทิตย์และเมฆออร์ต · ดวงอาทิตย์และแถบไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์แคระ

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ดาวเคราะห์แคระ เป็นดาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายดาวเคราะห์ ตามการจำแนกชนิดดาวเคราะห์ที่เสนอโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union: IAU) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549.

ดาวเคราะห์แคระและเมฆออร์ต · ดาวเคราะห์แคระและแถบไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เมฆออร์ตและแถบไคเปอร์

เมฆออร์ต มี 16 ความสัมพันธ์ขณะที่ แถบไคเปอร์ มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 10.71% = 3 / (16 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: