โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เพนโทบาร์บิทอล

ดัชนี เพนโทบาร์บิทอล

นโทบาร์บิทอล (Pentobarbital ใช้โดย INN, AAN, BAN, USAN) หรือ เพนโตบาร์บิโทน (Pentobarbitone ชื่อเดิมใช้โดย AAN และ BAN) เป็นบาร์บิเชอริตที่ออกฤทธิ์สั้น เพนโทบาร์บิทอลสามารถอยู่ในรูปแบบของกรดอิสระหรือเกลือของธาติ เช่น โซเดียมและแคลเซียม กรดอิสระละลายเพียงเล็กน้อยในน้ำและเอทานอล เนมบูทอล (Nembutal) เป็นยี่ห้อหนึ่งของยาชนิดนี้ ชื่อตั้งโดย John S. Lundy ผู้เริ่มใช้ใน..

24 ความสัมพันธ์: บาร์บิเชอริตชื่อยาที่รับอนุญาตแบบอเมริกาชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของออสเตรเลียชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของกรมราชทัณฑ์กลุ่มอาการเรย์การุณยฆาตการฉีดเข้าหลอดเลือดดำภาวะชักต่อเนื่องรัฐออริกอนสมองขาดเลือดเฉพาะที่สหรัฐสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)ตับแคลเซียมโทษประหารชีวิตโคม่าโซเดียมไตเฟนิโทอินเกลือ (เคมี)เอทานอลเดอะนิวยอร์กไทมส์

บาร์บิเชอริต

ันธะทางเคมีของกรดบาร์บิชัวริก ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของยากลุ่มบาร์บิเชอริต บาร์บิเชอริต (barbiturate) เป็นยาที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง มักใช้เป็นยาระงับประสาทหรือเป็นยาสลบ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาคลายกังวล, ยานอนหลับ หรือยาคลายกล้ามเนื้อ การใช้บาร์บิเชอริตอาจทำให้เกิดการติดยาทั้งทางกายและทางจิตใจ ดังนั้นแพทย์จึงมักใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนแทนการใช้บาร์บิเชอริต ซึ่งยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนมีความเสี่ยงด้านการใช้ยาเกินขนาดและการติดยาต่ำกว่าบาร์บิเชอริต อย่างไรก็ตาม บาร์บิเชอริตยังคงถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อหลายวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการใช้เป็นยาสลบหลัก, รักษาโรคลมชัก, รักษาไมเกรนเฉียบพลัน ตลอดจนใช้เพื่อทำการุณยฆาตหรือโทษประหารชีวิต.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและบาร์บิเชอริต · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อยาที่รับอนุญาตแบบอเมริกา

ื่อยาที่รับอนุญาตแบบอเมริกา (United States Approved Name หรือ USAN) เป็นชื่อทางการหรือชื่อสามัญที่ใช้เรียก สารประกอบเคมี ที่ใช้ทางเภสัชกรรม ที่มีอยู่ใน ตำรับยา ของ สหรัฐอเมริกา (USP).

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและชื่อยาที่รับอนุญาตแบบอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของออสเตรเลีย

ื่อยาที่ได้รับอนุญาตของออสเตรเลีย (Australian Approved Name หรือ AAN) เป็นชื่อเรียกหมวดเภสัชภัณฑ์ที่จัดตั้งโดย TGA เพื่อใช้ในประเทศออสเตรเลีย เมื่อปล..

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษ

ื่อยาที่รับอนุญาตของอังกฤษ (British Approved Name หรือ BAN) เป็นชื่อเรียกหมวดเภสัชภัณฑ์ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางการอังกฤษแล้วตามที่ประกาศกำหนดในตำรับยาแห่งอังกฤษ (British Pharmacopoeia) ทั้งนี้ ชื่อนี้มิได้ใช้แต่เฉพาะในประเทศอังกฤษเท่านั้น แต่ยังทั่วสากลโลกโดยเฉพาะในประเทศสมาชิกเครือจักร.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและชื่อยาที่ได้รับอนุญาตของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ

ื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ (International Nonproprietary Name หรือ INN หรือเรียกอีกอย่างว่า rINN ย่อจาก recommended International Nonproprietary Name) ชื่อเป็นทางการที่ไม่มีเจ้าของ หรือชื่อสามัญทั่วไปที่ใช้เรียก สารประกอบเคมี ทาง เภสัชกรรม ที่กำหนดโดย องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เนื่องจากชื่อตำรับยาที่มีเจ้าของมีจำนวนมากมายแต่มีตัวยาสำคัญตัวเดียวกันซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย INN เป็นชื่อที่ทำให้ง่ายและสะดวกในการสื่อสารโดยการกำหนดชื่อมาตรฐานสำหรับสารแต่ละตัว คล้ายกับชื่อชื่อ IUPAC ในวิชา เคมี อย่างไรก็ดีบางครั้งชื่อเหล่านี้อาจยาวและไม่สะดวกที่จะใช้ องค์การอนามัยโลก ได้ตั้งชื่อ INN ไว้ในภาษาต่างๆ คือ อังกฤษ ลาติน ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน ส่วนภาษาอาหรับและจีนจะเป็นอีกเล่มหนึ่ง.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของ · ดูเพิ่มเติม »

กรมราชทัณฑ์

ทัณฑสถาน หญิงเชียงใหม่ กรมราชทัณฑ์ (Department of Corrections) เป็นหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่ดูแลเรือนจำและนักโทษ จากคดีต่าง.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและกรมราชทัณฑ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเรย์

กลุ่มอาการเรย์ (Reye syndrome) เป็นโรคสมองที่ดำเนินโรครวดเร็วโรคหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียน บุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน ชัก หมดสติได้ มักพบกับภาวะเป็นพิษต่อตับแต่ไม่ค่อยพบภาวะดีซ่าน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 20-40% และในกลุ่มที่ไม่เสียชีวิตนั้นหนึ่งในสามจะมีภาวะสมองเสียหายรุนแรงได้ สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่พบว่าเกิดขึ้นไม่นานหลังผู้ป่วยหายจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ผู้ป่วยโรคนี้ 90% พบว่ามีประวัติเป็นผู้ป่วยเด็กที่ใช้ยาแอสไพริน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือโรคในกลุ่มความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย การตรวจเลือดอาจพบมีระดับแอมโมเนียในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ ผลตรวจระยะเวลาโปรทรอมบินนานกว่าปกติ และมักมีตับโตร่วมด้วย การป้องกันทำได้โดยการงดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็ก หลังจากมีคำแนะนำให้งดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็กพบว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์ลดลงกว่า 90% การวินิจฉัยให้ได้ในระยะแรกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาดีขึ้น การรักษามุ่งเน้นไปที่การรักษาประคับประคอง (supportive treatment) กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะสมองบวมการให้แมนนิทอลอาจช่วยลดภาวะสมองบวมได้ ผู้ที่บรรยายภาวะนี้ไว้เป็นครั้งแรกคือดักลาส เรย์ โดยได้บรรยายภาวะนี้ไว้เมื่อ..

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและกลุ่มอาการเรย์ · ดูเพิ่มเติม »

การุณยฆาต

การุณยฆาตราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและการุณยฆาต · ดูเพิ่มเติม »

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะชักต่อเนื่อง

ภาวะชักต่อเนื่องหรือโรคลมชักชนิดต่อเนื่องคือภาวะที่เกิดอาการชักติดต่อกันนานเกิน 30 นาที หรือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการชักสั้นๆ แต่หลายครั้ง ติดต่อกันนานเกิน 30 นาที โดยระหว่างการชักแต่ละครั้งผู้ป่วยไม่ได้ฟื้นคืนสติเป็นปกติ หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หมวดหมู่:โรคลมชัก หมวดหมู่:กุมารเวชศาสตร์.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและภาวะชักต่อเนื่อง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐออริกอน

รัฐออริกอน (Oregon) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ ภูมิประเทศในรัฐมีความหลากหลายตั้งแต่ ป่า และ ชายฝั่งทะเล รวมถึงที่ราบลุ่มและทะเลทราย เมืองหลวงของรัฐคือ เซเลม และเมืองสำคัญในรัฐได้แก่ พอร์ตแลนด์ ยูจีน และ ออริกอนซิตี มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยรัฐพอร์ตแลนด์ หรือ Portland State University มหาวิทยาลัยออริกอน ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ พอร์ตแลนด์ เทรลเบรเซอรส์ ในปี 2551 ออริกอนมีประชากรประมาณ 3,747,455 คน ชื่อรัฐออริกอน ออกเสียงตามคนในรัฐออริกอนว่า /ˈɔr.ə.g(ə)n/ (ออริกัน) โดยชื่อมักจะถูกออกเสียงเป็น /ˈɔr.ə.ˌgɑn/ (ออริกอน) โดยในรัฐจะเห็นชื่อรัฐเขียนเป็น "Orygun" เพื่อบอกให้นักท่องเที่ยวรู้คำอ่านของชื่อรัฐอย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและรัฐออริกอน · ดูเพิ่มเติม »

สมองขาดเลือดเฉพาะที่

มองขาดเลือดเฉพาะที่ (brain ischemia) หรือสมองใหญ่ขาดเลือดเฉพาะที่ (cerebral ischemia) หรือหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉพาะที่ (cerebrovascular ischemia) เป็นภาวะซึ่งมีเลือดไหลไปสมองไม่เพียงพอต่อความต้องการทางเมแทบอลิซึม ทำให้มีปริมาณออกซิเจนลดลงหรือภาวะสมองใหญ่มีออกซิเจนน้อย แล้วทำให้เนื้อเยื่อสมองตายหรือเนื้อสมองใหญ่ตายเหตุขาดเลือด / โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉพาะที่ เป็นชนิดย่อยของโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับอาการเลือดออกใต้อะแร็กนอยด์ (subarachnoid hemorrhage) และอาการเลือดออกในสมองใหญ่ การขาดเลือดเฉพาะที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อเมแทบอลิซึมของสมอง ลดอัตราเมแทบอลิซึมและวิกฤตพลังงาน มีการขาดเลือดเฉพาะที่สองชนิด คือ การขาดเลือดเฉพาะที่จุดรวม (focal ischemia) ซึ่งจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งของสมอง กับการขาดเลือดเฉพาะที่ทั่วไป (global ischemia) ซึ่งครอบคลุมเนื้อเยื่อสมองบริเวณกว้าง อาการหลักเกี่ยวข้องกับการมองเห็น การขยับกายและการพูดบกพร่อง สาเหตุหลักของสมองขาดเลือดเฉพาะที่มีตั้งแต่ภาวะโลหิตจางเซลล์รูปเคียว (sickle cell anemia) ไปจนถึงความบกพร่องแต่กำเนิดของหัวใจ อาการของสมองขาดเลือดเฉพาะที่อาจมีหมดสติ ตาบอด มีปัญหาการประสานงาน และความอ่อนเปลี้ยในกาย ผลอื่นที่อาจเกิดจากสมองขาดเลือดเฉพาะที่ คือ โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจหยุดเต้น และความเสียหายต่อสมองแบบผันกลับไม่ได้ การขัดขวางการไหลของเลือดไปสมองเกิน 10 วินาทีทำให้หมดสติ และการขัดขวางการไหลเกินสองสามนาทีโดยทั่วไปทำให้สมองเสียหายแบบผันกลับไม่ได้ ใน..

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและสมองขาดเลือดเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)

อาคาร 50 ของเอ็นไอเอช สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) หรือ เอ็นไอเอช (NIH) เป็นหน่วยงานวิจัยในสหรัฐอเมริการับผิดชอบในด้านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ โดยมีหน่วยงานย่อย 27 สถาบัน หน่วยงานก่อตั้งในปี พ.ศ. 2430 ภายใต้ชื่อ Laboratory of Hygiene ได้เติบโตและเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2473 สถาบันปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองบาเธสดา ในรัฐแมริแลน.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและตับ · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและแคลเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โทษประหารชีวิต

ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและโทษประหารชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

โคม่า

ม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับโคม่าจากการใช้ยา (induced coma) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วนเรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม (RAS) ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ เปลือกสมองเป็นส่วนของเนื้อเทาที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง ไตวายขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและโคม่า · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและโซเดียม · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและไต · ดูเพิ่มเติม »

เฟนิโทอิน

ฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดแลนติน (Dilantin)Drugs.com Page accessed Feb 27, 2016 เป็นยากันชัก ใช้สำหรับป้องกันอาการโคลนัสและการเป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ไม่สามารถใช้ป้องกันอาหารชักเหม่อได้ มีแบบรับประทานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะชักต่อเนื่อง แพทย์อาจจ่ายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนเพื่อบรรเทาอาการชัก หากยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาเฟนิโทอินโดยการฉีด ซึ่งจะออกฤทธิภายใน 30 นาทีและจะคงฤทธิได้นานถึง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ เฟนิโทอินยังถูกใช้เพื่อรักษาอารหัวใจเต้นผิดจังหวะและความเจ็บปวดทางประสาทอีกด้วย ทั้งนี้ แพทย์อาจวัดความดันเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม ผลข้างเคียงของการใช้เฟนิโทอิน ได้แก่ อาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ไม่อยากอาหาร, มองไม่ชัด, ขนขึ้นเร็ว และเหงือกบวม ผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ ง่วงนอน, ทำร้ายตนเอง, โรคตับ, ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อย, ความดันโลหิตต่ำ และผิวลอก ยาประเภทนี้ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในทารก แต่ปลอดภัยหากจะใช้ระหว่างภาวะให้นมบุตร เฟนิโทอินถูกสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและเฟนิโทอิน · ดูเพิ่มเติม »

เกลือ (เคมี)

ผลึกเกลือ เมื่อส่องขยาย (เฮไลต์/เกลือแกง) ในทางเคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยแคตไอออนและแอนไอออน ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสุทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) หรือไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) ก็ได้ เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและเกลือ (เคมี) · ดูเพิ่มเติม »

เอทานอล

อทานอล (ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีทรูท และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น.

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและเอทานอล · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: เพนโทบาร์บิทอลและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NembutalPentobarbitalPentobarbitoneเพนโตบาร์บิโทนเนมบูทอล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »