โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เนื้อเยื่อบุผิว

ดัชนี เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

52 ความสัมพันธ์: ช่องคลอดกระจกตากระเพาะอาหารกระเพาะปัสสาวะกล่องเสียงการแพร่มดลูกระบบหายใจรังไข่ลำไส้ใหญ่ลำไส้เล็กลิ้นสัตว์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสารละลายหลอดอาหารหลอดเลือดหนังกำพร้าอวัยวะองคชาตผิวหนังจมูกถุงน้ำดีทวารหนักทางเดินอาหารท่อลมท่อปัสสาวะท่อไตคอหอยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อมลูกหมากต่อมคาวเปอร์ต่อมไร้ท่อต่อมไทรอยด์ต่อมเหงื่อซีเลียปากนิวเคลียสของเซลล์แคมใหญ่โปรตีนไมโครทิวบูลไส้ตรงไตเมือกเยื่อบุผิวรับกลิ่นเยื่อกั้นหูชั้นในเอนโดเดิร์มเอ็กโทเดิร์มเนื้อเยื่อเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ...เนื้อเยื่อประสาทเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

ช่องคลอด

องคลอด (Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและช่องคลอด · ดูเพิ่มเติม »

กระจกตา

กระจกตา เป็นส่วนโปร่งใสด้านหน้าของตาซึ่งคลุมอยู่หน้าม่านตา, รูม่านตา, และห้องหน้า (anterior chamber) กระจกตาทำหน้าที่หักเหแสงร่วมกับเลนส์ตา (lens) และช่วยในการโฟกัสภาพ โดยกระจกตามีส่วนเกี่ยวกับกำลังการรวมแสง (optical power) ของตาถึง 80%Cassin, B. and Solomon, S. Dictionary of Eye Terminology.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและกระจกตา · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยะยืดหยุ่นและเป็นกล้ามเนื้อแอ่ง อยู่ ณ ฐานเชิงกราน ปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทางท่อไตและออกทางท่อปัสสาวะ ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะระบุไว้ระหว่าง 500 ถึง 1000 มิลลิลิตร เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องอุ้งเชิงกรานด้านหลังกระดูกหัวหน่าว มีลักษณะเป็นถุงกลวงยืดหยุ่นได้ ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การถ่ายปัสสาวะจะต้องประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและกระเพาะปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียง

กล่องเสียง หรือ ลาริงซ์ (larynx) เป็นอวัยวะในคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลม (trachea) และการทำให้เกิดเสียง ในกล่องเสียงมีสายเสียงแท้หรือเส้นเสียงแท้ (vocal fold) ซึ่งอยู่ใต้บริเวณที่คอหอย (pharynx) แยกออกเป็นท่อลมและหลอดอาหาร (esophagus).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและกล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

การแพร่

แสดงการผสมกันของสารสองสารด้วยการแพร่ การแพร่ เป็นการกระจายตัวของโมเลกุลของสสารจากจุดที่มีความเข้มข้นสูงกว่า ไปยังจุดที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าด้วยการเคลื่อนที่เชิงสุ่มของโมเลกุล การแพร่จะทำให้ เกิดการผสมของวัสดุอย่างช้าๆ สำหรับเฟสหนึ่งๆของวัสดุใดๆก็ตามที่มีอุณหภูมิสม่ำเสมอ และไม่มีแรงภายนอกมากระทำกับอนุภาค กระบวนการแพร่ก็จะยังคงเกิดถึงแม้ว่า สสารจะผสมกันโดยสมบูรณ์หรือเข้าสู่ภาวะสมดุลแล้ว โดยพื้นฐานแล้ว การเคลื่อนที่ของโมเลกุล จากพื้นที่ที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่ความเข้มข้นที่ต่ำกว่าเรียกว่าการแพร่ทั้งสิ้น ตัวอย่างการแพร่ เช่น การแพร่ของเกล็ดด่างทับทิมในน้ำ การแพร่ของน้ำหวานในน้ำ การแพร่ของสีน้ำในน้ำ โดยปกติแล้วการแพร่ของโมเลกุลจะอธิบายทางคณิตศาสตร์ได้โดยผ่าน กฎของฟิก.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและการแพร่ · ดูเพิ่มเติม »

มดลูก

มดลูก (Uterus) คือส่วนบริเวณตรงกลาง มดลูก เป็นอวัยวะกลวง รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีผนังหนา วางตัวอยูในช่องเชิงกราน อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ อยู่หน้าลำไส้ใหญ่และ ช่องทวารหนัก โพรงของมดลูกติดกับโพรงของปีกมดลูกและโพรงของช่องคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ fundus, body และcervix หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหายใจ

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

รังไข่

รังไข่ มี 2 อัน อยู่คนละข้างของมดลูก มีขนาดประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ หนักประมาณ 2-3 กรัม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่ (Colon) เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สารละลาย

รละลายเกลือแกงในน้ำ ในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและสารละลาย · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หนังกำพร้า

ตัดขวางของผิวหนัง หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นบริเวณชั้นนอกสุดของผิวหนัง ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าหรือออกจากร่างกาย และห่อหุ้มร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวประเภทสแตรทิฟายด์ สแควมัส (stratified squamous epithelium) รองรับด้วยเบซัล ลามินา (basal lamina).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและหนังกำพร้า · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

องคชาต

องคชาต (penis) เป็นอวัยวะเพศของเพศชายที่ใช้สืบพันธ์ุ และทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีลักษณะเป็นท่อนยาว อยู่ภายนอกร่างกายของเพศชาย ตรงบริเวณหัวหน่าวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำกาม ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อฟองน้ำ (corpus cavernosum) 1 คู่ และท่อปัสสาวะบางส่วน กล้ามเนื้อลักษณะฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด เมื่อมีอารมณ์ทางเพศทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต เพื่อให้สามารถสอดใส่องคชาตเข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิง ที่ปลายองคชาติเป็นจุดรวมของเส้นประสาท ซึ่งไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งส่วนนี้เปรียบเทียบได้กับคลิตอริสของเพศหญิง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและองคชาต · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

จมูก

มูก (Nose) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนอกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่นของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่นกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยีงเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของ อากาศก่อนที่จะเข้าสู่ปอด คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น ถ้าอากาศแห้งมาก จมูกจะให้อากาศ ซุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเฟัยงที่เราพูด ให้กังวานน่าฟังอีกด้ว.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและจมูก · ดูเพิ่มเติม »

ถุงน้ำดี

รงสร้างของถุงน้ำดีและระบบท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะในช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี (bile) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและถุงน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

ทวารหนัก

ทวารหนัก (anus) มาจากคำภาษาลาติน anus แปลว่า "วงแหวน" หรือ "วงกลม" เป็นรูเปิดตรงส่วนปลายของทางเดินอาหารของสัตว์ตรงข้ามกับปาก มีหน้าที่ในการควบคุมการปล่อยอุจจาระ, ของกึ่งแข็งที่ไม่เป็นที่ต้องการในระบบย่อยอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด อาจรวมถึง สิ่งที่สัตว์ชนิดนั้นไม่สามารถย่อยได้ เช่น กระดูก, Summary at ส่วนที่เหลือของอาหารหลังสารอาหารถูกนำออกไปหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสหรือลิกนิน (lignin), สิ่งที่อาจเป็นพิษหากคงอยู่ในทางเดินอาหาร และจุลินทรีย์ในลําไส้ (gut bacteria) ที่ตายแล้วหรือเกินจำเป็นรวมถึงสิ่งมีชีวิตร่วมอาศัย (endosymbiont) อื่น ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และนก ใช้ช่องเปิดช่องเดียวกันเรียกว่าทวารรวม (cloaca) สำหรับขับถ่ายของเสียทั้งของเหลวและของแข็ง, สำหรับรวมเพศ และสำหรับวางไข่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยโมโนทรีมมีทวารรวมเช่นกัน คาดว่าเป็นลักษณะที่สืบทอดจากสัตว์มีถุงน้ำคร่ำยุคแรกสุดผ่านสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเทอแรพซิด (therapsid) สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องมีช่องเปิดเดียวสำหรับขับของเหลวและของแข็ง และเพศเมียมีช่องคลอดแยกสำหรับการสืบพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่ม placentalia เพศหญิงมีช่องเปิดแยกสำหรับถ่ายอุจจาระ ขับปัสสาวะ และสืบพันธุ์ ส่วนเพศผู้มีช่องเปิดสำหรับอุจจาระและอีกช่องสำหรับทั้งปัสสาวะและสืบพันธุ์ แม้ช่องทางที่ไหลไปยังช่องเปิดนั้นแทบจะแยกกันอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาของทวารหนักเป็นขั้นตอนสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์หลายเซลล.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและทวารหนัก · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ท่อลม

thumb ท่อลม (pneumatic tube, capsule pipeline, หรือ Pneumatic Tube Transport ย่อว่า PTT) เป็นระบบที่ใช้ส่งกระบอกบรรจุภัณฑ์ไปมาตามท่อโดยใช้อากาศหรือสุญญากาศขับดัน ระบบนี้ใช้ขนส่งของแข็ง ต่างจากท่อทั่วไปที่ใช้ส่งของเหลว สำนักงานต่าง ๆ เริ่มรับมาใช้ในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยจำเป็นต้องขนส่งพัสดุขนาดเล็ก อย่างจดหมาย เอกสาร หรือเงินตรา เป็นการด่วนหรือภายในระยะทางอันสั้น เช่น ในอาคารหรือเมืองเดียวกัน ปัจจุบัน นิยมติดตั้งในโรงพยาบาลที่ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาและเสริมแต่งขึ้นอีกมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและท่อลม · ดูเพิ่มเติม »

ท่อปัสสาวะ

ท่อปัสสาวะ เป็นท่อนำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอก ในชายท่อปัสสาวะยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และยังเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิ ท่อปัสสาวะในชายคดเคี้ยว คล้ายตัวเอส (S) ในหญิง ท่อปัสสาวะยาว 4 มิลลิเมตร จากมุมล่างสุดของกระเพาะปัสสาวะทอดโค้งลงล่างไปข้างหน้า เปิดสู่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หน้ารูเปิดของช่องคลอด ต่ำกว่าคลิตอริสประมาณ 2.5 เซนติเมตร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและท่อปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อไต

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ท่อไต (ureter) เป็นท่อเกิดจากใยกล้ามเนื้อเรียบซึ่งลำเลียงปัสสาวะจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ ในผู้ใหญ่ ท่อไตปกติยาว 25–30 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3–4 มิลลิเมตร ในทางมิญชวิทยา ท่อไตมีเนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยนและชั้นกล้ามเนื้อเรียบเพิ่มในส่วนปลายหนึ่งในสามเพื่อช่วยบีบรูด หมวดหมู่:ท้อง หมวดหมู่:ระบบปัสสาวะ หมวดหมู่:ไต.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและท่อไต · ดูเพิ่มเติม »

คอหอย

อหอย (pharynx, pharynges) เป็นส่วนหนึ่งของคอ (neck) และช่องคอ (throat) ตั้งอยู่ด้านหลังปากและโพรงจมูก และอยู่บนหลอดอาหาร กล่องเสียงและท่อลม (trachea).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและคอหอย · ดูเพิ่มเติม »

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2490 ภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2510 เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทย ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานแพทยศาสตรศึกษา ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์การอนามัยโลก 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้านแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยการสืบพันธุ์ของมนุษย์ ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านไวรัสและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยสภากาชาดไท.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมาก (prostate) เป็นอวัยวะในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ที่อยู่ตรงด้านหลังของคอ กระเพาะปัสสาวะ ในอุ้งเชิงกรานหลังกระดูกหัวหน่าว ลักษณะต่อมมี 5 กลีบ หนักประมาณ 20 กรัม ทำหน้าที่สร้างของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนม ที่เป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ มีกลิ่นเฉพาะตัว สารที่หลั่งออกมาเป็นเบสอ่อนๆ ช่วยให้เกิดสภาพเหมาะสมกับตัวอสุจิ ลดสภาพความเป็นเบสของท่อปัสสาวะและช่วยให้อสุจิแข็งแรงและว่องไวขึ้น ในผู้สูงอายุมักพบโรคต่อมลูกหมากโต.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและต่อมลูกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมคาวเปอร์

Bulbourethral gland หรือ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland) ตามชื่อของนักกายวิภาคชื่อว่า วิลเลียม คาวเปอร์ เป็นต่อมขับออก (exocrine gland) ในระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวผู้มากมายหลายประเภท (ในบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย มีสุนัขเท่านั้นที่ไม่มี) เป็นต่อมที่มีกำเนิดเดียวกัน (homologous) กับต่อมบาร์โทลิน (Bartholin's gland) ในสัตว์ตัวเมี.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและต่อมคาวเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) คือ ต่อมที่มีการผลิตสารแล้วลำเลียงสารทางกระแสเลือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อมกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid), สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมเหงื่อ

ต่อมเหงื่อ (sweat gland) เป็นต่อมมีท่อซึ่งพบได้ตามผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ทำหน้าที่หลั่งเหงื่อ (sweat) ทำงานภายใต้ระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งจะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีชื่อว่า อะซิติลโคลีน (Acetylcholene) ออกมาควบคุม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและต่อมเหงื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ซีเลีย

ภาพถ่ายหน้าตัดของซีเลีย สังเกตซีเลียมที่มีลักษณะมนกลม จะเห็นว่ามีโครงสร้าง 9+2 อยู่ ซีเลีย (cilia หรือ cilium ในรูปเอกพจน์) เป็นออร์แกเนลล์ที่พบในเซลล์จำพวกยูแคริโอต (eukaryotic cell) ซิเลียมีลักษณะบาง ส่วนพัดโบกที่มีลักษณะคล้ายครีบหรือหางจะยื่นออกมาประมาณ 5-10 ไมโครเมตร นับจากผิวเปลือกของเซลล์ออกมา ซิเลียมีสองประเภทได้แก่ซิเลียที่เคลื่อนไหว (motile cilia) ซึ่งจะพัดโบกไปในทิศหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือซิเลียที่ไม่เคลื่อนไหว (non-motile cilia) ซึ่งทำหน้าที่เป็นออร์แกเนลล์ประสาทให้กับเซลล์ ซิเลียมีลักษณะทางโครงสร้างคล้ายๆ กับแฟลเจลลัมซึ่งจัดอยู่ในประเภทอุนดูลิโพเดียม (undilopodium) แต่ซิเลียจะต่างกับแฟลเจลลัมตรงที่ มีจำนวนส่วนที่ยื่นออกมาเยอะกว่าแฟลเจลลัมที่มีส่วนที่ยื่นออกมาเพียง 1-2 อันเท่านั้น รวมถึงยังมีขนาดเล็กกว่าและสั้นกว่าแฟลเจลลัมอีกด้วย ซิเลียทำหน้าที่ พัดโบกฝุ่นละออง และเมือก โครงสร้างของซิเลียนั้น ประกอบด้วยไมโครทิวบูลเรียงตัวกันเป็นวง ซึ่งด้านนอกของวงจะประกอบด้วยไมโครทิวบูลทั้งหมด 9 ชุด แต่ละชุดจะมีไมโครทิวบูล 2 อัน ส่วนตรงกลางของซิเลียนั้นจะมีไมโครทิวบูลอยู่ 2 ชุด แต่ละชุดจะมีไมโครทิวบูล 2 อันเช่นเดียวกัน แทนสัญลักษณ์ของไมโครทิวบูลในซิเลียด้วยตัวเลขเป็น 9+2 ไมโครทิวบูล 2 อันในแต่ละชุดจะเชื่อมกันด้วยแขนโปรตีนไดนีน (Dynien arm) และเมื่อคู่ไมโครทิวบูลในแต่ละชุดเกิดการเลื่อนหรือสไลด์ ก็จะทำให้ซิเลียสามารถโค้งงอได้ หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและซีเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและปาก · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียสของเซลล์

เซลล์spider man ย้อมดีเอ็นเอด้วยสีย้อม Blue Hoechst เซลล์ตรงกลางและเซลล์ทางขวาอยู่ในระยะอินเตอร์เฟสจึงทำให้สามารถย้อมสีเห็นนิวเคลียสได้ทั้งหมด ในขณะที่เซลล์ทางซ้ายอยู่ระหว่างการแบ่งนิวเคลียส (ไมโทซิส) ทำให้สามารถมองเห็นโครโมโซมที่กำลังแยกคู่จากกัน นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลไจแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในทางชีววิทยาของเซลล์ นิวเคลียส (nucleus) คือออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์ยูแคริโอต ภายในบรรจุสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นดีเอ็นเอ (DNA) สายยาวรวมตัวกับโปรตีนหลายชนิด เช่น ฮิสโตน (histone) เป็นโครโมโซม (chromosome) ยีน (gene) ต่างๆ ภายในโครโมโซมเหล่านี้ รวมเรียกว่า นิวเคลียส จีโนม (nuclear genome) หน้าที่ของนิวเคลียสคือการคงสภาพการรวมตัวของยีนเหล่านี้และควบคุมการทำงานของเซลล์โดยการควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) โครงสร้างหลักของนิวเคลียสคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ซึ่งเป็นเยื่อสองชั้นที่หุ้มทั้งออร์แกเนลล์และทำหน้าที่แยกองค์ประกอบภายในออกจากไซโทพลาซึม (cytoplasm) อีกโครงสร้างหนึ่งคือ นิวเคลียร์ลามินา (nuclear lamina) ซึ่งเป็นโครงสร้างร่างแหภายในนิวเคลียส ทำหน้าที่เป็นโครงร่างค้ำจุน ให้ความแข็งแรงแก่นิวเคลียส คล้ายไซโทสเกลเลตอน (cytoskeleton) ภายในเซลล์ เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านที่โมเลกุลส่วนใหญ่ผ่านทะลุเข้าออกไม่ได้ ดังนั้นเยื่อหุ้มนิวเคลียสจึงต้องมีนิวเคลียร์พอร์ (nuclear pore) หรือช่องที่จะให้สารเคลื่อนผ่านเยื่อ ช่องเหล่านี้ทะลุผ่านเยื่อทั้งสองของเยื่อหุ้มนิวเคลียสให้โมเลกุลขนาดเล็กและไอออนเคลื่อนที่เข้าออกนิวเคลียสได้ การเคลื่อนที่เข้าออกของสารโมเลกุลใหญ่ เช่น โปรตีน ต้องมีการควบคุมและต้องใช้โปรตีนช่วยขนส่งสาร (carrier proteins หมวดหมู่:ออร์แกเนลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและนิวเคลียสของเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

แคมใหญ่

แคมใหญ่ (Labia majora) แคมใหญ่ (Labia majora) เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์หญิง อยู่บริเวณหัวหน่าวจนถึงช่องคลอด ภายในแคมใหญ่ประกอบด้วย ปุ่มกระสัน แคมเล็ก และช่องคลอด โดยมากจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อนูนขึ้นมาเป็นแนวยาวจนถึงปากช่องคลอด สามารถขยายตัวได้ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จะมีขนปกคลุม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและแคมใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครทิวบูล

มโครทิวบูล (microtubule) เป็นออร์แกเนลล์ชนิดหนึ่งซึ่งพบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต จัดเป็นส่วนหนึ่งในระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeloton) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเซลล์อย่างยิ่ง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและไมโครทิวบูล · ดูเพิ่มเติม »

ไส้ตรง

้ตรง (อังกฤษ: rectum) เป็นส่วนสุดท้ายของลำไส้ใหญ่ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด ไส้ตรงของมนุษย์โตเต็มวัยมีความยาวประมาณ 12 ซม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและไส้ตรง · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและไต · ดูเพิ่มเติม »

เมือก

มูกหรือเมือก (mucus) ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสิ่งคัดหลั่งลื่นที่เยื่อเมือกสร้างขึ้นปกคลุม น้ำเมือกตรงแบบผลิตจากเซลล์ที่พบในต่อมมูก เซลล์มูกหลั่งผลิตภัณฑ์ที่มีไกลโคโปรตีนและน้ำสูง น้ำเมือกยังอาจเกิดจากต่อมผสม (mixed gland) ซึ่งมีทั้งเซลล์หลั่งน้ำใสและหลั่งเมือก เมือกเป็นคอลลอยด์หนืดซึ่งมีเอนไซม์ระงับเชื้อ (เช่น ไลโซไซม์) อิมมูโนโกลบูลิน เกลืออนินทรีย์ โปรตีนอย่างแลกโตเฟอร์ริน และไกลโคโปรตีนซึ่งรู้จักกันในชื่อ มิวซิน ซึ่งผลิตโดยเซลล์กลอเบล็ต (goblet cell) ในเยื่อเมือกและต่อมชั้นใต้เยื่อเมือก เมือกนี้ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว (บุท่อ) ในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ปัสสาวะและเพศ การเห็นและการได้ยินในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และเหงือกในปลา การทำหน้าที่หลักของเมือกนี้ คือ ปกป้องต่อสิ่งก่อโรคอย่างเห็ดรา แบคทีเรียและไวรัส ในร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยผลิตเมือกราวหนึ่งลิตรต่อวัน.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเมือก · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุผิวรับกลิ่น

ื่อบุผิวรับกลิ่น (olfactory epithelium).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเยื่อบุผิวรับกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อกั้นหูชั้นใน

ื่อกั้นหูชั้นใน หรือ เยื่อฐาน (Basilar membrane) ภายในหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) เป็นโครงสร้างแข็ง ๆ ที่แยกท่อสองท่อซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ ซึ่งก็คือช่อง scala media และ scala tympani (ดูรูป) และวิ่งไปตามก้นหอยของคอเคลี.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเยื่อกั้นหูชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

เอนโดเดิร์ม

อนโดเดิร์ม (endoderm) เป็นหนึ่งใน germ layer ที่สร้างขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอของสัตว์ เกิดจากเซลล์เดินทางเข้าด้านในผ่านอาร์เคนเทอรอน (archenteron; ส่วนเจริญเป็นทางเดินอาหาร) เกิดเป็นชั้นด้านในของแกสตรูลา ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเอนโดเดิร์ม ในระยะแรกเอนโดเดิร์มประกอบด้วยชั้นเซลล์แบนๆ ซึ่งต่อมาจะมีรูปทรงกระบอก (columnar) เนื้อเยื่อชั้นนี้จะสร้างเป็นเนื้อเยื่อบุผิวของท่อทางเดินอาหารทั้งหมด ยกเว้นส่วนปาก และคอหอย และส่วนปลายของไส้ตรง (ซึ่งดาดโดยส่วนหวำของเอ็กโทเดิร์ม) นอกจากนี้ยังสร้างเป็นเซลล์บุของต่อมทั้งหมดที่เปิดออกสู่ท่อทางเดินอาหาร รวมทั้งตับและตับอ่อน; เนื้อเยื่อบุผิวของท่อหู (auditory tube) และโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity); ท่อลม, หลอดลม, และถุงลมภายในปอด, กระเพาะปัสสาวะ, และส่วนของท่อปัสสาวะ; ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์และต่อมไทมั.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเอนโดเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กโทเดิร์ม

อ็กโทเดิร์ม (ectoderm) เป็นเนื้อเยื่อแรกที่ปกคลุมพื้นผิวของร่างกาย เกิดขึ้นมาเป็นชั้นแรกและอยู่ชั้นนอกสุดของ germ layer กล่าวโดยทั่วไป เอ็กโทเดิร์มเจริญไปเป็นระบบประสาท, หนังกำพร้า, และส่วนนอกของระบบปกคลุมร่างกาย ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เอ็กโทเดิร์มแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ external ectoderm (หรือ surface ectoderm), นิวรัล เครสต์ (neural crest), และนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งสองอันหลังนี้เรียกรวมกันว่า นิวโรเอ็กโทเดิร์ม (neuroectoderm).

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเอ็กโทเดิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

นื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscle tissue) เป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่พบได้ในร่างกายและจัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) เมื่อเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อมารวมกันจะกลายเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของมัดกล้ามเนื้อ โดยเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อนั้นสามารถหดตัวได้ และทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างก.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อประสาท

ตัวอย่างของเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue) เป็นหนึ่งในเนื้อเยื่อของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เนื้อเยื่อประสาททำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย เนื้อเยื่อนี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทหรือนิวรอน (neuron) ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท (impulse) และเซลล์เกลีย (glia หรือ neuroglia) ทำหน้าที่ช่วยในการส่งสัญญาณประสาทและให้สารอาหารต่างๆ แก่เซลล์ประสาท เนื้อเยื่อประสาทในสิ่งมีชีวิตรวมตัวกันเป็นระบบประสาท เนื้อเยื่อประสาทประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทที่มีที่มาแตกต่างกันมากมาย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันที่แอกซอน (หรือ แกนประสาท) ซึ่งเป็นส่วนเส้นใยที่ยืดยาวออกมาจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณศักยะทำงาน (action potential signals) ไปยังเซลล์ประสาทถัดไป.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเนื้อเยื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อบุผิวและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

EpitheliaEpithelial tissueEpitheliumเยื่อบุเยื่อบุผิวเซลล์เยื่อบุผิวเซลล์เนื้อผิวเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวเนื้อผิวเนื้อเยื่ออีพิทีลีอัล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »