เนื้อเยื่อและแผลเป็น
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง เนื้อเยื่อและแผลเป็น
เนื้อเยื่อ vs. แผลเป็น
นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้. แผลเป็นเป็นบริเวณเนื้อเยื่อเส้นใยซึ่งเกิดแทนผิวหนังปกติหลังเกิดการบาดเจ็บ แผลเป็นเกิดจากกระบวนการชีววิทยาซ่อมแซมบาดแผลในผิวหนัง ตลอดจนในอวัยวะและเนื้อเยื่ออื่นของร่างกาย ฉะนั้นจึงเป็นส่วนธรรมชาติของกระบวนการหาย (healing) บาดแผลแทบทุกชนิด (เช่น หลังอุบัติเหตุ โรคหรือการผ่าตัด) ล้วนส่งผลให้เกิดแผลเป็นไม่มากก็น้อย ยกเว้นรอยโรคที่เล็กมาก ๆ แต่ยกเว้นสัตว์ที่มีการเจริญทดแทนอย่างสมบูรณ์มีเนื้อเยื่อที่เจริญโดยไม่มีการสร้างแผลเป็น เนื้อเยื่อแผลเป็นประกอบด้วยโปรตีน (คอลลาเจน) ชนิดเดียวกับเนื้อเยื่อที่มันทดแทน แต่องค์ประกอบเส้นใยของโปรตีนจะต่างไป คือ แทนที่จะเป็นการจัดเรียงสานตะกร้าแบบสุ่มของเส้นใยคอลลาเจนที่พบในเนื้อเยื่อปกติ แต่ในภาวะเกิดพังผืด คอลลาเจนเชื่อมโยงข้ามและก่อเป็นการปรับแนวอย่างเป็นระเบียบในทิศทางเดียวกัน การปรับแนวของเนื้อเยื่อแผลเป็นคอลลาเจนนี้ปกติมีคุณภาพทำหน้าที่ด้อยกว่าการปรับแนวแบบสุ่มของคอลลาเจนตามปกติ ตัวอย่างเช่น แผลเป็นในผิวหนังทนทานต่อรังสีอัลตราไวโอเลตน้อยกว่า และต่อมเหงื่อและปุ่มรากขนไม่เจริญทดแทนในเนื้อเยื่อแผลเป็น กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด หรืออาการหัวใจล้ม ทำให้เกิดแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้เสียกำลังของกล้ามเนื้อและอาจทำให้หัวใจวายได้ ทว่า มีเนื้อเยื่อบางชนิด เช่น กระดูก ที่สามารถฟื้นฟูได้โดยไม่มีความเสื่อมทางโครงสร้างหรือการทำหน้าที.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เนื้อเยื่อและแผลเป็น
เนื้อเยื่อและแผลเป็น มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อวัยวะผิวหนัง
อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).
อวัยวะและเนื้อเยื่อ · อวัยวะและแผลเป็น · ดูเพิ่มเติม »
ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.
ผิวหนังและเนื้อเยื่อ · ผิวหนังและแผลเป็น · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ เนื้อเยื่อและแผลเป็น มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง เนื้อเยื่อและแผลเป็น
การเปรียบเทียบระหว่าง เนื้อเยื่อและแผลเป็น
เนื้อเยื่อ มี 35 ความสัมพันธ์ขณะที่ แผลเป็น มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 4.55% = 2 / (35 + 9)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เนื้อเยื่อและแผลเป็น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: