โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เนื้องอก

ดัชนี เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

25 ความสัมพันธ์: กรีซโบราณการกลายพันธุ์การซ่อมแซมดีเอ็นเอการแพร่กระจายการแสดงออกของยีนภาษาอังกฤษแบบบริติชภาษาอังกฤษแบบอเมริกันมะเร็งมะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมะเร็งโลหิตวิทยามะเร็งเม็ดเลือดขาวมิลลิเมตรรอยโรควิทยามะเร็งสารภูมิต้านทานอีพีเจเนติกส์ไฝเมลาโนไซต์เมลาโนมาเคมีบำบัดเซลล์ (ชีววิทยา)เนื้องอกมดลูกเนื้องอกไม่ร้ายICD-10P53

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: เนื้องอกและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

ใหม่!!: เนื้องอกและการกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การซ่อมแซมดีเอ็นเอ

DNA damage resulting in multiple broken chromosomes การซ่อมแซมดีเอ็นเอ (DNA repair) คือชุดของกระบวนการที่เซลล์ตรวจพบและแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอที่ประกอบกันเป็นจีโนมของเซลล์นั้น ในเซลล์มนุษย์กระบวนการเผาผลาญตามปกติและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น รังสียูวีหรือรังสีอื่นทำให้ดีเอ็นเอเสียหายและก่อให้เกิดรอยโรคระดับโมเลกุลได้สูงสุดถึงหนึ่งล้านตำแหน่งต่อเซลล์ต่อวันLodish H, Berk A, Matsudaira P, Kaiser CA, Krieger M, Scott MP, Zipursky SL, Darnell J. (2004).

ใหม่!!: เนื้องอกและการซ่อมแซมดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจาย (metastasis) คือการที่มะเร็งได้แพร่ออกมาจากอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะเดิม ไปยังอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอื่น ที่ไม่ได้อยู่ติดกันกับส่วนเดิม หมวดหมู่:วิทยามะเร็ง.

ใหม่!!: เนื้องอกและการแพร่กระจาย · ดูเพิ่มเติม »

การแสดงออกของยีน

การแสดงออกของยีนคือกระบวนการที่ข้อมูลในยีนถูกใช้ในการสังเคราะห์ผลผลิตของยีนที่ทำงานได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรตีน แต่บางยีน เช่น rRNA tRNA หรือ snRNA มีผลผลิตเป็น RNA ซึ่งมีบทบาททำงานได้เช่นกัน กระบวนการที่ใช้ในการแสดงออกของยีนเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทั้งยูคาริโอต (รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ด้วย) โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) และอาจนับรวมถึงไวรัสด้วย กระบวนการนี้ทำให้เกิดกลไกที่เกิดจากโมเลกุลขนาดใหญ่ และทำให้เกิดชีวิต กระบวนการที่เซลล์ใช้ในการทำให้เกิดการแสดงออกของยีนมีหลายขั้นตอน เช่น การถอดรหัส การตัดแบ่ง RNA การแปลรหัส และการดัดแปลงโปรตีนหลังการแปลรหัส หมวดหมู่:อณูชีววิทยา หมวดหมู่:การแสดงออกของยีน.

ใหม่!!: เนื้องอกและการแสดงออกของยีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบบริติช

ภาษาอังกฤษแบบบริติช (British English, BrE) เป็นคำที่ใช้แยกแยะรูปแบบของภาษาอังกฤษที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตน (British Isles) และที่ใช้ในภูมิภาคอื่น ๆ คำว่า "ภาษาอังกฤษแบบบริติช" นี้ ยังหมายรวมถึงภาษาถิ่นย่อยทั้งหมดของภาษาอังกฤษ ทั้งที่ใช้ในหมู่เกาะบริเตนทั้งหมด (รวมสกอตแลนด์ ไอร์แลนด์ และเวลส์ด้วย) คำนี้มักจะนิยมใช้เป็นพิเศษในหมู่ชาวอเมริกัน (รวมทั้งนักภาษาศาสตร์และนักเขียนพจนานุกรม) ส่วนชาวอังกฤษนั้น ปกติแล้วจะใช้คำว่า "ภาษาอังกฤษมาตรฐาน" (Standard English) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ภาษาอังกฤษ" (English) เท่านั้น ความแตกต่างเด่นที่สุดของภาษาอังกฤษแบบบริติชกับภาษาอังกฤษแบบอเมริกันคือ แบบบริติชจะออกเสียงคำอย่างตรงตัว a จะออกเป็น อา ตรง ๆ ไม่ออกว่า แอ อย่างแบบอเมริกัน เสียง t จะเน้นมาก และชาวสหราชอาณาจักรจะไม่นิยมการออกเสียงตัว r ท้ายคำ ถึงออกก็เพียงออกไปนิดเดียว นอกจากนั้นอังกฤษแบบบริติชจะออกเสียงลงคอดั่งเช่นภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส เช่นคำว่า schedule ซึ่งภาษาอังกฤษแบบบริติชจะมีออกเสียงลงคอตรงท่อน sche ซึ่งเป็นเสียงควบระหว่าง ซ กับ ค หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: เนื้องอกและภาษาอังกฤษแบบบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน (American English, AmE) เป็นกลุ่มของภาษาถิ่นของภาษาอังกฤษที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ประมาณสองในสามของเจ้าของภาษาอังกฤษอาศัยอยู่ในสหรัฐ พจนานุกรมเล่มแรกของภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน เขียนโดยโนอาห์ เว็บสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1828 แสดงถึงข้อแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และอังกฤษดั้งเดิมที่มาจากบริเตน ข้อแตกต่างที่เว็บสเตอร์เขียนรวมถึง การสะกดคำ เช่นคำว่า center แทนคำว่า centre และ color แทน colour และการอ่านออกเสียงต่าง ๆ ตัวอย่างคำศัพท์หลายคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ซึ่งได้แก่ OK (โอเค), blizzard (บลิซซาร์ด) และ teenager (วัยรุ่น) หมวดหมู่:ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:สหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาถิ่น.

ใหม่!!: เนื้องอกและภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: เนื้องอกและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (รู้จักในชื่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไส้ตรงหรือมะเร็งลำไส้) คือโรคมะเร็งที่เกิดในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง (ส่วนของ ลำไส้ใหญ่) เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ซึ่งสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ สัญญาณและอาการของโรคอาจได้แก่การอุจจาระเป็นเลือด การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักลดและมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียตลอดเวลา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตและอายุที่มากขึ้น รวมทั้งจากความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ปัจจัยนี้จะพบได้ในน้อยราย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การรับประทาน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบซึ่งได้แก่ โรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ภาวะของความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบางภาวะได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่เกิดจากพันธุกรรม และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบไม่พบติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุนี้มีน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับกลุ่มสาเหตุอื่นๆ โดยทั่วไปในเบื้องต้นจะพบเนื้องอกชนิดไม่เป็นอันตรายซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะกลายเป็นมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างที่ตัดจากลำไส้ใหญ่ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้วตามด้วยขั้นตอนการฉายแสงเพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ การคัดกรองหรือการตรวจหาโรคก่อนที่จะมีอาการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลดโอกาสของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จึงแนะนำให้มีการเข้ารับตรวจหาโรคเมื่ออายุ 50 ปีและรับการตรวจหาโรคต่อไปจนอายุ 75 ปี ระหว่างการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมดจะมีการตัดติ่งติ่งเนื้อออก ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ลดความเสี่ยงได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เนื่องจากมีผลข้างเคียง การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจใช้วิธีการรักษาแบบผสมวิธีต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า มะเร็งที่งอกอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปทั่วแล้วโดยปกติไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาแบบเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีดีขึ้นและการบำบัดตามอาการ อัตรารอดที่ห้าปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ประมาณ 65% อย่างไรก็ตามนี่ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากน้อยเท่าไร ได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกไปหรือไม่และสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่สามโดยคิดเป็น 10% จากทั้งหมด ในปี 2012 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1.4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 694,000 ราย โรคนี้มักจะพบได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากกว่า 65% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง.

ใหม่!!: เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกติคือป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและโรคบางชนิด ทำให้ลิมโฟซัยต์ทำหน้าที่ผิดปกติไป ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติอาจแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติหรืออาจมีอายุยืนกว่าปกติ ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติเหล่านี้อาจอยู่เป็นก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก ในเลือด หรือในอวัยวะอื่นได้.

ใหม่!!: เนื้องอกและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งโลหิตวิทยา

มะเร็งโลหิตวิทยาหรือมะเร็งเม็ดเลือดเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับเซลล์ในเลือด ไขกระดูก หรือต่อมน้ำเหลือง อวัยวะเหล่านี้เกี่ยวข้องกันผ่านระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นมะเร็งที่เกิดกับเซลล์ในอวัยวะหนึ่งๆ มักส่งผลถึงอวัยวะอื่นพร้อมๆ กันด้วย เช่นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มักแพร่กระจายไปยังไขกระดูก และทำให้มีเซลล์มะเร็งในเลือดด้วย เป็นต้น การสับเปลี่ยนของโครโมโซมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของมะเร็งโลหิตวิทยา ต่างจากมะเร็งอื่นๆ ที่พบสาเหตุนี้ไม่บ่อย ทำให้มะเร็งโลหิตวิทยาหลายชนิดมีแนวทางการดูแลรักษาที่แตกต่างออกไปจากมะเร็งอื่นๆ หมวดหมู่:มะเร็งระบบโลหิตวิทยา.

ใหม่!!: เนื้องอกและมะเร็งโลหิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ลูคิเมีย (Leukemia, Leukeamia) เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลง.

ใหม่!!: เนื้องอกและมะเร็งเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: เนื้องอกและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: เนื้องอกและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

วิทยามะเร็ง

วิทยามะเร็ง หรือ วิทยาเนื้องอก (Oncology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเนื้องอกหรือมะเร็ง และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเจริญ, การวินิจฉัย, การรักษา และการป้องกันมะเร็ง รากศัพท์ของคำว่า oncology มาจากภาษากรีก onkos (ογκος) หมายถึงก้อนหรือเนื้องอก และ -ology ซึ่งหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยามะเร็งนั้นจะเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นกายภาพบำบัด, จิตบำบัดหรือการให้คำปรึกษา, พันธุศาสตร์คลินิก ในทางกลับกันแพทย์นั้นต้องประสานงานกับพยาธิแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของเนื้องอกเพื่อช่วยในการรักษา วิทยามะเร็งเกี่ยวข้องกั.

ใหม่!!: เนื้องอกและวิทยามะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ใหม่!!: เนื้องอกและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

อีพีเจเนติกส์

อีพีเจเนติกส์ (epigenetics) หรือพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม คือองค์ความรู้ทางชีววิทยาโดยเฉพาะพันธุศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่นการเติมหมู่เมธิลบนดีเอ็นเอหรือการถอนหมู่อะเซทิลออกจากฮิสโตน เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้นๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้นๆ การควบคุมการแสดงออกในลักษณะนี้อาจสามารถคงอยู่ได้หลังการแบ่งเซลล์ และอาจคงอยู่ข้ามไปสู่สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกและรุ่นต่อๆ ไปได้ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยมีปัจจัยที่นอกเหนือจากพันธุกรรมที่ทำให้ยีนแต่ละยีนแสดงออก ("ประพฤติตัว") เปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรเป็น ตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการอีพิเจเนติกส์ในเซลล์สิ่งมีชีวิตยูคาริโอตคือกระบวนการการเปลี่ยนชนิดของเซลล์ (cellular differentiation) ซึ่งระหว่างขั้นตอนมอร์โฟเจเนซิสนั้นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดโททิโพเทนท์จะแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสายพันธุ์เซลล์พลูริโพเทนท์หลายๆ สายพันธุ์ ของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งก็จะแบ่งตัวและพัฒนาต่อไปกลายเป็นเซลล์ที่มีการกำหนดหน้าที่ชัดเจน กล่าวคือ เซลล์ไข่ซึ่งปฏิสนธิแล้ว (ไซโกต) เพียงเซลล์เดียว ได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์หลายต่อหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เยื่อบุผิว เซลล์ผนังหลอดเลือด ฯลฯ ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน.

ใหม่!!: เนื้องอกและอีพีเจเนติกส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฝเมลาโนไซต์

ฝเมลาโนไซต์ หรือ ไฝมีสี เป็นรอยโรคบนผิวหนังมีลักษณะเป็นจุดหรือตุ่มนูน มักมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ประกอบด้วยเซลล์ไฝ (nevus cell) ไฝโดยมากแล้วมักปรากฏขึ้นในอายุช่วง 20 ปีแรก ในขณะที่ทารก 1 ใน 100 คนมีไฝแต่กำเนิด ไฝที่เป็นภายหลังนั้นเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่ไฝที่มีมาแต่กำเนิดจัดเป็นรูปพิการชนิดเล็กน้อยหรือเป็นก้อนเนื้อวิรูปและอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งไฝ (melanoma) ไฝอาจเกิดใต้ชั้นหนังแท้หรือเป็นเม็ดสีที่อยู่บนผิวหนังก็ได้ซึ่งเกิดจากเซลล์ชื่อว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) ยิ่งร่างกายมีความเข้มข้นของเม็ดสีผิวที่เรียกว่าเมลานิน (melanin) มากยิ่งทำให้สีผิวคล้ำมากขึ้น ไฝจัดเป็นรอยโรคผิวหนังกลุ่มที่เรียกว่า ปาน (nevi).

ใหม่!!: เนื้องอกและไฝเมลาโนไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เมลาโนมา

มลาโนมา (melanoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งเกิดจากเซลล์เมลาโนซัยต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่พบมากในผิวหนัง แต่ก็สามารถพบได้ในตา หู ทางเดินอาหาร เยื่อหุ้มสมอง และเยื่อบุช่องปากและอวัยวะเพศได้ ถือเป็นมะเร็งผิวหนังที่ค่อนข้างพบน้อยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4% ของมะเร็วผิวหนังทั้งหมด แต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 75 % ของมะเร็งผิวหนังทั้งหมด เซลล์เมลาโนซัยต์ในผิวหนังทำหน้าที่สร้างสารสีเมลานิน จนถึงปัจจุบัน วิธีการรักษาเมลาโนมาที่ได้ผลดี มีโอกาสหายขาดมากที่สุดยังคงเป็นการตัดเอาก้อนเนื้อออกตั้งแต่ระยะแรกที่เนื้องอกมีขนาดเล็ก มีผู้ป่วยเมลาโนมาได้รับการวินิจฉัยใหม่ในสหรัฐอเมริกาประมาณปีละ 60,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเป็นคอเคเซียนRies LAG, et al., eds.

ใหม่!!: เนื้องอกและเมลาโนมา · ดูเพิ่มเติม »

เคมีบำบัด

มีบำบัด (chemotherapy) หรือ คีโม (chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง) ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: เนื้องอกและเคมีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: เนื้องอกและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกมดลูก

นื้องอกมดลูก (uterine fibroid, leiomyoma) เป็นเนื้องอกไม่ร้าย เกิดจากเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อเรียบที่มาจากชั้นกล้ามเนื้อเรียบ (myometrium เป็นส่วนกลางเป็นกล้ามเนื้อที่หนา) ของมดลูก ถ้ากลายเป็นมะเร็งถือว่าผิดปกติอย่างมากและเรียกได้ว่ามะเร็งกล้ามเนื้อเรียบ (leiomyosarcoma) ชื่อที่ใช้เรียกกันมีดังนี้ uterine leiomyoma, myoma, fibromyoma, fibroleiomyoma.

ใหม่!!: เนื้องอกและเนื้องอกมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกไม่ร้าย

เนื้องอกไม่ร้ายคือกลุ่มของเซลล์เนื้องอกที่ไม่มีศักยภาพที่จะรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียงและไม่สามารถแพร่กระจายได้ คุณสมบัติเหล่านั้นถือเป็นคุณสมบัติของมะเร็ง เพราะฉะนั้นเนื้องอกไม่ร้ายจึงถือว่าไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกไม่ร้ายจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามะเร็ง ตัวเซลล์ของเนื้องอกมักมีการพัฒนาประเภทไปมากกว่า (ใกล้เคียงกับเซลล์ปกติมากกว่า) ส่วนใหญ่มีเปลือกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันห่อหุ้ม หรือยังคงอยู่ภายใต้ชั้นเยื่อบุปกติ ตัวอย่างที่พบบ่อยของเนื้องอกไม่ร้ายได้แก่ไฝและเนื้องอกกล้ามเนื้อเรียบมดลูก เป็นต้น หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:เนื้องอกไม่ร้าย.

ใหม่!!: เนื้องอกและเนื้องอกไม่ร้าย · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: เนื้องอกและICD-10 · ดูเพิ่มเติม »

P53

P53: tumor protein 53 หรือชื่อทางการคือ Cellular tumor antigen p53 เป็น transcription factor ที่ควบคุม cell cycle และยังมีหน้าที่เป็น tumor suppressor ด้วย ทำให้ p53 มีความสำคัญในการยับยั้งมะเร็งของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ จึงมีการกล่าวถึง p53 ว่าเป็น "the guardian of the genome", "the guardian angel gene", หรือ "master watchman" เนื่องด้วยบทบาทในการป้องกันการผ่าเหล่าของสารพันธุกรรม P53 มีมวลโมเลกุล 53 kilodalton (kDa) เมื่อวิเคราะห์ด้วยวิธี SDS-PAGE แต่ในทางมวลโมเลกุลทฤษฏีนั้นจะเป็น 43.7 kilodalton ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในทางทฤษฏี กับการวิเคราะห์ด้วย SDS-PAGE เกิดจาก p53 มี กรดอะมิโน Proline ในบริมาณสูงทำให้การ migration บน SDS-PAGE เปลี่ยนไป.

ใหม่!!: เนื้องอกและP53 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

NeoplasiaNeoplasmTumorก้อนเนื้องอก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »