โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทอโรซอร์และเพลสิโอซอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เทอโรซอร์และเพลสิโอซอร์

เทอโรซอร์ vs. เพลสิโอซอร์

ทอโรซอร์ (Pterosaur; จากภาษากรีก "πτερόσαυρος", "pterosauros", หมายถึง "กิ้งก่ามีปีก") เป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มหนึ่ง ที่ชีวิตและอาศัยอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ มีลักษณะพิเศษคือ สามารถบินได้ โดยใช้ปีกขนาดใหญ่ที่มีพังผืดเหมือนค้างคาวเป็นอวัยวะสำคัญ ปัจจุบันนี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วพร้อมกับไดโนเสาร์ เทอโรซอร์ จัดอยู่ในอันดับ Pterosauria โดยมักจะถูกเรียกว่า "ไดโนเสาร์บินได้" แต่ทั้งนี้เทอโรซอร์มิได้จัดว่าเป็นไดโนเสาร์แต่อย่างใด เหมือนกับ เพลสิโอซอร์, โมซาซอร์ หรืออิกทิโอซอรัส ที่พบในทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้แล้วเทอโรซอร์ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ เทอโรแดกทิล โดยคำว่าเทอโรแดกทิลนั้นหมายถึงเทอโรซอร์ในระยะหลังที่มีขนาดใหญ่ และไม่มีฟัน และในทางเทคนิคจะหมายถึงเทอโรซอร์ในสกุล เทอโรแดกทิลัส เทอโรซอร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก สืบทอดเผ่าพันธุ์และครองโลกมาอย่างยาวนานถึง 162 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ไปทั้งหมดในช่วงยุคครีเตเชียสตอนปลายเช่นเดียวกับไดโนเสาร์ ปัจจุบัน นักบรรพชีวินวิทยาได้จำแนกความหลากหลายของเทอโรซอร์ออกได้มากกว่า 200 ชนิด มีความแตกต่างหลากหลายกันออกไปในแต่ละชนิดหรือแต่ละวงศ์ เทอโรซอร์ถูกค้นพบครั้งแรกในรูปแบบซากดึกดำบรรพ์ในยุคศตวรรษที่ 19 ซากดึกดำบรรพ์ของเทอโรซอร์พบได้ในทั่วทุกภูมิภาคของโลก เทอโรซอร์ที่เก่าแก่ที่สุดถือกำเนิดในยุคไทรแอสซิกเมื่อ 228 ล้านปีก่อน โดยบรรพบุรุษของเทอโรซอร์นั้นมีรูปร่างเล็กมาก โดยมีขนาดพอ ๆ กับนกกระจอกในยุคปัจจุบัน เช่น พรีออยแดกกิลุส บัฟฟารีนีโอ ที่มีความกว้างของปีกแค่ 0.5 เมตร เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในป่าทึบกินแมลง เช่น แมลงปอ เป็นอาหาร หรือแครีเรมัส เซซาพลาเนนซิส ที่มีความกว้างของปีก 1 เมตร เทอโรซอร์ในยุคแรกจะมีขนาดลำตัวเล็ก บางจำพวกมีหางยาว เช่น ดิมอร์โฟดอน แมโครนิกซ์ ที่มีความกว้างของปีก 1.2 เมตร น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม มีหางยาวที่แข็ง คอสั้น หัวมีขนาดใหญ่ มีฟันแหลมคม และกระดูกกลวงบางส่วน ทั้งนี่้เชื่อว่าเทอโรซอร์วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ๆ ที่กระโดดหรือใช้ชีวิตอยู่บนต้นไม้เป็นหลักด้วยการหากินและหลบหลีกศัตรู เทอโรซอร์ ได้วิวัฒนาการมาเป็นลำดับขั้นตามยุคสมัยไปเรื่อย ๆ เช่น ยุคจูแรสซิก จนกระทั่งถึงยุคครีเตเชียส เทอโรซอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เคตซัลโคแอตลัส นอร์โทรพี มีความสูงเท่า ๆ กับยีราฟ มีความกว้างของปีก 10.5 เมตร พอ ๆ กับเครื่องบินรบเอฟ-16 น้ำหนักตัวถึง 200 กิโลกรัม เฉพาะส่วนหัวรวมถึงจะงอยปากด้วยก็ยาวถึง 3 เมตรแล้ว จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่บินได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา และเชื่อว่าชอบที่จะกินลูกโดโนเสาร์เป็นอาหาร ตามหลักฐานจากการศึกษาซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์ในยุคหลังนั้นมีขนปกคลุมลำตัวบาง ๆ ด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะเป็นสัตว์เลือดอุ่น ทั้งนี้มีไว้เพื่อเป็นเสมือนฉนวนกักความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เช่น เจโฮลอปเทอรัส ที่พบในจีน ซึ่งมีลักษณะปากกว้างคล้ายกบ เป็นต้น เทอโรซอร์ใช้ลักษณะการบินแบบเดียวกับค้างคาว เมื่ออยู่กับพื้นจะใช้วิธีการทะยานตัวออกไปจากท่ายืนสี่เท้าโดยรยางค์ของร่างกาย มีตีนขนาดเล็กเพื่อช่วยลดแรงต้าน เมื่อบินสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางการบินได้เล็กน้อย เช่น การหดกล้ามเนื้อปีก หรือขยับข้อเท้าเข้าและออก การเปลี่ยนมุมกระดูกข้อปีก เป็นต้น เมื่อเทียบกับนกแล้ว เทอโรซอร์ยังมีกล้ามเนื้อสำหรับการบินมากกว่า และมีสัดส่วนของน้ำหนักร่างกายมากกว่า แม้แต่สมองก็ดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อการบิน โดยมีกลีบสมองขยายใหญ่ขึ้นเพื่อประมวลผลข้อมูลประสาทรับความรู้สึกที่ซับซ้อนจากเยื่อปีก เทอโรซอร์มีไหล่ขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ และลักษณะปีกของเทอโรซอร์ประกอบด้วยเยื่อที่ยึดติดกับสีข้างจากไหล่ไล่ลงไปจนถึงข้อเท้าแต่ละข้าง และเหยียดออกโดยนิ้วที่สี่ที่ยืดยาวไปอย่างน่าทึ่งไปตามขอบหน้าของปีก เยื่อปีกร้อยรัดไปด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเลือด และเสริมความแข็งแกร่งด้วยพังผืด ลักษณะของเทอโรซอร์นั้นมีความแตกต่างหลากหลายกันมาก บางจำพวกมีหงอนด้วย สันนิษฐานว่ามีไว้สำหรับดึงดูดเพศตรงข้าม โดยว่ามีลักษณะที่แตกต่างหลากหลายกันออกไป เช่น ทูนแพนแดกทิอุส แนวีแกนส์ ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในยุคแรก ๆ และ ทาเลสไซโครมีอุส เซที ที่มีช่วงปีกกว้าง 4 เมตร เชื่อว่ามีหงอนที่มีสีสันที่สดใส จะงอยปากก็มีความหลากหลายแตกต่างออกไปตามแต่ลักษณะการใช้หาอาหาร เช่น บางชนิดมีฟันแหลมคมเต็มปากเห็นได้ชัดเจนใช้สำหรับการจับปลาในน้ำ เช่น แอนเฮงรา พิสเคเตอร์ หรือ ซันแกริปเทอรัส ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ที่มีจะงอยปากยาวและงอนขึ้นใช้สำหรับสำรวจและช้อนเอาสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกสันหลังหรือครัสเตเชียนกินเป็นอาหาร หรือบางจำพวก หากินโดยการใช้วิธีการยืนในแหล่งน้ำเค็มตื้น ๆ แล้วใช้การกรองกินสัตว์ขนาดเล็ก ๆ จำพวกครัสเตเชียน เหมือนกับวิธีการกินของนกฟลามิงโกในยุคปัจจุบัน หรือบางสกุล เช่น นิกโตซอรัส ซึ่งเป็นเทอโรซอร์ในทะเลลักษณะคล้ายนกอัลบาทรอสที่มีระยะระหว่างปลายปีกสองข้างกว้างเกือบ 3 เมตร มีอัตราส่วนการร่อน หรือระยะทางที่เคลื่อนไปข้างหน้าได้ต่อการลดระดับลงทุกหนึ่งเมตร จัดเป็นนักร่อนชั้นดี และจากการพบลักษณะของซากดึกดำบรรพ์พบว่า เทอโรซอร์บางกลุ่มก็อาศัยอยู่รวมกันเป็นนิคมหรือคอโลนีเหมือนกับนกทะเลหลายชนิดในปัจจุบัน คือ ไคยัวฮารา โครบรัสกิอี โดยพบหลักฐานว่า ตายพร้อมกันถึง 47 ตัว หน้า 26-45, เทอโรซอร์ ปีกพิศวงสุดแสนพิศดาร โดย ริชาร์ด คอนนิฟฟ. ลสิโอซอร์ (Plesiosaurs;; กรีกโบราณ: πλησίος, plesios, หมายถึง "ใกล้ถึง" และ Sauria หมายถึง กิ้งก่า) เป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานทะเลขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคครีเตเชียสเมื่อราว 65 ล้านปีก่อน ที่อยู่ในอันดับ Plesiosauria เพลสิโอซอร์ ปรากฏตัวตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (ประมาณ 230 ล้านปีก่อน) มีคอยาว แต่หัวเล็ก ในปากมีฟันแหลมคม สามารถว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว และสามารถลอยตัวผ่านน้ำได้ ฟันมีลักษณะรูปกรวยมีความแหลมคมแข็งแรงมากพอที่จะฆ่าสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหารได้ และด้วยความยาวลำตัวที่มากถึง 15 เมตรเป็นอย่างน้อย จึงทำให้เพลสิโอซอร์ได้ชื่อว่าเป็นอสุรกายแห่งท้องทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วยความที่เป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ทั้งนี้ เพลสิโอซอร์มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น อีลาสโมซอรัส (Elasmosaurus platyurus), เพลสิโอซอรัส (Plesiosaurus dolichodeirus) หรือฟุตาบะซอรัส (Futabasaurus suzukii) พบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกจนถึงขั้วโลกใต้ในปัจจุบัน เชื่อกันว่าเพลสิโอซอร์ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา, หมึก กินเป็นอาหาร แต่ก็มีบางทฤษฎีที่เชื่อว่าเพลสิโอซอร์ไม่สามารถยกส่วนหัวหรือคอขึ้นพ้นผิวน้ำได้ และจากการศึกษาล่าสุดของนักบรรพชีวินวิทยากลุ่มหนึ่ง โดยการใช้แบบจำลองส่วนหัวและฟันของเพลสิโอซอร์พบว่า การสบกันของฟันอาจเป็นไปได้ว่าใช้ชีวิตด้วยการกรองกินเหมือนกับวาฬบาลีนหรือวาฬไม่มีฟัน ซึ่งไม่เคยพบพฤติกรรมเช่นนี้ในสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลชนิดอื่น ๆ มาก่อน โดยอาจเป็นวิวัฒนาการเบนเข้า เนื่องจากทั้งวาฬและเพลสิโอซอร์นั้นมิได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลยแต่ประการใด แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป โดยเพลสิโอซอร์ มักถูกอธิบายว่าเป็นสัตว์ที่ยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นที่มาของสัตว์ประหลาดทะเลสาบตลอดจนสัตว์ประหลาดทะเลหรือมังกรทะเล ที่พบตามแหล่งน้ำต่าง ๆ จนถึงทะเลหรือมหาสมุทรทั่วโลก เช่น เนสซี หรือสัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ในสก๊อตแลนด์, มอแรก ในสก๊อตแลนด์, แชมป์ ในพรมแดนสหรัฐอเมริกาและแคนาดา, โอโกโปโก ในแคนาดา เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เทอโรซอร์และเพลสิโอซอร์

เทอโรซอร์และเพลสิโอซอร์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บรรพชีวินวิทยายุคก่อนประวัติศาสตร์ยุคครีเทเชียสยุคไทรแอสซิกสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลาน

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

บรรพชีวินวิทยาและเทอโรซอร์ · บรรพชีวินวิทยาและเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: Prehistory) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่ไม่มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยมนุษย์ (ในบางครั้งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนมีอารยธรรมมนุษย์).

ยุคก่อนประวัติศาสตร์และเทอโรซอร์ · ยุคก่อนประวัติศาสตร์และเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ยุคครีเทเชียสและเทอโรซอร์ · ยุคครีเทเชียสและเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ยุคไทรแอสซิกและเทอโรซอร์ · ยุคไทรแอสซิกและเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

สัตว์และเทอโรซอร์ · สัตว์และเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

สัตว์มีแกนสันหลังและเทอโรซอร์ · สัตว์มีแกนสันหลังและเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

สัตว์เลื้อยคลานและเทอโรซอร์ · สัตว์เลื้อยคลานและเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เทอโรซอร์และเพลสิโอซอร์

เทอโรซอร์ มี 43 ความสัมพันธ์ขณะที่ เพลสิโอซอร์ มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 10.77% = 7 / (43 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เทอโรซอร์และเพลสิโอซอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »