ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และโบโรเมียร์
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และโบโรเมียร์ มี 19 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟาราเมียร์กอนดอร์กิมลีมินัสทิริธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สามแห่งอาร์ดาริเวนเดลล์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวนลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาตออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)อารากอร์นอิซิลดูร์ที่ประชุมของเอลรอนด์คณะพันธมิตรแห่งแหวนโฟรโด แบ๊กกิ้นส์เลโกลัสเอกธำมรงค์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเซารอน
ฟาราเมียร์
ฟาราเมียร์ (Faramir) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นมนุษย์ชาวกอนดอร์ บุตรแห่งเดเนธอร.
ฟาราเมียร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ฟาราเมียร์และโบโรเมียร์ ·
กอนดอร์
กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.
กอนดอร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · กอนดอร์และโบโรเมียร์ ·
กิมลี
กิมลี เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นคนแคระ ซึ่งเป็นบุตรหลานว่านเครือของ ดูริน เจ้าแห่งคนแคระผู้ยิ่งใหญ่ในยุคโบราณ.
กิมลีและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · กิมลีและโบโรเมียร์ ·
มินัสทิริธ
มินัสทิริธ (Minas Tirith) เป็นชื่อหอคอยในตำนานชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยระวังภัย" ในปกรณัมปรากฏชื่อหอคอย มินัสทิริธ ทั้งในยุคที่หนึ่ง และยุคที่สาม ของอาร์ดา มินัสทิริธ จากภาพยนตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในปี 3320 ของยุคที่สอง ในขณะนั้นเมืองหลวงของอาณาจักร กอนดอร์ยังคงเป็น ออสกิเลียธ (Osgiliath) อิซิลดูร์ และ อนาริออน บุตรแห่งเอเลนดิล ทั้งสองได้ร่วมกันปกครอง ออสกิเลียธ แต่พวกเขาก็ยังสร้างปราการที่เป็นของตนเองด้วย โดยปราการทั้งสองนั้นตั้งอยู่คนละฟากของแม่น้ำอันดูอิน อิซิลดูร์ สร้างหอคอยจันทร์รุ่งเรียกว่า มินัสอิธิล ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนอนาริออน สร้างหอคอยตะวันรอนเรียกว่า มินัสอะนอร์ ทางตะวันตกของแม่น้ำ มินัสอะนอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นป้อมปราการอย่างแข็งแกร่งและงดงาม แบ่งเป็น 7 ชั้น โดยมีประตูใหญ่ด้านหน้าและประตูชั้นต่อๆไปอยู่ด้านข้างสลับไปมาส่วนประตูชั้นบนสุดจะหันไปด้านหน้า กำแพงชั้นแรกสร้างด้วยวัสดุสีดำแบบเดียวกับที่ใช้ในออร์ธังค์ และชั้นอื่นๆทำด้วยหินอ่อน ในชั้นที่หกจะมีทางออกไปยังสุสานกษัตริย์และผู้พิทักษ์ส่วนชั้นที่เจ็ดเป็นที่ตั้งของท้องพระโรงและที่ปลูกพฤกษาขาว และด้านบนคือหอคอยที่เก็บรักษาดวงพาลันเทียร์ประจำมินัสอะนอร์หรือมินัสทิริธต่อมา ต่อมาในปี 3429 ของยุคที่สอง เซารอนโจมตีกอนดอร์ มินัสอิธิลถูกยึดไปได้ แต่กอนดอร์ยังสามารถรักษา ออสกิเลียธ และมินัสอะนอร์ไว้ได้ หลังจากนั้นก็สามารถขับไล่กองทัพเซารอนกลับไปยังมอร์ดอร์ได้ก่อนที่คณะพันธมิตรของมนุษย์และเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายมาถึง อนาริออนเสียชีวิตในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย ในปี 3440 และสงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของเซารอนในอีกปีต่อมา ในปีที่ 2 ของยุคที่สาม อิซิลดูร์ นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาวที่นำออกมาจากมินัสอิธิลได้ทัน และนำมาปลูกไว้ที่ มินัสอะนอร์ เพื่อเป็นการรำลึกถึง อนาริออน ต่อมา ออสโตเฮอร์ (Ostoher) กษัตริย์ลำดับที่เจ็ดแห่งกอนดอร์ ได้ปรับปรุงและขยายมินัสอะนอร์ให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นก็เกิดธรรมเนียมที่กษัตริย์แห่งกอนดอร์ จะเสด็จมาประทับที่มินัสอะนอร์ ในช่วงฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ออสกิเลียธก็ยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ ในปี 1437 ของยุคที่สาม เกิดสงครามกบฏที่เรียกว่า กบฏราชวงศ์ ทำให้ออสกิเลียธได้รับความเสียหาย และเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ทำให้เมืองถูกทิ้งร้าง จากนั้นมินัสอะนอร์จึงได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของกอนดอร์แทนที่ และได้มีการสร้างหอคอยสีขาวขึ้นในส่วนยอดของมินัสอะนอร์ เพื่อเป็นที่เก็บ พาลันเทียร์ ในปี 2002 มินัสอิธิล ถูกยึดอีกครั้งโดยพวกนาซกูล และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล หลังจากนั้นมินัสอะนอร์ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นกันว่า มินัสทิริธ ซึ่งหมายถึง 'หอคอยระวังภัย' เมื่อเซารอนกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในช่วงปลายยุคที่สาม กองทัพมอร์ดอร์ยกข้ามแม่น้ำอันดูอิน เช้าโจมตีมินัสทิริธ ซึ่งมี วิชคิง เป็นแม่ทัพ โดยทหารกอนดอร์ป้องกันกำแพงอยู่ภายในเมือง เกิดการรบกันอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพมอร์ดอร์ใช้ กรอนด์ ทำลายประตูเมืองลงได้ ทหารมอร์ดอร์เคลื่อนพลหลั่งไหลเข้าเมือง (แต่ในฉบับนิยาย กรอนด์ไม่สามารถทำลายประตูเมืองได้ จนกระทั่งวิชคิงต้องมาร่ายเวทย์ทำลายประตูเมืองด้วยตัวเอง ประตูเมืองจึงถูกทำลาย แต่ทว่าทหารมอร์ดอร์ก็ยังไม่สามารถยกพลเข้าประตูเมืองได้เนื่องจากกองทัพโรฮันนำกองทัพกำลังเสริมมาช่วยเหลือกอนดอร์) ไม่นานนักทหารจากโรฮันก็เคลื่อนทัพมาถึงและเข้ามาช่วยไว้ได้ทัน เกิดการพุ่งรบกันบนสมรภูมิแห่งทุ่งพาเลนเนอร์ และในที่สุดอารากอร์นนำพลจากทางแม่น้ำอันดูอินขึ้นมาช่วยรบ จนได้รับชัยชนะ หลังจากสงครามมินัสทิริธได้รับการบูรณะใหม่โดยคนแคระจากเอเรบอร์ได้สร้างประตูเมืองขึ้นใหม่ด้วยมิธริลและมอบให้เป็นของขวัญแก่นคร ทั้งยังบูรณะถนนอาคารต่างๆด้วยหินอ่อนสีขาว และชาวเอลฟ์ได้นำต้นไม้มาประดับท้องถนนต่างๆและสร้างน้ำพุขึ้นจนเมืองถือได้ว่างดงามยิ่งกว่าที่เคยเป็นม.
มินัสทิริธและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · มินัสทิริธและโบโรเมียร์ ·
มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.
มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และโบโรเมียร์ ·
ยุคที่สามแห่งอาร์ดา
ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.
ยุคที่สามแห่งอาร์ดาและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ยุคที่สามแห่งอาร์ดาและโบโรเมียร์ ·
ริเวนเดลล์
ริเวนเดลล์ จากภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ริเวนเดลล์ (Rivendell) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อในภาษาซินดารินเรียกว่า อิมลาดริส (Imladris) ซึ่งมีความหมายว่า 'หุบเขาลึก' บางครั้งถูกเอ่ยถึงด้วยชื่อ คฤหาสน์ลาสต์โฮมลี่เฮ้าส์ ในหุบเขาฟากตะวันตกของเทือกเขามิสตี้ อาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์กึ่งมนุษย์ชื่อว่า เอลรอนด์ ตั้งแต่ยุคที่สองของโลกอาร์ดา (ประมาณ 4-5 พันปี ก่อนเหตุการณ์ในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์) ริเวนเดลล์ตั้งอยู่เชิงเขาทางฟากตะวันตกของฮิธายเกลียร์ หรือเทือกเขามิสตี้ ใกล้กับโตรกแคบของแม่น้ำบรุยเนน ซ่อนตัวมิดชิดอยู่ในหุบเขา เส้นทางเข้าออกสำคัญของอาณาจักรนี้คือทางข้ามแม่น้ำบริเวณที่เรียกว่า ฟอร์ดบรุยเนน ภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างเย็น มีช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและหิมะเล็กน้อยในฤดูหนาว อาณาจักรริเวนเดลล์ก่อตั้งขึ้นในปีที่ 1697 ของยุคที่สอง ในระหว่างสงครามเมืองเอเรกิออน เมื่อกองทัพจากลินดอนที่กิล-กาลัดส่งมาช่วยเอเรกิออน นำทัพโดยเอลรอนด์ ต้องพาผู้ลี้ภัยที่หนีออกมาจากนครเอเรกิออนถอยขึ้นไปทางเหนือ ทัพของเซารอนปิดล้อมริเวนเดลล์อยู่ถึงสามปี จนกระทั่งกิล-กาลัดและทัพจากนูเมนอร์ส่งมาช่วย ทัพจากริเวนเดลล์ยกออกตีกระหนาบจนสามารถเอาชนะเซารอนในการศึกครั้งนั้นได้ ริเวนเดลล์ถูกทัพของวิชคิงปิดล้อมอีกครั้งในราวศตวรรษที่ 14 ของยุคที่สาม และสามารถขับไล่ทัพของวิชคิงไปได้เมื่อได้รับกำลังเสริมมาจากลอธลอริเอน ในเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ มาแวะพักที่ริเวนเดลล์นี้พร้อมกับพวกคนแคระ ในระหว่างการเดินทางไปยังภูเขาโลนลี่ และยังแวะพักในขากลับระหว่างเดินทางกลับไชร์พร้อมกับแกนดัล์ฟ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ กับผองเพื่อนฮอบบิทของเขา เดินทางมายังริเวนเดลล์พร้อมกับอารากอร์น และได้ใช้เวลาพักฟื้นอยู่ที่นี่หลายเดือน ที่นี้ยังเป็นที่ชุมนุมเผ่าพันธุ์ต่างๆ ที่ยังเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ คือพวกเอลฟ์ มนุษย์ และคนแคระ ในที่ประชุมของเอลรอนด์ เผ่าพันธุ์ทั้งหลายได้ลงมติให้นำแหวนเอกไปทำลายเสียที่เมาท์ดูม โดย โฟรโด เป็นผู้รับอาสาทำหน้าที่นี้ เอลรอนด์ได้เลือกตัวแทนแต่ละเผ่าพันธุ์เข้าร่วมในคณะพันธมิตรแห่งแหวน เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ ครอบครัวของเอลรอนด์ทุกคนพำนักอยู่ที่ริเวนเดลล์ ได้แก่ เคเลบรีอัน ภรรยาของเขา เอลลาดาน และ เอลโรเฮียร์ บุตรชายฝาแฝด และธิดาคนสุดท้องคือ อาร์เวน นอกจากนี้เอลรอนด์ยังเลี้ยงดูทายาทวงศ์กษัตริย์มนุษย์ คือ อารากอร์น ในฐานะบุตรบุญธรรมของตนด้วย แต่เคเลบรีอันได้รับบาดเจ็บในระหว่างเดินทางข้ามเทือกเขามิสตี้ครั้งหนึ่งแล้วถูกพวกออร์คซุ่มโจมตี นางจึงเดินทางไปรักษาตัวที่แผ่นดินอมตะ ในระหว่างยุคสงครามแหวน เคเลบรีอันจึงมิได้อยู่ที่ริเวนเดลล์แล้ว ในช่วงต้นของยุคที่สี่ หลังจากอาร์เวนได้อภิเษกกับอารากอร์น ขึ้นเป็นราชา-ราชินีของอาณาจักรกอนดอร์แล้ว เอลรอนด์เดินทางออกจากริเวนเดลล์เพื่อกลับไปยังแผ่นดินตะวันตก คงเหลือแต่เพียงเอลลาดานและเอลโรเฮียร์พำนักอยู่ที่นี่ ต่อมา เคเลบอร์น ได้ละลอธลอริเอนและมาสมทบกับพวกเขาที่นี่ แต่ไม่มีบันทึกใดระบุว่า สุดท้ายแล้วพวกเอลฟ์อพยพออกจากริเวนเดลล์ไปจนหมดสิ้นเมื่อใ.
ริเวนเดลล์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ริเวนเดลล์และโบโรเมียร์ ·
ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน
ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ตอนมหันตภัยแห่งแหวน หรือ อภินิหารแหวนครองพิภพ (The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring) เป็นนิยายภาคแรกของนิยายไตรภาคชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคที่สองคือตอน หอคอยคู่พิฆาต และภาคที่สามคือตอน กษัตริย์คืนบัลลังก.
ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวนและโบโรเมียร์ ·
ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาต
ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ หอคอยคู่พิฆาต หรือ ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (The Lord of the Rings: The Two Towers) เป็นนิยายภาคที่สองของนิยายไตรภาคชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคแรกคือตอน มหันตภัยแห่งแหวน และภาคที่สามคือตอน กษัตริย์คืนบัลลังก.
ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาตและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาตและโบโรเมียร์ ·
ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)
ออร์ค (Orc) ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างวิกลวิการ วิปริต จิตใจชั่วช้า เป็นสมุนของเทพฝ่ายมารนับแต่อดีต ได้แก่ มอร์กอธ และ เซารอน ความเป็นมาของออร์คนั้นไม่แน่ชัด แต่ตำนานหนึ่งเชื่อว่า นับแต่สมัยโบราณกาลในยุคที่หนึ่ง มอร์กอธแอบจับตัวพวกเอลฟ์ ไปทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ จนกลายสภาพเป็นสิ่งมีชีวิตที่วิปริต และดัดแปลงพันธุกรรมเสียใหม่ ด้วยความเคียดแค้นชิงชังในตัวพวกเอลฟ์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตแสนวิเศษที่ เอรู อิลูวาทาร์ทรงสร้างขึ้น พวกออร์คเรียกกันเป็นหลายชื่อ และยังมีเผ่าพันธุ์ย่อยอีกหลายเผ่าพันธุ์ ในเรื่อง เดอะฮอบบิท มักเรียกพวกออร์คว่า กอบลิน (Goblin) พวกเอลฟ์เรียกชนกลุ่มนี้ว่า อีร์ค (Yrch) แต่โทลคีนถอดความมาเป็นภาษาอังกฤษโดยเลือกใช้ชื่อสิ่งมีชีวิตโบราณในเทพนิยายมาใช้เป็น ออร์ค พวกออร์คส่วนใหญ่กลัวแสงแดด จึงมักหลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางวัน ในยามที่มอร์กอธหรือเซารอนต้องใช้กองทัพออร์คออกไปปฏิบัติการ จึงมักสร้างหมอกทึบเมฆดำปกคลุมผืนฟ้า เพื่อให้กองทัพออร์คเดินทางได้โดยสะดวก ในยุคที่สาม ซารูมานได้ผสมพันธุ์พวกออร์คขึ้นใหม่ ให้มีความทนทานต่อแสงอาทิตย์ และมีรูปร่างสูงใหญ่แข็งแรง มีชื่อเรียกว่า พวก อูรุก.
ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)และโบโรเมียร์ ·
อารากอร์น
อารากอร์น (Aragorn) หรือ อารากอร์นที่สอง บุตรแห่งอาราธอร์นที่สอง เป็นหนึ่งในตัวละครที่สำคัญในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏตัวในช่วงกลางของหนังสือลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน เมื่อเขาได้พบกับ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และคณะ เขามีเชื้อสายของ อิซิลดูร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักร กอนดอร์ และเป็นทายาทเพียงผู้เดียวที่หลงเหลืออยู่ หลังจากสิ้นสุดสงครามแหวน อารากอร์นได้รวมสองอาณาจักรแห่งอาร์นอร์และกอนดอร์ไว้ด้วยกัน และปกครองอย่างร่มเย็นต่อเนื่องมาจนจวบสิ้นอายุขั.
อารากอร์นและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · อารากอร์นและโบโรเมียร์ ·
อิซิลดูร์
อิซิลดูร์ (Isildur) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'อิซิลดูร์' หมายถึง 'ผู้รักใคร่ในดวงจันทร์' ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อิซิลดูร์ถูกเอ่ยถึงในฐานะชาวดูเนไดน์แห่งนูเมนอร์ โอรสของกษัตริย์เอเลนดิล ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ในช่วงเวลาสั้นๆ และทรงเป็นบรรพชนของอารากอร์น เอเลสซาร์ เรื่องราวโดยละเอียดของเขาจะปรากฏอยู่ใน ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มากกว.
อิซิลดูร์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · อิซิลดูร์และโบโรเมียร์ ·
ที่ประชุมของเอลรอนด์
ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ประชุมของเอลรอนด์ (Council of Elrond) เป็นชื่อการประชุมลับคราวหนึ่งที่เรียกประชุมโดย เอลรอนด์ จัดการประชุมขึ้นที่อาณาจักรเอลฟ์ ริเวนเดลล์ เพื่อหารือในหมู่อิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ ว่าจะทำประการใดกับ แหวนเอก ต่อไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในหนังสือ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ภาคแรก เล่มสอง บทที่สอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ก่อตั้ง คณะพันธมิตรแห่งแหวน (The Fellowship of the Ring) อันเป็นชื่อของหนังสือภาคแรกในฉบับภาษาอังกฤษ.
ที่ประชุมของเอลรอนด์และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ที่ประชุมของเอลรอนด์และโบโรเมียร์ ·
คณะพันธมิตรแห่งแหวน
ณะพันธมิตรแห่งแหวน คณะพันธมิตรแห่งแหวน (The Fellowship of the Ring) เป็นชื่อของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเนื้อเรื่องครั้งแรกในภาคที่หนึ่ง คือตอน มหันตภัยแห่งแหวน คณะพันธมิตรแห่งแหวนประกอบด้วยสมาชิก 9 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของเผ่าพันธุ์ต่างๆ อันเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ มีภารกิจเพื่อป้องกันคุ้มครองผู้ถือแหวน โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ในการเดินทางเพื่อนำแหวนเอก ไปทำลายที่ใจกลางอาณาจักรมอร์ดอร์ การเดินทางของพวกเขาเริ่มต้นในวันที่ 25 ธันวาคม ในปีที่ 3018 ของยุคที่สาม หลังจากการก่อตั้งคณะพันธมิตรแห่งแหวนในที่ประชุมของเอลรอน.
คณะพันธมิตรแห่งแหวนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · คณะพันธมิตรแห่งแหวนและโบโรเมียร์ ·
โฟรโด แบ๊กกิ้นส์
ฟรโด แบ๊กกิ้นส์ (Frodo Baggins) เป็นตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน และเป็นตัวละครเอกในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาถูกกล่าวถึงครั้งแรกในนิยาย ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน โดยเป็น ฮอบบิทจากไชร์ในฐานะหลานและทายาทของบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ โฟรโดได้รับสืบทอดแหวนเอกธำมรงค์จากบิลโบลุงของเขา และได้รับมอบหมายภารกิจในการนำแหวนเอกนี้ไปทำลายยังเขาเมาท์ดูมในดินแดนมอร์ดอร์ นอกจากนี้เขายังปรากฏในงานชิ้นอื่นของโทลคีนอีกอาทิ ตำนานแห่งซิลมาริล และ Unfinished Tales.
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ · โบโรเมียร์และโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ·
เลโกลัส
ลโกลัส (Legolas) เป็นตัวละครในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเป็นพระโอรสของกษัตริย์ธรันดูอิลเป็นหนึ่งในคณะพันธมิตรแห่งแหวนซึ่งรับหน้าที่นำแหวนเอกไปทำลายที่ภูมรณะ ในฐานะตัวแทนของเผ่าพันธุ์เอลฟ์ อีกทั้งยังมีการเพิ่มบทบาทของเลโกลัสลงใน ภาพยนตร์เดอะฮอบบิท ของ ปีเตอร์ แจ็คสัน อีกด้ว.
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และเลโกลัส · เลโกลัสและโบโรเมียร์ ·
เอกธำมรงค์
แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) หรือชื่ออื่นๆ ว่า แหวนเอก แหวนประมุข แหวนแห่งอำนาจ หรือ ยมทูตแห่งอิซิลดูร์ เป็นแหวนวิเศษในจินตนาการจากนิยายไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นนิยายที่เล่าเรื่องราวของภารกิจการทำลายแหวนวิเศษวงนี้ ผู้สร้างแหวนนี้คือ เซารอน ผู้เป็นจอมมาร สร้างขึ้นในยุคที่สอง โดยใส่พลังของตัวเองลงไปด้วย แหวนจะคอยทดสอบจิตใจทุกคนที่มันเห็น ผู้ที่ชนะใจตัวเองไม่ได้แหวนจะนำไปสู่ความตาย และทำให้คนดีอ่อนแอ แต่หากเป็นกลางจะเปลี่ยนเป็นปีศาจชั่วคราวแล้วกลับเป็นปกติก็จะมีอำนาจต้านแหวนได้ เนื่องจากเป็นแหวนที่มีอำนาจมากที่สุดในแหวนแห่งอำนาจ หลังจากสงครามที่เซารอนพ่ายแพ้ครั้งแรก แหวนตกไปอยู่ในมือของอิซิลดูร์, กอลลัม, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ก่อนที่โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ผู้ถือแหวนคนสุดท้ายจะนำแหวนไปทำลายที่ภูเขามรณะ(แต่แท้จริงๆแล้วแซมไวส์ แกมจีเป็นผู้ถือแหวนคนสุดท้ายแต่อยู่ในระยะสั้นที่สุด เพราะหลังจากที่เข้าใจผิดว่าโฟรโดถูกแมงมุมยักษ์ชีล็อบฆ่าตาย แซมได้เอาแหวนเอกไปเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเซารอน ต่อมาเมื่อช่วยโฟรโดแล้วก็เอาแหวนเอกมาคืนให้แก่โฟรโดตามเดิม).
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และเอกธำมรงค์ · เอกธำมรงค์และโบโรเมียร์ ·
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและโบโรเมียร์ ·
เซารอน
ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และโบโรเมียร์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และโบโรเมียร์
การเปรียบเทียบระหว่าง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และโบโรเมียร์
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ มี 204 ความสัมพันธ์ขณะที่ โบโรเมียร์ มี 23 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 19, ดัชนี Jaccard คือ 8.37% = 19 / (204 + 23)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์และโบโรเมียร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: