โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซลล์เชื้อเพลิง

ดัชนี เซลล์เชื้อเพลิง

Toyota FCHV ใช้เซลล์เชื้อเพลิง proton-conducting fuel cell) เซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานเคมีจากเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งให้เป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางปฏิกิริยาเคมีของไอออนของไฮโดรเจนประจุบวกกับอ๊อกซิเจนหรือตัวทำอ๊อกซิเดชันอื่น เซลล์เชื้อเพลิงแตกต่างจากแบตเตอรี่ที่ว่ามันต้องการแหล่งจ่ายเชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของปฏิกิริยาเคมี ในขณะที่ในแบตเตอรี่สารเคมีภายในจะทำปฏิกิริยาต่อกันเพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า (emf) เซลล์เชื้อเพลิงสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องนานเท่าที่เชื้อเพลิงและอ๊อกซิเจนหรืออากาศยังคงถูกใส่เข้าไป ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่ที่จะหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าถ้าสารเคมีหมดอายุการใช้งาน เซลล์เชื้อเพลิงครั้งแรกถูกคิดค้นในปี 1838 เซลล์เชื้อเพลิงเชิงพาณิชย์ครั้งแรกถูกใช้มากว่าหนึ่งศตวรรษต่อมาในโครงการอวกาศของ นาซ่า ที่จะผลิตพลังงานให้กับดาวเทียมและแคปซูลอวกาศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเซลล์เชื้อเพลิงถูกนำมาใช้ในงานที่หลากหลายอื่น ๆ เซลล์เชื้อเพลิงถูกใช้สำหรับพลังงานหลักและพลังงานสำรองเพื่อการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและอาคารที่อยู่อาศัยและในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงได้ พวกมันยังถูกใช้เพื่อให้พลังงานกับยานพาหนะเซลล์เชื้อเพลิง รวมทั้งรถยก, รถยนต์, รถโดยสาร, เรือ, รถจักรยานยนต์และเรือดำน้ำ เซลล์เชื้อเพลิงมีอยู่หลายชนิด ทุกชนิดประกอบด้วยแอโนด แคโทดและอิเล็กโทรไลต์ อิเล็กโทรไลต์จะยอมให้ไอออนไฮโดรเจนประจุบวก (หรือโปรตอน) สามารถเคลื่อนที่ได้จากแอโนดไปแคโทดของเซลล์เชื้อเพลิง แอโนดและแคโทดประกอบด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เชื้อเพลิงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่สร้างไอออนไฮโดรเจนประจุบวกและอิเล็กตรอน ไอออนไฮโดรเจนจะถูกดึงผ่านอิเล็กโทรไลต์หลังจากการเกิดปฏิกิริยาและเคลื่อนที่ไปยังแคโทด ในขณะเดียวกันอิเล็กตรอนที่เหลือจากอะตอมของไฮโดรเจนจะถูกดึงจากแอโนดไปยังแคโทดผ่านวงจรภายนอก ทำให้เกิดกระแสตรง ที่แคโทดไอออนไฮโดรเจน อิเล็กตรอนและออกซิเจนทำปฏิกิริยากันก่อตัวเป็นน้ำ เนื่องจากความแตกต่างหลักระหว่างเซลล์เชื้อเพลิงในแต่ละประเภทคืออิเล็กโทรไลต์ เซลล์เชื้อเพลิงจึงถูกแยกประเภทตามชนิดของอิเล็กโทรไลต์ที่พวกมันใช้ และแยกตามระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ 1 วินาทีสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงเยื่อหุ้มแลกเปลี่ยนโปรตอน (solid oxide fuel cell (SOFC)) เซลล์เชื้อเพลิงเดี่ยว ๆ จะผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันขนาดค่อนข้างเล็ก ประมาณ 0.7 โวลต์ ดังนั้นเซลล์จึงต้องวาง "ซ้อน" กัน หรือถูกวางเรียงกันเป็นแถว เพื่อที่จะสร้างแรงดันเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของการใช้งาน นอกเหนือไปจากกระแสไฟฟ้า เซลล์เชื้อเพลิงยังผลิตน้ำ ความร้อนและ(ขึ้นอยู่กับแหล่งเชื้อเพลิง)ปริมาณขนาดเล็กมากของก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเซลล์เชื้อเพลิงโดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 40-60% หรือสูงขึ้นถึง 85% ในการผลิตแบบความร้อนร่วม (cogeneration) ถ้าความร้อนที่เหลือทิ้งถูกนำกลับมาใช้งานอีก ตลาดของเซลล์เชื้อเพลิงกำลังเจริญเติบโตและบริษัท Pike Research ได้ประมาณการว่าตลาดเซลล์เชื้อเพลิงอยู่กับที่จะสูงถึง 50 GW ในปี 2020 สารตั้งต้นที่ใช้โดยทั่วไปในเซลล์เชื้อเพลิงได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจนที่ด้านแอโนด และก๊าซออกซิเจนที่ด้านแคโทด (เซลล์ไฮโดรเจน) โดยปกติแล้วเมื่อมีสารตั้งต้นไหลเข้าสู่ระบบ สารผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นก็จะไหลออกจะระบบไปด้วย ดังนั้นการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงจึงดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ ตราบเท่าที่เราสามารถควบคุมการไหลได้ เซลล์เชื้อเพลิงมักจะถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงและปราศจากมลพิษ เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิง เช่น มีเทนและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวที่เกิดจากการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงคือน้ำ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลอยู่ในขั้นตอนการผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งใช้พลังงานมาก การผลิตไฮโดรเจนจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบที่มีไฮโดรเจน เช่น น้ำ หรือ เชื้อเพลิงอื่นๆ นอกจากนั้นยังต้องใช้ไฟฟ้าซึ่งก็ก็ผลิตมาจากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่พลังงานทางเลือกเช่น ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ก็อาจสามารถใช้ได้ แต่ราคาก็ยังสูงมากในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นอิสระจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ จนกว่าเราจะสามารถหาวิธีการผลิตไฮโดรเจนปริมาณมากด้วยพลังงานทดแทนหรือพลังงานนิวเคลียร.

29 ความสัมพันธ์: ฟอร์ดมอเตอร์พ.ศ. 2381กลูโคสมาสด้ามีเทนวอลโว่ออกซิเจนอิเล็กตรอนอิเล็กโทรไลต์ฮอนด้าคาร์บอนไดออกไซด์ตัวออกซิไดซ์ตัวจ่ายพลังงานบลูมนาซานิสสันแบตเตอรี่แก๊สธรรมชาติแอโนดแคโทดโตโยต้าไฟฟ้ากระแสตรงไอน้ำไฮโดรเจนเมทานอลเจเนรัลมอเตอร์เครื่องจักรความร้อนการ์โนต์เซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอนเซลล์เชื้อเพลิงแอลคาไลน์Direct methanol fuel cell

ฟอร์ดมอเตอร์

ฟอร์ด โฟกัส ฟอร์ด มอเตอร์ (Ford Motor Company) หรือเรียกย่อว่า ฟอร์ด บริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกตั้งอยู่ที่รัฐมิชิแกน ก่อตั้งโดยเฮนรี ฟอร์ด ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 2 ของโลก รองจาก เจเนรัลมอเตอร์ ฟอร์ดมอเตอร์เป็นเจ้าของยี่ห้อรถยนต์ต่างๆ ได้แก่ ฟอร์ด, ลิงคอล์น (Lincoln), เมอร์คิวรี (Mercury) และวอลโว่ (เฉพาะในส่วนของรถยนต์เท่านั้น สำหรับยี่ห้อวอลโว่ในส่วนของรถเพื่อการพานิชย์ (รถบรรทุก รถโดยสาร และเครื่องจักรกลหนัก) ยังคงเป็นกิจการของทางวอลโว่เอง) แต่ฟอร์ดมอเตอร์ได้ขายวอลโว่ให้กับบริษัท Geely Automobile แล้วในปี 2010 นอกจากนี้ยังเข้าไปถือหุ้นในกิจการของบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นอย่างมาสด้.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและฟอร์ดมอเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2381

ทธศักราช 2381 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1838.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและพ.ศ. 2381 · ดูเพิ่มเติม »

กลูโคส

กลูโคส (อังกฤษ: Glucose; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและกลูโคส · ดูเพิ่มเติม »

มาสด้า

มาสด้า เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น มีฐานการผลิตที่เมืองฮิโรชิมา ข้อมูลปี..

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและมาสด้า · ดูเพิ่มเติม »

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและมีเทน · ดูเพิ่มเติม »

วอลโว่

Volvo Cars head office Volvo 850 วอลโว่ เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ของสวีเดน ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและวอลโว่ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กตรอน

page.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและอิเล็กตรอน · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโทรไลต์

อิเล็กโทรไลต์คือสารที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนอิสระเมื่อละลายน้ำหรือหลอมเหลว ทำให้สามารถนำไฟฟ้าได้เนื่องจากโดยทั่วไป สารละลายนั้นจะประกอบไปด้วยไออนจึงมักเรียกกันว่า สารละลายไอออนิก ในบางครั้งอาจเรียกสั้นๆ ว่า ไลต์ โดยปกติแล้วอิเล็กโทรไลต์จะอยู่ในรูปของกรด เบส หรือเกลือ นอกจากนี้ แก๊สบางชนิดอาจทำตัวเป็นอิเล็กโทรไลต์ได้ภายใต้อุณหภูมิสูงและความดันต่ำ การจำแนกอิเล็กโทรไลต์ออกเป็นอิเล็กโทรไลต์เข้มข้นหรือเจือจางสามารถจำแนกได้จากความเข้มข้นของไอออน ถ้าความเข้มข้นมาก จะเรียกว่า อิเล็กโทรไลต์เข้มข้น แต่ถ้ามีความเข้มข้นของไอออนน้อยจะเรียกว่า อิเล็กโทรไลต์เจือจาง ถ้าสัดส่วนการแตกตัวเป็นไอออนของสารใดมีมาก จะเรียกว่าอิเล็กโทรไลต์แก่ แต่ถ้าสัดส่วนนั้นน้อย(ส่วนใหญ่ไม่แตกตัวเป็นไอออน) จะเรียกว่าอิเล็กโทรไลต์อ่อน.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและอิเล็กโทรไลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอนด้า

อนด้า มอเตอร์ หรือ บริษัท อุตสาหกรรมและวิจัยฮอนด้า มหาชนจำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิต และจำหน่ายรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น โดยมีผลิตภัณฑ์ รถยนต์ รถบรรทุก จักรยานยนต์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรมหนักอีกหลายประเภท ฮอนด้ามีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและฮอนด้า · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและคาร์บอนไดออกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวออกซิไดซ์

ตัวออกซิไดซ์ (oxidizing agent) ในสาขาเคมี มีความหมายสองอย่าง ความหมายแรกเป็นสายพันธ์เคมีชนิดหนึ่งที่แยกอิเล็กตรอนออกจากสายพันธ์เคมีอีกชนิดหนึ่ง มันเป็นส่วนประกอบหนึ่งในปฏิกิริยาลดการออกซิไดซ์ (ปฏิกิริยารีดอกซ์) (oxidation-reduction (redox) reaction) อีกความหมายหนึ่ง ตัวออกซิไดซ์เป็นสายพันธุ์เคมีชนิดหนึ่งที่ถ่ายโอนอะตอมที่มีกระแสไฟฟ้าลบ ปกติก็คือออกซิเจนไปให้กับสารตั้งต้นชนิดหนึ่ง การสันดาป การระเบิดจำนวนมาก และปฏิกิริยาแบบรีดอกซ์อินทรีย์ (organic redox reaction) เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาถ่ายโอนอะตอม พลังงานในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากตัวรับอิเล็กตรอนที่เลวไปสู่ตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีที่สุด และปล่อยพลังงานออกมา ที่นำไปใช้ในปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและตัวออกซิไดซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวจ่ายพลังงานบลูม

ตัวจ่ายพลังงานบลูม (Bloom Energy Server (the Bloom Box) เป็นเซลล์เชื้อเพลิงแบบออกไซด์ของแข็ง (SOFC) สร้างขึ้นโดยบริษัท Bloom Energy แห่งซันนีเวล, แคลิฟอร์เนีย, ที่สามารถใช้ปัจจัยการผลิตได้หลากหลาย (รวมทั้งสารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นของเหลวหรือก๊าซ ที่ผลิตจากแหล่งชีวภาพ) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ณ จุดที่มันจะถูกนำมาใช้.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและตัวจ่ายพลังงานบลูม · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

นิสสัน

นิสสัน เป็นชื่อยี่ห้อรถยนต์ของญี่ปุ่น ในอดีตมีชื่อว่า ดัทสัน (ซึ่งดัทสันเป็นยี่ห้อรถที่ใช้จนถึง พ.ศ. 2526 และมีแผนจะนำแบรนด์กลับมาเปิดตัวในฐานะรถยนต์ราคาถูกคุณภาพดีสำหรับเจาะตลาดใหม่) นอกจากนี้ นิสสันเป็นผู้คิดค้นเครื่องยนต์ VG และ VQ จนได้รับรางวัล Ward's 10 Best Engines 12 ปีซ้อน ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบรษัทนิสสันคือค่ายรถยนต์ Renault ประเทศฝรั่งเศส 19 เมษายน 2543.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและนิสสัน · ดูเพิ่มเติม »

แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ (Battery) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่มี ขั้วบวก (cathode) และ ขั้วลบ (anode) ขั้วที่มีเครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้าที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า "แบตเตอรี่" หมายถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว แบตเตอรี่ปฐมภูมิจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวหรือ "ใช้แล้วทิ้ง"; วัสดุที่ใช้ทำขั้วไฟฟ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในช่วงปล่อยประจุออก (discharge) ตัวอย่างที่พบบ่อยก็คือ แบตเตอรี่อัลคาไลน์ ที่ใช้สำหรับ ไฟฉาย และอีกหลายอุปกรณ์พกพา แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (แบตเตอรี่ประจุใหม่ได้) สามารถดิสชาร์จและชาร์จใหม่ได้หลายครั้ง ในการนี้องค์ประกอบเดิมของขั้วไฟฟ้าสามารถเรียกคืนสภาพเดิมได้โดยกระแสย้อนกลับ ตัวอย่างเช่น แบตเตอรี่ตะกั่วกรด ที่ใช้ในยานพาหนะและแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ที่ใช้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนย้ายได้ แบตเตอรี่มาในหลายรูปทรงและหลายขนาด จากเซลล์ขนาดเล็กที่ให้พลังงานกับ เครื่องช่วยฟัง และนาฬิกาข้อมือ จนถึงแบตเตอรี่แบงค์ที่มีขนาดเท่าห้องที่ให้พลังงานเตรียมพร้อมสำหรับ ชุมสายโทรศัพท์ และ ศูนย์ข้อมูล คอมพิวเตอร์ ตามการคาดการณ์ในปี 2005 อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั่วโลกสร้างมูลค่า 48 พันล้านดอลาร์สหรัฐในการขายในแต่ละปี ด้วยการเจริญเติบโตประจำปี 6% แบตเตอรี่มีค่า พลังงานเฉพาะ (พลังงานต่อหน่วยมวล) ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับ เชื้อเพลิง ทั้งหลาย เช่นน้ำมัน แต่ก็สามารถชดเชยได้บ้างโดยประสิทธิภาพที่สูงของมอเตอร์ไฟฟ้าในการผลิตงานด้านกลไกเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์สันดาป.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและแบตเตอรี่ · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สธรรมชาติ

ประเทศผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทนล้วนหรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังแก๊ส เรียกว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ แก๊สหุงต้ม แก๊สธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและแก๊สหุงต้ม ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้แก๊สธรรมชาติ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและแก๊สธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

แอโนด

แอโนด Zinc แอโนด (anode) คือ บริเวณด้านที่เกิดการให้อิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ด้านนี้จะเรียกเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation).

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและแอโนด · ดูเพิ่มเติม »

แคโทด

แผนภูมิของขั้วแคโทด ทองแดง ในเซลล์กัลวานิ แคโทด (cathode) คือ บริเวณด้านที่เกิดการรับอิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ด้านนี้จะเรียกเป็นปฏิกิริยารีดักชัน (reduction).

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและแคโทด · ดูเพิ่มเติม »

โตโยต้า

ตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน เป็นบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโทะโยะตะ จังหวัดไอชิ ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนมีนาคม 2557 โตโยต้ามีพนักงานในเครือบริษัททั่วโลกรวมแล้วกว่า 338,875 คน และในเดือนพฤศจิกายน 2557 ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 12 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกวัดตามรายได้ และตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา โตโยต้ายังเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (วัดตามจำนวนคันผลิต) แซงหน้า โฟล์กสวาเกน กรุ๊ป และ เจเนรัลมอเตอร์ ซึ่งในปีนั้นโตโยต้ารายงานว่าได้ผลิตรถยนต์คันที่ 200 ล้าน นับแต่ก่อตั้งบริษัท นอกจากนี้ โตโยต้ายังเป็นบริษัทแรกของโลกที่มีกำลังการผลิตรถยนต์เกิน 10 ล้านคันต่อปี และโตโยต้า ยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดทุนญี่ปุ่นที่ใหญ่และมีรายได้มากที่สุดของญี่ปุ่น ห่างจากอันดับสองคือ SoftBank กว่าสามเท่าตัว โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ได้รับการก่อตั้งโดย คิอิชิโร โทะโยะดะ ใน..

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและโตโยต้า · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้ากระแสตรง

ัญลักษณ์แทนไฟฟ้ากระแสตรง พบได้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดที่ผลิตหรือต้องการไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสตรง (direct) แสดงเป็นเส้นตรงสีแดง แกนตั้งคือปริมาณกระแส (i) หรือความต่างศักย์ (v) และแกนนอนคือเวลา (t)pulsating — ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดเป็นจังหวะvariable — ไฟฟ้ากระแสแปรผันalternating — ไฟฟ้ากระแสสลับ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดต่าง ๆ(บน) ชนิดสมบูรณ์(กลางและล่าง) ชนิดเป็นจังหวะเกิดจากการเรียงกระแส ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current, อักษรย่อ: DC) เป็นไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าไปในทิศทางเดียวกันเป็นวงจร ในอดีตไฟฟ้ากระแสตรงเคยถูกเรียกว่า กระแสกัลวานิก (galvanic current) อุปกรณ์ที่สามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ ทั้งชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้และชนิดใช้แล้วทิ้ง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า เช่น สายไฟ สารกึ่งตัวนำ ฉนวนไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเคลื่อนที่ในภาวะสุญญากาศในรูปของลำอิเล็กตรอนหรือลำไอออน เราสามารถใช้ตัวเรียงกระแส เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงได้ โดยส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวเรียงกระแสจะบังคับให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ในทิศทางเดียว นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับได้โดยใช้อินเวอร์เตอร์หรือชุดไดนามอเตอร์ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าประเภทที่หนึ่งคือ -แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้า เพื่อใช้วัดปริมาณต่างๆ ทางไฟฟ้าเครื่องวัดทางไฟฟ้าต่างๆนี้สามารถสร้างขึ้นโดยดัดแปลงมาจาก แกลแวนอมิเตอร์ (Galvanometer) ชนิดขดลวดเคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยขดลวดวางระหว่างขั้วแม่เหล็กและประเภทที่สองคือ-แกลแวนอมิเตอร์ (Galvanometer) คือ เครื่องมือวัดพื้นฐานทางไฟฟ้าที่สามารถวัดได้ทั้งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า แต่จะวัดได้ปริมาณน้อยๆ ดังนั้นจึงนิยมนำไปดัดแปลงใช้วัดกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทาน.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและไฟฟ้ากระแสตรง · ดูเพิ่มเติม »

ไอน้ำ

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของเอนโทรปีและอุณหภูมิ ของไอน้ำ ไอน้ำ มักจะหมายถึงน้ำที่ระเหย ซึ่งมีลักษณะบริสุทธิ์และไม่มีสีซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหมอก ที่ความดันปกติ น้ำจะกลายเป็นไอน้ำ ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และมีปริมาตรขยายเพิ่มประมาณ 1,600 เท่าของปริมาตรน้ำ ไอน้ำสามารถมีอุณหภูมิได้สูงมาก (มากกว่า 100 องศาเซลเซียส) ซึ่งจะถูกเรียกว่า ไอน้ำซูเปอร์ฮีต (superheated steam) เมื่อน้ำในสภาวะของเหลวได้มีการสัมผัสกับวัตถุที่มีความร้อนสูง เช่นโลหะร้อน หรือลาวา น้ำสามารถกลายเป็นไอทันที หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก หมวดหมู่:ธรรมชาติ หมวดหมู่:รูปแบบของน้ำ.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและไอน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและไฮโดรเจน · ดูเพิ่มเติม »

เมทานอล

มทานอล (methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) มีสูตรโครงสร้างแบบย่อ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นพิษ นิยมใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้เป็นเชื้อเพลิง ในธรรมชาติ เมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์จากการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียหลายชนิด (ดูการผลิตเมทานอลจากของเสียเพื่อทำเป็นก๊าซชีวภาพ) ซึ่งเมทานอลจะระเหยออกสู่อากาศภายนอก แล้วสลายตัวได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ หากเราเผาเมทานอลกับอากาศ จะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ดังสมการด้านล่างนี้ ซึ่งเปลวไฟที่ได้จากการเผาเกือบจะมองไม่เห็นเลย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากมีการใช้เมทานอลเป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้เมทานอลยังใช้ผสมเอทานอล เพื่อมิให้สามารถรับประทานได้ (denatured alcohol) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางภาษีอากร.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและเมทานอล · ดูเพิ่มเติม »

เจเนรัลมอเตอร์

right เจเนรัลมอเตอร์ (General Motors Company) หรือย่อว่า จีเอ็ม (GM) เป็นบริษัทผลิตรถยนต์จากสหรัฐอเมริกา เจ้าของยี่ห้อ บิวอิคก์ (Buick) คาดิลแลค (Cadillac), เชฟโรเลต (Chevrolet), จีเอ็มซี (GMC) ฮัมเมอร์ (Hummer), พอนทิแอค (Pontiac), แซทเทิร์น (Saturn), นำเข้ารถจากยุโรปได้แก่ โอเปิล (Opel), ซาบ (Saab), และ วอกซ์ฮอลล์ (Vauxhall), และยังถือหุ้นใหญ่ในโฮลเด้น (Holden) ซึ่งเป็นยี่ห้อรถยนต์ของออสเตรเลีย และถือหุ้นใหญ่ในกิจการรถยนต์แดวู (Daewoo) ของเกาหลีใต้อีกด้วย 19 ตุลาคม 2550 เชฟโรเล็ตและ GMC ยังผลิตรถบรรทุก จีเอ็มเองมีหุ้นในบริษัทอีซูซุและซูซูกิของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันจีเอ็มเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก มีพนักงานประมาณ 340,000 คน แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2552 ทางบริษัทก็ได้มีการปิดโรงงานและปลดพนักงานออกจำนวนมากในหลายประเท.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและเจเนรัลมอเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องจักรความร้อนการ์โนต์

รื่องจักรความร้อนการ์โนต์ (Carnot Heat Engine) ถูกใช้ในการศึกษาวงจรอุณหพลศาสตร์โดย นิโคลัส ลีโอนาร์ด ซาดี การ์โนต์ (Nicolas Léonard Sadi Carnot) ในปี คริสต์ศักราช 1820 และได้รับการอธิบายเพิ่มเติมโดยเบอนัวต์ โปล เอมีล กลาปีรง (Benoit Paul Émile Clapeyron) ในทศวรรษต่อมา เครื่องจักรความร้อนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ความร้อนในการสร้างงานโดยการนำพาสารไปตามกระบวนการที่เป็นวัฏจักร.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและเครื่องจักรความร้อนการ์โนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน

แผนผัง แสดงการทำงานของเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (PEM fuel cell) เซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton exchange membrane fuel cells) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ polymer electrolyte membrane fuel cells ซึ่งเรียกย่อ ๆ ว่า (PEMFC) เป็นหนึ่งในชนิดของเซลล์เชื้อเพลิงที่กำลังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าแก่ยานภาหนะ หรือตามสถานที่ต่าง ๆ โดยเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้มีจุดเด่นที่สามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิและความดันต่ำ อีกทั้งยังมีความพิเศษในส่วนของเยื่อพอลิเมอร์ที่สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนโปรตอน เซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า โดยอาศัยปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมี ตามปฏิกิริยารีดอกซ์ โดยที่ขั้วอิเล็กโทรด ของเซลล์ไฟฟ้าชนิดนี้ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแพลตทินัม(Pt)และขั้วอิเล็กโทรไลท์ใช้โพลิเมอร์แข็ง คือ แนฟฟิออน(Nafion(R)) เป็นเยื่อเลื่อกผ่านประจุ สารตั้งต้นของเซลล์เชื้อเพลิงแบบเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน ใช้ กาซไฮโดรเจน และ ออกซิเจน(หรือ อากาศ) โดยกาซไฮโดรเจนจะแตกตัวบนพื้นผิวตัวเร่งปกิกิริยาที่ด้านแอโนด ให้ผลิตภัณท์คือ โปรตอน และ อิเล็กตรอน ตามปฏิกิริยาออกซิเดชั่น แต่ในเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้แนฟฟิออนเป็นเยื่อเลือกผ่านนี้ เฉพาะอิออนที่มีประจุบวกเท่านั้นจึงจะผ่านได้ ดังนั้นในที่นี้โปรตรอนจึงถูกเลือกให้เคลื่อนที่ผ่านไปยังขั้วแคโทด ส่วนอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ออกจากเซลล์ไฟฟ้าเคมีไปยังขั้วแคโทด โดยผ่านภาระทางไฟฟ้า หรือ โหลด (Load)และเป็นที่รู้กันดีว่าไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ดังนั้นเราก็จะได้แสงสว่างจากไฟฟ้าที่ผลิตได้ หากโหลดนั้นคือหลอดไฟฟ้า เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปยังขัวแคโทดถือว่าครบวงจร จากนั้นอิเล็กตรอน โปรตอน และก๊าซออกซิเจน ตามปฏิกิริยารีดักชั่น ก็จะรวมตัวกัน กลายเป็นน้ำ ดังนั้นเซลล์เชื้อเพลิงชนิดนี้จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและเซลล์เชื้อเพลิงชนิดเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์เชื้อเพลิงแอลคาไลน์

ซลล์เชื้อเพลิงอัลคาไลน์ คือ เซลล์ปฐมภูมิที่ใช้สารละลายเบส คือ KOH ผสม MnO2 เป็นอิเล็กโทรไลต์ เซลล์ชนิดนี้ให้ศักย์ไฟฟ้า 1.5 โวลต์ แต่สามารถใช้ได้นานกว่าถ่านไฟฉาย หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและเซลล์เชื้อเพลิงแอลคาไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

Direct methanol fuel cell

Direct Methanol Fuel Cell (DMFC) เป็น Fuel Cell ชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Fuel Cell ชนิด PEFC ตรงที่ทั้งสองชนิดใช้เป็น Membrane ชนิด Polymer เป็นอิเล็กโทรไลท์ อย่างไรก็ตามใน Fuel Cell ชนิดนี้ตัวมันเองจะเป็น Anode catalyst ดึงไฮโดรเจนออกจากเมททานอลเหลว (Liquid Methanol) Fuel Cell ชนิดนี้ถูกคาดว่าจะมีประสิทธิภาพประมาณ 40% อุณหภูมิใช้งานประมาณ 50-80 องศาเซลเซียส และหากต้องการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต้องเพิ่มอุณหภูมิใช้งานให้สูงขึ้น หมวดหมู่:เซลล์เชื้อเพลิง หมวดหมู่:เทคโนโลยี ko:연료전지#직접메탄올 연료전지 (Direct Methanol Fuel Cell, DMFC).

ใหม่!!: เซลล์เชื้อเพลิงและDirect methanol fuel cell · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fuel cell

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »