เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เซลล์ประสาทและโรคพิษสุนัขบ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง เซลล์ประสาทและโรคพิษสุนัขบ้า

เซลล์ประสาท vs. โรคพิษสุนัขบ้า

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง. รคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ (rabies, hydrophobia) เป็นโรคไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของสมองในมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่น อาการเริ่มต้นมีไข้และอาการเป็นเหน็บ ณ ตำแหน่งสัมผัส อาการเหล่านี้ตามด้วยอาการต่อไปนี้อย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ การเคลื่อนไหวรุนแรง ความตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ไม่สามารถขยับร่างกายบางส่วน สับสนและไม่รู้สึกตัว เมื่อเกิดอาการแล้ว จะลงเอยด้วยถึงแก่ชีวิตแทบทั้งสิ้น ช่วงเวลาระหว่างการติดต่อโรคและการเริ่มแสดงอาการนั้นปกติระหว่างหนึ่งถึงสามเดือน ทว่า ช่วงเวลานี้มีได้ตั้งแต่น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี เวลานี้ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไวรัสเข้าระบบประสาทส่วนกลาง โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากลิสซาไวรัส (lyssavirus) ได้แก่ ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (rabies virus) และลิสซาไวรัสค้างคาวออสเตรเลีย (Australian bat lyssavirus) โรคพิษสุนัขบ้าแพร่เมื่อสัตว์ที่ติดเชื้อข่วนหรือกัดสัตว์อื่นหรือมนุษย์ น้ำลายจากสัตว์ที่ติดเชื้อยังสามารถส่งผ่านโรคพิษสุนัขบ้าได้หากสัมผัสกับตา ปากหรือจมูก ทั่วโลก หมาเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 99% ในประเทศที่หมามีโรคเป็นปกติเกิดจากหมากัด ในทวีปอเมริกา ค้างคาวกัดเป็นแหล่งที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์ และผู้ป่วยน้อยกว่า 5% มาจากหมา สัตว์ฟันแทะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าน้อยมาก ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเดินทางไปสมองโดยตามประสาทส่วนปลาย โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้หลังเริ่มแสดงอาการแล้วเท่านั้น โครงการควบคุมสัตว์และให้วัคซีนลดความเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้าจากหมาในหลายภูมิภาคของโลก มีการแนะนำให้การสร้างภูมิคุ้มกันแก่บุคคลก่อนสัมผัสสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงสูงมีผู้ที่ทำงานกับค้างคาวหรือผู้ที่ใช้เวลานานในพื้นที่ของโลกที่มีโรคพิษสุนัขบ้าเป็นปกติ ในผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าและบ้างทีอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้ามีผลป้องกันโรคหากบุคคลได้รับการรักษาก่อนเริ่มมีอาการโรคพิษสุนัขบ้า การล้างแผลถูกกัดและข่วนด้วยน้ำสบู่ โพวิโดนไอโอดีนหรือสารชะล้างเป็นเวลา 15 นาทีอาจลดจำนวนอนุภาคไวรัสและอาจมีผลบ้างในการป้องกันการแพร่เชื้อ มีเพียงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหลังแสดงอาการ และได้รับการรักษาใหญ่ที่เรียก มิลวอกีโพรโทคอล (Milwaukee protocol) โรคพิษสุนัขบ้าเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 26,000 ถึง 55,000 คนต่อปี การเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 95% เกิดในทวีปแอฟริกาและเอเชีย โรคพิษสุนัขบ้าพบในกว่า 150 ประเทศและทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กว่า 3 พันล้านคนอาศัยอยู่ในบริเวณของโลกที่พบโรคพิษสุนัขบ้า หลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น สหรัฐและยุโรปตะวันตก ไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าในหมา หลายประเทศเกาะขนาดเล็กไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าเล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง เซลล์ประสาทและโรคพิษสุนัขบ้า

เซลล์ประสาทและโรคพิษสุนัขบ้า มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ระบบประสาทกลางระบบประสาทนอกส่วนกลางสัตว์มีกระดูกสันหลังสารภูมิต้านทานหนูหริ่งฮิปโปแคมปัสไขสันหลัง

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ระบบประสาทกลางและเซลล์ประสาท · ระบบประสาทกลางและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทนอกส่วนกลาง

ระบบประสาทรอบนอก (สีฟ้า) ระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system: PNS) เป็นระบบประสาทที่แตกแขนงออกมาจากระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย ประสาทสมอง (cranial nerve) ประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) ประสาทกาย (somatic nerve) และเซลล์แกงเกลียน (ganglion cell) โดยระบบประสาทรอบนอกนั้น สามารถแบ่งเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system).

ระบบประสาทนอกส่วนกลางและเซลล์ประสาท · ระบบประสาทนอกส่วนกลางและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

สัตว์มีกระดูกสันหลังและเซลล์ประสาท · สัตว์มีกระดูกสันหลังและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

สารภูมิต้านทานและเซลล์ประสาท · สารภูมิต้านทานและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

หนูหริ่ง

ระวังสับสนกับสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่กว่า: หมูหริ่ง บุคคลดูที่: สมบัติ บุญงามอนงค์ หนูหริ่ง เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ในวงศ์ Murinae ในวงศ์ใหญ่ Muridae ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mus หนูหริ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับหนูในสกุล Rattus แต่ก็ยังมีขนาดเล็กกว่า แม้แต่หนูจี๊ด (R. exulans) ซึ่งเป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล หนูหริ่งก็ยังเล็กกว่า ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 1–1.5 เดือน ขณะที่ตัวผู้ 1–2 เดือน หนูหริ่งเป็นหนูอีกจำพวกหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในบ้านเรือนและในพื้นที่เกษตรกรรมด้วย ถือเป็นหนูนา ที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งรวมกับหนูในสกุลอื่น หนูหริ่งชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ หนูหริ่งบ้าน (M. musculus) ซึ่งเป็นหนูอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในบ้านเรือน ซึ่งเป็นชนิดที่นิยมนำมาเป็นสัตว์ทดลองในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลิน ในแบบที่เป็นหนูเผือกทั้งตัว หรือมีสีสันที่หลากหลายในตัวเดียว เรียกว่า "หนูถีบจักร" หรือ "หนูขาว" โดยเริ่มครั้งแรกมาจากพระราชวังในจีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้ว หนูมาซิโดเนีย (M. macedonicus) ที่แพร่กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเมเตอร์เรเนียนและประเทศในแถบตะวันออกกลางที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยังเป็นสัตว์รังควานที่รบกวนมนุษย์มานานแล้วถึง 15,000 ปี ซึ่งเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นยุคก่อนที่มนุษย์จะรู้จักการเพาะปลูกเสียอีก โดยเข้ามาหาอาหารถึงในชุมชนมนุษย์ โดยมีหลักฐานเป็นฟอสซิลฟันของหนูชนิดนี้นับพันตัว ปัจจุบันได้มีการอนุกรมวิธานหนูหริ่งไว้ประมาณ 38 ชนิด ในประเทศไทยพบทั้งหมด 6 ชนิด นอกจากหนูหริ่งบ้านแล้ว ยังมี หนูหริ่งใหญ่ (M. cookii), หนูหริ่งนาหางสั้น (M. cervicolor), หนูหริ่งนาหางยาว (M. caroli), หนูหริ่งป่าใหญ่ขนเสี้ยน (M. shotridgei) และหนูหริ่งป่าเล็กขนเสี้ยน (M. pahari).

หนูหริ่งและเซลล์ประสาท · หนูหริ่งและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปโปแคมปัส

ปโปแคมปัส (hippocampus) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสมองของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนหนึ่งของระบบลิมบิก (limbic system) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำระยะยาวและการกำหนดทิศทางในที่ว่าง โครงสร้างนี้มีลักษณะเป็นคู่อยู่ด้านข้างซ้ายและขวาของสมองเหมือนกับซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ ในมนุษย์และไพรเมตชนิดอื่นๆ ฮิปโปแคมปัสวางตัวในสมองกลีบขมับส่วนใกล้กลาง (medial temporal lobe) ของสมองภายใต้พื้นผิวเปลือกคอร์เท็กซ์ รูปร่างของฮิปโปแคมปัสมีลักษณะโค้งจนนักกายวิภาคศาสตร์ในยุคแรกเปรียบเทียบว่าเหมือนกับเขาของแกะ (Cornu Ammonis) หรือเหมือนม้าน้ำ ดังจะเห็นจากชื่อ ฮิปโปแคมปัส มาจากภาษากรีกของคำว่าม้าน้ำ (กรีก: ιππος, hippos.

ฮิปโปแคมปัสและเซลล์ประสาท · ฮิปโปแคมปัสและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

เซลล์ประสาทและไขสันหลัง · โรคพิษสุนัขบ้าและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง เซลล์ประสาทและโรคพิษสุนัขบ้า

เซลล์ประสาท มี 153 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคพิษสุนัขบ้า มี 46 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 3.52% = 7 / (153 + 46)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง เซลล์ประสาทและโรคพิษสุนัขบ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: